สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
โรคหลอกตัวเอง ติดโกหกจนเป็นนิสัย โรคยุคปัจจุบันที่หลายคนไม่เคยสังเกต !!?
จริงๆแล้วเรื่องการหลอกตัวเอง ก็เป็นเรื่องดีสำหรับตัวเอง เพราะเป็นการป้องกันความเสียใจที่จะเกิดขึ้นของตัวเรา แต่การหลอกตัวเองบางเรื่องมีผลกระทบไปจนถึงขั้นต้องหลอกคนอื่นให้เชื่อที่ตัวเองพูด จนกลายเป็นการโกหกมาราธอนแบบนี้ก็ไม่ไหวนะ ยิ่งตอนนี้มีโซเชียลมาเกี่ยวข้องด้วยยิ่งไปใหญ่เลย มาดูกันเลยว่าคนรอบข้างเรามีแบบนี้หรือเปล่า
โรคหลอกตัวเอง หลอกฝันทั้งตัวเองและคนรอบข้าง อาการแบบไหนที่เรียกว่าป่วย Pathological Liar
คิดเหมือนกันไหมคะว่าพอมีโลกโซเชียลให้เราได้เล่น ก็ทำให้เห็นไลฟ์สไตล์ของคนรอบข้างตัวเรากันมากขึ้น ซึ่งจุดนี้แหละที่มีทั้งภาพลวงตาและเรื่องจริงที่จะดูให้ออกก็ยาก จะฟันธงภาพลักษณ์ของคนนั้น ๆ ก็ลำบาก เพราะบางคนอาจมีอาการที่ไม่ปกติ ประเภทชอบมโนเรื่องนั้นเรื่องนี้ เผยแต่แง่ดี ๆ ของตัวเองโพสต์ลงโซเชียล ทำเอาคนอ่านแอบเพลียกันบ่อย ๆ หรืออาการชอบแต่งเรื่องให้ตัวเองดูดี มโนนี่ก็ชนะเลิศจะเข้าข่ายนิสัยของเรานิดหน่อย งั้นลองมาทำความรู้จักโรคหลอกตัวเองพร้อมกับสำรวจอาการของเรากันเลย
โรคหลอกตัวเองคืออะไร
โรคหลอกตัวเอง หรือโกหกตัวเอง ที่ในวงการจิตวิทยาเรียกว่า Pathological Liar คืออาการผิดปกติทางจิตที่ทำให้ผู้ป่วยพูดโกหกได้เรื่อย ๆ โดยจุดประสงค์ก็เพื่อเรียกร้องความสนใจ หรือมีความต้องการเพิ่มคุณค่าให้ตัวเอง
โรคหลอกตัวเองเกิดจากอะไร
จากการศึกษาทางจิตวิทยา ของคณะจิตเวชศาสตร์ Chandigarh University ประเทศอินเดีย พบว่า โรคหลอกตัวเองมักจะมีจุดเริ่มต้นจากการแต่งเรื่องหลอกตัวเองเพื่อหลบหนีความจริงที่ไม่อยากรับรู้ จึงสร้างเรื่องหลอกตัวเองซ้ำ ๆ กระทั่งเข้าใจว่าเรื่องที่มโนขึ้นมานั้นเป็นเรื่องจริง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในชีวิต ซึ่งนอกจากการศึกษาชิ้นนี้แล้ว ในทางจิตวิทยายังระบุไว้ว่าอาจมีสาเหตุอื่น ๆ ร่วมด้วย อันได้แก่
– ความขัดแย้งในครอบครัว อยู่ในครอบครัวที่มีปัญหามาตั้งแต่เด็ก ๆ
– ถูกกระทำชำเรา ถูกทำร้ายร่างกาย หรือบังคับขืนใจในบางเรื่อง
– ความผิดปกติทางประสาท เช่น ความพิการทางสมอง ความบกพร่องทางการเรียนรู้
– ผลข้างเคียงจากโรคยั้งใจไม่ได้ (Impulse control disorders) มีปัญหาในการควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมของตัวเอง ซึ่งอาจมีอาการของโรคชอบขโมยของ หรือโรคบ้าช้อปปิ้งร่วมด้วย
– ลักษณะนิสัยหรือพฤติกรรมเลียนแบบ
– อาการของโรคบุคลิกภาพแปรปรวน เช่น มีบุคลิกภาพของอันธพาล โรคหลงตัวเอง หรือโรคบุคลิกภาพก้ำกึ่ง เป็นต้น
โรคหลอกตัวเอง 3 ประเภท
นพ.กัมปนาท ตันสิถบุตรกุล จิตแพทย์โรงพยาบาลมนารมย์ ชี้แจงให้เห็นชัด ๆ ว่า โรคชอบหลอกตัวเองในผู้ใหญ่ อาจจำแนกอาการออกได้ 3 จำพวกใหญ่ ๆ ดังนี้
1. กลุ่มที่ป่วยเป็นโรคจิตเวชอยู่แล้ว
ประเภทนี้อาการชอบหลอกตัวเองมักมาจากการหลงผิด ซึ่งส่งผลให้มีความคิดและความเข้าใจไปตามอาการหลงผิดของตัวเอง ทำให้การเล่าความเท็จลื่นไหลเสมือนเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง ๆ แต่ก็ยังอาจปะติดปะต่อเรื่องไม่ค่อยดีนัก หรือค่อนไปทางเล่าเรื่องที่เป็นโลกส่วนตัวของตัวเองมากเกินไป
ทว่าในส่วนของการเจตนาจะพูดเท็จนั้นอาจไม่มี เพียงแต่คล้อยตามความคิดหลงผิดของตัวเองไปก็เท่านั้น และหากมีใครมาขัดใจหรือลบล้างความคิดในมโนของเขา ก็อาจเกิดความรู้สึกไม่พอใจหรือโกรธขึ้นมาได้
2. กลุ่มผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
อาการป่วยโรคหลอกตัวเองมักเกิดจากปมอันร้ายแรงในใจ เหตุการณ์ที่สร้างความหวาดกลัวเจ็บช้ำในอดีต จนไม่กล้าต่อสู้กับเรื่องราวเหล่านั้น และเป็นที่มาของการสร้างเรื่องราวเท็จขึ้นมาเพื่อให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้น และทำเช่นนี้บ่อย ๆ จนเกิดความเคยชินในการหลอกตัวเอง แต่ถึงอย่างนั้นลึก ๆ ในใจยังคงมีสติและจำความเจ็บปวดนั้น ๆ ได้อยู่ดี
3. กลุ่มที่มีปัญหาด้านบุคลิกภาพ
กลุ่มนี้จัดว่าเป็นนิสัยที่ชอบโกหก ชอบพูดเท็จโดยกมลสันดาน ซึ่งหากไม่คิดกลับตัวกลับใจ นิสัยชอบหลอกตัวเองและโกหกผู้อื่นอาจติดตัวไปตลอดชีวิตเลยก็ได้
อาการของโรคหลอกตัวเอง
นักจิตวิทยาได้กล่าวว่า แม้การโกหกจะเป็นหนึ่งในวิธีเอาตัวรอดที่ติดมากับสัญชาตญาณมนุษย์ ทว่าเราสามารถจำแนกผู้ป่วยโรคหลอกตัวเองออกมาได้ไม่ยาก โดยผู้ป่วยโรคหลอกตัวเองมักจะพูดเท็จ มโนเก่งอยู่เรื่อย ๆ ชนิดที่ไม่สนใจว่าเรื่องที่โกหกออกมานั้นจะผิดหรือถูก หรือพูดง่าย ๆ ว่าผู้ป่วยได้สร้างโลกใบใหม่ของตัวเองขึ้นมา และจินตนาการความอยากจะเป็นไว้ในโลกส่วนตัวใบนั้นเรียบร้อยแล้ว ซึ่งก็แน่นอนว่าผู้ป่วยบางรายอาจไม่รู้ตัวว่าสิ่งที่ตัวเองแสดงออกหรือพูดออกมาคือเรื่องหลอกลวงทั้งเพเลยนะคะ หรือเราอาจสังเกตอาการโกหกด้วยสัญญาณต่อไปนี้ร่วมด้วยก็ได้
– พูดไปยิ้มไป แต่เป็นยิ้มหลอก ๆ ที่สามารถจับสังเกตได้
– พูดด้วยสีหน้านิ่งเกินเหตุ มักจะเคลื่อนไหวศีรษะน้อยหรือเร็วเกินไป ดูไม่เป็นธรรมชาติ คล้ายกำลังพูดด้วยอาการเกร็ง
– หายใจถี่และแรงขึ้น
– ยืนนิ่ง มีอาการเกร็งอย่างเห็นได้ชัด
– พูดติด ๆ ขัด ๆ เนื้อความซ้ำไปซ้ำมา
– ใช้มือแตะหรือจับที่ปากขณะที่พูด
– จับหรือแตะต้องอวัยวะบางส่วนของร่างกายขณะพูด
– ย่ำเท้าซ้ำ ๆ หรือขยับตัวบ่อยมาก
– อธิบายเรื่องยาว เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ
– กัดริมฝีปากหรือเม้มปาก
– กะพริบตาถี่กว่าปกติ
โรคหลอกตัวเอง รักษาหายไหม
แนวทางการรักษาโรคหลอกตัวเองก็มีให้เลือกอยู่เหมือนกัน แต่การรักษามักจะติดขัดตรงที่ผู้ป่วยไม่ยอมรับความป่วยของตัวเอง หรือไม่ยอมก้าวออกมาจากโลกมโน ซึ่งเคสนี้ก็ควรต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของจิตแพทย์ และกำลังใจจากคนรอบข้าง ที่จะช่วยชักจูงให้เขายอมบำบัดรักษา ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
1. ว่ากล่าวตักเตือน
ในกรณีที่ผู้ป่วยยังเป็นเด็ก อาจให้การรักษาได้ด้วยวิธีการว่ากล่าวตักเตือนเมื่อเขาโกหก แต่ทั้งนี้ต้องมีเหตุผลที่สมควรในการทำโทษเขาด้วยนะคะ รวมทั้งควรได้รับคำแนะนำจากจิตแพทย์ในส่วนของบทลงโทษที่เหมาะสมกับผู้ป่วยชอบหลอกตัวเองด้วย
2. ความคิดและพฤติกรรมบำบัด (Cognitive Behavioral Therapy)
ค่อย ๆ ปรับทัศนคติและความคิดของผู้ป่วย โดยจิตแพทย์อาจหาเหตุผลที่แท้จริงของการหลอกตัวเองให้เจอก่อน จากนั้นจึงค่อย ๆ แก้ปมนั้น ๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไปพร้อมกับผู้ป่วย พร้อมกับดึงเขากลับมาอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง
3. ยา
ในส่วนผู้ป่วยโรคหลอกตัวเองที่มีสาเหตุมาจากอาการทางจิตหรือความผิดปกติของร่างกายบางอย่าง เคสนี้แพทย์อาจสั่งยารักษาไปตามอาการที่ผู้ป่วยเป็น ซึ่งอาจจะช่วยบรรเทาอาการหลงผิดหรือหลงไปอยู่ในโลกแห่งการโกหกนั้นได้บ้างไม่มากก็น้อย
เห็นได้ชัดว่าอาการมโนจนเตลิดของใครหลาย ๆ คนก็ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ เลยนะคะ แต่อาจเกิดมาจากอาการป่วยโรคหลอกตัวเองอยู่ก็ได้ ดังนั้นหากพบว่าตัวเองเข้าข่ายผู้ป่วยอยู่บ้าง การเข้าพบจิตแพทย์เพื่อพูดคุยปรึกษาก็ไม่ใช่เรื่องน่าอายหรอกนะจะบอกให้
https://www.scholarship.in.th/lie-to-you/
จริงๆแล้วเรื่องการหลอกตัวเอง ก็เป็นเรื่องดีสำหรับตัวเอง เพราะเป็นการป้องกันความเสียใจที่จะเกิดขึ้นของตัวเรา แต่การหลอกตัวเองบางเรื่องมีผลกระทบไปจนถึงขั้นต้องหลอกคนอื่นให้เชื่อที่ตัวเองพูด จนกลายเป็นการโกหกมาราธอนแบบนี้ก็ไม่ไหวนะ ยิ่งตอนนี้มีโซเชียลมาเกี่ยวข้องด้วยยิ่งไปใหญ่เลย มาดูกันเลยว่าคนรอบข้างเรามีแบบนี้หรือเปล่า
โรคหลอกตัวเอง หลอกฝันทั้งตัวเองและคนรอบข้าง อาการแบบไหนที่เรียกว่าป่วย Pathological Liar
คิดเหมือนกันไหมคะว่าพอมีโลกโซเชียลให้เราได้เล่น ก็ทำให้เห็นไลฟ์สไตล์ของคนรอบข้างตัวเรากันมากขึ้น ซึ่งจุดนี้แหละที่มีทั้งภาพลวงตาและเรื่องจริงที่จะดูให้ออกก็ยาก จะฟันธงภาพลักษณ์ของคนนั้น ๆ ก็ลำบาก เพราะบางคนอาจมีอาการที่ไม่ปกติ ประเภทชอบมโนเรื่องนั้นเรื่องนี้ เผยแต่แง่ดี ๆ ของตัวเองโพสต์ลงโซเชียล ทำเอาคนอ่านแอบเพลียกันบ่อย ๆ หรืออาการชอบแต่งเรื่องให้ตัวเองดูดี มโนนี่ก็ชนะเลิศจะเข้าข่ายนิสัยของเรานิดหน่อย งั้นลองมาทำความรู้จักโรคหลอกตัวเองพร้อมกับสำรวจอาการของเรากันเลย
โรคหลอกตัวเองคืออะไร
โรคหลอกตัวเอง หรือโกหกตัวเอง ที่ในวงการจิตวิทยาเรียกว่า Pathological Liar คืออาการผิดปกติทางจิตที่ทำให้ผู้ป่วยพูดโกหกได้เรื่อย ๆ โดยจุดประสงค์ก็เพื่อเรียกร้องความสนใจ หรือมีความต้องการเพิ่มคุณค่าให้ตัวเอง
โรคหลอกตัวเองเกิดจากอะไร
จากการศึกษาทางจิตวิทยา ของคณะจิตเวชศาสตร์ Chandigarh University ประเทศอินเดีย พบว่า โรคหลอกตัวเองมักจะมีจุดเริ่มต้นจากการแต่งเรื่องหลอกตัวเองเพื่อหลบหนีความจริงที่ไม่อยากรับรู้ จึงสร้างเรื่องหลอกตัวเองซ้ำ ๆ กระทั่งเข้าใจว่าเรื่องที่มโนขึ้นมานั้นเป็นเรื่องจริง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในชีวิต ซึ่งนอกจากการศึกษาชิ้นนี้แล้ว ในทางจิตวิทยายังระบุไว้ว่าอาจมีสาเหตุอื่น ๆ ร่วมด้วย อันได้แก่
– ความขัดแย้งในครอบครัว อยู่ในครอบครัวที่มีปัญหามาตั้งแต่เด็ก ๆ
– ถูกกระทำชำเรา ถูกทำร้ายร่างกาย หรือบังคับขืนใจในบางเรื่อง
– ความผิดปกติทางประสาท เช่น ความพิการทางสมอง ความบกพร่องทางการเรียนรู้
– ผลข้างเคียงจากโรคยั้งใจไม่ได้ (Impulse control disorders) มีปัญหาในการควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมของตัวเอง ซึ่งอาจมีอาการของโรคชอบขโมยของ หรือโรคบ้าช้อปปิ้งร่วมด้วย
– ลักษณะนิสัยหรือพฤติกรรมเลียนแบบ
– อาการของโรคบุคลิกภาพแปรปรวน เช่น มีบุคลิกภาพของอันธพาล โรคหลงตัวเอง หรือโรคบุคลิกภาพก้ำกึ่ง เป็นต้น
โรคหลอกตัวเอง 3 ประเภท
นพ.กัมปนาท ตันสิถบุตรกุล จิตแพทย์โรงพยาบาลมนารมย์ ชี้แจงให้เห็นชัด ๆ ว่า โรคชอบหลอกตัวเองในผู้ใหญ่ อาจจำแนกอาการออกได้ 3 จำพวกใหญ่ ๆ ดังนี้
1. กลุ่มที่ป่วยเป็นโรคจิตเวชอยู่แล้ว
ประเภทนี้อาการชอบหลอกตัวเองมักมาจากการหลงผิด ซึ่งส่งผลให้มีความคิดและความเข้าใจไปตามอาการหลงผิดของตัวเอง ทำให้การเล่าความเท็จลื่นไหลเสมือนเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง ๆ แต่ก็ยังอาจปะติดปะต่อเรื่องไม่ค่อยดีนัก หรือค่อนไปทางเล่าเรื่องที่เป็นโลกส่วนตัวของตัวเองมากเกินไป
ทว่าในส่วนของการเจตนาจะพูดเท็จนั้นอาจไม่มี เพียงแต่คล้อยตามความคิดหลงผิดของตัวเองไปก็เท่านั้น และหากมีใครมาขัดใจหรือลบล้างความคิดในมโนของเขา ก็อาจเกิดความรู้สึกไม่พอใจหรือโกรธขึ้นมาได้
2. กลุ่มผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
อาการป่วยโรคหลอกตัวเองมักเกิดจากปมอันร้ายแรงในใจ เหตุการณ์ที่สร้างความหวาดกลัวเจ็บช้ำในอดีต จนไม่กล้าต่อสู้กับเรื่องราวเหล่านั้น และเป็นที่มาของการสร้างเรื่องราวเท็จขึ้นมาเพื่อให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้น และทำเช่นนี้บ่อย ๆ จนเกิดความเคยชินในการหลอกตัวเอง แต่ถึงอย่างนั้นลึก ๆ ในใจยังคงมีสติและจำความเจ็บปวดนั้น ๆ ได้อยู่ดี
3. กลุ่มที่มีปัญหาด้านบุคลิกภาพ
กลุ่มนี้จัดว่าเป็นนิสัยที่ชอบโกหก ชอบพูดเท็จโดยกมลสันดาน ซึ่งหากไม่คิดกลับตัวกลับใจ นิสัยชอบหลอกตัวเองและโกหกผู้อื่นอาจติดตัวไปตลอดชีวิตเลยก็ได้
อาการของโรคหลอกตัวเอง
นักจิตวิทยาได้กล่าวว่า แม้การโกหกจะเป็นหนึ่งในวิธีเอาตัวรอดที่ติดมากับสัญชาตญาณมนุษย์ ทว่าเราสามารถจำแนกผู้ป่วยโรคหลอกตัวเองออกมาได้ไม่ยาก โดยผู้ป่วยโรคหลอกตัวเองมักจะพูดเท็จ มโนเก่งอยู่เรื่อย ๆ ชนิดที่ไม่สนใจว่าเรื่องที่โกหกออกมานั้นจะผิดหรือถูก หรือพูดง่าย ๆ ว่าผู้ป่วยได้สร้างโลกใบใหม่ของตัวเองขึ้นมา และจินตนาการความอยากจะเป็นไว้ในโลกส่วนตัวใบนั้นเรียบร้อยแล้ว ซึ่งก็แน่นอนว่าผู้ป่วยบางรายอาจไม่รู้ตัวว่าสิ่งที่ตัวเองแสดงออกหรือพูดออกมาคือเรื่องหลอกลวงทั้งเพเลยนะคะ หรือเราอาจสังเกตอาการโกหกด้วยสัญญาณต่อไปนี้ร่วมด้วยก็ได้
– พูดไปยิ้มไป แต่เป็นยิ้มหลอก ๆ ที่สามารถจับสังเกตได้
– พูดด้วยสีหน้านิ่งเกินเหตุ มักจะเคลื่อนไหวศีรษะน้อยหรือเร็วเกินไป ดูไม่เป็นธรรมชาติ คล้ายกำลังพูดด้วยอาการเกร็ง
– หายใจถี่และแรงขึ้น
– ยืนนิ่ง มีอาการเกร็งอย่างเห็นได้ชัด
– พูดติด ๆ ขัด ๆ เนื้อความซ้ำไปซ้ำมา
– ใช้มือแตะหรือจับที่ปากขณะที่พูด
– จับหรือแตะต้องอวัยวะบางส่วนของร่างกายขณะพูด
– ย่ำเท้าซ้ำ ๆ หรือขยับตัวบ่อยมาก
– อธิบายเรื่องยาว เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ
– กัดริมฝีปากหรือเม้มปาก
– กะพริบตาถี่กว่าปกติ
โรคหลอกตัวเอง รักษาหายไหม
แนวทางการรักษาโรคหลอกตัวเองก็มีให้เลือกอยู่เหมือนกัน แต่การรักษามักจะติดขัดตรงที่ผู้ป่วยไม่ยอมรับความป่วยของตัวเอง หรือไม่ยอมก้าวออกมาจากโลกมโน ซึ่งเคสนี้ก็ควรต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของจิตแพทย์ และกำลังใจจากคนรอบข้าง ที่จะช่วยชักจูงให้เขายอมบำบัดรักษา ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
1. ว่ากล่าวตักเตือน
ในกรณีที่ผู้ป่วยยังเป็นเด็ก อาจให้การรักษาได้ด้วยวิธีการว่ากล่าวตักเตือนเมื่อเขาโกหก แต่ทั้งนี้ต้องมีเหตุผลที่สมควรในการทำโทษเขาด้วยนะคะ รวมทั้งควรได้รับคำแนะนำจากจิตแพทย์ในส่วนของบทลงโทษที่เหมาะสมกับผู้ป่วยชอบหลอกตัวเองด้วย
2. ความคิดและพฤติกรรมบำบัด (Cognitive Behavioral Therapy)
ค่อย ๆ ปรับทัศนคติและความคิดของผู้ป่วย โดยจิตแพทย์อาจหาเหตุผลที่แท้จริงของการหลอกตัวเองให้เจอก่อน จากนั้นจึงค่อย ๆ แก้ปมนั้น ๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไปพร้อมกับผู้ป่วย พร้อมกับดึงเขากลับมาอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง
3. ยา
ในส่วนผู้ป่วยโรคหลอกตัวเองที่มีสาเหตุมาจากอาการทางจิตหรือความผิดปกติของร่างกายบางอย่าง เคสนี้แพทย์อาจสั่งยารักษาไปตามอาการที่ผู้ป่วยเป็น ซึ่งอาจจะช่วยบรรเทาอาการหลงผิดหรือหลงไปอยู่ในโลกแห่งการโกหกนั้นได้บ้างไม่มากก็น้อย
เห็นได้ชัดว่าอาการมโนจนเตลิดของใครหลาย ๆ คนก็ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ เลยนะคะ แต่อาจเกิดมาจากอาการป่วยโรคหลอกตัวเองอยู่ก็ได้ ดังนั้นหากพบว่าตัวเองเข้าข่ายผู้ป่วยอยู่บ้าง การเข้าพบจิตแพทย์เพื่อพูดคุยปรึกษาก็ไม่ใช่เรื่องน่าอายหรอกนะจะบอกให้
https://www.scholarship.in.th/lie-to-you/
แสดงความคิดเห็น
ไฟในทีมเริ่มประทุ!!! หลังทีมเบียดชนะ พาเลตเมื่อคืน
https://today.line.me/th/v2/article/YRLzgL
#ศาลาจะไม่ทน
และก็เป็นมาโนชอีกครั้งที่ต้องรับบทเป็นพระรอง "คิดอะไรไม่ออก เปลี่ยนมาโนช" ผจก. ยังคงบั่นทอนจิตใจมาโนชอยู่เรื่อย ๆ นี่ไม่ใช่ครั้งแรก หรือครั้งที่สอง ที่มาโนชแสดงออกอย่างชัดเจนว่า ต้องการแตกหักกับการตัดสินใจของ ผจก. เปรียบเหมือนคนทำงานหนักแทบตายแต่ผจก.ไม่เห็น และในใจลึก ๆ มาโนชพร้อมจะหนีจากบอลกรรมกรไปได้ทุกเมื่อแล้วตอนนี้
#มาโนชจะไม่ทน
นี่คือรอยร้าวที่เกิดขึ้นหลังจบเกมที่เบียดชนะพาเลซเมื่อคืน ผมในฐานะที่ติดตามวงการฟุตบอลมานาน ถ้ามาทรงนี้ทีมมีโอกาสแตกสูงมาก เพราะระดับตัวหลัก ๆเริ่มไม่พอใจกับการปฎิบัติ ของ ผจก. หากไม่เร่งเยียวยา ก่อนจะสายเกินแก้ ......
#กรรมกรแตกหัก