ป.ป.ช. เรียกเข้าให้ถ้อยคำ แต่เราอยู่ ต่างประเทศ

เราเคยเป็น เลขานุการคณะกรรมการ โครงการหนึ่ง ในขณะที่เราเป็นข้าราชการอยู่
เราได้ลาออกจากราชการเมื่อ 4 ปีที่แล้ว แล้วย้ายมาอยู่ต่างประเทศเป็นเวลา 3 ปีแล้ว ส่วนตัวไม่มีเอกสารใดๆ จากโครงการนั้นเก็บไว้กับตัว เนื่องจากเป็นเอกสารทางราชการ เราเอาติดตัวมาไม่ได้อยู่แล้วหลังจากลาออก
ตอนนี้มีการไต่สวนเกี่ยวกับโครงการ ซึ่ง ทาง ป.ป.ช. ได้มีหนังสือ ถึงองค์กรเก่าเรา เรียกผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการนั้น เข้าให้ถ้อยคำ ซึ่งเราเป็นหนึ่งในนั้น แต่ไม่ได้ติดต่อเราโดยตรง 

เราควร take action อย่างไรคะ
1 ไม่ทำอะไร ให้หน่วยงานทำรายงานตอบกลับไปเอง -- ว่าเราได้ลาออกแล้วก็ติดต่อไม่ได้
2 ให้ช่องทางการติดต่อไป เช่น email -- แต่เราก็กลับไปให้ถ้อยคำไม่ได้อยู่แล้ว และเราก็ไม่มีข้อมูลใดๆ ในมือเลย

ขอคำแนะนำจากสมาชิกพันทิปด้วยค่ะ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
ด้วยความปรารถนาดีนะครับ  อยากให้คุณระวังการเชื่อทะแนะ ที่ไม่เข้าใจหรือไม่ทราบระเบียบราชการไทย
คุณบอกว่า เคยเป็น ==>เลขานุการคณะกรรมการ โครงการหนึ่ง
        นั้นหมายความว่า เวลานั้น คุณซีน้อยสุด ของคณะกรรมการ จัดซื้อ-จัดจ้าง
สิ่งหนึ่งคือ เมื่อไม่มีความผิดใดๆ หากคุณได้รับการแจ้งให้ชี้แจ้ง เขาอาจมีหนังสือแจ้งไปตามภูมิลำเนาล่าสุดตามปรากฎในทะเบียนบ้าน
คุณก็ประสาน ชี้แจ้งไปตามที่คุณมีความเห็น ด้วยเอกสารหรือ Email และแจ้งให้ จนท.ปปช. ทราบว่า คุณไม่ได้มีถิ่นพำนักในไทยแล้ว

คุณชี้แจงไป ดีกว่าการ ignore ซึ่งไม่ใช่วิธีที่ดีครับ เชื่อผมเถอะครับ
ใครจะด่าว่าระบบราชการไทย ยังไงก็ช่างเถอะ แต่เมื่อตัวคุณมีโอกาสเข้ามาเกี่ยวข้องแล้ว ก็ต้องยอมรับในกติกานั้น
ส่วนพวกเชียร์คุณ เวลาที่คุณโดนหมายศาล เขาก็เผ่นหายไป
          ตัวอย่างเช่น คุณอาจไม่เคย หรือไม่คุ้นกับคำว่า พิพากษาลับหลังจำเลย เป็นต้น
โดยเฉพาะ คดีที่เกี่ยวกับสรรพากร, คดี ปปช. , คดีฟอกเงิน คดีเหล่านี้ มีเงื่อนไขเฉพาะเรื่องอายุความ พูดง่ายๆ คือ ไม่มีขาดอายุความ
การที่คุณได้ชี้แจง ดีกว่า คุณไม่ได้ชี้แจง เรื่องเล็กน้อยก็จะกลายเป็นเรื่องใหญ่ ==> เว้นแต่คุณ คิดว่า ชาตินี้ก็จะไม่กลับมาเหยียบแผ่นดินไทยอีก  ก็ ignore  ไปครับ แต่หากว่าไม่แน่ใจ อย่า ignore ครับ

ผมสมมติว่านะครับ
     สมมติว่า จนท.ปปช. เขาสอบสวน ตรวจสอบ แล้ว มีกรรมการบกพร่อง จำนวนหนึ่ง และพวกเขายอมรับ ความบกพร่องนั้น อาจไม่มีเจตนา แต่สำคัญผิดในการเบิกจ่าย ปปช. ก็อาจจะให้เอาเงินมาชดใช้คืน เพราะเบิกจ่ายผิดหมวดหรือผิดประเภท เขาก็อาจให้หารเฉลี่ยกัน แต่ตัวคุณ ignore
เขาก็จะดำเนินการแจ้งความ ออกหมาย ...... ไปตามลำดับ ตามขั้นตอนนะครับ
   จากเรื่องจบง่าย ก็ยาวเลย เพราะหากวันหนึ่งหมายจับไปอยู่ตามด่าน ตม. คุณยิ่งอายใหญ่เลยครับ เพราะ ตำรวจ ตม. จะรวบตัวคุณส่งศาลทันทีครับ ส่วนศาลจะให้ประกันตัวหรือไม่ก็อีกเรื่องหนึ่ง
       ผมจึงอยากย้ำกับคุณว่า อย่าเชื่อทะแนะครับ ไม่ได้ยุ่งยากหรอกครับ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สิ่งที่คุณควรทำ คือ ติดต่อกับเพื่อนหรือพี่ๆ ในหน่วยงานที่คุณเคยทำ เตรียมข้อมูล ที่ควรจะชี้แจง เท่าที่คุณจำได้ และแจ้งไปด้วยเอกสาร
โดยแจ้งให้เขาทราบว่า คุณไม่ได้มีถิ่นพำนักในไทยแล้ว ขอให้สอบถามผ่าน Email แทน
       สิ่งเหล่านี้ การชี้แจงตอบโต้ จะเป็นหลักฐาน หากคุณไม่ได้รับความเป็นธรรม และอุทธรณ์ได้ โดยไม่ต้องเข้ามาในไทย
       คุณไม่ได้โดนคนเดียวหรอกครับ ปกติก็โดนสอบทั้งคณะ ก็ประมาณ 5 คน คนโดนหนักสุดคือ ประธานฯ ส่วนคุณเป็นเลขา ฯ แม้อาวุโสน้อยสุด แต่จะอ้างว่าจำอะไรไม่ได้เลย ก็ยากครับ

ปล. คุณเชื่อไหมครับ คนที่ได้สัญชาติอเมริกา ไม่ว่าอยู่ไหน สรรพากรเขาก็ตามติด แล้วลอง  ignore ดูสิครับ
       ไม่ได้ยุ่งยากหรอกครับ แต่หากเวลานี้คุณยุ่งมาก อนาคตจะยุ่งกว่านี้ครับ
       แล้ววันที่เราต้องคุยกับศาล ศาลก็จะถามหาการชี้แจงนะครับ
       ในทางคดีอาญา จะมีคำหนึ่ง ที่นักกฎหมาย กล่าวกันเสมอ ==> พฤติกรรม ส่อเจตนา
                  ดังนั้น เมื่อเราไม่มีเจตนา ก็ต้องแสดงให้ศาลเห็นว่า เรามีพฤติกรรมเช่นไร ความไม่เพิกเฉย คือ สิ่งสำคัญนะครับ
                                       ผมพิมพ์มา ด้วยปรารถนาดีครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่