ผู้เช่าได้เช่าอาชุดซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัย โดยไม่ได้ทำสัญญาเป็นหนังสือ ตั้งแต่ปี 2554 กำหนดค่าเช่าเดือนละ 4,000 บาท ค่าไฟฟ้าหน่วยละ 6 บาท ค่าน้ำหน่วยละ 18 บาท เรียกเก็บค่าประกัน 8,000 บาท ค่าประกันเช่าล่วงหน้าอีก 4,000 บาท
ต่อมามีประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยเป็นธุรกิจควบคุมสัญญา พ.ศ.2561 โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2561 ซึ่งการเรียกเงินประกันเกิน 1 เดือน และการเก็บค่าบริการค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา เกินอัตราการให้บริการของผู้ให้บริการไม่ได้ ซึ่งจะมีโทษตาม พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 57
ถ้าเช่าประสงค์จะฟ้องคดีอาญาผู้ให้เช่า และฟ้องคดีแพ่งเพื่อเรียกเงินค่าน้ำ ค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บเกินไปคืนจะทำได้ หรือไม่ อย่างไร
ถ้าเป็นการทำสัญญาหลังประกาศ ส่วนตัวมองว่าผิดทั้งแพ่งและอาญาแน่นอน แต่กรณีนี้เหตุเกิดก่อนมีประกาศ และไม่มีสัญญา ต่อมามีประกาศ
แต่ผู้ให้เช่าก็ไม่ทำสัญญา (อาจจะมีที่ปรึกษาเป็นนักกฎหมายศรีธนญชัย) ไม่คืนเงินประกันเรียกเรียกเก็บไว้เกิน เก็บอัตราค่าไฟฟ้า น้ำประปา เกินอัตรามาตั้งแต่ประกาศมีผลบังคับ จะถือว่ามีความผิดในส่วนอาญา และในทางแพ่ง ผู้เช่าสามารถเรียกเงินที่เก็บไว้เกินคืนได้ไหม
เป็นเคสที่น่าสนใจ และเป็นปัญหาในชีวิตประจำวันจริงๆ ซึ่งผมสงสัยมาตั้งแต่ประกาศใช้บังคับ แต่ยังไม่มีเวลาศึกษา พอดีมีคนขอคำแนะนำ แต่ผมก็ให้ความกระจ่างได้ไม่ทั้งหมด จึงยกประเด็นนี้ขึ้นมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ทั้งนี้ หากผิดในทางอาญาก็หลายกระทง ผู้เสียหายหลายคน ในทางแพ่งถ้าเรียกคืนได้ก็คงหลัก 2.-3 หมื่น/ต่อคน รวมกันสัก 10-20 ก็หลักแสน
#อยากให้ สคบ. มาตอบด้วยครับ ผมว่าคงเป็นประโยชน์ต่อสังคม ทั้งผู้เช่า และผู้ให้เช่า ไม่มากก็น้อย
ขอบคุณครับ
การฟ้องคดีอาญาและคดีแพ่งผู้ให้เช่าตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาฯ
ต่อมามีประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยเป็นธุรกิจควบคุมสัญญา พ.ศ.2561 โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2561 ซึ่งการเรียกเงินประกันเกิน 1 เดือน และการเก็บค่าบริการค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา เกินอัตราการให้บริการของผู้ให้บริการไม่ได้ ซึ่งจะมีโทษตาม พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 57
ถ้าเช่าประสงค์จะฟ้องคดีอาญาผู้ให้เช่า และฟ้องคดีแพ่งเพื่อเรียกเงินค่าน้ำ ค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บเกินไปคืนจะทำได้ หรือไม่ อย่างไร
ถ้าเป็นการทำสัญญาหลังประกาศ ส่วนตัวมองว่าผิดทั้งแพ่งและอาญาแน่นอน แต่กรณีนี้เหตุเกิดก่อนมีประกาศ และไม่มีสัญญา ต่อมามีประกาศ
แต่ผู้ให้เช่าก็ไม่ทำสัญญา (อาจจะมีที่ปรึกษาเป็นนักกฎหมายศรีธนญชัย) ไม่คืนเงินประกันเรียกเรียกเก็บไว้เกิน เก็บอัตราค่าไฟฟ้า น้ำประปา เกินอัตรามาตั้งแต่ประกาศมีผลบังคับ จะถือว่ามีความผิดในส่วนอาญา และในทางแพ่ง ผู้เช่าสามารถเรียกเงินที่เก็บไว้เกินคืนได้ไหม
เป็นเคสที่น่าสนใจ และเป็นปัญหาในชีวิตประจำวันจริงๆ ซึ่งผมสงสัยมาตั้งแต่ประกาศใช้บังคับ แต่ยังไม่มีเวลาศึกษา พอดีมีคนขอคำแนะนำ แต่ผมก็ให้ความกระจ่างได้ไม่ทั้งหมด จึงยกประเด็นนี้ขึ้นมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ทั้งนี้ หากผิดในทางอาญาก็หลายกระทง ผู้เสียหายหลายคน ในทางแพ่งถ้าเรียกคืนได้ก็คงหลัก 2.-3 หมื่น/ต่อคน รวมกันสัก 10-20 ก็หลักแสน
#อยากให้ สคบ. มาตอบด้วยครับ ผมว่าคงเป็นประโยชน์ต่อสังคม ทั้งผู้เช่า และผู้ให้เช่า ไม่มากก็น้อย
ขอบคุณครับ