วัดหนองบัว อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

พ.ศ. 2365 เจ้ามหาวังและเจ้าหม่อมน้อย อากับหลาน แห่งแคว้นสิบสองปันนา ทำสงครามแย่งชิงอำนาจกันจนแยกเป็นสองฝ่าย
เมืองล้า เมืองอูไต้ เมืองอูเหนือ เมืองเชียงของ เมืองบาง และเมืองลึง ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโขง ของฝ่ายเจ้าหม่อมน้อย 
แม้ฝ่ายเจ้าหม่อมน้อยจะได้ความช่วยเหลือจาก พระเจ้าล้านช้างร่มขาว - หมายถึงเจ้าครองเมืองหลวงพระบาง - และเจ้าฟ้าหลวงเมืองน่าน
ราวปี 2374  เมืองล้าฝ่ายเจ้าหม่อมน้อยก็ถูกตีแตก ชาวเมืองล้าหนีมาเมื่อถึงเมืองน่าน
เจ้าอชิตวงศ์ (เจ้าราชบุตร ใน เจ้าหลวงสุมนเทวราช  ) จึงดำริให้ ไทลื้อจากเมืองล้า ตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ บ้านหนองบัว ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน 
leaf
แต่แรกสร้างวัดนั้นยังไม่มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง 
เมื่อ เจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าผู้ครองนครน่านในขณะนั้น ได้ไปรบที่เมืองพวน แคว้นหลวงพระบาง
นายเทพที่ได้ติดตามไปการศึกครั้งนั้น ได้นำช่างเขียนลาวพวนชื่อว่า หนานบัวผัน มาเขียนจิตรกรรมฝาผนังที่วัดหนองบัว
โดยมีพระภิกษุวัดหนองบัวชื่อ แสนพิจิตร และนายเทพเป็นผู้ช่วยเขียนจนเสร็จ
นี่เป็นภาพลายเส้นลงหมึกบนกระดาษข่อยของ หนานบัวผัน ที่เจ้าอาวาสวัดหนองบัวเก็บรักษาไว้ 

อุโบสถวัดหนองบัว
ขนาดสามห้อง หลังคาทรงโรง 1 ซด 2 ตับ 

หน้าบันครุฑยืนบนดอกไม้ ซ้อนกัน 2 ชั้น ดูรวม ๆ เหมือนเป็นรูปหม้อดอก - ปูรณฆฏ - ข้าง ๆ มีสุนัข 2 คู่
ชายคาของหน้าบันหลังคาระเบียง เป็นหยาดน้ำ - แบบไทลื้อ
วิหารวัดหนองบัว 
วิหารปิดทึบขนาด  9 ห้อง 
หลังคาซ้อนกันสองชั้น ศิลปะไทลื้อ - ทรงโรง 5 ซด 2 ตับ
ด้านหน้า 2 ห้องเป็นโถงบันไดทางขึ้นด้านหน้า - บันไดสิงห์

หันหน้าให้แม่น้ำน่าน ทางทิศตะวันตก
ช่อฟ้าเป็นรูปนกหัสดีลิงค์ 
ในภาษาบาลี หัตดีลิงค์สกุโณ หัสดี แปลว่า ช้าง , ลิงค์ แปลว่า เพศ , สกุโณ แปลว่า นก
หน้าแหนบเป็นดอกประจำยามอยู่ในช่องสี่เหลี่ยม
หน้าแหนบของโถงระเบียงเป๋นลวดลายพรรณพฤกษา ล้อมรอบสุนัข
สิงห์เฝ้าหน้าบันได

 

เหนือประตูด้านหน้า ภาพเขียนซุ้มนาค

โครงหลังคาเป็นม้าต่างไหม
ด้านหน้าพระประธานตรงกลางที่เป็นบันได คือสัตภัณฑ์แบบไทลื้อ
ซ้ายมือเป้นธรรมมาสทรงปราสาท

หลังพระประธานเป็นอดีตพุทธะ 4 พระองค์ในภัทรกัป  และภาพเทวดาเพราะทรงเครื่อง หรือพระโพธิสัตว์  4 องค์ทรงเครื่องกษัตริย์ มีบาตร และพัด 

เหนือประตูทางเข้าด้านหน้าพระประธาน
พระพุทธเจ้าทรงไสยาสน์ เทวดาดีดพิณ ... เดินสายกลาง ไม่ตึงไม่หย่อนเกินไป

จิตรกรรมฝาผนังเรื่อง จันทคาธ
หรือ เรื่อง จันทร์สุริยะคาธ ที่เคยเป็นละครช่อง 7
moonstar
สุริยคราสกับจันทรคราส สองพี่น้องเกิดในครอบครัวที่ยากจน
ทั้งสองได้ช่วยงานพ่อแม่ด้วยการไปขุดปูมาทำอาหาร
ความเป็นเด็กจึงไม่ได้แบ่งไว้ให้ ตอนเย็นพ่อกับแม่กลับมาจากไร่ไม่มีอาหารกิน
ด้วยความโมโหจึงไล่ทั้งสองออกบ้าน
สองพี่น้องหลงอยู่ในป่า เทวดาได้แปลงเป็นเห็นงูกับพังพอนสู้กัน
เมื่องูหรือพังพอนตาย ก็ผลัดกันเคี้ยวเปลือกไม้ใส่ปากตัวที่ตายก็ฟื้น
สองพี่น้องจึงเก็บเปลือกไม้ไว้
เห็นกานอนตายอยู่ สุริยคราสจึงลองเคี้ยวเปลือกไม้ใส่ปากของกา กาฟื้นขึ้น

เมื่อกินผลไม้จนหมดป่า กาจึงหลอกสุริยคราสกับจันทรคราสเข้าไปในเมืองยักษ์
เพื่อเป็นอาหารในงานศพของเมียหัวหน้ายักษ์

สุริยคราสเข้าช่วยเหลือโดยเคี้ยวเปลือกไม้ใส่ปากเมียยักษ์ 
เมียยักษ์ฟื้นสำนึกในบุญคุณ จึงแอบพาสองพี่น้องมาที่เมืองกาสี

เศรษฐีใจบุญก็รับเลี้ยงดูสองคนนี้ไว้
พญาสุคะโต เจ้าเมืองกาสี มีธิดาชื่อนางสุจาติงสาถูกงูพิษกัดตาย - รูปงูกัด นางกำนัลร้องไห้
ทหารพาสุริยคราสและจันทคราสไป
สุริยคราสอาสาช่วยนางด้วยเปลือกไม้จนฟื้น
พญาสุคะโต จึงยกธิดาและเมืองกาสีให้สุริยคราส ปกครองต่อจากพระองค์

จันทรคราสอาศัยอยู่กับเศรษฐีและเดินทางไปค้าขายที่เมืองอินตะปะถะ
มีพญาพรหมจักรเป็นเจ้าเมือง มีธิดาชื่อนางเตวธิสังกา
ได้ถูกเขี้ยวเสือของพระบิดาทิ่มเท้าเสียชีวิต
จันทรคราสช่วยเหลือนางจนฟื้น - จันทคราสมีผ้าแดงเคี่ยนเอวถวายเปลือกไม้
พญาพรหมจักรได้จัดพิธีอภิเษกสมรสนางเตวธิสังกากับจันทรคราส
และปกครองเมืองอินตะปะถะแทนพระองค์
จันทรคราสคิดถึงสุริยคราสจึงเดินทางไปเมืองกาสีพร้อมกับนางเตวธิสังกา (เต-ว น่าจะแปลว่า เทวะ คำหลังยังคิดไม่ออก)
จากบนซ้าย ออกจากวังมีทหารมาส่งลงเรือ 
ระหว่างการเดินทางเกิดพายุ เรือล่มกลางทะเล นางเตวธิสังกานุ่งผ้านุ่งใหม่เพราะตกน้ำขึ้นฝั่งได้ แล้วก็เดินร้องไห้
จันทคราสขึ้นฝั่งทางใต้รูปกว่าก็เอานิ้วเช็ดน้ำตาแล้วเดินทางต่อไป
ทั้งสองจึงต้องพลัดพรากจากกัน

นางเตวธิสังกาเดินร้องไห้เข้าในเมืองอนุปะมะ ซึ่งมีพญาสุตัสสะนะจักรเป็นเจ้าเมือง
ได้พบกับยายปริสุทธิ นางพาไปอยู่ที่บ้านด้วยกัน
พญาสุตัสสะนะจักรทราบข่าวความงามของนางเตวธิสังกา จึงให้ขุนนางไปสู่ขอมาเป็นมเหสี ยายปริสุทธิจึงนำนางไปบวชชี
พญาสุตัสสะนะจักรผิดหวังจากนางเตวธิสังกา จึงให้ขุนนางไปสู่ขอนางพรหมจารี ธิดาเจ้าเมืองอนุราธะ
พญาสุตัสสะนะจักรและนางพรหมจจารีอยู่ด้วยกันไม่นาน ก็ทะเลาะกัน
พญาสุตัสสะนะจักรจึงสั่งให้ขุนนางนำนางพรหมจารีใส่แพไปลอยน้ำ
ผีผ้าห่ม
ส่วน จันทรคราสเดินพลัดหลงเข้าไปในป่า เห็นครุฑจับงู
ครุฑเห็นจันทรคราสก็ปล่อยงู งูตกลงมาตาย
จันทรคราสเคี้ยวเปลือกไม้ใส่ปากงู
งูฟื้นและแปลงร่างเป็นเด็กน้อยมอบแก้ววิเศษที่สามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ
จันทรคราสเดินทางต่อไปพบกับพญาทอนถูกทำร้าย นอนจมเลือดอยู่
แต่เปลือกไม้ของจันทรคราสหมด
พญาทอนจึงขอร้องให้จันทรคราสช่วยเผาศพพระองค์ด้วย
ก่อนสิ้นใจได้มอบรองเท้าวิเศษสวมแล้วเหาะได้ และ ดาบเท้าวิเศษให้จันทรคราส
จันทรคราสเผาศพพญาทอนเรียบร้อยแล้ว
สวมรองเท้าและสะพายดาบวิเศษเหาะไปหานางเตวธิสังกา

ระหว่างทางจันทคราสได้พบกับสามพี่น้อง ชื่อ ปทุมมา ทิพย์โสดา และสุกัญทา ที่โดดน้ำแล้วไปโผล่ที่ถ้ำ - หลงทาง
นางทั้งสามเป็นลูกสาวเศรษฐีเมืองสังกัสสะนคร
จันทรคราสจึงอาสานำสามพี่น้องไปส่งให้เศรษฐี และได้เจอพรานนำทางกลับเมืองสังกัสสะนคร
จันทรคราสมาถึงแม่น้ำจิระวดี ได้พบกับนางพรหมจารีที่ถูกพญาสุตัสสะนะจักรพระสวามี สั่งให้ใส่แพลอยน้ำ
ด้วยความสงสารจันทรคราสจึงได้พานางไปส่งที่เมืองอนุราธะ


รูปนี้ชอบมาก โดดน้ำลงไปช่วยจนตกแพทั้งจันทคราสและนางพรหมจารี

นางสุละโยธาแม่เลี้ยงของนางพรหมจารีจึงได้ถ่ายทอดวิชาอาคม
คือเสกใบไม้ให้เป็นคน และเสกน้ำในมหาสมุทรท่วมเมืองได้ ให้กับจันทรคราส
จันทรคราสเดินทางมาถึงเมืองอนุปะมะสอบถามผู้คนในเมืองนั้นไปหายายปริสุทธิ

นางเตวธิสังกาทราบข่าวจึงขอลาสิกขากับอาจารย์ ด้วยความรักและผลัดพรากจากกันนาน
เมื่อทั้งสองพบกัน ยายปริสุทธิจึงได้ผูกข้อมือ ... แต่งงาน ... ให้อีกครั้งหนึ่ง


พญาสุตัสสะนะจักรยังไม่เลิกรุกรานนางพรหมจารี
นางสุละโยธาแม่เลี้ยงนางพรหมจารีจึงยกทัพเข้าบุกตีเมืองอนุปะมะ
และขอให้จันทรคราสช่วยออกรบในครั้งนี้ด้วย
นางพรหมจารีสั่งทหารยิงปืนใหญ่ถล่มกำแพงเมืองจนพังทลาย
แล้วสั่งให้ทหารนำพญาสุตัสสะนะจักรไปประหารชีวิต


เมื่อเสร็จศึกนางจึงยกเมืองอนุปะมะให้จันทรคราสกับนางเตวธิสังกาปกครอง
เกิดศึกสงครามที่เมืองกันทะรัฐใกล้เมืองอนุปะมะ จันทรคราสช่วยออกรบ
และได้นางอุตตะมะธานีธิดาเจ้าเมืองกันทะรัฐเป็นมเหสี
มีพระโอรสด้วยกันชื่อ ทุกขัติยะวงศา
เมื่อศึกสงครามเสร็จสิ้นพระโอรสเติบโตเป็นหนุ่ม
จันทรคราสจึงยกเมืองอนุปะมะให้ปกครอง
ส่วนจันทรคราสกับนางเตวธิสังกากลับไปปกครองเมืองอินตะปะถะด้วยความสุข
leaf
จบเรื่องวัดหนองบัว 
*
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่