สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 9
ผมเชื่อว่าปี 2020 เป็นจุดเริ่มต้นของจุดจบของ x86 และ CISC โดยรวมเลยครับ จริง ๆ แล้วซีพียูตระกูล RISC นั้นมีการวิจัยวิเคราะห์กันมาตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 90 แล้วว่าดีกว่า CISC มาก ทั้งในแง่ประหยัดพลังงาน ออกแบบง่าย สร้างง่าย ทำ pipeline กับ superscalar ง่ายกว่า CISC เยอะ ซึ่งก็ส่งผลให้ประสิทธิภาพนั้นควรจะสูงกว่า CISC ด้วย สาเหตุที่ RISC (เช่น ARM หรือ PowerPC ยุคก่อน) ไม่สามารถตีตลาดคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและโน้ตบุ๊คได้นั้นไม่ใช่เพราะปัญหาทางเทคนิค แต่เป็นปัญหาด้านการรองรับของซอฟต์แวร์กับ ROI (return of investment) ของผู้ลงทุนผลิตชิป คือซอฟต์แวร์ที่เคยใช้ใน x86 ต้องเอามาคอมไพล์และ optimize ใหม่หมดสำหรับ RISC ซึ่งบริษัทผลิตซอฟต์แวร์ไหนบ้างจะยอมทำครับถ้าในตลาดยังไม่มีคอมพิวเตอร์แบบ RISC ใช้กันแพร่หลาย และเมื่อไม่มีซอฟต์แวร์สำหรับ RISC แล้วบริษัทผลิตฮาร์ดแวร์ไหนจะกล้าเอาชิป RISC มาใส่คอมพิวเตอร์ของตนเองถ้าไม่ได้รับเงินสนับสนุนจากผู้ผลิตชิป และผู้ผลิตชิป RISC เจ้าไหนจะยอมลงทุนลงเงินไปก่อนเป็นสิบปีเพื่อสร้างตลาดนี้ขึ้นมา มันก็ไม่มีคอมพิวเตอร์ RISC ที่ใช้กันแพร่หลายซิ กลายเป็นปัญหางูกินหางครับ นี่เป็นสาเหตุที่ RISC ไม่ได้รับตอบรับจากตลาดที่ x86 ครองอยู่ ก็เลยไปเล่นตลาดมือถือหรืออุปกรณ์พวก router หรือ printer แทน อุปกรณ์พวกนี้ไม่ต้องการกำลังการประมวลผลมาก คนทั่วไปก็เลยนึกว่า RISC/ARM ไม่สามารถประมวลผลหนัก ๆ ได้ ซึ่งไม่เป็นความจริง (ทำได้แต่ขายแล้วไม่คุ้ม)
สถานการณ์มาเปลี่ยนไปเมื่อ Apple มาสร้างชิป ARM เองเพื่อใช้กับ iPhone/iPad โดยเฉพาะช่วงหลังที่ชิปตระกูล A ที่ใช้กับ iPad นั้นมีประสิทธิภาพสูงมากทัดเทียมกับ x86 รุ่นล่าง ๆ เลย เป็นการสร้างประสบการณ์ในการพัฒนาชิป ARM ประสิทธิภาพสูงราคาเหมาะสมอย่างดี พอ Apple ประกาศปรับเปลี่ยน CPU ในเครื่องแมคทุกรุ่น มันเป็นการสร้างความมั่นใจให้ทั้งตลาดและนักพัฒนาซอฟต์แวร์ครับว่าชิปตระกูล ARM บน Desktop/Notebook จะมาแน่ อยู่ยาวแน่ เพราะ Apple มีทั้งเงินและมีทั้ง ecosystem ที่จะผลักดันนักพัฒนาซอฟต์แวร์ให้คอมไพล์โปรแกรมมารันบน ARM ลงทุนลงแรงแล้วไม่เสียเปล่า นอกจากนี้ Apple ยังมีประสบการณ์เปลี่ยน CPU จาก PowerPC มาเป็น x86 มาก่อนแล้วด้วย ผมมองว่า Apple นี้เป็นบริษัทที่สามารถผลักดัน ARM มาใช้บน Desktop/Notebook ได้อย่างไม่มีบริษัทไหนทำได้ เพราะ Apple สร้างทั้งชิปทั้งคอมพิวเตอร์ทั่ง OS ทั้งซอฟต์แวร์เองหมด และผลักดันผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ได้ด้วย
ทีนี้พอตลาดเชื่อมั่นแล้วว่า ARM มาแน่ บริษัทซอฟต์แวร์สร้างเวอร์ชันให้ ARM แน่ บริษัทอื่นที่เคยสร้างชิป ARM ในมือถือหรือสร้างชิปแบบอื่น (GPU / FPGA) ก็สนใจตลาดนี้แล้วซิครับ ไม่มีปัญหางูกินหางแล้วนี่ ผมเห็นด้วยกับคคห.6 นะครับว่า Apple ไม่น่าจะขายชิปตระกูล M ของตนให้บริษัทอื่นใช้ เพราะ Apple คงเก็บไว้เพื่อสร้างความแตกต่างในผลิตภัณฑ์ของตัวเอง (เป็นยุทธศาสตร์ของ Apple มาตั้งแต่ไหนแต่ไรอยู่แล้ว) แต่ผมสรุปไม่เหมือนคคห.ที่ 6 เพราะสิ่งที่ Apple ทำเหมือนการสภาวะและสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่สามารถนำเทคโนลียีมาใช้ทำลายกำแพงป้อมได้ (คลาด CPU Desktop/Notebook) แต่ไม่เข้าตีป้อมเอง มันก็มีเจ้าอื่นที่จะฉกฉวยโอกาสนี้เข้าตีป้อมที่ Apple ไม่สนใจน่ะครับ ช่วงที่ Apple จะประกาศ MacBook Pro/Mini รุ่นใหม่นั้นทาง AMD ก็ซื้อ Xilinx ส่วน NVIDIA ก็ซื้อ ARM ผมแน่ใจว่า Qualcomm ก็กำลังพัฒนา CPU ARM ใหม่ (ที่ไม่ใช่ 8cx Gen 2) สำหรับ Desktop/Notebook เหมือนกัน บริษัทพวกนี้พร้อมเข้าตีป้อมของ Intel กันแล้ว และทุกส่วนแบ่งตลาดที่บริษัทพวกนี้ฉกฉวยได้ก็คงเอามาจากส่วนแบ่ง Intel ทั้งนั้นครับ บริษัทพวกนี้ไม่ได้รบกันเอง แต่แข่งกันว่าใครจะช่วงชิงดินแดนของ Intel ได้มากกว่า เร็วกว่ากัน
สถานการณ์มาเปลี่ยนไปเมื่อ Apple มาสร้างชิป ARM เองเพื่อใช้กับ iPhone/iPad โดยเฉพาะช่วงหลังที่ชิปตระกูล A ที่ใช้กับ iPad นั้นมีประสิทธิภาพสูงมากทัดเทียมกับ x86 รุ่นล่าง ๆ เลย เป็นการสร้างประสบการณ์ในการพัฒนาชิป ARM ประสิทธิภาพสูงราคาเหมาะสมอย่างดี พอ Apple ประกาศปรับเปลี่ยน CPU ในเครื่องแมคทุกรุ่น มันเป็นการสร้างความมั่นใจให้ทั้งตลาดและนักพัฒนาซอฟต์แวร์ครับว่าชิปตระกูล ARM บน Desktop/Notebook จะมาแน่ อยู่ยาวแน่ เพราะ Apple มีทั้งเงินและมีทั้ง ecosystem ที่จะผลักดันนักพัฒนาซอฟต์แวร์ให้คอมไพล์โปรแกรมมารันบน ARM ลงทุนลงแรงแล้วไม่เสียเปล่า นอกจากนี้ Apple ยังมีประสบการณ์เปลี่ยน CPU จาก PowerPC มาเป็น x86 มาก่อนแล้วด้วย ผมมองว่า Apple นี้เป็นบริษัทที่สามารถผลักดัน ARM มาใช้บน Desktop/Notebook ได้อย่างไม่มีบริษัทไหนทำได้ เพราะ Apple สร้างทั้งชิปทั้งคอมพิวเตอร์ทั่ง OS ทั้งซอฟต์แวร์เองหมด และผลักดันผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ได้ด้วย
ทีนี้พอตลาดเชื่อมั่นแล้วว่า ARM มาแน่ บริษัทซอฟต์แวร์สร้างเวอร์ชันให้ ARM แน่ บริษัทอื่นที่เคยสร้างชิป ARM ในมือถือหรือสร้างชิปแบบอื่น (GPU / FPGA) ก็สนใจตลาดนี้แล้วซิครับ ไม่มีปัญหางูกินหางแล้วนี่ ผมเห็นด้วยกับคคห.6 นะครับว่า Apple ไม่น่าจะขายชิปตระกูล M ของตนให้บริษัทอื่นใช้ เพราะ Apple คงเก็บไว้เพื่อสร้างความแตกต่างในผลิตภัณฑ์ของตัวเอง (เป็นยุทธศาสตร์ของ Apple มาตั้งแต่ไหนแต่ไรอยู่แล้ว) แต่ผมสรุปไม่เหมือนคคห.ที่ 6 เพราะสิ่งที่ Apple ทำเหมือนการสภาวะและสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่สามารถนำเทคโนลียีมาใช้ทำลายกำแพงป้อมได้ (คลาด CPU Desktop/Notebook) แต่ไม่เข้าตีป้อมเอง มันก็มีเจ้าอื่นที่จะฉกฉวยโอกาสนี้เข้าตีป้อมที่ Apple ไม่สนใจน่ะครับ ช่วงที่ Apple จะประกาศ MacBook Pro/Mini รุ่นใหม่นั้นทาง AMD ก็ซื้อ Xilinx ส่วน NVIDIA ก็ซื้อ ARM ผมแน่ใจว่า Qualcomm ก็กำลังพัฒนา CPU ARM ใหม่ (ที่ไม่ใช่ 8cx Gen 2) สำหรับ Desktop/Notebook เหมือนกัน บริษัทพวกนี้พร้อมเข้าตีป้อมของ Intel กันแล้ว และทุกส่วนแบ่งตลาดที่บริษัทพวกนี้ฉกฉวยได้ก็คงเอามาจากส่วนแบ่ง Intel ทั้งนั้นครับ บริษัทพวกนี้ไม่ได้รบกันเอง แต่แข่งกันว่าใครจะช่วงชิงดินแดนของ Intel ได้มากกว่า เร็วกว่ากัน
แสดงความคิดเห็น
จากข่าว กำลังหมดยุค X86?AMD ซุ่มพัฒนาชิปประมวลผล ARM เช่นเดียวกัน (คิดว่ายังไงกันบ้าง)
อุปกรณ์ฝั่ง Mac ก็มี Apple M1 ของ Apple แต่สำหรับอุปกรณ์ฝั่ง Windows นั้นก็ยังน่าคิดว่าใครจะเข้ามาร่วมในตลาดนี้บาง เดิมก็มี Snapdragon ของ Qualcomm อย่าง Surface Pro X ที่ใช้ชิปประมวลผล ARM อยู่ แต่จากข่าวล่าสุดอาจไม่ได้มีเพียง Qualcomm เท่านั้นที่จะทำชิป ARM สำหรับอุปกรณ์ฝั่ง Windows PC ครับ มีข่าวจากต่างประเทศว่าตอนนี้ AMD เองก็กำลังซุ่มพัฒนาชิปประมวลผล ARM อยู่เช่นเดียวกัน Leaker ที่ชื่อว่า @MauriQHD บอกว่าตอนนี้ ADM มีชิปต้นแบบ ARM ซึ่งเป็นคู่แข่งของ Apple M1 อยู่ในมือแล้ว ตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงทดสอบการทำงานอยู่ แต่ก็ถึงจุดที่ “เกือบพร้อมใช้งาน” แล้วละ่ครับ ตอนนี้ก็เหลือเพียงแต่ Intel แล้วที่ไม่รู้จะเป็นอย่างไรต่อ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ก็ดูเหมือนจะเป็นมรสุมของ Intel พอสมควร นอกจากจะโดน AMD ตีตื้นขึ้นมาได้ก็ยังมาเสียลูกค้าอย่าง Apple ที่หันไปใช้ชิปประมวลผล ARM แทนอีก จากข่าวwww.appdisqus.com (การตลาดจะมีการเปลี่ยนไปบ้างใหม)