*** ประวัติศาสตร์ของตราค้อนเคียว ***

จากกระแสเรื่องตราค้อนเคียวเร็วๆ นี้เรามาย้อนดูประวัติศาสตร์ของมันกันเถอะ

ตราค้อนเคียวมีความหมายดั้งเดิมคือการรวมตัวกันของแรงงานภาคอุตสาหกรรม (แทนด้วยค้อน) และแรงงานภาคเกษตรกรรม (แทนด้วยเคียวเกี่ยวข้าว) เป็นสัญลักษณ์ที่ถูกใช้มาตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 หลักๆ พบในเหรียญเปโซของชิลี มี variation เช่นรูปค้อนกับคันไถ (ความหมายเดียวกับค้อนเคียว คือคันไถแทนภาคเกษตรกรรม)

ต่อมาปี 1917 เมื่อวลาดิมีร์ เลนินได้นำการปฏิวัติตุลาคมได้รับชัยชนะในรัสเซีย จึงให้คนมาประกวดออกแบบสัญลักษณ์ของรัฐใหม่ อันจะเป็นรัฐที่สร้างขึ้นโดยชนชั้นแรงงาน เพื่อชนชั้นแรงงาน ตามอุดมการณ์คอมมิวนิสต์(ต่อมาคือสหภาพโซเวียต)

ศิลปินผู้ประกวดชนะคือนายเยฟเกนี คัมโซลกิน เขาวาดภาพค้อนเคียวบนลูกโลก มีดาวแดงข้างบน ดวงอาทิตย์ข้างล่าง มีรูปรวงข้าวอยู่ซ้ายขวา และบนรวงข้าวมีริบบินเขียนว่า “ชนชั้นแรงงานโลก จงรวมกัน!” เป็นหกภาษา คือภาษารัสเซีย ยูเครน เบลารุส จอร์เจีย อาร์มีเนีย และอาเซอร์ไบจาน ซึ่งเป็นภาษาของรัฐที่จะรวมเป็นโซเวียตตอนนั้น

ตรานี้ถูกพัฒนาเรื่อยมาจนกลายเป็นตราแผ่นดินของโซเวียตอย่างเป็นทางการในปี 1923 อนึ่งตอนแรกตรานี้มีดาบด้วย แต่เลนินเอาออกเพราะไม่ชอบภาพลักษณ์ที่สื่อถึงสงคราม

ในลักษณะนี้ตราค้อนเคียวจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของโซเวียต และลัทธิคอมมิวนิสต์ ภายหลังมีการให้ความหมายไปอีกหลากหลาย เช่นช่วงหนึ่งมีการตีความว่าค้อนหมายถึงผู้ชาย เคียวหมายถึงผู้หญิง

และต่อมาตราค้อนเคียว รวมถึงดวงดาว ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของพรรคคอมมิวนิสต์ทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน ตราสัญลักษณ์คอมมิวนิสต์ต่างๆ รวมถึงตราแผ่นดินจีนล้วนได้รับแรงบันดาลใจจากดวงตราแรกนี้


ภาพแนบ: ตราโซเวียตยุคแรก


ตราที่ประกวดแพ้


ช่วงท้ายๆ ตราแผ่นดินโซเวียตงอกออกไปเป็น 15 ชาติภาษา (เคยขึ้นถึง 16 แล้วตัดฟินแลนด์ออก)


ตราที่ประกวดแพ้


ตราที่ประกวดแพ้


ตราที่ประกวดแพ้


ตราที่ประกวดแพ้

ตราที่ประกวดแพ้

ตราที่ประกวดแพ้

::: ::: :::
สนใจเรื่องประวัติศาสตร์ สงคราม เรื่องต่างประเทศ กดติดตามเพจ https://www.facebook.com/pongsorn.bhumiwat/
กรุ๊ปประวัติศาสตร์ สงคราม เรื่องต่างประเทศ https://www.facebook.com/groups/thewildchronicles/
กรุ๊ปท่องเที่ยว เที่ยวโหดเหมือนโกรธบ้าน https://www.facebook.com/groups/wildchroniclestravel/
Line Square: https://line.me/ti/g2/8pIcVHp3cc6-jyQJdzIFrg

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่