คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
อุตส่าห์แก้กฎหมายทั้งที แทนที่จะแก้ไขให้สอดคล้องเหมาะสมกับความเป็นจริง กลับแก้แบบเดินย่ำอยู่ที่เดิม
สิ่งแรกที่คิดคือ คนเขียนกฏหมายขับแต่รถยนต์ เลยรู้ว่าคนขับรถยนต์อยากได้อะไร ซึ่งผมก็มองว่าสอดคล้องกับความเป็นจริงอยู่ จุดนี้รับได้
แต่พอมาอ่านของมอเตอร์ไซค์ ถึงกับขยี้ตา แม่..คนออกกฏหมายน่าจะไม่เคยขับมอเตอร์ไซค์
ขอขยายความแบบนี้ครับ
- มอเตอร์ไซค์ ไม่เกิน 125 cc. ปกติความเร็วสูงสุดอยู่ประมาณ 90-110 กม./ชม. กำหนดไว้ไม่เกิน 80 กม./ชม. ยังพอเป็นได้อยู่ครับ เพราะยังอยู่ในช่วงที่เครื่องยนต์มีกำลัง การเร่ง การหยุด ยังทำได้อย่างเหมาะสม
- มอเตอร์ไซค์ เกิน 125 cc. แต่ไม่ถึง 400 cc. (กำลังไม่ถึง 35 kW) ความเร็วสูงสุดของแต่ละรุ่นไม่เท่ากัน อยู่ในช่วงที่กว้างมากๆ มีตั้งแต่ 90 กม./ชม. (เช่น KLX150) และไปถึง 180 กม./ชม. (เช่น Z400) กลุ่มนี้เหมารวมจะให้วิ่งไม่เกิน 80 กม./ชม. แทบเป็นไปไม่ได้เลย ไม่สอดคล้องความเป็นจริง อย่างน้อยความให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 90 กม./ชม. ตามกฏหมายเก่า
- มอเตอร์ไซค์ ตั้งแต่ 400 cc. หรือกำลังตั้งแต่ 35 kW กำหนดความเร็วไม่เกิน 100 กม./ชม. ในขณะที่รถยนต์ให้ไม่เกิน 120 กม./ชม. นับว่าเป็นจุดอันตรายมากๆ ถึงมากที่สุด เนื่องจากมอเตอร์ไซค์กลุ่มนี้มีอัตราเร่งและความเร็วเหนือกว่ารถยนต์ทั่วไป สามารถเร่งแซงรถยนต์ได้สบายๆ แต่กลับบังคับให้ขับช้ากว่ารถยนต์ ทำให้เกะกะรถยนต์ คนที่เคยขับขี่มอเตอร์ไซค์กลุ่มนี้จะรู้ว่าควรใช้ความเร็วให้มากกว่ารถยนต์เล็กน้อยจึงจะปลอดภัย แต่ถ้าขี่ช้ากว่าจะอันตรายมาก เพราะอัตราเร่งของรถยนต์ทั่วไปจะน้อยกว่ามอเตอร์ไซค์กลุ่มนี้ รถยนต์จะแซงก็ลำบาก จะชะลอก็ลำบาก ระยะเบรคก็มากกว่า ดูเกะกะไปหมด แทนที่จะปลอดภัย กลายเป็นอันตรายกว่าเดิม
- มอเตอร์ไซค์ ตั้งแต่ 400 cc. หรือกำลังตั้งแต่ 35 kW ควรกำหนดความเร็วไม่เกิน 120 กม./ชม. เท่ากับรถยนต์ แล้วกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการสอบใบขับขี่ให้รัดกุม เพื่อคัดกรองคนที่จะมาขี่ จะดีกว่าและปลอดภัยกว่าครับ
เห็นด้วยกับการแก้ไขกฏหมายนะครับ แต่มันควรปลอดภัยขึ้นและสอดคล้องกับความเป็นจริง
แก้กฏหมายไปแล้วคนปฏิบัติตามไม่ได้ กฏหมายก็เป็นแค่ช่องทางหากินของมิจฉาชีพในคราบเจ้าหน้าที่
สิ่งแรกที่คิดคือ คนเขียนกฏหมายขับแต่รถยนต์ เลยรู้ว่าคนขับรถยนต์อยากได้อะไร ซึ่งผมก็มองว่าสอดคล้องกับความเป็นจริงอยู่ จุดนี้รับได้
แต่พอมาอ่านของมอเตอร์ไซค์ ถึงกับขยี้ตา แม่..คนออกกฏหมายน่าจะไม่เคยขับมอเตอร์ไซค์
ขอขยายความแบบนี้ครับ
- มอเตอร์ไซค์ ไม่เกิน 125 cc. ปกติความเร็วสูงสุดอยู่ประมาณ 90-110 กม./ชม. กำหนดไว้ไม่เกิน 80 กม./ชม. ยังพอเป็นได้อยู่ครับ เพราะยังอยู่ในช่วงที่เครื่องยนต์มีกำลัง การเร่ง การหยุด ยังทำได้อย่างเหมาะสม
- มอเตอร์ไซค์ เกิน 125 cc. แต่ไม่ถึง 400 cc. (กำลังไม่ถึง 35 kW) ความเร็วสูงสุดของแต่ละรุ่นไม่เท่ากัน อยู่ในช่วงที่กว้างมากๆ มีตั้งแต่ 90 กม./ชม. (เช่น KLX150) และไปถึง 180 กม./ชม. (เช่น Z400) กลุ่มนี้เหมารวมจะให้วิ่งไม่เกิน 80 กม./ชม. แทบเป็นไปไม่ได้เลย ไม่สอดคล้องความเป็นจริง อย่างน้อยความให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 90 กม./ชม. ตามกฏหมายเก่า
- มอเตอร์ไซค์ ตั้งแต่ 400 cc. หรือกำลังตั้งแต่ 35 kW กำหนดความเร็วไม่เกิน 100 กม./ชม. ในขณะที่รถยนต์ให้ไม่เกิน 120 กม./ชม. นับว่าเป็นจุดอันตรายมากๆ ถึงมากที่สุด เนื่องจากมอเตอร์ไซค์กลุ่มนี้มีอัตราเร่งและความเร็วเหนือกว่ารถยนต์ทั่วไป สามารถเร่งแซงรถยนต์ได้สบายๆ แต่กลับบังคับให้ขับช้ากว่ารถยนต์ ทำให้เกะกะรถยนต์ คนที่เคยขับขี่มอเตอร์ไซค์กลุ่มนี้จะรู้ว่าควรใช้ความเร็วให้มากกว่ารถยนต์เล็กน้อยจึงจะปลอดภัย แต่ถ้าขี่ช้ากว่าจะอันตรายมาก เพราะอัตราเร่งของรถยนต์ทั่วไปจะน้อยกว่ามอเตอร์ไซค์กลุ่มนี้ รถยนต์จะแซงก็ลำบาก จะชะลอก็ลำบาก ระยะเบรคก็มากกว่า ดูเกะกะไปหมด แทนที่จะปลอดภัย กลายเป็นอันตรายกว่าเดิม
- มอเตอร์ไซค์ ตั้งแต่ 400 cc. หรือกำลังตั้งแต่ 35 kW ควรกำหนดความเร็วไม่เกิน 120 กม./ชม. เท่ากับรถยนต์ แล้วกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการสอบใบขับขี่ให้รัดกุม เพื่อคัดกรองคนที่จะมาขี่ จะดีกว่าและปลอดภัยกว่าครับ
เห็นด้วยกับการแก้ไขกฏหมายนะครับ แต่มันควรปลอดภัยขึ้นและสอดคล้องกับความเป็นจริง
แก้กฏหมายไปแล้วคนปฏิบัติตามไม่ได้ กฏหมายก็เป็นแค่ช่องทางหากินของมิจฉาชีพในคราบเจ้าหน้าที่
แสดงความคิดเห็น
มีความคิดอย่างไร ครม.อนุมัติกฏกระทรวงกำหนดความเร็วของยานพาหนะ กำหนดให้มอเตอร์ไซค์ไม่เกิน 80 กม/ชม.
จากครม.อนุมัติ ผ่าน ร่างกฎกระทรวงกำหนดความเร็วของยานพาหนะ
ชี่งกำหนดความเร็วมอเตอร์ไซค์ไม่เกิน 80 กม./ชม.
รถบิ๊กไบค์(400CCขึ้นไป) ไม่เกิน 100 กม./ชม.
ใช้ความเร็วเกินกว่าที่กำหนดผิดกฎหมาย ทั้งที่ปัจจุบันรถมอเตอร์ไซค์มีสมรรถนะและกำลังเครื่องยนต์ดีกว่าในอดีตมาก
ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
เปิดสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงกำหนดความเร็วของยานพาหนะ พ.ศ. ....
กำหนดความเร็วในการขับรถในทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงชนบทที่มีทางเดินรถที่จัดแบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่ 2 ช่องเดินรถ มีเกาะกลางถนนเฉพาะแบบกำแพงกั้น (Barrier Median) และไม่มีจุดกลับรถเสมอระดับถนน รวมทั้งกำหนดความเร็วขั้นต่ำสำหรับการขับรถในช่องเดินรถช่องทางขวาสุดของทางเดินรถในทางหลวง ดังนี้
1. กำหนดให้ความเร็วขั้นสูงสำหรับการขับรถในทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงชนบท ที่มีทางเดินรถที่จัดแบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่ 2 ช่องเดินรถ มีเกาะกลางถนนเฉพาะแบบกำแพงกั้น (Barrier Median) และไม่มีจุดกลับรถเสมอระดับถนน ให้ขับรถแต่ละประเภทในทางเดินรถโดยใช้ความเร็วไม่เกิน ดังนี้
- รถบรรทุกที่มีน้ำหนักเกิน 2,200 กิโลกรัม รถบรรทุกคนโดยสารที่บรรทุกคนโดยสารเกิน 15 คน ให้ขับโดยใช้ความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- รถในขณะที่ลากจูงรถอื่น รถยนต์สี่ล้อเล็ก หรือรถยนต์สามล้อ ให้ขับโดยใช้ความเร็วไม่เกิน 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- รถจักรยานยนต์ ให้ขับโดยใช้ความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือรถจักรยานยนต์ที่มีกำลังเครื่องยนต์ตั้งแต่ 35 กิโลวัตต์ขึ้นไป หรือมีขนาดความจุของกระบอกสูบรวมกันตั้งแต่ 400 ลูกบาศก์เซนติเมตรขึ้นไป ให้ขับโดยใช้ความเร็วไม่เกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- รถโรงเรียน หรือรถรับส่งนักเรียน ให้ขับโดยใช้ความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
-รถบรรทุกคนโดยสาร เกิน 7 คน แต่ไม่เกิน 15 คน ให้ขับโดยใช้ความเร็วไม่เกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
-รถยนต์อื่น ให้ขับโดยใช้ความเร็วไม่เกิน 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
2. กำหนดความเร็วขั้นต่ำสำหรับการขับรถในช่องเดินรถช่องทางขวาสุดของทางเดินรถในทางหลวง ซึ่งจัดแบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่ 2 ช่องทางขึ้นไป โดยให้รถยนต์อื่นนอกจากรถยนต์ ตามข้อ 1 ขับในช่องทางเดินรถช่องขวาสุด โดยใช้ความเร็วไม่ต่ำกว่า 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
3. กำหนดให้ในเขตทางที่มีป้ายหรือเครื่องหมายจราจรแสดงว่าเป็นเขตอันตราย หรือเขตให้ขับรถ ช้า ๆ ให้ลดความเร็วลงและเพิ่มความระมัดระวังขึ้นตามสมควร
4. กำหนดให้ในกรณีที่มีเครื่องหมายจราจรกำหนดอัตราความเร็วขั้นสูงต่ำกว่าที่กำหนดในข้อ 1. ในทางเดินรถใด ไม่ว่าตลอดทางเดินรถหรือกำหนดในช่วงใดช่วงหนึ่งของทางเดินรถ ให้ผู้ขับขี่รถทุกประเภทขับไม่เกินอัตราความเร็วขั้นสูงที่กำหนดไว้ในเครื่องหมายจราจรนั้น ตลอดทางเดินรถหรือในช่วงที่กำหนดดังกล่าว ยกเว้นกรณีไม่สามารถปฏิบัติได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่องปริมาณรถในทางเดินรถ หรือเหตุขัดข้องอื่นใดอันมีเหตุผลสมควรแก่กรณี
5. กำหนดให้เครื่องหมายจราจรตามข้อ 4. ต้องแสดงให้ผู้ขับขี่เห็นได้ชัดเจนก่อนถึงทางเดินรถ หรือช่วงที่กำหนดของทางเดินรถนั้น ในระยะเพียงพอที่ผู้ขับขี่จะสามารถลดความเร็วเพื่อปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจรนั้นได้ และต้องแสดงเครื่องหมายจราจรดังกล่าวเป็นระยะตลอดจนสิ้นสุดทางเดินรถ หรือสิ้นสุดช่วงที่กำหนด โดยให้หน่วยงานซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลทางเดินรถนั้น ๆ ดำเนินการจัดทำเครื่องหมายจราจร และมีหน้าที่ควบคุมกำหนดความเร็วในเครื่องหมายจราจรประเภทที่สามารถปรับเปลี่ยน รูปภาพ ข้อความ ตัวหนังสือ ตัวเลข หรือสัญลักษณ์ได้
มีความคิดเห็นเป็นอย่างไรครับ