(ที่มาของชื่อสัญญาณ "Wow" เกิดจากคำอุทานที่นักวิทยาศาสตร์เขียนไว้ตรงริมขอบกระดาษที่เต็มไปด้วยข้อมูลรหัส)
Cr.NAAPO
ในวันที่ 15 สิงหาคม ปี 1977 กล้องโทรทรรศน์วิทยุบิ๊กเอียร์ (Big Ear radio telescope) ในรัฐโอไฮโอของสหรัฐฯ สามารถตรวจจับสัญญาณวิทยุกำลังสูงในย่านความถี่แคบจากห้วงอวกาศได้เป็นเวลา 72 วินาที ซึ่งผลวิเคราะห์เทียบเคียงกับสัญญาณจากนอกโลกอื่น ๆ ชี้ว่า สัญญาณนี้มีความเป็นไปได้สูงสุดในประวัติศาสตร์ ที่จะเป็นการสื่อสารจากมนุษย์ต่างดาว
นักดาราศาสตร์ในโครงการค้นหาสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาต่างดาวหรือเซติ (SETI) เรียกชื่อสัญญาณปริศนานี้ว่า "Wow!" ตามคำอุทานด้วยความประหลาดใจที่นักดาราศาสตร์ผู้หนึ่งเขียนไว้ตรงริมขอบกระดาษซึ่งเต็มไปด้วยข้อมูลรหัส พร้อมกับวงกลมส่วนที่บันทึกข้อมูลประหลาด "6EQUJ5" เอาไว้ด้วย
โครงการ SETI โดยบิ๊กเอียร์ ใช้เวลาที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์เป็นเวลา24 ปีในการการค้นหาอย่างต่อเนื่อง แต่เป็นที่น่าเสียดาย นักดาราศาสตร์ของเซติไม่สามารถตรวจจับสัญญาณข้างต้นได้ซ้ำอีกเลยแม้แต่ครั้งเดียว และจนบัดนี้ก็ยังไม่ทราบแหล่งที่มาของสัญญาณอย่างแน่ชัด เพียงสันนิษฐานว่าน่าจะมาจากกลุ่มดาวคนถือธนูหรือซาจิตทาเรียส (Sagittarius) เท่านั้น
ดาวคล้ายดวงอาทิตย์ที่มีศักยภาพเพียงดวงเดียวที่พบในขอบเขตสัญญาณพร้อมแหล่งข้อมูล
ที่มีชื่อ 2MASS 19281982-2640123
(ภาพถ่ายบางส่วนของกลุ่มดาวคนถือธนูหรือซาจิตทาเรียส บันทึกไว้โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล)
Cr.NASA /ESA /HUBBLE
อย่างไรก็ตาม ล่าสุด Alberto Caballero นักดาราศาสตร์สมัครเล่น ได้เผยแพร่ผลงานวิจัยเรื่องดังกล่าวผ่านคลังเอกสารวิชาการออนไลน์ arXiv.org โดยอ้างว่าเขาสามารถติดตามค้นหาแหล่งกำเนิดของสัญญาณได้แล้ว โดยชี้ว่าน่าจะเป็นดาวฤกษ์ที่มีลักษณะคล้ายกับดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะของเรา และเป็นหนึ่งในดาวฤกษ์หลายดวงของกลุ่มดาวคนถือธนูที่ระยะทาง 1,800 ปีแสง เป็นแฝดที่เหมือนกันกับดวงอาทิตย์ของเราโดยมีอุณหภูมิรัศมีและความส่องสว่างเท่ากัน
โดย Caballero ใช้วิธีค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ (Exoplanet) ที่เหมาะสมต่อการกำเนิดชีวิต ซึ่งอยู่ในบริเวณขอบเขตของท้องฟ้าที่สัญญาณดังกล่าวถูกส่งมา รวมทั้งค้นหาดาวฤกษ์ศูนย์กลางที่ดาวเคราะห์ประเภทดังกล่าวโคจรวนรอบอยู่ด้วย โดยใช้ฐานข้อมูลของกล้องโทรทรรศน์อวกาศ Gaia
ซึ่งกำลังทำแผนที่สามมิติของกาแล็กซีทางช้างเผือก และรวบรวมข้อมูลของดาวฤกษ์ไว้ถึง 1.3 พันล้านดวง
ผลการค้นหาและคัดเลือกดวงดาว ซึ่งมีการสุ่มตัวอย่างดาวประเภท G และ K ทั้งหมด 66 ดวง ที่เหมาะจะเป็นถิ่นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญานอกโลกในครั้งนี้ Caballero พบว่าดาวฤกษ์ 2MASS 19281982-2640123 เข้าข่ายจะเป็นดาวฤกษ์ศูนย์กลางของระบบสุริยะซึ่งอาจจะมีดาวเคราะห์บริวารเป็นบ้านของเอเลียนทรงภูมิปัญญารวมอยู่ด้วยมากที่สุด นอกจากนี้ยังพบดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์อีก 14 ดวง (มีอุณหภูมิโดยประมาณระหว่าง 5,730 ถึง 5,830 K) ในภูมิภาคนี้ แต่ยังไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับความส่องสว่างและรัศมี
แม้จะมีความเป็นไปได้ว่า ยังมีดวงดาวอื่น ๆ ในบริเวณใกล้เคียง ที่เข้าข่ายเป็นบ้านของสิ่งมีชีวิตซึ่งส่งข้อมูลสื่อสารผ่านคลื่นวิทยุได้อยู่อีก แต่ Caballero บอกว่า นักดาราศาสตร์อาจใช้ดาวฤกษ์ที่เขาค้นพบเป็นจุดเริ่มต้น ในการค้นหาต้นกำเนิดของสัญญาณ Wow! ให้ละเอียดแม่นยำยิ่งขึ้นในอนาคต
กล้องโทรทรรศน์อวกาศกายอา (Gaia)
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานักดาราศาสตร์คนอื่น ๆ หลายคนก็ได้ติดตามสัญญาณ Wow! เช่นกัน โดยนักดาราศาสตร์ Shostak บอกว่าสัญญาณดังกล่าวเป็นเพียงหนึ่งในการตรวจจับที่คล้ายกันหลายอย่างที่เกิดขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
“ ในสมัยนั้นเป็นเรื่องปกติมากที่จะรับสัญญาณประเภทนี้เพียงครั้งเดียว” Shostak กล่าว “ คอมพิวเตอร์สมัยก่อนไม่สามารถติดตามผลแบบเรียลไทม์ได้
แต่เมื่อคอมพิวเตอร์ของหอดูดาวมีความซับซ้อนเพียงพอสำหรับการติดตามผลแบบเรียลไทม์ได้จำนวนสัญญาณลึกลับกลับลดลง เหมือนมนุษย์ต่างดาวรู้ว่าเรามีอุปกรณ์ที่ดีกว่าแล้ว ” Shostak กล่าวอย่างติดตลก
ตัวอย่างเช่น ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานักดาราศาสตร์ได้ค้นพบการ "ระเบิดของคลื่นวิทยุอย่างรวดเร็ว" ( fast radio bursts /FRBs) ซึ่งในตอนแรกถูกมองว่าเป็นสัญญาณวิทยุที่ระเบิดอย่างรุนแรงซึ่งปรากฏเพียงครั้งเดียว ซึ่งต่อมาการค้นพบ FRB รวมถึงความคืบหน้าในการติดตามต้นกำเนิดของพวกมัน ถือเป็นหนึ่งในความก้าวหน้าครั้งใหญ่ที่สุดในวงการดาราศาสตร์
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
ดาวฤกษ์ในกลุ่มดาวคนถือธนูอาจส่งสัญญาณมาถึงโลกเมื่อ 43 ปีก่อน
“ ในสมัยนั้นเป็นเรื่องปกติมากที่จะรับสัญญาณประเภทนี้เพียงครั้งเดียว” Shostak กล่าว “ คอมพิวเตอร์สมัยก่อนไม่สามารถติดตามผลแบบเรียลไทม์ได้
แต่เมื่อคอมพิวเตอร์ของหอดูดาวมีความซับซ้อนเพียงพอสำหรับการติดตามผลแบบเรียลไทม์ได้จำนวนสัญญาณลึกลับกลับลดลง เหมือนมนุษย์ต่างดาวรู้ว่าเรามีอุปกรณ์ที่ดีกว่าแล้ว ” Shostak กล่าวอย่างติดตลก