JJNY : 'ศิริกัญญา'เปิด7คำถามไฟเขียว'ซีพี'ควบ'โลตัส/'สมคิด'ยันส.ส.ร.ต้องมาจากลต./นิพิฏฐ์ลุยฟ้องกกต./อแมนด้าตอกรองปลัดศธ.

'ศิริกัญญา' เปิด 7 คำถามคาใจซัก กขค.ไฟเขียว 'ซีพี' ควบรวม 'โลตัส'
https://voicetv.co.th/read/5LovNXy52
 

 

ส.ส.พรรคก้าวไกล เตรียม 7 คำถามเด็ดซัก กขค. กรณีไฟเขียว ซีพีควบโลตัส ส่อผูกขาดทางการค้า
 
ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า กมธ.มีมติเชิญบอร์ดแข่งขันทางการค้า (กขค.) มาชี้แจงกรณีอนุญาตให้รวมธุรกิจของกลุ่มซีพีและเทสโก โลตัส โดยทางบอร์ดระบุว่าจะส่งตัวแทนมาชี้แจงแทน ในวันที่ 25 พ.ย. อย่างไรก็ตาม ถึงตอนนี้ทาง กมธ.ยังไม่ได้รับรายงานทางวิชาการที่ใช้ประกอบการพิจารณาที่ได้ขอไป โดยแจ้งว่าอยู่ระหว่างการดำเนินการ
 
นอกจากนี้ ศิริกัญญา ยังได้เตรียมคำถามที่คับข้องใจและที่อยากฟังคำตอบจาก กขค. ได้แก่ 
 
1. ตลาดที่ กขค.พิจารณา คือ ตลาดอะไรกันแน่ สิ่งที่ กขค. เรียกว่า “ตลาดร้านค้าปลีกสมัยใหม่ สินค้าอุปโภคบริโภคประเภทร้านค้าปลีกขนาดเล็ก” ประกอบด้วยผู้เล่นรายใดบ้าง ได้พิจารณาอำนาจเหนือตลาดทั้งตลาดฝั่งผู้บริโภคและฝั่งผู้ผลิตหรือ supplier ด้วยหรือไม่
 
2. ทำไมคำวินิจฉัยระบุว่า "มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญ" แต่กลับบอกว่า “ไม่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคส่วนรวม” บอร์ดได้คำนึงถึงการผูกขาดในเชิงพื้นที่หรือไม่ มีหลายพื้นที่ที่ทั้งจังหวัดมีแค่ห้างแม็คโคร ไม่ก็เทสโก้โลตัส เมื่อควบรวมแล้ว ผู้บริโภคก็ไม่เหลือทางเลือกอื่น
 
3. เหตุผลในการออกเงื่อนไขทั้ง 7 ข้อ มีวัตุประสงค์อะไร จะเป็นการเยียวยาได้อย่างไร จะสามารถป้องกันการใช้อำนาจเหนือตลาดได้อย่างไร มีกระบวนการบังคับใช้อย่างไรบ้าง มีบทลงโทษหากผิดเงื่อนไขหรือไม่ ตามพรบ.แข่งขันทางการค้า หากไม่ทำตามเงื่อนไขนั้นให้เพิกถอนการอนนุญาตได้เลย แต่บอร์ดจะมีวิธีการตรวจสอบได้อย่างไร
 
4. เหตุใดจึงเลือกมาตรการเยียวยาที่เป็นเงื่อนไขควบคุมพฤติกรรม แต่ไม่ใช้เงื่อนไขโครงสร้างตลาด เช่น ลดขนาดการควบรวม ห้ามขยายสาขา ลดจำนวนสาขา
 
5.  ด้วยข้อมูลสนับสนุนชุดเดียวกัน เพราะเหตุใดบอร์ดจึงเสียงแตก และมีคำวินิจฉัยที่แตกต่างออกเป็น 2 ขั้วได้ขนาดนี้ กรรมการเสียงข้างมากอนุญาตแบบมีเงื่อนไขที่เห็นว่าจะควบคุมอำนาจตลาดตรงไหน ส่วนกรรมการเสียงข้างน้อยนั้นไม่นุญาตเลย
 
6. แนวทางอื่นๆ ที่จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการใช้อำนาจเหนือตลาดหลังจากมีการควบรวมนอกเหนือไปจากใช้ ม.50
  
7. แนวทางป้องกันไม่ให้เกิดกรณีเช่นนี้อีกในอนาคต รวมถึงการแก้ไขปรับปรุง พ.ร.บ. และกฎหมายลูก โดยเฉพาะเรื่องกฎเกณฑ์การมีอำนาจเหนือตลาด กลไกสนับสนุนการฟ้องคดีโดยประชาชนแบบ class action
 
ศิริกัญญา ยังระบุอีกว่า หากผู้ใดต้องการฝากคำถามนอกจากนี้ สามารถส่งคำถามมาได้ที่เฟซบุ๊ก Sirikanya Tansakun - ศิริกัญญา ตันสกุล และหากขอมติที่ประชุมให้มีการไลฟ์สดได้ ขอให้ติดตามพร้อมกันในวันพรุ่งนี้ (25 พ.ย.) เวลา 13.00 น. 
 
ทั้งนี้ ศิริกัญญา เคยออกมาแสดงความกังวลถึงมติของบอร์ด กขค. ต่อกรณีดังกล่าว โดยระบุว่า เงื่อนไขในการควบรวมของบอร์ด กขค. ได้วางเพียงเงื่อนไขเรื่องพฤติกรรมเป็นส่วนใหญ่และเป็นมาตรการที่เบามากจนไม่รู้สึกว่าจะสามารถป้องกันการใช้อำนาจเหนือตลาดได้จริง 
  
ทำลายคู่แข่งการค้า
  
และหากเทียบกับการควบรวมธุรกิจค้าปลีกในประเทศ ที่มีการบังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้าจริงจัง ปกติแล้วจะกำหนดเงื่อนไขโดยมีจุดประสงค์ให้ขนาดของบริษัท เมื่อควบรวมเรียบร้อยแล้วมีขนาดไม่ใหญ่จนเกินไป เช่น อาจจะกำหนดเงื่อนไขให้ 'ลดขนาด' ของการควบรวม หรือแม้กระทั่งกำหนดให้ 'ขาย' กิจการบางส่วนออกไปก่อนการควบรวมเพื่อให้เมื่อควบรวมแล้วธุรกิจตลอดสายไม่ได้มีขนาดใหญ่ จนสร้างผลเสียต่อการแข่งขันในตลาดที่ผ่านมาธุรกิจเครือซีพี เป็นทั้งเจ้าของกิจการค้าส่งในธุรกิจแม็คโคร และร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น ส่วนล่าสุดที่ควบรวมเข้ามาก็คือเทสโก้โลตัสซึ่งเป็นธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่
   

 
'สมคิด' ยัน ส.ส.ร. ต้องมาจากการเลือกตั้ง ชี้อยากให้นำร่างไอลอว์มาพิจารณาด้วย
https://www.matichon.co.th/politics/news_2457058

‘สมคิด’ ยันส.ส.ร.ต้องมาจากการเลือกตั้ง ชี้อยากให้นำร่างไอลอว์มาพิจารณาด้วย
 
เมื่อวันที่ 25 พ.ย. เวลา 08.50 น. ที่รัฐสภา นายสมคิด เชื้อคง ส.ส.อุบลราชธานี พรรคเพื่อไทย ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่…. พศ…. กล่าวถึงการประชุมคณะกรรมาธิการฯ นัดแรกเมื่อวันที่ 24 พ.ย.ว่า กรอบการทำงานของคณะกรรมาธิการฯ จะมีการหารือกันในวันที่ 27 พ.ย. ซึ่งที่ประชุมขอให้สมาชิกรัฐสภาแปรญัตติเพื่อแก้ไขเนื้อหาให้ทันตามกำหนด 15 วัน โดยแต่ละพรรคได้แจ้งส.ส.ของตนเองแล้ว ส่วนระยะเวลาการทำงานของคณะกรรมาธิการฯ ที่ฝ่ายค้านต้องการระยะเวลาสั้นกว่า 45 วันนั้นได้หารือกับนายวิรัช รัตนเศรษฐ ประธานคณะกรรมาธิการฯ โดยได้รับแจ้งว่ากรอบเวลาของคณะกรรมาธิการฯขอให้ขึ้นอยู่กับที่ประชุมว่าจะมีความเห็นอย่างไร ดังนั้น การประชุมของคณะกรรมาธิการฯ จะสัปดาห์ละหนึ่งวัน คือ วันศุกร์ตลอดทั้งวัน และหากจะเร่งการทำงานก็ต้องมีการเพิ่มวันประชุมต่อไป
 
นายสมคิด กล่าวอีกว่า ประเด็นแรกที่จะพูดคุยกัน คือ เนื้อหาแต่ละมาตราว่าจะดำเนินการพิจารณาอย่างไร แต่คิดว่าขณะนี้ยังไม่มีความจำเป็นที่จะตั้งคณะอนุกรรมาธิการ อย่างไรก็ตาม ได้มีการพูดคุยกันว่าการกำหนดการยกร่างรัฐธรรมนูญของสภาร่างรัฐธรรมนูญนั้นอยากให้ฟังเสียงของทุกภาคส่วน ทั้งนี้ ในส่วนนี้กรรมาธิการสัดส่วนของฝ่ายค้านจะเสนอแก้ไขจำนวนสมาชิกส.ส.ร.ที่หลายฝ่ายยืนยันว่าจะต้องมาจากการเลือกตั้ง 200 คน ซึ่งจะต้องมีการพูดคุยในคณะกรรมาธิการว่าส.ส.ร.ที่มาจากการสรรหาหรือแต่งตั้งจำนวน 50 คนตามร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาลจะปรับแก้ไขอย่างไร ซึ่งคณะกรรมาธิการแต่ละกลุ่มยังพูดคุยกันในวงกว้างๆ อยู่
 
เมื่อถามว่า ฝ่ายค้านอยากให้แก้ไขในประเด็นใดมากที่สุด นายสมคิด กล่าวว่า เป็นเรื่องที่มาของคุณสมบัติของสมาชิกส.ส.ร.เพราะฝ่ายค้านยืนยันว่า อยากให้ส.ส.ร.มาจากการเลือกตั้ง 200 คน นอกจากนี้ จะมีส.ส.เสนอให้นำเนื้อหาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของไอลอว์เข้ามาพิจารณาด้วย เพราะไอลอว์เสนอให้ส.ส.ร.มาจากการเลือกตั้งเช่นกัน โดยเป็นลักษณะการกำหนดให้ใช้เป็นประเทศเขตเลือกตั้ง จึงคิดว่าอาจเสนอมีการปรับใช้โดยกำหนดให้สมาชิกส.ส.ร.มาจากการเลือกตั้งเขตจังหวัด 100 คนและระบบประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง 100 คน ซึ่งสามารถเสนอเข้ามาได้เพราะยังสอดหลักการที่รัฐสภาได้มีมติรับหลักการเอาไว้ นอกจากนี้ ฝ่ายค้านยังประสานไปยังไอลอว์เพื่อขอให้เข้ามาเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมาธิการ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่