บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เดินหน้าช่วยเหลือคู่ค้า โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SME ผ่านโครงการ Faster Payment ลดระยะเวลาเครดิตเทอมลงเหลือไม่เกิน 30 วัน เพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการรายย่อย ผลักดันเศรษฐกิจไทยให้เดินหน้าอย่างไม่สะดุด ก้าวข้ามวิกฤติโควิด19 ได้อย่างมั่นคง
นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทพร้อมให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดย่อม หรือ SMEs ด้วยการปรับระบบการชำระหนี้ให้มีระยะเวลาสั้นลง สามารถจ่ายค่าสินค้าและบริการให้แก่คู่ค้าหรือซัพพลายเออร์ โดยเฉพาะกลุ่ม SMEs ภายในระยะเวลา 30 วัน นับจากวันที่ได้ตรวจรับสินค้าหรือบริการ เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบจากโควิด19
ซีพีเอฟมีคู่ค้าที่เป็นผู้ประกอบการ SMEs ที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท และเป็นรายบุคคล ประมาณ 6,000 ราย ครอบคลุมกิจการของบริษัท บริษัทลูก ร้านค้า และแบรนด์สินค้า ไม่ว่าจะเป็น ซีพี, ซีพี เฟรชมาร์ท, ห้าดาว, เชสเตอร์, ดัค กาลบี้ และ CP–HiLai โดยทั้งหมดให้ความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่าการดำเนินโครงการนี้ มีประโยชน์อย่างมาก ในด้านการสร้างสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการรายย่อย ทำให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนธุรกิจ สามารถนำเงินไปลงทุนต่อและชำระค่าปัจจัยต่างๆ ช่วยพัฒนาขีดความสามารถให้กับคู่ค้าของบริษัทเติบโตไปด้วยกัน อีกทั้งยังสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไทย และช่วยลดการเลิกจ้างงาน จากปัญหานายจ้างขาดสภาพคล่อง
นางนฤมล แสงมณี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดีเอ็มพี ยูนิฟอร์ม จำกัด (DMP Uniform Co.,Ltd.) จังหวัดสระบุรี ผู้ผลิตชุดยูนิฟอร์มให้กับอุตสาหกรรมอาหารทั่วประเทศ และมีซีพีเอฟเป็นลูกค้าหลักในช่วงโควิด-19 กล่าวว่า โดยปกติ ซีพีเอฟมีเครดิตเทอมที่แน่นอนอยู่แล้ว ยิ่งมีโครงการ Faster Payment ยิ่งช่วยให้สภาพคล่องดีขึ้น SMEs วางแผนการทำงานได้ดียิ่งขึ้น มีเงินไปจ่ายให้กับซัพพลายเออร์ในห่วงโซ่อุปทาน
"ซีพีเอฟ เข้ามาช่วยแก้ปัญหา โดยไม่ต้องร้องขอ เป็นความประทับใจอย่างมาก" นาง นฤมล กล่าว พร้อมเสริมว่า บริษัทได้รับผลกระทบยอดสั่งซื้อลดลง 40% ในช่วงของการระบาด แม้ยอดสั่งซื้อในเดือนพฤศจิกายนจะเริ่มกลับมาแล้ว แต่ยอดขายก็ยังน้อยกว่าช่วงก่อนเกิดโควิด19 อยู่ 10-20% เพราะลูกค้าหลายรายพยายามลดต้นทุนการผลิตโดยไม่สั่งซื้อใหม่ แต่จะส่งมาให้ซ่อมแซมแทน
นายนิวัติ มีงาม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ภูรินทร์ กรีนฟูดส์ โปรดักส์ จากเชียงราย ซึ่งจัดส่งกระเทียมแกะกลีบให้กับซีพีเอฟ เล่าว่า บริษัทมียอดสั่งซื้อสินค้าลดลง 50% จากสถานการณ์โควิด-19 โครงการ Faster Payment ของซีพีเอฟ ช่วยเสริมสภาพคล่องในการจัดซื้อวัตถุดิบจากเกษตรกร ช่วยให้มั่นใจว่ามีเงินหมุนเวียนสำหรับเตรียมความพร้อมขยายธุรกิจได้ต่อไป ขณะเดียวกันเกษตรกรยังได้รับประโยชน์จากการมี SMEs มารับซื้อผลผลิตโดยตรงอย่างต่อเนื่อง
ด้านนาย เสกภณ บุญเตชะธนาวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ขอบคุณ 2562 ผู้จัดจำหน่ายสินค้าสำหรับห้องปฏิบัติการ จากสระบุรี กล่าวว่า โครงการ Faster Payment ของซีพีเอฟ ช่วยให้บริษัทของตนสามารถวางแผนการนำเข้าสินค้า เช่น สารเคมี ได้คล่องตัวขึ้น และสามารถจ่ายค่าสินค้าเป็นเงินสด สร้างอำนาจต่อรองเพิ่มขึ้น ช่วยให้ต้นทุนในการนำเข้าสินค้าต่ำลง นอกจากนี้ สภาพคล่องที่ดียังสร้างความมั่นใจให้กับบริษัทที่จะวางแผนในการขยายธุรกิจต่อไปได้
ซีพีเอฟ เสริมสภาพคล่องคู่ค้า SMEs ผลักดันเศรษฐกิจไทยให้เดินหน้า ฝ่าโควิด19
นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทพร้อมให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดย่อม หรือ SMEs ด้วยการปรับระบบการชำระหนี้ให้มีระยะเวลาสั้นลง สามารถจ่ายค่าสินค้าและบริการให้แก่คู่ค้าหรือซัพพลายเออร์ โดยเฉพาะกลุ่ม SMEs ภายในระยะเวลา 30 วัน นับจากวันที่ได้ตรวจรับสินค้าหรือบริการ เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบจากโควิด19
ซีพีเอฟมีคู่ค้าที่เป็นผู้ประกอบการ SMEs ที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท และเป็นรายบุคคล ประมาณ 6,000 ราย ครอบคลุมกิจการของบริษัท บริษัทลูก ร้านค้า และแบรนด์สินค้า ไม่ว่าจะเป็น ซีพี, ซีพี เฟรชมาร์ท, ห้าดาว, เชสเตอร์, ดัค กาลบี้ และ CP–HiLai โดยทั้งหมดให้ความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่าการดำเนินโครงการนี้ มีประโยชน์อย่างมาก ในด้านการสร้างสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการรายย่อย ทำให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนธุรกิจ สามารถนำเงินไปลงทุนต่อและชำระค่าปัจจัยต่างๆ ช่วยพัฒนาขีดความสามารถให้กับคู่ค้าของบริษัทเติบโตไปด้วยกัน อีกทั้งยังสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไทย และช่วยลดการเลิกจ้างงาน จากปัญหานายจ้างขาดสภาพคล่อง
นางนฤมล แสงมณี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดีเอ็มพี ยูนิฟอร์ม จำกัด (DMP Uniform Co.,Ltd.) จังหวัดสระบุรี ผู้ผลิตชุดยูนิฟอร์มให้กับอุตสาหกรรมอาหารทั่วประเทศ และมีซีพีเอฟเป็นลูกค้าหลักในช่วงโควิด-19 กล่าวว่า โดยปกติ ซีพีเอฟมีเครดิตเทอมที่แน่นอนอยู่แล้ว ยิ่งมีโครงการ Faster Payment ยิ่งช่วยให้สภาพคล่องดีขึ้น SMEs วางแผนการทำงานได้ดียิ่งขึ้น มีเงินไปจ่ายให้กับซัพพลายเออร์ในห่วงโซ่อุปทาน
"ซีพีเอฟ เข้ามาช่วยแก้ปัญหา โดยไม่ต้องร้องขอ เป็นความประทับใจอย่างมาก" นาง นฤมล กล่าว พร้อมเสริมว่า บริษัทได้รับผลกระทบยอดสั่งซื้อลดลง 40% ในช่วงของการระบาด แม้ยอดสั่งซื้อในเดือนพฤศจิกายนจะเริ่มกลับมาแล้ว แต่ยอดขายก็ยังน้อยกว่าช่วงก่อนเกิดโควิด19 อยู่ 10-20% เพราะลูกค้าหลายรายพยายามลดต้นทุนการผลิตโดยไม่สั่งซื้อใหม่ แต่จะส่งมาให้ซ่อมแซมแทน
นายนิวัติ มีงาม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ภูรินทร์ กรีนฟูดส์ โปรดักส์ จากเชียงราย ซึ่งจัดส่งกระเทียมแกะกลีบให้กับซีพีเอฟ เล่าว่า บริษัทมียอดสั่งซื้อสินค้าลดลง 50% จากสถานการณ์โควิด-19 โครงการ Faster Payment ของซีพีเอฟ ช่วยเสริมสภาพคล่องในการจัดซื้อวัตถุดิบจากเกษตรกร ช่วยให้มั่นใจว่ามีเงินหมุนเวียนสำหรับเตรียมความพร้อมขยายธุรกิจได้ต่อไป ขณะเดียวกันเกษตรกรยังได้รับประโยชน์จากการมี SMEs มารับซื้อผลผลิตโดยตรงอย่างต่อเนื่อง
ด้านนาย เสกภณ บุญเตชะธนาวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ขอบคุณ 2562 ผู้จัดจำหน่ายสินค้าสำหรับห้องปฏิบัติการ จากสระบุรี กล่าวว่า โครงการ Faster Payment ของซีพีเอฟ ช่วยให้บริษัทของตนสามารถวางแผนการนำเข้าสินค้า เช่น สารเคมี ได้คล่องตัวขึ้น และสามารถจ่ายค่าสินค้าเป็นเงินสด สร้างอำนาจต่อรองเพิ่มขึ้น ช่วยให้ต้นทุนในการนำเข้าสินค้าต่ำลง นอกจากนี้ สภาพคล่องที่ดียังสร้างความมั่นใจให้กับบริษัทที่จะวางแผนในการขยายธุรกิจต่อไปได้