ภาษาไทยน้อย ไทย - ลาว (เน้นไทยวน) ปัจจุบัน ใคร เผ่าไหนประดิษฐ์คะ แล้วประดิษฐ์ขึ้นมาในตอนไหน ดูเป็นของใหม่

มาจากสุวรรณโคมคำกันหมดรึเปล่าคะ ไทลื้อที่ดูเป็นบรรพชน เขาออกเสียงนับเลขกันอย่างไร

พวกสัตว์ ๆ ใช้พยัญชนะต้น หม หรือ ม น่ะค่ะ หมู หมา หมี มด แมว แมง ศัพท์พื้นฐานอื่น ๆ เช่น เหม็น หม_ย ไหม ชวนให้นึกถึงพยัญชนะต้น ที่นิยมใช้ในภาษาเยอรมัน ดูประดิษฐ์ตอนสร้างภาษาเยอรมันโดยเฉพาะ คือตัว pf

ออร์ดินอล(?) นัมเบอร์ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด แปด เก้า สิบ ส่วนคาร์ดินอล(?) นัมเบอร์ หรือลำดับที่ ปัจจุบันหลงเหลืออยู่ไม่มาก เติมคำว่า "ที่" ไว้ข้างหน้า ออร์ดินอล นัมเบอร์ แทน

มีลักษณนาม ซึ่งน่าจะพบในประเทศเขตอิทธิพลวัฒนธรรมจีนหมด ใช้คำว่า เงิน หรือ เงือน กับคำว่า คำ สำหรับเรียกทองคำ ดูคล้ายกับคำที่ญี่ปุ่นใช้มาก (งิง, คิง) จีน เกาหลี ก็ กิม (จีนกลางว่า จิน), คิม ปีนักษัตร (ที่ไม่ใช่เวอร์ชัน จอ หมา กุน หมู) อันนี้เดี๊ยนจำไม่ได้สักทีค่ะ

ภาษาคำเมียง หรือไทยวน คำที่เป็นคำกริยา ส่วนใหญ่ออกเสียง ย ขึ้นนาสิก (เดี๊ยนเป็นคนเหนีย แต่ไม่เคยสังเกตในเรื่องนี้เลย) ดูเหมือนจงใจประดิษฐ์เป็นชุด มากกว่าจะค่อย ๆ สั่งสมคำขึ้นมาจากชีวิตประจำวันน่ะค่ะ

คำที่ภาษาไทยกลางควบกล้ำด้วย ร เป็นคำยืมมาจากภาษาตระกูลมอญ - เขมร จะถูกปริวัตร(?) ในภาษาลาว (ล้านช้าง - ล้านนา) เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เช่น

กร = ข เช่น โกรธ เป็น โขธ มะกรูด เป็น บะขูด กรอม เป็น ขอม
ตร, ตล = ก เช่น ตรวจ เป็น กวจ ตลาด เป็น กาด ตรา เป็น กา เตรียม เป็น เกียม ตรง เป็น กง
ปร = ผ เช่น ปราบ เป็น ผาบ ปรำ เป็น ผาม ปรัชญา เป็น ผญา ประโยชน์ เป็น ผโยชน์
อร = ฮ เช่น อร่าม เป็น ฮ่าม
(ครบแล้วกระมัง)

แต่เสียงพยัญชนะและสระ ภาษาไทยกลางดูออกเสียงได้เยอะกว่ามาก แต่ภาษาไทยกลางก็ยกเลิกการใช้ไปเยอะเหมือนกัน เช่นเสียงของตัว ฃ ฅ ญ มีสระเสียงเลื่อนแบบเลื่อนสุด เช่นสระ เอีย เอือ อัว ยกเลิกความต่างของสระ ใ กับ ไ มีเสียง ร เสียง ช
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่