คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
ต้องเข้าใจว่าชุมชนมุสลิมมีอยู่มากมายทั่วกรุงเทพ หลายชุมชนถือว่าเป็นผู้บุกเบิก สร้างกรุงเทพขึ้นมาด้วยครับ
ถ้าจะแบ่งตามโซนและยุคสมัยที่ชุมชนนั้นๆเข้ามาตั้งถิ่นฐาน
เขตธนบุรี ย่านคลองบางหลวง สี่แยกบ้านแขก - มีมุสลิมอาศัยอยู่มาตั้งแต่อยุธยาตอนกลาง มีทั้งพวกแขกแพ แขกจาม มลายู เปอร์เซีย บางส่วนอยู่ที่นี่มาตั้งแต่กรุงเทพยังเป็นเมืองหน้าด่านชื่อเมือง "บางกอก" อีกส่วนล่องแพอพยพมาตอนกรุงแตก มีทั้งที่นับถือนิกายซุนนีและชีอะห์อาศัยอยู่ปะปนกัน
แถบพระนคร ย่านบางลำพู คลองมหานาค - เป็นกลุ่มเชลยศึกชนชั้นสูงและช่างฝีมือชาวมลายูที่ถูกกวาดต้อนมาสมัย ร.1 ที่ให้อยู่ชั้นในของพระนครก็เพื่อเป็นการให้เกียรติที่มีศักดิ์สูง มีฝีมือสูง
ชุมชนบ้านครัว ราชเทวี - ลูกหลานกองอาสาจามสมัย ร.1 ได้รับพระราชทานที่ดินให้ตั้งบ้านเรือน
ตามแนวแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น บางอ้อ - แขกแพ (มุสลิมที่อาศัยแพเป็นที่อยู่และค้าขาย) มลายู มาตั้งแต่ยุคต้นกรุง
กรุงเทพชั้นนอก มีนบุรี หนองจอก บางกะปิ ตามแนวคลองแสนแสบ ฯลฯ - เชลยศึกมลายูที่เป็นชนชั้นไพร่และทหาร ถ้าให้อยู่ใกล้พระนครจะเป็นอันตราย เลยให้อยู่รอบนอก คอยเฝ้าระวังพระนคร+เพาะปลูกส่งผลผลิตให้ทางการ
เขตบางรัก สาทร บางคอแหลม - มีหลายเชื้อชาติปะปนกัน จำนวนมากเป็นชาวชวาที่เข้ามาเป็นคนงานสมัย ร.5 นอกจากนี้ยังมีมลายู อินเดีย ฯลฯ
เขตเมืองใหม่ เช่น แยกนานา - พวกนี้เป็นมุสลิมที่เข้ามาทำมาหากินในยุคปัจจุบัน มีหลายเชื้อชาติ เช่น อาหรับ อินเดีย
ลักษณะการอยู่อาศัย มีทุกรูปแบบเลยครับ ถ้าเป็นชุมชนเก่าหน่อย มักจะอยู่รวมกันเป็นชุมชน ภาษามลายู-ชวา เรียก "กำปง-หมู่บ้าน" ปลูกบ้านเรือนติดๆกัน นอกนั้นก็จะมีที่อยู่แบบบ้านเดี่ยว ตึกแถว ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของถิ่นนั้นๆ
ที่น่าสังเกตคือชุมชนมุสลิมในกรุงเทพมักจะอยู่รวมกันมาเป็นเวลานาน แต่ต่อมาขยายใหญ่ขึ้นเพราะมีคนต่างถิ่น ทั้งมุสลิมไทยจากที่อื่นและมุสลิมต่างชาติเข้ามาอยู่อาศัยเพิ่มจนชุมชนมีขนาดใหญ่ขึ้นครับ
ปล. อิสลามาบัด เป็นชื่อเมืองหลวงของประเทศปากีสถานนะครับ
ถ้าจะแบ่งตามโซนและยุคสมัยที่ชุมชนนั้นๆเข้ามาตั้งถิ่นฐาน
เขตธนบุรี ย่านคลองบางหลวง สี่แยกบ้านแขก - มีมุสลิมอาศัยอยู่มาตั้งแต่อยุธยาตอนกลาง มีทั้งพวกแขกแพ แขกจาม มลายู เปอร์เซีย บางส่วนอยู่ที่นี่มาตั้งแต่กรุงเทพยังเป็นเมืองหน้าด่านชื่อเมือง "บางกอก" อีกส่วนล่องแพอพยพมาตอนกรุงแตก มีทั้งที่นับถือนิกายซุนนีและชีอะห์อาศัยอยู่ปะปนกัน
แถบพระนคร ย่านบางลำพู คลองมหานาค - เป็นกลุ่มเชลยศึกชนชั้นสูงและช่างฝีมือชาวมลายูที่ถูกกวาดต้อนมาสมัย ร.1 ที่ให้อยู่ชั้นในของพระนครก็เพื่อเป็นการให้เกียรติที่มีศักดิ์สูง มีฝีมือสูง
ชุมชนบ้านครัว ราชเทวี - ลูกหลานกองอาสาจามสมัย ร.1 ได้รับพระราชทานที่ดินให้ตั้งบ้านเรือน
ตามแนวแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น บางอ้อ - แขกแพ (มุสลิมที่อาศัยแพเป็นที่อยู่และค้าขาย) มลายู มาตั้งแต่ยุคต้นกรุง
กรุงเทพชั้นนอก มีนบุรี หนองจอก บางกะปิ ตามแนวคลองแสนแสบ ฯลฯ - เชลยศึกมลายูที่เป็นชนชั้นไพร่และทหาร ถ้าให้อยู่ใกล้พระนครจะเป็นอันตราย เลยให้อยู่รอบนอก คอยเฝ้าระวังพระนคร+เพาะปลูกส่งผลผลิตให้ทางการ
เขตบางรัก สาทร บางคอแหลม - มีหลายเชื้อชาติปะปนกัน จำนวนมากเป็นชาวชวาที่เข้ามาเป็นคนงานสมัย ร.5 นอกจากนี้ยังมีมลายู อินเดีย ฯลฯ
เขตเมืองใหม่ เช่น แยกนานา - พวกนี้เป็นมุสลิมที่เข้ามาทำมาหากินในยุคปัจจุบัน มีหลายเชื้อชาติ เช่น อาหรับ อินเดีย
ลักษณะการอยู่อาศัย มีทุกรูปแบบเลยครับ ถ้าเป็นชุมชนเก่าหน่อย มักจะอยู่รวมกันเป็นชุมชน ภาษามลายู-ชวา เรียก "กำปง-หมู่บ้าน" ปลูกบ้านเรือนติดๆกัน นอกนั้นก็จะมีที่อยู่แบบบ้านเดี่ยว ตึกแถว ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของถิ่นนั้นๆ
ที่น่าสังเกตคือชุมชนมุสลิมในกรุงเทพมักจะอยู่รวมกันมาเป็นเวลานาน แต่ต่อมาขยายใหญ่ขึ้นเพราะมีคนต่างถิ่น ทั้งมุสลิมไทยจากที่อื่นและมุสลิมต่างชาติเข้ามาอยู่อาศัยเพิ่มจนชุมชนมีขนาดใหญ่ขึ้นครับ
ปล. อิสลามาบัด เป็นชื่อเมืองหลวงของประเทศปากีสถานนะครับ
แสดงความคิดเห็น
คนทำมาหากินชาวอิสลามใน กทม อาศัยอยู่แถวไหนเยอะ
*แท็กผิดห้องขออภัยครับ*