เครดิต : https://www.thaipost.net/main/detail/34127
ได้อ่านกระทู้ที่โผล่มาทางฟีดแล้วรู้สึกสะท้อนใจเป็นอย่างยิ่ง เป็นกระทู้ที่เกี่ยวกับการมีชู้ การจีบกันให้เห็นในที่ทำงานทั้งๆ ที่ผู้ชายมีครอบครัว และการเป็นเมียน้อย เป็นที่ยอมรับและเปิดเผยโดยไม่ต้องปิดบังแล้วหรือ กระทู้นี้เล่าถึงการคบหาและมีความสัมพันธ์กันแบบเปิดเผยในที่ทำงาน ทั้งๆ ที่ฝ่ายชายมีภรรยาอยู่แล้ว ซึ่งทำกันหลายคู่ โดยไม่รู้สึกผิดหรือเป็นเรื่องที่น่าละอาย เรียกว่าใครดีใครได้ สะท้อนให้เห็นว่าความไม่ซื่อสัตย์เป็นปัญหาใหญ่มากในสังคมไทย และค่านิยมที่ผู้ชายมีเมียน้อยไม่ใช่เรื่องที่น่ารังเกียจ คำถามคือ แล้วผู้หญิงที่เป็นเมียน้อยคิดอย่างไร มีงานวิจัยที่ทำขึ้นเพื่อสำรวจหาปัจจัยหรือหาสาเหตุที่เป็นแรงจูงใจ หรือผลักดันให้ผู้หญิงเป็นภรรยาน้อยและยังคงเป็นภรรยาน้อยอยู่ต่อไป โดยผู้ศึกษาได้เก็บข้อมูลจากผู้ป่วยที่มาขอรับการบำบัดรักษาที่คลินิกจิตเวช และมีสถานภาพเป็นภรรยาน้อยจำนวน 20 ราย ใช้วิธีการสัมภาษณ์และตรวจสภาพจิตเพื่อการวินิจฉัยทางจิตเวช และได้ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบลึกถึงข้อมูลพื้นฐานของบุคลิกภาพ ปัจจัยหรือสาเหตุที่ชักจูงหรือผลักดันให้มาเป็นภรรยาน้อย ตลอดจนความเห็น ความรู้สึกต่างๆ ต่อสถานภาพการเป็นภรรยาน้อย
ผลการวิจัยซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุดของการศึกษาครั้งนี้ คือ สาเหตุหรือเหตุผลที่ชักจูง หรือผลักดันให้ผู้หญิงเหล่านี้ เข้าสู่สถานภาพการเป็นภรรยาน้อย ผลออกมาแตกต่างจากความรู้สึกของคนทั่วไปที่คิดว่า ผู้หญิงที่ยอมเป็นภรรยาน้อยเพราะว่าเป็นวิธีที่ง่ายที่จะมีทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนต้องการ ไม่ต้องมาสร้างฐานะกับสามีตั้งแต่ต้นเหมือนภรรยาหลวง เพราะสามีนั้นจะมีฐานะดีแล้ว หรือพูดอีกอย่างว่าสามีนั้นสำเร็จรูปมาแล้ว ผู้เป็นภรรยาน้อยจะสบาย ไม่ลำบาก เพียงเอาเรื่องเพศเข้ามาแลกเท่านั้น ผลการศึกษากลับพบว่า
สาเหตุสำคัญที่สุดคือ ความต้องการความรัก ความอบอุ่นและอยากมีที่พึ่งพิงทางใจ มีจำนวนถึง 1 ใน 3 คือ 35% (7 ราย) สาเหตุรองลงไปคือ ถูกสามีหลอกลวงว่ายังไม่มีครอบครัว ยังไม่ได้แต่งงาน หรือถูกสามีหลอกลวงไปข่มขืน มีจำนวนถึงเกือบ 1 ใน 3 คือ 30% (6 ราย) มีเพียง 1 ใน 4 คือ 25% (5 ราย) ที่สมัครใจเป็นภรรยาน้อย เพราะต้องการเงิน ต้องการผู้อุปการะ และยังมีเหตุผลอื่นๆ เพียง 10% คือ 1 ราย หอบผ้าหนีตามสามี เพราะประชดพี่สาวที่ว่าตนได้เสียกับสามีแล้ว อีก 1 รายยอมเป็นภรรยาน้อยเพราะต้องการให้สามีช่วยในกิจการธุรกิจและเรื่องส่วนตัวต่างๆ เพราะมีบุคลิกพึ่งพาผู้อื่นสูงมาก
ด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจนั้น พบว่าทั้งหมดต้องมีภาระเลี้ยงตัวเองและครอบครัวของตน เช่น ต้องเลี้ยงดูมารดา ต้องส่งน้องเรียนหนังสือ หรือมีการเจ็บป่วยเรื้อรังที่ต้องใช้เงินรักษามาก บ้างก็มีหนี้สินอยู่ การต้องใช้เงินมากๆ ไม่สามารถไปทำอาชีพอื่นให้ได้เงินตามที่ต้องการ
จากผลการศึกษาพบว่าภรรยาน้อยเหล่านี้ ส่วนใหญ่รู้สึกผิด รู้สึกโกรธต่อสภาพการเป็นภรรยาน้อย แต่ก็ยังคงเป็นต่อไป ยิ่งเป็นการสนับสนุนว่าเป็นปัญหาบุคลิกภาพ ความต้องการทางจิตใจ การต้องการเงิน ทำให้คนเหล่านี้ไม่เลิกการเป็นภรรยาน้อยเสีย แม้ตัวเองจะรู้สึกขัดแย้งไม่เห็นด้วยกับการที่ผู้ชายมีภรรยาน้อยก็ตาม
สรุปผลการศึกษาพบว่า
การขาดความรักความอบอุ่นในวัยเด็ก หรือความผิดหวังในคู่ครองคนก่อน ทำให้ผู้หญิงเหล่านี้พยายามแสวงหาความรักความอบอุ่นจากสามี แม้ต้องเป็นภรรยาน้อยก็ยอม ปัญหาบุคลิกภาพและความยากจนก็เป็นปัจจัยสำคัญ สิ่งที่จะช่วยป้องกันคือการเลี้ยงดูเด็กให้มีความอบอุ่น มีครอบครัวที่อบอุ่น มีบุคลิกภาพที่ดี มีความสามารถที่จะเลือกคู่ครองได้อย่างเหมาะสม นอกเหนือจากการเลี้ยงดูและการมีครอบครัวที่อบอุ่น ระบบการศึกษาที่ดีช่วยอบรมและส่งเสริมให้เกิดบุคลิกภาพที่ดี มีวุฒิภาวะสมวัย สามารถมีความคิดแบบมีวิจารณญาณ มีการตัดสินใจที่ถูกต้องเหมาะสมก็จะช่วยป้องกันได้.
จิตติมา กุลประเสริฐรัตน์
(g.jittima02@gmail.com)
เรื่องของเมียน้อย
ได้อ่านกระทู้ที่โผล่มาทางฟีดแล้วรู้สึกสะท้อนใจเป็นอย่างยิ่ง เป็นกระทู้ที่เกี่ยวกับการมีชู้ การจีบกันให้เห็นในที่ทำงานทั้งๆ ที่ผู้ชายมีครอบครัว และการเป็นเมียน้อย เป็นที่ยอมรับและเปิดเผยโดยไม่ต้องปิดบังแล้วหรือ กระทู้นี้เล่าถึงการคบหาและมีความสัมพันธ์กันแบบเปิดเผยในที่ทำงาน ทั้งๆ ที่ฝ่ายชายมีภรรยาอยู่แล้ว ซึ่งทำกันหลายคู่ โดยไม่รู้สึกผิดหรือเป็นเรื่องที่น่าละอาย เรียกว่าใครดีใครได้ สะท้อนให้เห็นว่าความไม่ซื่อสัตย์เป็นปัญหาใหญ่มากในสังคมไทย และค่านิยมที่ผู้ชายมีเมียน้อยไม่ใช่เรื่องที่น่ารังเกียจ คำถามคือ แล้วผู้หญิงที่เป็นเมียน้อยคิดอย่างไร มีงานวิจัยที่ทำขึ้นเพื่อสำรวจหาปัจจัยหรือหาสาเหตุที่เป็นแรงจูงใจ หรือผลักดันให้ผู้หญิงเป็นภรรยาน้อยและยังคงเป็นภรรยาน้อยอยู่ต่อไป โดยผู้ศึกษาได้เก็บข้อมูลจากผู้ป่วยที่มาขอรับการบำบัดรักษาที่คลินิกจิตเวช และมีสถานภาพเป็นภรรยาน้อยจำนวน 20 ราย ใช้วิธีการสัมภาษณ์และตรวจสภาพจิตเพื่อการวินิจฉัยทางจิตเวช และได้ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบลึกถึงข้อมูลพื้นฐานของบุคลิกภาพ ปัจจัยหรือสาเหตุที่ชักจูงหรือผลักดันให้มาเป็นภรรยาน้อย ตลอดจนความเห็น ความรู้สึกต่างๆ ต่อสถานภาพการเป็นภรรยาน้อย
ผลการวิจัยซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุดของการศึกษาครั้งนี้ คือ สาเหตุหรือเหตุผลที่ชักจูง หรือผลักดันให้ผู้หญิงเหล่านี้ เข้าสู่สถานภาพการเป็นภรรยาน้อย ผลออกมาแตกต่างจากความรู้สึกของคนทั่วไปที่คิดว่า ผู้หญิงที่ยอมเป็นภรรยาน้อยเพราะว่าเป็นวิธีที่ง่ายที่จะมีทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนต้องการ ไม่ต้องมาสร้างฐานะกับสามีตั้งแต่ต้นเหมือนภรรยาหลวง เพราะสามีนั้นจะมีฐานะดีแล้ว หรือพูดอีกอย่างว่าสามีนั้นสำเร็จรูปมาแล้ว ผู้เป็นภรรยาน้อยจะสบาย ไม่ลำบาก เพียงเอาเรื่องเพศเข้ามาแลกเท่านั้น ผลการศึกษากลับพบว่า สาเหตุสำคัญที่สุดคือ ความต้องการความรัก ความอบอุ่นและอยากมีที่พึ่งพิงทางใจ มีจำนวนถึง 1 ใน 3 คือ 35% (7 ราย) สาเหตุรองลงไปคือ ถูกสามีหลอกลวงว่ายังไม่มีครอบครัว ยังไม่ได้แต่งงาน หรือถูกสามีหลอกลวงไปข่มขืน มีจำนวนถึงเกือบ 1 ใน 3 คือ 30% (6 ราย) มีเพียง 1 ใน 4 คือ 25% (5 ราย) ที่สมัครใจเป็นภรรยาน้อย เพราะต้องการเงิน ต้องการผู้อุปการะ และยังมีเหตุผลอื่นๆ เพียง 10% คือ 1 ราย หอบผ้าหนีตามสามี เพราะประชดพี่สาวที่ว่าตนได้เสียกับสามีแล้ว อีก 1 รายยอมเป็นภรรยาน้อยเพราะต้องการให้สามีช่วยในกิจการธุรกิจและเรื่องส่วนตัวต่างๆ เพราะมีบุคลิกพึ่งพาผู้อื่นสูงมาก
ด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจนั้น พบว่าทั้งหมดต้องมีภาระเลี้ยงตัวเองและครอบครัวของตน เช่น ต้องเลี้ยงดูมารดา ต้องส่งน้องเรียนหนังสือ หรือมีการเจ็บป่วยเรื้อรังที่ต้องใช้เงินรักษามาก บ้างก็มีหนี้สินอยู่ การต้องใช้เงินมากๆ ไม่สามารถไปทำอาชีพอื่นให้ได้เงินตามที่ต้องการ
จากผลการศึกษาพบว่าภรรยาน้อยเหล่านี้ ส่วนใหญ่รู้สึกผิด รู้สึกโกรธต่อสภาพการเป็นภรรยาน้อย แต่ก็ยังคงเป็นต่อไป ยิ่งเป็นการสนับสนุนว่าเป็นปัญหาบุคลิกภาพ ความต้องการทางจิตใจ การต้องการเงิน ทำให้คนเหล่านี้ไม่เลิกการเป็นภรรยาน้อยเสีย แม้ตัวเองจะรู้สึกขัดแย้งไม่เห็นด้วยกับการที่ผู้ชายมีภรรยาน้อยก็ตาม
สรุปผลการศึกษาพบว่า
การขาดความรักความอบอุ่นในวัยเด็ก หรือความผิดหวังในคู่ครองคนก่อน ทำให้ผู้หญิงเหล่านี้พยายามแสวงหาความรักความอบอุ่นจากสามี แม้ต้องเป็นภรรยาน้อยก็ยอม ปัญหาบุคลิกภาพและความยากจนก็เป็นปัจจัยสำคัญ สิ่งที่จะช่วยป้องกันคือการเลี้ยงดูเด็กให้มีความอบอุ่น มีครอบครัวที่อบอุ่น มีบุคลิกภาพที่ดี มีความสามารถที่จะเลือกคู่ครองได้อย่างเหมาะสม นอกเหนือจากการเลี้ยงดูและการมีครอบครัวที่อบอุ่น ระบบการศึกษาที่ดีช่วยอบรมและส่งเสริมให้เกิดบุคลิกภาพที่ดี มีวุฒิภาวะสมวัย สามารถมีความคิดแบบมีวิจารณญาณ มีการตัดสินใจที่ถูกต้องเหมาะสมก็จะช่วยป้องกันได้.
จิตติมา กุลประเสริฐรัตน์
(g.jittima02@gmail.com)