Postman's Park กำแพงแห่งการเสียสละตนเอง

Postman's Park เป็นอนุสรณ์ที่น่าทึ่งที่ซ่อนตัวอยู่ในมุมที่เงียบสงบในใจกลางกรุงลอนดอนซึ่งมองข้ามได้ง่าย ภายใต้หลังคาไม้มีกำแพงอิฐทอดยาวสั้น ๆ ซึ่งมีแผ่นเซรามิกกว่าห้าสิบแผ่น ซึ่งแต่ละชิ้นมีชื่อของคนธรรมดาคนหนึ่งที่แสดงความกล้าหาญ และเสียสละตนเองครั้งสุดท้ายในชีวิต  บางแผ่นมีชื่อสองชื่อขึ้นไป มีการรำลึกถึงบุคคล 62 คนที่นี่ พวกเขาทั้งหมดเสียชีวิตในขณะที่พยายามช่วยชีวิตผู้อื่น

อนุสรณ์สถานการเสียสละตัวเองของวีรชนนี้สร้างขึ้นโดยศิลปิน George Frederic Watts  ซึ่งเขียนจดหมายถึง The Times ในปี 1887  เสนอแนวคิดเพื่อการสร้างอนุสรณ์สถานเพื่อรำลึกถึงการกระทำของวีรบุรุษผู้เสียสละโดย 'ชายและหญิงผู้กล้าหาญ' ที่เสียชีวิตในขณะที่พยายามช่วยเหลือผู้อื่น และเพื่อรำลึกถึงกาญจนาภิเษกของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียด้วย 

Watts ได้รวบรวมเรื่องราวของการเสียสละอย่างกล้าหาญจากบทความในหนังสือพิมพ์เป็นเวลาหลายปี  เรื่องหนึ่งที่สร้างความประทับใจเป็นพิเศษคือเรื่องของ Alice Ayres คนรับใช้ที่ช่วยชีวิตลูกสามคนของนายจ้างของเธอ ด้วยการโยนที่นอนออกจากหน้าต่างเพื่อกันการตกถึงพื้น และทิ้งพวกเด็กๆลงไปอย่างปลอดภัย  ส่วน Alice ถูกควันรมและสะดุดตัวเองจนตกจากหน้าต่างและเสียชีวิต

อีกตัวอย่างหนึ่งที่ระลึกถึงนายสัญญาณรถไฟชื่อ William Goodrum ซึ่งเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 1880 ที่เสียชีวิตที่สะพาน Kingsland Road Bridge ในการช่วยคนงานจากรถไฟที่กำลังใกล้เข้ามาจากเมือง Kew  กรณีที่น่าสนใจอื่น ๆคือ ศิลปินละครใบ้ที่พยายามช่วยเพื่อนของเธอจากการถูกเปลวไฟลุกท่วม, ผู้หญิงคนหนึ่งที่เลือกที่จะสละเสื้อชูชีพและจมลงไปกับเรือตำรวจที่ช่วยคนงานจากก๊าซพิษ เป็นต้น

น่าเศร้าที่ไม่มีใครให้ความสนใจกับความคิดที่สวยงามนี้  ดังนั้น Watts จึงตัดสินใจที่จะให้ทุนกับอนุสรณ์ของตัวเอง สิบปีต่อมา เขาสามารถหาเงินได้ 3,000 ปอนด์สำหรับการก่อสร้าง  โดยตัวเขาเองมีรายได้ 700 ปอนด์ (ประมาณ 71,000 ปอนด์ ในปี 2017) อนุสรณ์เปิดในปี 1900 โดยมีแผ่นโลหะเพียง
สี่แผ่น กับอีก 9 แผ่นจารึกที่เพิ่มเข้ามาในช่วงชีวิตของเขา   

หลังจากที่เขาเสียชีวิตในปี 1904 Mary Watts ภรรยาของ Watts ได้เข้ามาบริหารโครงการ Watts Gallery และ Watts Mortuary Chapel ที่อยู่ใน Compton, Surrey  แต่เมื่อ Mary เริ่มหมกมุ่นอยู่กับการบริหารงานมากขึ้นเรื่อย ๆ เธอก็เริ่มหมดความสนใจในโครงการนี้ โดยงานหยุดลงโดยสิ้นเชิง
ในปี 1931 โดยมีแผ่นกระเบื้องเพียง 53 แผ่นจาก 120 แผ่นที่วางแผนไว้

อนุสรณ์ดังกล่าวได้รับการแจ้งให้ทราบต่อสาธารณชนในปี  2004  แต่สถานที่นี้ถูกปรากฏในภาพยนตร์เรื่อง Closer โดยอนุสรณ์ดังกล่าวถูกใช้เป็นองค์ประกอบสำคัญในเนื้อเรื่องของภาพยนตร์  อีกสามปีก็ต่อมามีเหตุการณ์ Leigh Pitt ช่างพิมพ์จาก Surrey ได้เสียชีวิตจากการช่วยเหลือเด็กชายวัย 9 ขวบที่จมน้ำในคลอง

หลังจากการตายของ Leigh   เพื่อนร่วมงานของเขาJane Michele ได้เข้าหาสังฆมณฑลลอนดอนเพื่อแนะนำการเพิ่มอนุสรณ์สถานใหม่ในนามของ Leigh แม้จะมีการคัดค้านจาก Watts Gallery ต่อข้อเสนอที่ว่าอนุสรณ์เสร็จสมบูรณ์ไปแล้ว  แต่ยังมีการเพิ่มแผ่นป้ายใหม่ที่ระลึกถึงการกระทำที่กล้าหาญของ  Leigh  ในวันที่ 11 มิถุนายน 2009  จากนั้นอีก 78 ปีต่อมา Mary Watts ก็ถูกติดตั้งแผ่นโลหะเป็นแผ่นสุดท้าย 

นอกจากนี้ใน Postman's Park ยังมีประติมากรรมสมัยใหม่ที่เรียกว่า Minotaur โดย Michael Ayrton และมีนาฬิกาแดด, ดอกไม้สีสันสดใส และน้ำพุ แปลงดอกไม้ปลูกด้วยพันธุ์ไม้แปลก ๆ เช่น dove trees, bananas, and musa basjoo  ปัจจุบัน อนุสรณ์สถานการเสียสละตัวเองของวีรชนแห่งนี้ยังคงเป็นจุดหมายปลายทางที่ดึงดูดผู้เยี่ยมชมเพียงไม่กี่คน

 

Closer (2004)
Closer (ขอหยุดไฟรักไว้ที่เธอ) จากฝีมือผู้กำกับไมค์ นิโคลส์ ผู้กำกับเจ้าของรางวัลออสการ์นำเสนอ Closer หลังประสบความสำเร็จจากเรื่อง Angel in American และแต่งโดยแพทริค มาร์เบอร์ เป็นภาพยนตร์แนวดรามา นำเสนอมุมมองที่ตรงไปตรงมาและตลกปนเสียดสีได้อย่างเจ็บปวด ผ่านนักแสดงชั้นนำระดับเจ้าของรางวัลออสการ์ นำแสดงโดยจูเลียร์ โรเบิร์ตส์(แอนนา) จู๊ด ลอว์(แดน) นาตาลี พอร์ตแมน(อลิซ)และไคล์ฟ โอเว่น (ลาร์รี่) ที่โคจรมาพบกันโดยบังเอิญ และตกหลุมรักกันทันที ความรัก การทรยศ หักหลังและการแก้แค้นสุดร้ายกาจเพื่อให้ได้มาเพื่อรักแท้ของคนทั้งสี่จึงอุบัติขึ้น (Cr.http://litcritic209.blogspot.com/2008/07/closer.html)

ที่มา Wikipedia / www.postmanspark.org.uk / Wikipedia
Cr.ภาพ  Paul Robertson / Flickr / Cheesyfeet /  Sarflondondunc / Flickr
Cr.https://www.amusingplanet.com/2017/02/postmans-parks-memorial-to-heroic-self.html / KAUSHIK PATOWARY
Cr.https://en.wikipedia.org/wiki/Memorial_to_Heroic_Self-Sacrifice
Cr.https://www.britainexpress.com/attractions.htm?attraction=3294

(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่