คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
สำหรับผมก็ดูประมาณนี้ครับ
1) รายได้ที่ต้องการ ต้องไม่คลุมเครือหรือมีช่วงรายได้ที่ต้องการกว้างเกินไป อันนี้ผมดูเป็นอันดับแรกๆ ถ้าผู้สมัครเรียกรายได้มากเกินไปเมื่อพิจารณาจากประสบการณ์ของผู้สมัครหรือโครงสร้างของบริษัทเอง หรือดูแล้วว่าคงตกลงกันยาก ผมก็จะไม่เรียกสัมภาษณ์เลยครับ ไม่ใช่เพราะอะไร แต่เป็นเพราะผมก็เป็นลูกจ้างเหมือนกัน ไม่ได้มีอำนาจในการสนองเงินเดือนให้ได้ตามที่ผู้สมัครต้องการ แล้วก็ไม่ใช่ว่าจะส่งใบสมัครทุกคนให้ผู้บริหารพิจารณาได้ทุกคน เพราะเราทำงานมานานย่อมรู้นิสัยใจคอของผู้บริหารครับ การส่งใบสมัครที่เป็นไปไม่ได้ให้กับผู้บริหารเกินจำเป็น ผู้ส่งใบสมัครนั้นเข้าไปบ่อยๆจะโดนเพ่งเล็งมากขึ้นนะครับ คุณต้องเข้าใจตรงนี้ด้วย ทำให้หากพิจารณาดูแล้วว่ารายได้ที่ผู้สมัครเรียกมานั้น ทางบริษัทไม่สามารถให้ได้อยู่แล้ว ก็ไม่รู้จะเรียกสัมภาษณ์ไปทำไม
2) รูปถ่าย บางคนไม่มีรูปถ่าย บางคนรูปถ่ายใช้รูปที่ไม่เป็นทางการ ซึ่งดูแล้วคงยังไม่พร้อมที่จะทำงาน ยกตัวอย่างผู้สมัครบางท่าน สมัครในตำแหน่งงานที่สูงและสำคัญ แต่กลับใช้รูปถ่ายไปเที่ยว หรือใช้รูปถ่ายที่ปริ๊นท์มา ซึ่งผมถือว่าไม่ให้เกียรติบริษัทอย่างมาก ผมก็ไม่เรียกสัมภาษณ์แน่นอน เพราะแสดงถึงวุฒิภาวะที่ยังไม่พร้อมทำงานของผู้สมัคร
3) เนื้อหาของเรซูเม่ที่ไม่ชัดเจน ไม่ตรงเป้า น้ำเยอะ และเวิ่นเว้อมากเกินไป หรือมีเนื้อความที่แสดงถึงความไม่เป็นมืออาชีพ ทัศนคติการทำงานที่ไม่ดี/ไม่เหมาะสมกับบรรยากาศขององค์กร เราก็จะไม่รับพิจารณาหรือพิจารณาไว้ในอันดับท้ายๆครับ
4) การใช้ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษที่ไม่ถูกต้อง การสะกดคำที่ผิด แสดงถึงการไม่รอบคอบ ไม่ตรวจเนื้อหาที่นำเสนอ เพราะเรซูเม่เป็นอะไรที่แสดงความเป็นตัวตน ความสามารถ ความรอบคอบ ไม่ใช่งานที่ทำปั๊บนำเสนอปุ๊บซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ยังพอเข้าใจได้ว่าด้วยระยะเวลาที่กระชั้นชิดทำให้สามารถผิดพลาดได้ แต่มันเป็นงานที่สามารถใช้เวลาในการตรวจทานได้ ถ้าผิด ย่อมแสดงว่าไม่ตรวจทานเนื้อหาหรือไม่ก็ไม่รู้ว่าคำที่ถูกต้องคืออะไร แน่นอนครับว่ามีผลสำหรับตำแหน่งที่สูงๆหน่อย ถ้าเป็นตำแหน่งที่ไม่สูงมาก ผู้รับสมัครก็อาจให้ความสำคัญกับเรื่องนี้น้อยลงได้จนถึงอาจไม่ได้ให้ความสำคัญได้ครับ
5) เกรดเฉลี่ย วิชาที่ถนัด เราไม่รู้จักผู้สมัครมาก่อน ฉะนั้นเราก็จะมองจากเกรดเฉลี่ยรวมถึงวิชาที่เรียนได้ดี หากผู้สมัครพิมพ์เรซูเม่โฆษณาตนเองแสดงถึงความสามารถในตำแหน่งงานดีต่างๆนาๆ แต่เกรดเฉลี่ยหรือเกรดในรายวิชานั้นๆไม่ได้ดีคล้อยตามกัน ก็อาจเป็นเหตุให้เรียกสัมภาษณ์ได้ยากขึ้น
6) ฟอนต์ที่ใช้ ในงานต่างๆกันอาจพิจารณาเรื่องนี้ต่างกันได้ แต่โดยทั่วไปควรใช้ฟอนต์ตัวอักษรที่อ่านได้ง่าย เป็นระเบียบ และดูเป็นทางการในการพิมพ์เรซูเม่
7) ควรพิมพ์เรซูเม่ให้จบภายในหน้าเดียว และจัดหน้าให้อ่านง่าย เป็นระเบียบ อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัว ผู้รับสมัครท่านอื่นอาจเห็นต่างหรือไม่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ได้
8) อีเมลที่ใช้ในการติดต่อ อันนี้เป็นรายละเอียดปลีกย่อย ผู้สมัครควรใช้ชื่ออีเมลที่สุภาพและเป็นทางการ ผู้สมัครบางท่านใช้ชื่ออีเมลที่ออกไปในทางสองแง่สองง่าม บางท่านก็ใช้ชื่ออีเมลที่ออกไปในทางหยาบคาย หรือดูไร้วุฒิภาวะ ผมเข้าใจครับว่าเป็นอีเมลที่อาจเอาไว้ติดต่อเพื่อนๆในช่วงเวลาเรียนหรือใช้มานานแล้วในวัยเด็ก แต่เรากำลังจะเข้าสู่วัยทำงานแล้ว อีเมลก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของตัวชี้วัดความมีวุฒิภาวะและความพร้อม ความเป็นมืออาชีพในการทำงานได้
9) ประสบการณ์ในการทำงาน/การทำกิจกรรม/ความสามารถพิเศษ/ความสามารถอื่นที่มีประโยชน์ในสายงาน ตรงสายงานที่สมัครแค่ไหน คอมพิวเตอร์เก่งไหม ภาษาเก่งไหม ถ้ามีเอกสารที่แสดงหลักฐานชี้วัดความเก่งในด้านนั้นๆได้ก็จะทำให้มีน้ำหนักมากขึ้นครับ
10) สำคัญที่สุดคือ ความจริงครับ ถ้าพบว่าที่พิมพ์มามีเหตุอันเชื่อถือได้ว่าไม่เป็นความจริง สร้างภาพมากเกินไป ผมก็จะไม่รับพิจารณาเลยครับ หรือถ้ารู้ว่าไม่เป็นความจริงในภายหลัง ผมก็จะให้ออกครับ เพราะโดยส่วนตัวผมไม่ต้องการรับผู้สมัครที่โกหกครับ อันนี้เป็นการพิจารณาส่วนตัวนะครับ ผู้รับสมัครท่านอื่นอาจให้น้ำหนักในส่วนนี้มากน้อยต่างกันได้ครับ
ผมเขียนมามาก อาจจะดูว่าผมเลือกเยอะเกินไป แต่ความเป็นจริงแล้ว ผมจะพิจารณาตามระดับตำแหน่งที่รับสมัครน่ะครับ เช่น ถ้าผู้สมัครในตำแหน่งพนักงานทั่วไป ผมก็จะดูแค่ว่าบ้านใกล้ไหม เคยทำงานอะไรมา เรซูเม่จะมีหรือไม่มีก็ได้ ผมไม่ได้สนใจ หรือถ้ามาสมัครในตำแหน่งผู้ช่วย/ธุรการทั่วไป ก็อาจจะดูว่าพิมพ์คอมพิวเตอร์ได้ไหม รูปถ่ายมีบุคลิกภาพพอได้ไหม ภาษาอังกฤษได้บ้างไหม การศึกษาจบอะไรมา เท่านี้ครับ แต่ในตำแหน่งระดับพนักงานที่ทำงานในตำแหน่งสำคัญ ใช้ทักษะสูง หัวหน้างานหรือผู้จัดการ ผมก็จะพิจารณาละเอียดขึ้นและรอบด้านขึ้นตามลำดับครับ
อ่อ แล้วจริงๆผมก็ไม่ได้เป็นฝ่ายบุคคลครับ แต่เป็นบุคลากรที่มีส่วนร่วมสำคัญพอสมควรว่าจะพิจารณาหรือไม่รับพิจารณาผู้สมัครที่เกี่ยวข้องกับส่วนงานของผมน่ะครับ เพราะฉะนั้นความเห็นผมจึงไม่ใช่ความเห็นของฝ่ายบุคคลโดยตรงครับ แต่อยากออกความเห็นเผื่อว่าจะเป็นประโยชน์ทั้งในแง่คิด และวิธีการนำเสนอเรซูเม่ให้ไม่มากก็น้อยครับ
ปล ตอนนี้นึกออกเท่านี้ครับ
1) รายได้ที่ต้องการ ต้องไม่คลุมเครือหรือมีช่วงรายได้ที่ต้องการกว้างเกินไป อันนี้ผมดูเป็นอันดับแรกๆ ถ้าผู้สมัครเรียกรายได้มากเกินไปเมื่อพิจารณาจากประสบการณ์ของผู้สมัครหรือโครงสร้างของบริษัทเอง หรือดูแล้วว่าคงตกลงกันยาก ผมก็จะไม่เรียกสัมภาษณ์เลยครับ ไม่ใช่เพราะอะไร แต่เป็นเพราะผมก็เป็นลูกจ้างเหมือนกัน ไม่ได้มีอำนาจในการสนองเงินเดือนให้ได้ตามที่ผู้สมัครต้องการ แล้วก็ไม่ใช่ว่าจะส่งใบสมัครทุกคนให้ผู้บริหารพิจารณาได้ทุกคน เพราะเราทำงานมานานย่อมรู้นิสัยใจคอของผู้บริหารครับ การส่งใบสมัครที่เป็นไปไม่ได้ให้กับผู้บริหารเกินจำเป็น ผู้ส่งใบสมัครนั้นเข้าไปบ่อยๆจะโดนเพ่งเล็งมากขึ้นนะครับ คุณต้องเข้าใจตรงนี้ด้วย ทำให้หากพิจารณาดูแล้วว่ารายได้ที่ผู้สมัครเรียกมานั้น ทางบริษัทไม่สามารถให้ได้อยู่แล้ว ก็ไม่รู้จะเรียกสัมภาษณ์ไปทำไม
2) รูปถ่าย บางคนไม่มีรูปถ่าย บางคนรูปถ่ายใช้รูปที่ไม่เป็นทางการ ซึ่งดูแล้วคงยังไม่พร้อมที่จะทำงาน ยกตัวอย่างผู้สมัครบางท่าน สมัครในตำแหน่งงานที่สูงและสำคัญ แต่กลับใช้รูปถ่ายไปเที่ยว หรือใช้รูปถ่ายที่ปริ๊นท์มา ซึ่งผมถือว่าไม่ให้เกียรติบริษัทอย่างมาก ผมก็ไม่เรียกสัมภาษณ์แน่นอน เพราะแสดงถึงวุฒิภาวะที่ยังไม่พร้อมทำงานของผู้สมัคร
3) เนื้อหาของเรซูเม่ที่ไม่ชัดเจน ไม่ตรงเป้า น้ำเยอะ และเวิ่นเว้อมากเกินไป หรือมีเนื้อความที่แสดงถึงความไม่เป็นมืออาชีพ ทัศนคติการทำงานที่ไม่ดี/ไม่เหมาะสมกับบรรยากาศขององค์กร เราก็จะไม่รับพิจารณาหรือพิจารณาไว้ในอันดับท้ายๆครับ
4) การใช้ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษที่ไม่ถูกต้อง การสะกดคำที่ผิด แสดงถึงการไม่รอบคอบ ไม่ตรวจเนื้อหาที่นำเสนอ เพราะเรซูเม่เป็นอะไรที่แสดงความเป็นตัวตน ความสามารถ ความรอบคอบ ไม่ใช่งานที่ทำปั๊บนำเสนอปุ๊บซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ยังพอเข้าใจได้ว่าด้วยระยะเวลาที่กระชั้นชิดทำให้สามารถผิดพลาดได้ แต่มันเป็นงานที่สามารถใช้เวลาในการตรวจทานได้ ถ้าผิด ย่อมแสดงว่าไม่ตรวจทานเนื้อหาหรือไม่ก็ไม่รู้ว่าคำที่ถูกต้องคืออะไร แน่นอนครับว่ามีผลสำหรับตำแหน่งที่สูงๆหน่อย ถ้าเป็นตำแหน่งที่ไม่สูงมาก ผู้รับสมัครก็อาจให้ความสำคัญกับเรื่องนี้น้อยลงได้จนถึงอาจไม่ได้ให้ความสำคัญได้ครับ
5) เกรดเฉลี่ย วิชาที่ถนัด เราไม่รู้จักผู้สมัครมาก่อน ฉะนั้นเราก็จะมองจากเกรดเฉลี่ยรวมถึงวิชาที่เรียนได้ดี หากผู้สมัครพิมพ์เรซูเม่โฆษณาตนเองแสดงถึงความสามารถในตำแหน่งงานดีต่างๆนาๆ แต่เกรดเฉลี่ยหรือเกรดในรายวิชานั้นๆไม่ได้ดีคล้อยตามกัน ก็อาจเป็นเหตุให้เรียกสัมภาษณ์ได้ยากขึ้น
6) ฟอนต์ที่ใช้ ในงานต่างๆกันอาจพิจารณาเรื่องนี้ต่างกันได้ แต่โดยทั่วไปควรใช้ฟอนต์ตัวอักษรที่อ่านได้ง่าย เป็นระเบียบ และดูเป็นทางการในการพิมพ์เรซูเม่
7) ควรพิมพ์เรซูเม่ให้จบภายในหน้าเดียว และจัดหน้าให้อ่านง่าย เป็นระเบียบ อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัว ผู้รับสมัครท่านอื่นอาจเห็นต่างหรือไม่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ได้
8) อีเมลที่ใช้ในการติดต่อ อันนี้เป็นรายละเอียดปลีกย่อย ผู้สมัครควรใช้ชื่ออีเมลที่สุภาพและเป็นทางการ ผู้สมัครบางท่านใช้ชื่ออีเมลที่ออกไปในทางสองแง่สองง่าม บางท่านก็ใช้ชื่ออีเมลที่ออกไปในทางหยาบคาย หรือดูไร้วุฒิภาวะ ผมเข้าใจครับว่าเป็นอีเมลที่อาจเอาไว้ติดต่อเพื่อนๆในช่วงเวลาเรียนหรือใช้มานานแล้วในวัยเด็ก แต่เรากำลังจะเข้าสู่วัยทำงานแล้ว อีเมลก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของตัวชี้วัดความมีวุฒิภาวะและความพร้อม ความเป็นมืออาชีพในการทำงานได้
9) ประสบการณ์ในการทำงาน/การทำกิจกรรม/ความสามารถพิเศษ/ความสามารถอื่นที่มีประโยชน์ในสายงาน ตรงสายงานที่สมัครแค่ไหน คอมพิวเตอร์เก่งไหม ภาษาเก่งไหม ถ้ามีเอกสารที่แสดงหลักฐานชี้วัดความเก่งในด้านนั้นๆได้ก็จะทำให้มีน้ำหนักมากขึ้นครับ
10) สำคัญที่สุดคือ ความจริงครับ ถ้าพบว่าที่พิมพ์มามีเหตุอันเชื่อถือได้ว่าไม่เป็นความจริง สร้างภาพมากเกินไป ผมก็จะไม่รับพิจารณาเลยครับ หรือถ้ารู้ว่าไม่เป็นความจริงในภายหลัง ผมก็จะให้ออกครับ เพราะโดยส่วนตัวผมไม่ต้องการรับผู้สมัครที่โกหกครับ อันนี้เป็นการพิจารณาส่วนตัวนะครับ ผู้รับสมัครท่านอื่นอาจให้น้ำหนักในส่วนนี้มากน้อยต่างกันได้ครับ
ผมเขียนมามาก อาจจะดูว่าผมเลือกเยอะเกินไป แต่ความเป็นจริงแล้ว ผมจะพิจารณาตามระดับตำแหน่งที่รับสมัครน่ะครับ เช่น ถ้าผู้สมัครในตำแหน่งพนักงานทั่วไป ผมก็จะดูแค่ว่าบ้านใกล้ไหม เคยทำงานอะไรมา เรซูเม่จะมีหรือไม่มีก็ได้ ผมไม่ได้สนใจ หรือถ้ามาสมัครในตำแหน่งผู้ช่วย/ธุรการทั่วไป ก็อาจจะดูว่าพิมพ์คอมพิวเตอร์ได้ไหม รูปถ่ายมีบุคลิกภาพพอได้ไหม ภาษาอังกฤษได้บ้างไหม การศึกษาจบอะไรมา เท่านี้ครับ แต่ในตำแหน่งระดับพนักงานที่ทำงานในตำแหน่งสำคัญ ใช้ทักษะสูง หัวหน้างานหรือผู้จัดการ ผมก็จะพิจารณาละเอียดขึ้นและรอบด้านขึ้นตามลำดับครับ
อ่อ แล้วจริงๆผมก็ไม่ได้เป็นฝ่ายบุคคลครับ แต่เป็นบุคลากรที่มีส่วนร่วมสำคัญพอสมควรว่าจะพิจารณาหรือไม่รับพิจารณาผู้สมัครที่เกี่ยวข้องกับส่วนงานของผมน่ะครับ เพราะฉะนั้นความเห็นผมจึงไม่ใช่ความเห็นของฝ่ายบุคคลโดยตรงครับ แต่อยากออกความเห็นเผื่อว่าจะเป็นประโยชน์ทั้งในแง่คิด และวิธีการนำเสนอเรซูเม่ให้ไม่มากก็น้อยครับ
ปล ตอนนี้นึกออกเท่านี้ครับ
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ
มนุษย์เงินเดือน
ทรัพยากรบุคคล
การบริหารจัดการ
วิชาการ
การวิเคราะห์งาน (Job Analysis)
สอบถามมุมมองของ HR หรือ Recruiter เกี่ยวกับการรับคนเข้าทำงานครับ
หากมีคำแนะนำเพิ่มเติมสามารถแนะนำได้เลยนะครับ จะบ่น จะระบายอะไรได้หมดเลยครับ
ผมอยากเก็บข้อมูล จากมุมมองของ HR เพราะผมกำลังจะเข้าสู่ตลาดแรงงานแล้วครับ
ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับทุกคนที่เข้ามาแชร์นะครับ !!