ไวรัส RSV ระบาดหนักกว่าโควิด


ช่วงนีถิอเป็นช่วงปลายฤดูฝนเข้าสู่ต้นฤดูหนาว เป็นช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงและอาจส่งผลต่อสุขภาพ โดยเฉพาะเด็กเล็ก หรือเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 3 ปี โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ซึ่งโรค Respiratory Syncytial Virus (RSV) ก็เป็นอีกโรคหนึ่งที่มีเชื้อไวรัสเป็นสาเหตุของการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ พบว่าช่วงนี้พบว่ามีเด็ก ๆ ป่วยด้วยเชื้อไวรัส RSV (อาร์เอสวี) เยอะมากๆ เรามาทำความรู้จักไวรัส RSV กันแบบเข้าใจง่าย ๆ จะได้ระวังและป้องกันกันได้อย่างถูกต้องกันดีกว่าครับ
.
.
RSV หรือ  Respiratory Syncytial Virus เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในเด็กเล็ก เชื้อไวรัสนี้สามารถทำให้เกิดภาวะปอดอักเสบได้เนื่องจากมักเกิดพยาธิสภาพในส่วนของหลอดลมเล็ก (bronchiole) และถุงลม (alveoli) ทำให้มีการสร้างสิ่งคัดหลั่ง เช่น เสมหะ ออกมาในปริมาณมาก และมีการหดตัวของหลอดลมเนื่องจากการบวมของเยื่อบุหลอดลมและทางเดินหายใจต่างๆ ส่งผลให้เด็กมีอาการหอบ เหนื่อย และหายใจลำบากได้อย่างรวดเร็ว
.
หากมีอาการรุนแรงอาจต้องเข้ารับการรักษาในห้องไอซียู หรือทำให้ระบบหายใจล้มเหลว ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ หากรุนแรงมากอาจถึงขั้นเสียชีวิต เชื้อนี้สามารถติดต่อผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งต่างๆ เช่น น้ำมูก น้ำลาย ที่ปนปื้อนในสิ่งแวดล้อม เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ลูกบิดประตู ของล่น ฯลฯ และผ่านการหายใจเอาละอองจากการไอ จาม ของผู้ป่วยเข้าไปในร่างกาย โดยเชื้อไวรัส RSV สามารถมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานหลายชั่วโมง และสามารถอยู่ที่มือของเราได้นานประมาณ 30 นาที

.
.
ส่วนใหญ่เชื้อไวรัส RSV จะระบาดมากในหน้าฝนและหน้าหนาว หรือในสภาวะอากาศที่ชื้นแฉะ มีระยะฟักตัว 2-6 วันระยะนี้ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง 39-40 องศา ติดต่อกันนานถึง 5-10 วัน อาการของโรคติดเชื้อไวรัส RSV บางอย่างอาจคล้ายกับอาการไข้หวัดธรรมดา เช่น ไข้ (ส่วนใหญ่ไข้ไม่สูงนัก) ไอ จาม
.
.
แต่ก็มีอาการที่คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตและสงสัยว่าลูกอาจได้รับเชื้อไวรัส RSV เช่น
- เด็กจะหายใจเร็วกว่าปกติ หายใจมีเสียงหวีด หายใจครืดคราด
- หายใจลำบาก เช่น หายใจเข้าและออกยาก หายใจแรง หายใจเข้าแล้วปีกจมูกบาน 
- มีรอยบุ๋มบริเวณคอ ไหปลาร้า ชายโครง เพราะกายใจแรงมาก
หรือหากมีอาการรุนแรง อาจะพบว่า เด็กมี
-อาการตัวเขียว
-มีเสียงหวีดในปอด (จากการที่เยื่อบุทางเดินหายใจบวมอักเสบและหลอดลมหดตัว) หายใจเร็วแรงจนหน้าอกบุ๋ม 
-หอบเหนื่อย มีเสมหะมาก
-ไอมาก
-หรือเริ่มมีอาการซึม ๆ 
.
.
.
แนวทางการรักษา
.
ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคโดยตรง แต่ใช้วิธีรักษาตามอาการ เช่น การให้ยาลดไข้ ยาแก้ไอละลายเสมหะ ยาขยายหลอดลม ยาลดไข้ หรือพ่นยา ตามแต่อาการของผู้ป่วย ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นได้ เด็กบางรายที่มีเสมหะมาก ต้องเคาะปอดและดูดเสมหะออกเพื่อลดความรุนแรงของอาการไอและหายใจหอบเหนื่อยได้ ในผู้ป่วยที่มีอาการเหนื่อย หายใจไม่ค่อยดี และเริ่มมีออกซิเจนในเลือดต่ำลง การรักษาจะเป็นในรูปแบบประคับประคอง เช่น ให้สารน้ำทางหลอดเลือด ให้ยาพ่นขยายหลอดลม เคาะปอด ดูดเสมหะ รวมถึงให้ออกซิเจน ส่วนในรายที่มีอาการหนักมาก อาจต้องใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจ โดยให้การดูแลในหอพยาบาลผู้ป่วยวิกฤติจนกว่าอาการจะดีขึ้น
 
.
 
.
การป้องกันโรคทำได้ ดังนี้
1.หลีกเลี่ยงไปชุมชนคนเยอะ หรือเลี่ยงการอยู่ใกล้ผู้ใหญ่ และเด็กที่ป่วย ถ้าป่วยต้องอยู่บ้าน หยุดเรียน พบแพทย์
2. วัคซีนโรคอื่นๆ ที่ป้องกันพบร่วมได้ เช่น ไข้หวัดใหญ่ วัคซีนไอพีดี เป็นทางเลือกสามารถฉีดได้
3. รักษาความอบอุ่นของร่างกาย ช่วงนี้อาการเย็น หนาว ไวรัสชอบ
4. คนมีโรคประจำตัว เช่น หอบหืด โรคหัวใจ โอกาสติด RSV แล้วอาการรุนแรงกว่าเด็กทั่วไป ต้องระวัง อย่าขาดยาประจำ ป่วยรีบมาพบแพทย์
5. ล้างมือ สวมหน้ากาก รักษาระยะห่าง ป้องกัน RSV ไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบได้ มาตรการเดียวกับการป้องกันโรคโควิด-19
.
.
หากพบอาการผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์นะครับ
.
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่