สำหรับชื่อ เจ-มณฑล จิรา ถ้าเป็นคนมีอายุหน่อย (แก่) หรือคนที่ติดตามวงการดนตรีค่อนข้างลึก น่าจะรู้จักเขาคนนี้ผ่านงานเบื้องหลังศิลปินอย่าง Hugo , Slot Machine และอื่นๆ แต่สำหรับรุ่นใหม่ๆ LYRA อาจเป็นงานชิ้นแรกที่ทำให้รู้จักเขาคนนี้
แต่รู้หรือไม่ว่า จริงๆแล้ว เจ นั้น ไม่ได้ถูกวางตัวให้มาทำงานนี้แต่แรก ทว่าเพราะเหตุการณ์หลายๆอย่างที่เกิดขึ้น (อันเนื่องมาจาก COVID19) ทำให้เขา
"จับพลัดจับผลู" จากที่ปรึกษาโปรเจ็ค กลายเป็นโปรดิวเซอร์และนักแต่งเพลงให้กับงานชิ้นแรกของวง T-Pop หน้าใหม่วงนี้
อนึ่ง ส่วนที่นำมาแชร์นี้ คัดลอกจากบทสัมภาษณ์ของ
mgronline.com ครับ ซึ่งจะมีการพูดถึงการทำงานกับศิลปินอื่น รวมถึงงานเดี่ยวของเจ้าตัวเองที่เพิ่งออกมาด้วย ถ้าใครอยากอ่านเต็มๆ ไปตามลิงค์ข่างล่างนี้ได้เลย
https://mgronline.com/onlinesection/detail/9630000110266
การทำงานกับโปรเจค LYRA
"สำหรับการทำงานกับ LYRA มันเริ่มมาจากการเป็นที่ปรึกษาในค่าย Universal Thailand เขาก็จะเข้ามาถามเรื่องเพลงกับเราอยู่บ่อยๆ เขาก็มาถามว่า เพลงนี้เป็นอย่างไรบ้าง มันอาจจะมีทฤษฎีหน่อย เราก็เข้ามาช่วยตรงนั้น จนกระทั่งมาถึงช่วงที่ค่าย ไปคุยกับทาง ค่าย Iam ในเรื่องโปรเจกต์นี้ขึ้นมา ซึ่งทางผู้บริหารก็เรียกเราเข้ามาพูดถึงในเรื่องของการช่วยกันทำงาน เพราะว่ามีส่วนในเรื่องของระดับสากลเข้ามาแล้ว จนพอเราได้รับในส่วนของเพลงต่างๆ เราก็เอาโครงเพลงที่คนแต่งที่นี่ ไปเสนอกับโปรดิวเซอร์ต่างๆ ที่ต่างประเทศ เราคิดว่าเนื้อเพลงและทำนองเพลงไทยให้ต่างชาติเขาทำโปรดักชั่นกลับมา ก็จะเป็นอะไรที่เราต้องการ ในเรื่องของเสียงที่มีความสดใหม่ แต่ก็ยังมีความเป็นไทยอยู่
ซึ่งในช่วง 2-3 เดือนแรก เราก็พยายามติดต่อโปรดิวเซอร์ที่ว่านี้ แต่ปรากฏว่ามันยังไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการ ซึ่งทางผู้บริหารของทั้ง 2 ค่าย ก็คิดแบบเดียวกับเราว่า มันยังไม่ใช่เหมือนกัน เราก็มานั่งวิเคราะห์ว่า เพราะอะไรถึงยังไม่ตรงกับสิ่งที่เขาต้องการ แถมเวลาในช่วงนั้นมันก็จะใกล้หมดแล้ว ซึ่งตอนแรกสุด ยูนิตนี้ จะทำการบินไปที่แอลเอ แต่ก็มาเจอวิกฤตโควิด-19 ซะก่อน ทุกอย่างก็ถูกพักไป แต่ตารางงานทั้งหมด ก็ยังดำเนินการต่อไปอยู่ ผมก็เลยถามทางผู้บริหารค่ายว่า ให้เราเข้าไปลองดูมั้ย เพราะว่า เราอยากลองดู แต่งและโปรดิวซ์ 1 เพลง ซึ่งก็คือเพลง LYRA นี่แหละ แล้วเราก็นึกถึง Richard Cracker เขาเป็นโปรดิวเซอร์และเอ็นจิเนียร์ทางด้านเสียงที่เก่ง ก็เลยถามว่า สนใจที่จะมาร่วมงานกันมั้ย ผมก็เลยไปทำเดโมกับเขา แล้วส่งกลับมาทางค่าย ปรากฏว่าทางค่ายชอบ และคิดว่ามันจะใช่ เพราะเราตอบโต้กับทางต่างประเทศมาตลอด 2 เดือน เราคิดตลอดว่า อยากจะใส่อะไรในตัวเพลงที่เราทำกันมา ซึ่งบังเอิญเขาก็ชอบกัน หลังจากนั้นก็มีการเผยแพร่ให้ฟัง ทั้งในค่าย รวมถึงตัวน้องๆ ทั้ง 6 คน ผลตอบรับก็ดี ซึ่งเราจำได้ว่า เหลืออีกแค่ 2 อาทิตย์ที่จะเข้าไปบันทึกเสียงแล้ว ผมเลยบอกว่า เดี๋ยวจะเข้าไปทำเพลงกับริชาร์ดอีกเพลง ปรากฏว่าทางค่ายก็โอเคอีก เราก็เริ่มเข้าใจวิธีตรงนี้แล้ว เลยนำเพลงนี้มาทำเพิ่มเติม รวมเป็น 3 เพลง
ทั้งๆ ที่ เราก็ไม่ได้อยากจะมาทำตรงนี้นะ เพราะว่ามันก็ไม่ใช่หน้าที่ของเรา เขาแค่เรียกเราเข้ามาช่วยติดต่อโปรดิวเซอร์คนอื่นมาช่วย ซึ่งในบางช่วงเราก็เข้าใจนะว่าเขาต้องการอะไร ถ้าเราลงมือทำ มันจะเร็วกว่า แต่เราก็พยายามไม่ทำตรงนั้น เพราะอย่างที่บอกว่า มันไม่ใช่หน้าที่ของเรา แต่ในที่สุด เราก็เสนอไปว่า ให้เราลองทำดูมั้ย ปรากฏว่าทุกฝ่ายโอเค เลยได้มาทำตรงนี้ ซึ่งโดยส่วนตัวเราเองนั้น ถือว่าไม่ได้เป็นแนวที่เราถนัด เพราะเราไม่ได้ทำแนวป็อป หรือ แนวไอดอล มาก่อน เราแค่มาศึกษาว่า เพลงลักษณะนี้ มันควรจะเป็นแบบไหน การที่มาแบ่งส่วนในการร้องให้กับเด็กสาวทั้ง 6 คน มันควรจะเป็นยังไง ซึ่งผมก็ต้องมาแบ่งให้เท่าๆ กันนะ เพราะอาจทำให้แฟนๆ อาจจะรู้สึกไม่ดี ซึ่งมันมี system ที่น่าสนใจดี จนพอทำมา 3 เพลง ก็เริ่มเข้าใจมันมากขึ้น"
กลายเป็นว่า เพลงแนวนี้ ก็ทลายกำแพงส่วนตัวของคุณด้วย
"ใช่ครับ เพราะในการที่เราไม่ถนัดเนี่ย มันเปิดโอกาสให้เราทำอะไรที่มันใหม่ ซึ่งพอทำออกมาแล้ว คนฟังก็จะรู้สึกว่า นี่มันคืออะไร ซึ่งถ้าเกิดความตื่นเต้นในหมู่คนฟังแล้ว ที่เหลือก็ไม่สำคัญแล้วว่ามันจะตามรูปแบบหรือเปล่า ถ้าเขาฟังแล้วเชื่อมต่อกับมันได้ ส่วนของเสียงดนตรี และวิธีการร้อง เมโลดี้ต่างๆ ตรงนี้ พอเรามีโอกาสที่ได้มาทำในสิ่งที่มันแตกต่างนิดนึง ผมว่ามันทำให้เพลงมันแข็งแรงกว่า ซึ่งหลังจากซิงเกิลปล่อยออกไป ก็จะมี 2 กลุ่ม หนึ่ง คนที่ชอบทีมนี้อยู่แล้ว จากแฟนๆ BNK48 ที่เขาฟังแล้วชอบ กับอีกกลุ่มคือ คนที่ฟังเพลง เขาก็จะมีคำถามว่า ใครทำเพลงนี้ จนเขาไปหาเครดิตคนทำ แล้วตกใจว่า มณฑลมาทำเพลงนี้เหรอ มาอยู่ตรงนี้ได้ยังไง
(หัวเราะ)
อย่างที่บอกว่า เราทำงานตรงนี้มันมีลายเซ็นอยู่ แต่ตรงนี้ บางทีมันก็แบบเราไม่ได้ดึงอะไรมาจากงานอื่นๆ เลย ในส่วนโปรดักชั่นของเพลง มันจะดูมีความเงา อีกอย่างเราได้โจทย์มาว่า มันฟังแล้วดูอินเตอร์ได้ แต่มีรสชาติในความเป็นเพลงไทย นอกเหนือจากเนื้อ เราก็เลยเอาเครื่องดนตรีต่างๆ มีแคน มีพิณมาใส่ โดยที่ไม่ได้เน้นตรงนั้นเกินไป แทนที่จะมาแบบโดดๆ เราก็หาวิธีใส่เข้าไป พอดีได้ต้น จากต้นตระกูล มาเล่นให้ มันเลยกลายเป็นผลลัพธ์ให้คนจากที่นี่ และสื่อต่างประเทศอยากจะรู้ว่าเครื่องดนตรีนี้คืออะไร และเป็นเรื่องใหม่สำหรับเขาด้วย ว่ามีเครื่องดนตรีแบบโบรารณมาอยู่ในเพลงด้วย เขาเลยเริ่มมาเรียกว่าเป็น T-POP จริงๆ"
ในหมู่นักฟังเพลงไทย เขาบอกว่างานที่คุณเป็นโปรดิวเซอร์นั้นถือว่าเป็นงานคุณภาพ โดยส่วนตัวแล้วอะไรที่ทำให้เป็นปัจจัยเหล่านั้น และโดยส่วนตัวแล้วถือว่าเป็นความสำเร็จของตัวเองด้วยมั้ยครับ
(นิ่งคิด) ถ้าคนฟังแล้วชอบมันก็แล้วแต่นะว่าจะมองยังไง แต่สำหรับผม ผมว่ามันมีความแตกต่างอยู่ เพราะโปรดิวเซอร์แต่ละคนที่ทำเพลงออกมามันจะไม่เหมือนกันหรอก แต่ละคนฟังเพลงที่ไม่เหมือนกันอยู่ดี สำหรับคนที่ฟังผลงานแล้วเขาชอบ เราก็ต้องไปดูว่าเขาชอบในส่วนไหน แต่ที่เราได้ยินมาจะเป็นแบบว่า มันจะมีการสร้าง texture ในเสียงที่เป็นเอกลักษณ์กับวิธีการทำงานของเรา เหมือนเป็นลายเซ็นของเรา ซึ่งบางคนเขาก็ชอบตรงนั้น
อย่างถ้าพูดถึง LYRA นั่นคือวิธีการที่เราจะทำเพลงป็อป แล้วเราเข้าไปถึงจุดนั้นรึเปล่า เราก็ไม่รู้ มันจะคล้ายความเป็นเพลงป็อปตรงนั้น แต่มันก็มีความแตกต่างอยู่ ในการสร้างผลงานของตัวเอง เราอาจจะไม่ได้มีจุดที่เราพยายามตามแบบนั้นอยู่ เราพยายามสร้างอะไรที่มันมีความผสมผสานหลายๆ แนวมาเข้าอยู่ด้วยกัน แล้วพอตัวเองรู้สึกว่าตรงนั้นมันครบและเสร็จแล้ว อย่างน้อยเราก็รู้ว่า สิ่งที่ทำตรงนี้ มันเป็นการรวบรวมประสบการณ์ต่างๆ จากผลงานที่เราฟังมา มาอยู่ในงานชิ้นเดียว
พอมันมีผลงานนี้แล้ว เราหวังว่า คนที่ฟังงานของเราจะรู้ว่าอะไรที่มันยืนอยู่ในโลกของมันเองได้ คนส่วนน้อยที่อาจจะอยากมาฟังอะไรที่มันแปลกแบบนี้ แต่อย่างน้อยคนที่ฟัง เขาเห็นคุณค่าของงาน เขาเลยชื่นชมตรงนี้ และถือว่ามันสำเร็จในมุมส่วนตัว ตั้งแต่ที่บอกว่า ‘ผ่าน’ เรามีความสุขกับตรงนี้แล้ว แต่ถ้าเขามาฟังแล้วไม่ชอบ หลังจากนั้น เราก็มาวิเคราะห์ว่าในขั้นตอนคร่าวๆก่อนนั้น มันขาดอะไรอยู่ เราจะมีการเปลี่ยนมั้ย หรือในตอนนั้นเรามั่นใจว่าสิ่งที่เราทำมันถูกแล้ว เราก็ต้องทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ แน่นอนว่ามันจะมีบางเพลงที่เชื่อมกับคนฟังได้มากกว่าเพลงอื่น แต่ขอให้ทุกเพลงที่เราทำ ขอให้รู้สึกว่า มันจบในตัวมันเองแล้ว"
อ่านแล้ว รู้สึกยกย่องแกมากๆ เพราะเป็นงานแบบงานร้อน ไฟลนของแท้ แต่ก็ทำออกมาได้อย่างดีเยี่ยม (ในความเห็นของผมนะ)
จะรอดูผลงานอีก 2 เพลงของแกที่ทำกับ LYRA เหมือนกัน เพราะเห็นว่าทำไป 3 เพลง น่าสนใจมากๆ
ส่วนอัลบัมเต็มของเจ้าตัว "ด้วยความเคารพ" สามารถหาฟังได้แล้วตาม Streaming ทั้งหมดครับ
https://montonn.lnk.to/DuayKwamKaoropID
เจ-มณฑล จิรา กับการทำงานกับ LYRA โดย "ไม่ได้ตั้งใจ" (บทสัมภาษณ์)
สำหรับชื่อ เจ-มณฑล จิรา ถ้าเป็นคนมีอายุหน่อย (แก่) หรือคนที่ติดตามวงการดนตรีค่อนข้างลึก น่าจะรู้จักเขาคนนี้ผ่านงานเบื้องหลังศิลปินอย่าง Hugo , Slot Machine และอื่นๆ แต่สำหรับรุ่นใหม่ๆ LYRA อาจเป็นงานชิ้นแรกที่ทำให้รู้จักเขาคนนี้
แต่รู้หรือไม่ว่า จริงๆแล้ว เจ นั้น ไม่ได้ถูกวางตัวให้มาทำงานนี้แต่แรก ทว่าเพราะเหตุการณ์หลายๆอย่างที่เกิดขึ้น (อันเนื่องมาจาก COVID19) ทำให้เขา "จับพลัดจับผลู" จากที่ปรึกษาโปรเจ็ค กลายเป็นโปรดิวเซอร์และนักแต่งเพลงให้กับงานชิ้นแรกของวง T-Pop หน้าใหม่วงนี้
อนึ่ง ส่วนที่นำมาแชร์นี้ คัดลอกจากบทสัมภาษณ์ของ mgronline.com ครับ ซึ่งจะมีการพูดถึงการทำงานกับศิลปินอื่น รวมถึงงานเดี่ยวของเจ้าตัวเองที่เพิ่งออกมาด้วย ถ้าใครอยากอ่านเต็มๆ ไปตามลิงค์ข่างล่างนี้ได้เลย
https://mgronline.com/onlinesection/detail/9630000110266
การทำงานกับโปรเจค LYRA
"สำหรับการทำงานกับ LYRA มันเริ่มมาจากการเป็นที่ปรึกษาในค่าย Universal Thailand เขาก็จะเข้ามาถามเรื่องเพลงกับเราอยู่บ่อยๆ เขาก็มาถามว่า เพลงนี้เป็นอย่างไรบ้าง มันอาจจะมีทฤษฎีหน่อย เราก็เข้ามาช่วยตรงนั้น จนกระทั่งมาถึงช่วงที่ค่าย ไปคุยกับทาง ค่าย Iam ในเรื่องโปรเจกต์นี้ขึ้นมา ซึ่งทางผู้บริหารก็เรียกเราเข้ามาพูดถึงในเรื่องของการช่วยกันทำงาน เพราะว่ามีส่วนในเรื่องของระดับสากลเข้ามาแล้ว จนพอเราได้รับในส่วนของเพลงต่างๆ เราก็เอาโครงเพลงที่คนแต่งที่นี่ ไปเสนอกับโปรดิวเซอร์ต่างๆ ที่ต่างประเทศ เราคิดว่าเนื้อเพลงและทำนองเพลงไทยให้ต่างชาติเขาทำโปรดักชั่นกลับมา ก็จะเป็นอะไรที่เราต้องการ ในเรื่องของเสียงที่มีความสดใหม่ แต่ก็ยังมีความเป็นไทยอยู่
ซึ่งในช่วง 2-3 เดือนแรก เราก็พยายามติดต่อโปรดิวเซอร์ที่ว่านี้ แต่ปรากฏว่ามันยังไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการ ซึ่งทางผู้บริหารของทั้ง 2 ค่าย ก็คิดแบบเดียวกับเราว่า มันยังไม่ใช่เหมือนกัน เราก็มานั่งวิเคราะห์ว่า เพราะอะไรถึงยังไม่ตรงกับสิ่งที่เขาต้องการ แถมเวลาในช่วงนั้นมันก็จะใกล้หมดแล้ว ซึ่งตอนแรกสุด ยูนิตนี้ จะทำการบินไปที่แอลเอ แต่ก็มาเจอวิกฤตโควิด-19 ซะก่อน ทุกอย่างก็ถูกพักไป แต่ตารางงานทั้งหมด ก็ยังดำเนินการต่อไปอยู่ ผมก็เลยถามทางผู้บริหารค่ายว่า ให้เราเข้าไปลองดูมั้ย เพราะว่า เราอยากลองดู แต่งและโปรดิวซ์ 1 เพลง ซึ่งก็คือเพลง LYRA นี่แหละ แล้วเราก็นึกถึง Richard Cracker เขาเป็นโปรดิวเซอร์และเอ็นจิเนียร์ทางด้านเสียงที่เก่ง ก็เลยถามว่า สนใจที่จะมาร่วมงานกันมั้ย ผมก็เลยไปทำเดโมกับเขา แล้วส่งกลับมาทางค่าย ปรากฏว่าทางค่ายชอบ และคิดว่ามันจะใช่ เพราะเราตอบโต้กับทางต่างประเทศมาตลอด 2 เดือน เราคิดตลอดว่า อยากจะใส่อะไรในตัวเพลงที่เราทำกันมา ซึ่งบังเอิญเขาก็ชอบกัน หลังจากนั้นก็มีการเผยแพร่ให้ฟัง ทั้งในค่าย รวมถึงตัวน้องๆ ทั้ง 6 คน ผลตอบรับก็ดี ซึ่งเราจำได้ว่า เหลืออีกแค่ 2 อาทิตย์ที่จะเข้าไปบันทึกเสียงแล้ว ผมเลยบอกว่า เดี๋ยวจะเข้าไปทำเพลงกับริชาร์ดอีกเพลง ปรากฏว่าทางค่ายก็โอเคอีก เราก็เริ่มเข้าใจวิธีตรงนี้แล้ว เลยนำเพลงนี้มาทำเพิ่มเติม รวมเป็น 3 เพลง
ทั้งๆ ที่ เราก็ไม่ได้อยากจะมาทำตรงนี้นะ เพราะว่ามันก็ไม่ใช่หน้าที่ของเรา เขาแค่เรียกเราเข้ามาช่วยติดต่อโปรดิวเซอร์คนอื่นมาช่วย ซึ่งในบางช่วงเราก็เข้าใจนะว่าเขาต้องการอะไร ถ้าเราลงมือทำ มันจะเร็วกว่า แต่เราก็พยายามไม่ทำตรงนั้น เพราะอย่างที่บอกว่า มันไม่ใช่หน้าที่ของเรา แต่ในที่สุด เราก็เสนอไปว่า ให้เราลองทำดูมั้ย ปรากฏว่าทุกฝ่ายโอเค เลยได้มาทำตรงนี้ ซึ่งโดยส่วนตัวเราเองนั้น ถือว่าไม่ได้เป็นแนวที่เราถนัด เพราะเราไม่ได้ทำแนวป็อป หรือ แนวไอดอล มาก่อน เราแค่มาศึกษาว่า เพลงลักษณะนี้ มันควรจะเป็นแบบไหน การที่มาแบ่งส่วนในการร้องให้กับเด็กสาวทั้ง 6 คน มันควรจะเป็นยังไง ซึ่งผมก็ต้องมาแบ่งให้เท่าๆ กันนะ เพราะอาจทำให้แฟนๆ อาจจะรู้สึกไม่ดี ซึ่งมันมี system ที่น่าสนใจดี จนพอทำมา 3 เพลง ก็เริ่มเข้าใจมันมากขึ้น"
กลายเป็นว่า เพลงแนวนี้ ก็ทลายกำแพงส่วนตัวของคุณด้วย
"ใช่ครับ เพราะในการที่เราไม่ถนัดเนี่ย มันเปิดโอกาสให้เราทำอะไรที่มันใหม่ ซึ่งพอทำออกมาแล้ว คนฟังก็จะรู้สึกว่า นี่มันคืออะไร ซึ่งถ้าเกิดความตื่นเต้นในหมู่คนฟังแล้ว ที่เหลือก็ไม่สำคัญแล้วว่ามันจะตามรูปแบบหรือเปล่า ถ้าเขาฟังแล้วเชื่อมต่อกับมันได้ ส่วนของเสียงดนตรี และวิธีการร้อง เมโลดี้ต่างๆ ตรงนี้ พอเรามีโอกาสที่ได้มาทำในสิ่งที่มันแตกต่างนิดนึง ผมว่ามันทำให้เพลงมันแข็งแรงกว่า ซึ่งหลังจากซิงเกิลปล่อยออกไป ก็จะมี 2 กลุ่ม หนึ่ง คนที่ชอบทีมนี้อยู่แล้ว จากแฟนๆ BNK48 ที่เขาฟังแล้วชอบ กับอีกกลุ่มคือ คนที่ฟังเพลง เขาก็จะมีคำถามว่า ใครทำเพลงนี้ จนเขาไปหาเครดิตคนทำ แล้วตกใจว่า มณฑลมาทำเพลงนี้เหรอ มาอยู่ตรงนี้ได้ยังไง (หัวเราะ)
อย่างที่บอกว่า เราทำงานตรงนี้มันมีลายเซ็นอยู่ แต่ตรงนี้ บางทีมันก็แบบเราไม่ได้ดึงอะไรมาจากงานอื่นๆ เลย ในส่วนโปรดักชั่นของเพลง มันจะดูมีความเงา อีกอย่างเราได้โจทย์มาว่า มันฟังแล้วดูอินเตอร์ได้ แต่มีรสชาติในความเป็นเพลงไทย นอกเหนือจากเนื้อ เราก็เลยเอาเครื่องดนตรีต่างๆ มีแคน มีพิณมาใส่ โดยที่ไม่ได้เน้นตรงนั้นเกินไป แทนที่จะมาแบบโดดๆ เราก็หาวิธีใส่เข้าไป พอดีได้ต้น จากต้นตระกูล มาเล่นให้ มันเลยกลายเป็นผลลัพธ์ให้คนจากที่นี่ และสื่อต่างประเทศอยากจะรู้ว่าเครื่องดนตรีนี้คืออะไร และเป็นเรื่องใหม่สำหรับเขาด้วย ว่ามีเครื่องดนตรีแบบโบรารณมาอยู่ในเพลงด้วย เขาเลยเริ่มมาเรียกว่าเป็น T-POP จริงๆ"
ในหมู่นักฟังเพลงไทย เขาบอกว่างานที่คุณเป็นโปรดิวเซอร์นั้นถือว่าเป็นงานคุณภาพ โดยส่วนตัวแล้วอะไรที่ทำให้เป็นปัจจัยเหล่านั้น และโดยส่วนตัวแล้วถือว่าเป็นความสำเร็จของตัวเองด้วยมั้ยครับ
(นิ่งคิด) ถ้าคนฟังแล้วชอบมันก็แล้วแต่นะว่าจะมองยังไง แต่สำหรับผม ผมว่ามันมีความแตกต่างอยู่ เพราะโปรดิวเซอร์แต่ละคนที่ทำเพลงออกมามันจะไม่เหมือนกันหรอก แต่ละคนฟังเพลงที่ไม่เหมือนกันอยู่ดี สำหรับคนที่ฟังผลงานแล้วเขาชอบ เราก็ต้องไปดูว่าเขาชอบในส่วนไหน แต่ที่เราได้ยินมาจะเป็นแบบว่า มันจะมีการสร้าง texture ในเสียงที่เป็นเอกลักษณ์กับวิธีการทำงานของเรา เหมือนเป็นลายเซ็นของเรา ซึ่งบางคนเขาก็ชอบตรงนั้น
อย่างถ้าพูดถึง LYRA นั่นคือวิธีการที่เราจะทำเพลงป็อป แล้วเราเข้าไปถึงจุดนั้นรึเปล่า เราก็ไม่รู้ มันจะคล้ายความเป็นเพลงป็อปตรงนั้น แต่มันก็มีความแตกต่างอยู่ ในการสร้างผลงานของตัวเอง เราอาจจะไม่ได้มีจุดที่เราพยายามตามแบบนั้นอยู่ เราพยายามสร้างอะไรที่มันมีความผสมผสานหลายๆ แนวมาเข้าอยู่ด้วยกัน แล้วพอตัวเองรู้สึกว่าตรงนั้นมันครบและเสร็จแล้ว อย่างน้อยเราก็รู้ว่า สิ่งที่ทำตรงนี้ มันเป็นการรวบรวมประสบการณ์ต่างๆ จากผลงานที่เราฟังมา มาอยู่ในงานชิ้นเดียว
พอมันมีผลงานนี้แล้ว เราหวังว่า คนที่ฟังงานของเราจะรู้ว่าอะไรที่มันยืนอยู่ในโลกของมันเองได้ คนส่วนน้อยที่อาจจะอยากมาฟังอะไรที่มันแปลกแบบนี้ แต่อย่างน้อยคนที่ฟัง เขาเห็นคุณค่าของงาน เขาเลยชื่นชมตรงนี้ และถือว่ามันสำเร็จในมุมส่วนตัว ตั้งแต่ที่บอกว่า ‘ผ่าน’ เรามีความสุขกับตรงนี้แล้ว แต่ถ้าเขามาฟังแล้วไม่ชอบ หลังจากนั้น เราก็มาวิเคราะห์ว่าในขั้นตอนคร่าวๆก่อนนั้น มันขาดอะไรอยู่ เราจะมีการเปลี่ยนมั้ย หรือในตอนนั้นเรามั่นใจว่าสิ่งที่เราทำมันถูกแล้ว เราก็ต้องทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ แน่นอนว่ามันจะมีบางเพลงที่เชื่อมกับคนฟังได้มากกว่าเพลงอื่น แต่ขอให้ทุกเพลงที่เราทำ ขอให้รู้สึกว่า มันจบในตัวมันเองแล้ว"
อ่านแล้ว รู้สึกยกย่องแกมากๆ เพราะเป็นงานแบบงานร้อน ไฟลนของแท้ แต่ก็ทำออกมาได้อย่างดีเยี่ยม (ในความเห็นของผมนะ)
จะรอดูผลงานอีก 2 เพลงของแกที่ทำกับ LYRA เหมือนกัน เพราะเห็นว่าทำไป 3 เพลง น่าสนใจมากๆ
ส่วนอัลบัมเต็มของเจ้าตัว "ด้วยความเคารพ" สามารถหาฟังได้แล้วตาม Streaming ทั้งหมดครับ
https://montonn.lnk.to/DuayKwamKaoropID