เมื่อพูดถึงซอมบี้ หลายๆ คนจะนึกถึงซากศพที่กลับมาขยับได้อีกครั้ง คอยไล่ทำร้ายเหล่าสิ่งมีชีวิตที่พวกมันพบเจอ แต่จะเป็นอย่างไรบ้างถ้าซากแบตเตอรี่ที่ชำรุดและเสียไปแล้ว อยู่ดีๆ มันก็ปะทุเกิดเป็นไฟลุกไหม้ขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ
ซากแบตเตอรี่เป็นเหตุสังเกตได้
ในวันทำงานที่โรงแยกขยะ Smallmead ทางตอนใต้ของประเทศอังกฤษ เจ้าหน้าที่ก็ทำการแยกขยะตามที่ควรจะเป็นซึ่งดูเหมือนทุกอย่างจะเป็นไปตามปกติ อย่างไรก็ตามเกิดประกายไฟขึ้นมาโดยไม่ทราบสาเหตุที่สายพานลำเลียง หากไฟเหล่านี้ติดไปที่กองขยะที่รอการแยกซึ่งเต็มไปด้วยเศษไม้ เศษพลาสติก และลังกระดาษ โอกาสที่จะลามไปทั้งตัวอาคารมีสูงมาก
ถึงแม้ว่าเรื่องจริงนี้จะจบลงที่การดับกองไฟได้สำเร็จก่อนที่จะลุกลามใหญ่โต แต่การเกิดกองไฟจากซากแบตเตอรี่ขึ้นเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้วในโรงแยกขยะเพื่อนำไป Recycle
เมื่อคนทิ้งขยะแบตเตอรี่ในถัง Recycle ไม่ถูกต้อง
จากการเก็บสถิติขององค์กรด้านบริการสิ่งแวดล้อมระดับโลกคือ Environmental Service Association (ESA) ซึ่งเป็นทำหน้าที่เป็นตัวแทนของบริษัทบริหารจัดการขยะระดับโลก เช่น Biffa, Veolia และ Suez พบว่าประชาชนจำนวนมากทิ้งขยะอันตรายอย่างซากแบตเตอรี่เก่าอย่างไม่ถูกต้อง เช่น ทิ้งในถุงดำเก็บขยะทั่วไป หรือถังขยะสำหรับขยะ Recycle อื่นๆ ซึ่งสภาพแวดล้อมในถุงเหล่านี้จะทำให้ซากแบตเตอรี่ดังกล่าวผุพังเสียหาย และอาจจะเกิดความร้อนจนติดไฟ หรืออย่างเลวร้ายที่สุดคือเกิดระเบิดขึ้นได้ โดยซากแบตเตอรี่ที่รอการปะทุนี้เรียกกันว่า “แบตเตอรี่ซอมบี้”
ทาง ESA ได้พยายามรณรงค์ให้ประชาชนทิ้งซากแบตเตอรี่อย่างถูกวิธีและปลอดภัยเพื่อไม่ให้พวกมันกลับมาเป็นแบตเตอรี่ ซอมบี้ ที่รอวันจะปะทุเป็นระเบิดเมื่อไรก็ได้ อย่างไรก็ตาม คุณ Jacob Hayler ผู้บริหารระดับสูงของ ESA กล่าวว่าซากแบตเตอรี่ส่วนใหญ่ในประเทศอังกฤษถูกทิ้งอย่างไม่ระมัดระวัง เมื่อซากแบตเตอรี่เหล่านี้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ใม่เหมาะสมจนกลายเป็นแบตเตอรี่ ซอมบี้ ก็มีอากสสูงที่จะปะทุเป็นกองไฟขึ้นมา ทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนหลายล้านปอนด์ในปต่ละปี
ตัวการสำคัญแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน
แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนเป็นแบตเตอรี่ยอดนิยมชนิดหนึ่งของโลก ตัวแบตเตอรี่ถูกพัฒนาโดยคุณ Akira Yoshino ในปี 1985 ก่อนที่จะนำไปผลิตในเชิงพานิชย์เป็นครั้งแรกโดยบริษัท Sony และ Asashi Kasei ในปี 1991 ด้วยคุณสมบัติที่สามารถชาร์จไฟฟ้าเข้าไปได้ ประกอบกับมีหลายขนาดตั้งแต่เล็กจนใช้กับแปลงสีฟันไฟฟ้าไปขนถึงใหญ่ขนาดใช้ในอุตสาหกรรมการบิน ทำให้แบตเตอรี่ลิเธิยมไอออนเป็นหนึ่งในดวงใจผู้ใช้งานทั้งภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม ในท้ายที่สุดคุณ Yoshino ก็ได้รับรางวัลโนเบลจากการคิดค้นเจ้าแบตเตอรี่ในปี 2019
ในระหว่างเดือนเมษายน 2019 ถึงมีนาคม 2020 ซากแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดไฟไหม้กว่า 250 ครั้งที่ศูนย์แยกขยะ เพิ่มขึ้นถึง 13% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า นอกจากนี้แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนยังถูกสงสัยว่าเป็นสาเหตุของไฟไหมที่ไม่ทราบที่มานับครั้งไม่ถ้วนอีกด้วย
การทดสอบการระเบิดของแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน
ศาสตราจารย์ Paul Christensen จาก University of Newcastle ได้ทดลองสร้างความเสียหายใส่ซากแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนเพื่อทดลองว่าสถาณการ์ใดบ้างที่จะทำให้ซากแบตเตอรี่เหล่านี้ระเบิดขึ้นมา การทดลองอันแปลกประหลาดดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อศึกษาการระเบิดของแบตเตอรี่ซอมบี้ตัวร้ายเพื่อช่วยให้นักผจญเพลิงสามารถเข้าไปจัดการไฟไหม้ที่เกิดซากแบตเตอรี่ได้อย่างทันท่วงที
ศาสตราจารย์ Paul กล่าวว่าแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนสามารถทำงานได้ดีมาก ๆ เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปกติ อย่างก็ตามซากแบตเตอรี่ขนาดจิ๋วก็อาจกลายเป็นระเบิดเพลิงได้ง่ายๆ หากโดนเจาะเข้าไป และจะกลายเป็นอภิมหาระเบิดขนาดใหญ่ถ้าแบตเตอรี่มีขนาดใหญ่ เช่น แบตเตอรี่ที่ไว้ใช้ในรถยนต์หรือในภาคอุตสาหกรรมเกิดระเบิดขึ้น
ในทางกลับกันหากรถยนต์ โดยเฉพาะรถไฟฟ้าที่มีแบตเตอรี่รอบตัวรถ ชนเข้ากับสิ่งกีดขวางจนทำให้แบตเตอรี่บางส่วนแตกทะลุ ก็มีโอกาสสูงมากที่แบตเตอรี่แต่ละก้อนจะลุกไหม้และลามไปที่ก้อนอื่นๆ ซึ่งศาสตราจารย์ Paul กล่าวว่ารถยนต์ไฟฟ้าจะเผาไหม้ได้นานกว่าเครื่องยนต์สันดาปและมีโอกาสระเบิดหรือเกิดมลภาวะได้มากกว่าอีกด้วย
เมื่อเรากลับมามองภาคอุคสาหกรรมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าหรือแบตเตอรี่ ความเสียหายที่เกิดขึ้นก็จะมากเกินกว่าจะคาดเดาได้ ดังนั้นการสร้างความตระหนักรู้ในความเสี่ยงของแบตเตอรี่จึงเป็นสิ่งสำคัญ ข้อบังคับของทางภาครัฐและการให้ความรู้กับนักผจญเพลิงจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ครับ
ปัญหาแบตเตอรี่ซอมบี้สามารถแก้ได้ถ้าทุกคนทิ้งซากแบตเตอรี่ในจุดรับที่กำหนด หรืออย่างน้อยก็เป็นที่เป็นทางครับ
ฝากติดตาม กด like กด share ข้อมูลดีๆ ได้ทาง
https://www.facebook.com/Unboxthinking
หรือ
https://www.blockdit.com/pages/5f4b6519e807060cb777cdbf ด้วยนะครับ ผมสัญญาว่าจะพยายามวิเคราะห์ข้อมูลดีๆ มาให้เรื่อยๆ นะครับผม
แบตเตอรี่ซอมบี้สุดสยอง!! เมื่อซากแบตเตอรี่เก่าพร้อมติดไฟ
เมื่อพูดถึงซอมบี้ หลายๆ คนจะนึกถึงซากศพที่กลับมาขยับได้อีกครั้ง คอยไล่ทำร้ายเหล่าสิ่งมีชีวิตที่พวกมันพบเจอ แต่จะเป็นอย่างไรบ้างถ้าซากแบตเตอรี่ที่ชำรุดและเสียไปแล้ว อยู่ดีๆ มันก็ปะทุเกิดเป็นไฟลุกไหม้ขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ
ซากแบตเตอรี่เป็นเหตุสังเกตได้
ในวันทำงานที่โรงแยกขยะ Smallmead ทางตอนใต้ของประเทศอังกฤษ เจ้าหน้าที่ก็ทำการแยกขยะตามที่ควรจะเป็นซึ่งดูเหมือนทุกอย่างจะเป็นไปตามปกติ อย่างไรก็ตามเกิดประกายไฟขึ้นมาโดยไม่ทราบสาเหตุที่สายพานลำเลียง หากไฟเหล่านี้ติดไปที่กองขยะที่รอการแยกซึ่งเต็มไปด้วยเศษไม้ เศษพลาสติก และลังกระดาษ โอกาสที่จะลามไปทั้งตัวอาคารมีสูงมาก
ถึงแม้ว่าเรื่องจริงนี้จะจบลงที่การดับกองไฟได้สำเร็จก่อนที่จะลุกลามใหญ่โต แต่การเกิดกองไฟจากซากแบตเตอรี่ขึ้นเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้วในโรงแยกขยะเพื่อนำไป Recycle
เมื่อคนทิ้งขยะแบตเตอรี่ในถัง Recycle ไม่ถูกต้อง
จากการเก็บสถิติขององค์กรด้านบริการสิ่งแวดล้อมระดับโลกคือ Environmental Service Association (ESA) ซึ่งเป็นทำหน้าที่เป็นตัวแทนของบริษัทบริหารจัดการขยะระดับโลก เช่น Biffa, Veolia และ Suez พบว่าประชาชนจำนวนมากทิ้งขยะอันตรายอย่างซากแบตเตอรี่เก่าอย่างไม่ถูกต้อง เช่น ทิ้งในถุงดำเก็บขยะทั่วไป หรือถังขยะสำหรับขยะ Recycle อื่นๆ ซึ่งสภาพแวดล้อมในถุงเหล่านี้จะทำให้ซากแบตเตอรี่ดังกล่าวผุพังเสียหาย และอาจจะเกิดความร้อนจนติดไฟ หรืออย่างเลวร้ายที่สุดคือเกิดระเบิดขึ้นได้ โดยซากแบตเตอรี่ที่รอการปะทุนี้เรียกกันว่า “แบตเตอรี่ซอมบี้”
ทาง ESA ได้พยายามรณรงค์ให้ประชาชนทิ้งซากแบตเตอรี่อย่างถูกวิธีและปลอดภัยเพื่อไม่ให้พวกมันกลับมาเป็นแบตเตอรี่ ซอมบี้ ที่รอวันจะปะทุเป็นระเบิดเมื่อไรก็ได้ อย่างไรก็ตาม คุณ Jacob Hayler ผู้บริหารระดับสูงของ ESA กล่าวว่าซากแบตเตอรี่ส่วนใหญ่ในประเทศอังกฤษถูกทิ้งอย่างไม่ระมัดระวัง เมื่อซากแบตเตอรี่เหล่านี้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ใม่เหมาะสมจนกลายเป็นแบตเตอรี่ ซอมบี้ ก็มีอากสสูงที่จะปะทุเป็นกองไฟขึ้นมา ทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนหลายล้านปอนด์ในปต่ละปี
ตัวการสำคัญแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน
แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนเป็นแบตเตอรี่ยอดนิยมชนิดหนึ่งของโลก ตัวแบตเตอรี่ถูกพัฒนาโดยคุณ Akira Yoshino ในปี 1985 ก่อนที่จะนำไปผลิตในเชิงพานิชย์เป็นครั้งแรกโดยบริษัท Sony และ Asashi Kasei ในปี 1991 ด้วยคุณสมบัติที่สามารถชาร์จไฟฟ้าเข้าไปได้ ประกอบกับมีหลายขนาดตั้งแต่เล็กจนใช้กับแปลงสีฟันไฟฟ้าไปขนถึงใหญ่ขนาดใช้ในอุตสาหกรรมการบิน ทำให้แบตเตอรี่ลิเธิยมไอออนเป็นหนึ่งในดวงใจผู้ใช้งานทั้งภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม ในท้ายที่สุดคุณ Yoshino ก็ได้รับรางวัลโนเบลจากการคิดค้นเจ้าแบตเตอรี่ในปี 2019
ในระหว่างเดือนเมษายน 2019 ถึงมีนาคม 2020 ซากแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดไฟไหม้กว่า 250 ครั้งที่ศูนย์แยกขยะ เพิ่มขึ้นถึง 13% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า นอกจากนี้แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนยังถูกสงสัยว่าเป็นสาเหตุของไฟไหมที่ไม่ทราบที่มานับครั้งไม่ถ้วนอีกด้วย
การทดสอบการระเบิดของแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน
ศาสตราจารย์ Paul Christensen จาก University of Newcastle ได้ทดลองสร้างความเสียหายใส่ซากแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนเพื่อทดลองว่าสถาณการ์ใดบ้างที่จะทำให้ซากแบตเตอรี่เหล่านี้ระเบิดขึ้นมา การทดลองอันแปลกประหลาดดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อศึกษาการระเบิดของแบตเตอรี่ซอมบี้ตัวร้ายเพื่อช่วยให้นักผจญเพลิงสามารถเข้าไปจัดการไฟไหม้ที่เกิดซากแบตเตอรี่ได้อย่างทันท่วงที
ศาสตราจารย์ Paul กล่าวว่าแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนสามารถทำงานได้ดีมาก ๆ เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปกติ อย่างก็ตามซากแบตเตอรี่ขนาดจิ๋วก็อาจกลายเป็นระเบิดเพลิงได้ง่ายๆ หากโดนเจาะเข้าไป และจะกลายเป็นอภิมหาระเบิดขนาดใหญ่ถ้าแบตเตอรี่มีขนาดใหญ่ เช่น แบตเตอรี่ที่ไว้ใช้ในรถยนต์หรือในภาคอุตสาหกรรมเกิดระเบิดขึ้น
ในทางกลับกันหากรถยนต์ โดยเฉพาะรถไฟฟ้าที่มีแบตเตอรี่รอบตัวรถ ชนเข้ากับสิ่งกีดขวางจนทำให้แบตเตอรี่บางส่วนแตกทะลุ ก็มีโอกาสสูงมากที่แบตเตอรี่แต่ละก้อนจะลุกไหม้และลามไปที่ก้อนอื่นๆ ซึ่งศาสตราจารย์ Paul กล่าวว่ารถยนต์ไฟฟ้าจะเผาไหม้ได้นานกว่าเครื่องยนต์สันดาปและมีโอกาสระเบิดหรือเกิดมลภาวะได้มากกว่าอีกด้วย
เมื่อเรากลับมามองภาคอุคสาหกรรมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าหรือแบตเตอรี่ ความเสียหายที่เกิดขึ้นก็จะมากเกินกว่าจะคาดเดาได้ ดังนั้นการสร้างความตระหนักรู้ในความเสี่ยงของแบตเตอรี่จึงเป็นสิ่งสำคัญ ข้อบังคับของทางภาครัฐและการให้ความรู้กับนักผจญเพลิงจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ครับ
ปัญหาแบตเตอรี่ซอมบี้สามารถแก้ได้ถ้าทุกคนทิ้งซากแบตเตอรี่ในจุดรับที่กำหนด หรืออย่างน้อยก็เป็นที่เป็นทางครับ
ฝากติดตาม กด like กด share ข้อมูลดีๆ ได้ทาง https://www.facebook.com/Unboxthinking
หรือ https://www.blockdit.com/pages/5f4b6519e807060cb777cdbf ด้วยนะครับ ผมสัญญาว่าจะพยายามวิเคราะห์ข้อมูลดีๆ มาให้เรื่อยๆ นะครับผม