ร้านค้าโคราชโวย คนละครึ่ง ลงทะเบียนยาก ทำเสียโอกาสขาย
https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_5195243
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากที่ทางรัฐบาลได้จัดทำมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ผ่านโครงการคนละครึ่ง แจกเงิน 3,000 บาท ให้กับประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 10 ล้านสิทธิ์ ด้วยวิธีการร่วมจ่าย ร้อยละ 50 ไม่เกิน 150 บาทต่อคนต่อวัน หรือไม่เกิน 3,000 บาท ตลอดระยะเวลาโครงการ
โดยให้ประชาชนสามารถลงทะเบียนได้ที่เว็บไซต์ www.คนละครึ่ง.com ซึ่งได้เปิดให้ลงทะเบียนไปแล้วตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2563 ส่วนร้านค้าต่างๆ ที่ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการ ให้ลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 หลังจากนั้นจะเริ่มให้ประชาชนใช้สิทธิ์ได้ตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม 2563 เป็นต้นไปถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563 นั้น
ล่าสุด วันนี้ (27 ตุลาคม 2563) ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่สำรวจร้านค้าต่างๆ ใน อ.เมือง จ.นครราชสีมา ที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง พบว่ามีหลายร้านที่ไปติดต่อกับธนาคารกรุงไทยไปแล้ว แต่ยังไม่มีเจ้าหน้าที่ของธนาคารมาลงทะเบียนผ่านแอพลิเคชั่นถุงเงินให้
โดยนางสาว
เพชรไพลิน กร่างงาม อายุ 25 ปี ผู้จัดการร้านส้มตำวรากร เลียบทางรถไฟ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา เปิดเผยว่า ทางร้านได้ไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่ธนาคารกรุงไทยเพื่อแจ้งความประสงค์ร่วมโครงการแล้ว ตั้งแต่ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีเจ้าหน้าที่ของธนาคารมาโหลดแอพลิเคชั่นถุงเงินติดตั้งให้ แต่ละวันก็มีลูกค้ามาสอบถามจะใช้สิทธิ์จ่ายคนละครึ่งเป็นจำนวนมาก แต่ทางร้านไม่สามารถให้สิทธิ์ได้เลย ทำให้เสียโอกาสเป็นอย่างมาก
ทั้งนี้ ร้านของตนเองก็คาดหวังว่า โครงการจ่ายคนละครึ่งของรัฐบาล จะสามารถช่วยให้ยอดขายของร้าน เพิ่มขึ้นได้มากถึง 50% เพราะสังเกตจากการสอบถามของลูกค้าเป็นจำนวนมาก แต่การลงทะเบียนใช้งานค่อนข้างยาก ซึ่งทางร้านจะได้เข้าไปสอบถามเจ้าหน้าที่ในธนาคารกรุงไทยอีกครั้ง ให้ช่วยดำเนินการติดตั้งแอพลิเคชั่นถุงเงิน และเร่งยืนยันการลงทะเบียนให้เรียบร้อย เพื่อที่จะได้มาใช้บริการลูกค้า เพิ่มยอดขายได้ต่อไป
อสมท ชวนพนง.สมัครใจเออร์ลี่ ย้ำไม่ได้ปลด ใครร่วมได้ 35 เท่าของเงินเดือน
https://www.matichon.co.th/economy/news_2414455
นาย
สิโรตม์ รัตนามหัทธนะ กรรมการ และรักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมสื่อในปัจจุบัน โดยเฉพาะสื่อดั้งเดิมมีอัตราการเติบโตของรายได้ที่ ลดน้อยลง ซึ่งเป็นผลมาจาก Disruptive technology และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่หันมาใช้สื่อออนไลน์มากขึ้น ทำให้รายได้จากธุรกิจโทรทัศน์และวิทยุของ อสมท ลดลง ซึ่งส่งผลให้ อสมท เริ่มมีผลการดำเนินงานขาดทุนตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา
ในปีนี้ อสมท จึงได้เริ่มดำเนินโครงการร่วมใจจากองค์กร (Mutual Separation Plan :MSP) ประจำปี 2563 โดยที่ประชุมคณะกรรมการ อสมท ครั้งที่ 13/2562 เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2563 ได้มีมติเห็นชอบให้ อสมท ดำเนินโครงการดังกล่าวตามความสมัครใจและความประสงค์ร่วมกันของพนักงาน และ อสมท เพื่อปรับลดจำนวนบุคลากรให้สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจในอนาคตและสถานะทางการเงินขององค์กร โดยพนักงานที่มีความประสงค์ที่จะเข้าร่วมโครงการร่วมใจจากองค์กร ต้องเป็นพนักงานที่มีอายุระหว่าง 45 ปีบริบูรณ์ ถึง 59 ปีบริบูรณ์ มีอายุงานตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป และไม่อยู่ระหว่างถูกสอบสวนทางวินัยร้ายแรง สามารถยื่นใบสมัครเพื่อเข้าร่วมโครงการฯ ได้ตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม – 22 ตุลาคม 2563 และจะพ้นจากการเป็นพนักงาน อสมท ในวันที่ 1 มกราคม 2564
สิทธิประโยชน์ที่ผู้ที่เข้าร่วมโครงการฯ จะได้รับ คือ
1. ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษได้รับตามจำนวนปีที่ปฏิบัติงาน แต่สูงสุดไม่เกิน 22 เท่าของเงินเดือนสุดท้าย
2. เงินชดเชยในการทำงานตามตามประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ตามระยะเวลาการปฏิบัติงาน (ประมาณ 10-13.33 เท่าของเงินเดือน เดือนสุดท้าย)
3. เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นต้น
“ขณะนี้ มีพนักงานยื่นความประสงค์เข้าร่วมโครงการกว่า 300 คน โดยหลังจากนี้ อสมท จะคัดเลือก ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป และขอยืนยันว่าโครงการดังกล่าว ไม่ใช่การปลดพนักงาน แต่เป็นความสมัครใจของพนักงานที่มีความประสงค์จะเข้าร่วมโครงการฯ และมีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ การดำเนินโครงการดังกล่าวเป็นไปตามมติของคณะกรรมการ อสมท ไม่ใช่มติของกระทรวงการคลังตามที่ปรากฎในข่าวแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามหากมองในระยะยาว อสมท มองว่าโครงการนี้จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อผู้เข้าร่วมโครงการฯ และ อสมท โดยผู้เข้าร่วมโครงการฯ จะได้รับสิทธิประโยชน์ที่สูง ในขณะเดียวกันองค์กรจะสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร ได้อย่างมีนัยสำคัญในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลต่อการลดการขาดทุน” นาย
สิโรตม์ กล่าว
ภายหลังการดำเนินโครงการร่วมใจจากองค์กรเสร็จสิ้นในปลายปี 2563 อสมท ได้เตรียมปรับโครงสร้างองค์กรและกระบวนการทำงานให้มีความคล่องตัว สามารถรองรับการดำเนินธุรกิจในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทิศทางการดำเนินงานของ อสมท ในปี 2564 จะมุ่งปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจเพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจเดิม เพื่อรักษารายได้และเรตติ้ง และสร้างแหล่งรายได้ใหม่เพื่อการเติบโต เช่น การบริหารสินทรัพย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น ที่ดินย่านรัชดา-พระราม 9 รวมทั้งเดินหน้าพัฒนาโครงการธุรกิจดิจิทัลให้มีผลกำไร
JJNY : ร้านโอด”คนละครึ่ง”ลงทะเบียนยาก/อสมท ชวนพนง.สมัครใจเออร์ลี่/หุ้นเช้านี้หลุด1,200จุด/7ส.ส.ปชป.ลุ้นคดีถือหุ้นสื่อ
https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_5195243
โดยให้ประชาชนสามารถลงทะเบียนได้ที่เว็บไซต์ www.คนละครึ่ง.com ซึ่งได้เปิดให้ลงทะเบียนไปแล้วตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2563 ส่วนร้านค้าต่างๆ ที่ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการ ให้ลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 หลังจากนั้นจะเริ่มให้ประชาชนใช้สิทธิ์ได้ตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม 2563 เป็นต้นไปถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563 นั้น
ล่าสุด วันนี้ (27 ตุลาคม 2563) ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่สำรวจร้านค้าต่างๆ ใน อ.เมือง จ.นครราชสีมา ที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง พบว่ามีหลายร้านที่ไปติดต่อกับธนาคารกรุงไทยไปแล้ว แต่ยังไม่มีเจ้าหน้าที่ของธนาคารมาลงทะเบียนผ่านแอพลิเคชั่นถุงเงินให้
โดยนางสาวเพชรไพลิน กร่างงาม อายุ 25 ปี ผู้จัดการร้านส้มตำวรากร เลียบทางรถไฟ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา เปิดเผยว่า ทางร้านได้ไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่ธนาคารกรุงไทยเพื่อแจ้งความประสงค์ร่วมโครงการแล้ว ตั้งแต่ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีเจ้าหน้าที่ของธนาคารมาโหลดแอพลิเคชั่นถุงเงินติดตั้งให้ แต่ละวันก็มีลูกค้ามาสอบถามจะใช้สิทธิ์จ่ายคนละครึ่งเป็นจำนวนมาก แต่ทางร้านไม่สามารถให้สิทธิ์ได้เลย ทำให้เสียโอกาสเป็นอย่างมาก
ทั้งนี้ ร้านของตนเองก็คาดหวังว่า โครงการจ่ายคนละครึ่งของรัฐบาล จะสามารถช่วยให้ยอดขายของร้าน เพิ่มขึ้นได้มากถึง 50% เพราะสังเกตจากการสอบถามของลูกค้าเป็นจำนวนมาก แต่การลงทะเบียนใช้งานค่อนข้างยาก ซึ่งทางร้านจะได้เข้าไปสอบถามเจ้าหน้าที่ในธนาคารกรุงไทยอีกครั้ง ให้ช่วยดำเนินการติดตั้งแอพลิเคชั่นถุงเงิน และเร่งยืนยันการลงทะเบียนให้เรียบร้อย เพื่อที่จะได้มาใช้บริการลูกค้า เพิ่มยอดขายได้ต่อไป
อสมท ชวนพนง.สมัครใจเออร์ลี่ ย้ำไม่ได้ปลด ใครร่วมได้ 35 เท่าของเงินเดือน
https://www.matichon.co.th/economy/news_2414455
นายสิโรตม์ รัตนามหัทธนะ กรรมการ และรักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมสื่อในปัจจุบัน โดยเฉพาะสื่อดั้งเดิมมีอัตราการเติบโตของรายได้ที่ ลดน้อยลง ซึ่งเป็นผลมาจาก Disruptive technology และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่หันมาใช้สื่อออนไลน์มากขึ้น ทำให้รายได้จากธุรกิจโทรทัศน์และวิทยุของ อสมท ลดลง ซึ่งส่งผลให้ อสมท เริ่มมีผลการดำเนินงานขาดทุนตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา
ในปีนี้ อสมท จึงได้เริ่มดำเนินโครงการร่วมใจจากองค์กร (Mutual Separation Plan :MSP) ประจำปี 2563 โดยที่ประชุมคณะกรรมการ อสมท ครั้งที่ 13/2562 เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2563 ได้มีมติเห็นชอบให้ อสมท ดำเนินโครงการดังกล่าวตามความสมัครใจและความประสงค์ร่วมกันของพนักงาน และ อสมท เพื่อปรับลดจำนวนบุคลากรให้สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจในอนาคตและสถานะทางการเงินขององค์กร โดยพนักงานที่มีความประสงค์ที่จะเข้าร่วมโครงการร่วมใจจากองค์กร ต้องเป็นพนักงานที่มีอายุระหว่าง 45 ปีบริบูรณ์ ถึง 59 ปีบริบูรณ์ มีอายุงานตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป และไม่อยู่ระหว่างถูกสอบสวนทางวินัยร้ายแรง สามารถยื่นใบสมัครเพื่อเข้าร่วมโครงการฯ ได้ตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม – 22 ตุลาคม 2563 และจะพ้นจากการเป็นพนักงาน อสมท ในวันที่ 1 มกราคม 2564
สิทธิประโยชน์ที่ผู้ที่เข้าร่วมโครงการฯ จะได้รับ คือ
1. ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษได้รับตามจำนวนปีที่ปฏิบัติงาน แต่สูงสุดไม่เกิน 22 เท่าของเงินเดือนสุดท้าย
2. เงินชดเชยในการทำงานตามตามประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ตามระยะเวลาการปฏิบัติงาน (ประมาณ 10-13.33 เท่าของเงินเดือน เดือนสุดท้าย)
3. เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นต้น
“ขณะนี้ มีพนักงานยื่นความประสงค์เข้าร่วมโครงการกว่า 300 คน โดยหลังจากนี้ อสมท จะคัดเลือก ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป และขอยืนยันว่าโครงการดังกล่าว ไม่ใช่การปลดพนักงาน แต่เป็นความสมัครใจของพนักงานที่มีความประสงค์จะเข้าร่วมโครงการฯ และมีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ การดำเนินโครงการดังกล่าวเป็นไปตามมติของคณะกรรมการ อสมท ไม่ใช่มติของกระทรวงการคลังตามที่ปรากฎในข่าวแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามหากมองในระยะยาว อสมท มองว่าโครงการนี้จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อผู้เข้าร่วมโครงการฯ และ อสมท โดยผู้เข้าร่วมโครงการฯ จะได้รับสิทธิประโยชน์ที่สูง ในขณะเดียวกันองค์กรจะสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร ได้อย่างมีนัยสำคัญในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลต่อการลดการขาดทุน” นายสิโรตม์ กล่าว
ภายหลังการดำเนินโครงการร่วมใจจากองค์กรเสร็จสิ้นในปลายปี 2563 อสมท ได้เตรียมปรับโครงสร้างองค์กรและกระบวนการทำงานให้มีความคล่องตัว สามารถรองรับการดำเนินธุรกิจในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทิศทางการดำเนินงานของ อสมท ในปี 2564 จะมุ่งปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจเพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจเดิม เพื่อรักษารายได้และเรตติ้ง และสร้างแหล่งรายได้ใหม่เพื่อการเติบโต เช่น การบริหารสินทรัพย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น ที่ดินย่านรัชดา-พระราม 9 รวมทั้งเดินหน้าพัฒนาโครงการธุรกิจดิจิทัลให้มีผลกำไร