ชาวเหลือง - น้ำเงิน
โรงเรียนศิริวิทยากร เป็นโรงเรียนโคราชในอดีต ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวัดกลางหรือวัดสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เดิม สถานที่ตรงนี้เคยเป็นศาลารัฐบาลมณฑลนครราชสีมา
หรือคือศาลากลางจังหวัดในปัจจุบัน
เมื่อศาลากลางย้ายไปตั้งที่ใหม่
พ.ศ. 2456 โรงเรียนวัดกลาง ซึ่งมีนักเรียนทั้งหญิงและชาย ในบริเวณวัดกลางหรือวัดพระนารายณ์
ได้ย้ายเข้ามาใช้พื้นที่แทน เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนตัวอย่าง
พ.ศ. 2457 ได้ปรับสอนเพิ่มในชั้นมัธยม และ ฝึกหัดครู
พ.ศ. 2461 ก็เปิดถึงมัธยม 6 และเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนประจำมณฑล
ต่อมาโอนนักเรียนหญิงทั้งหมด ไปเรียนที่โรงเรียนประจำจังหวัด ซึ่งต่อมาคือโรงเรียนสุรนารี
ตอนนั้นโรงเรียนสุรนารีตั้งอยู่ในบริเวณเมรุวัดสุทธจินดาในปัจจุบัน
พ.ศ. 2476 เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ ได้มาตรวจโรงเรียนประจำมณฑล
ซึ่งหลักสูตรการศึกษาตอนนั้นเป็น ประถม หรือ ป.1- ป.4 , มัธยม หรือ ม.1 - ม.6
พบว่ามีนักเรียนกว่า 1,000 คน จึงเห็นควรให้เปิดสอนชั้นมัธยม หรือ ม. 7 และ ม. 8 ขึ้น
พ.ศ. 2477 โรงเรียนราชสีมาได้ขยายโรงเรียนเพิ่มชั้น ม.7
เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย
พ.ศ. 2478 ก็ได้เปิด ม.8 และ ได้เปิดสอนแผนกพาณิชยการเพิ่มขึ้น
สมัยนั้น เมื่อจบชั้น ม.6 หากจะเรียนต่อ มีแค่สามทางเลือกในโคราช
คือ ต่อที่ราชสีมาวิทยาลัย
ไปเรียนที่โรงเรียนช่างไม้หรือ วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมาในปัจจุบัน
และ โรงเรียนสุรนารี ซึ่งรับแต่นักเรียนหญิง
พ.ศ. 2478 คุณครูศิริ ไกรฤกษ์ เห็นว่า ทางโรงเรียนราชสีมาไม่สามารถรับนักเรียนเรียนต่อได้ทั้งหมด
จึงขออนุญาตอาจารย์ใหญ่ ขอใช้โรงเรียนเปิดสอนนักเรียนที่ไม่สามารถเข้าเรียนโรงเรียนราชสีมาได้ ในเวลาหลังโรงเรียนราชสีมาเลิก ราวบ่ายสามโมง
โดยครูจากโรงเรียนราชสีมา หรือนักเรียนที่จบแล้วไม่มีงานทำมาสอน เกิดเป็นโรงเรียนราชสีมาภาคบ่าย ซึ่งมีนักเรียนมากกว่าภาคปกติเสียอีก
ปี พ.ศ. 2483 โรงเรียนราชสีมาได้ย้ายโรงเรียนไปยังบ้านแสนสุขติดค่ายสุรนารี ใกล้สถานีรถไฟชุมทางจิระ
โรงเรียนราชสีมาเดิม ครูศิริจึงขอเช่ามาตั้งโรงเรียนราษฎร์อย่างแท้จริง เมื่อ 8 มกราคม พ.ศ. 2480 ชื่อ " โรงเรียนศิริวิทยากร "
มีจำนวนนักเรียนมากที่สุดในจังหวัดนครราชสีมา
...ทราบว่า เฉพาะ ม.ศ. 3 ตอนปีการศึกษา 2505 มีนักเรียน 11 ห้อง นักเรียนร่วม 400 คน ... มีนักเรียนหญิง 18 คน
พ.ศ. 2495 ได้รื้ออาคารเรียนหลังเก่าด้านทิศเหนือของสนามบอล มาสร้างใหม่ทางทิศใต้ของสนามบอล และอาคารต่าง ๆ ก็ถูกสร้างเสร็จมาตั้งแต่ปี 2495
พ.ศ. 2517 คุณครูศิริ ไกรฤกษ์ถึงแก่กรรม คุณสอางค์ ภรรยาท่านรับทำต่อ โดยมีครูนรินทร์ ไกรฤกษ์ น้องชายครูศิริเป็นครูใหญ่ และผู้จัดการ
พ.ศ. 2519 ครูนรินทร์ถึงแก่กรรม คุณสืบพงษ์ ไกรฤกษ์ดำเนินการต่อ
พ.ศ. 2523 เปลี่ยนมาเป็น อาจารย์สำราญ วิริยะภาพ มาจากโรงเรียนวัดทุ่งสว่าง
พ.ศ. 2529 ดำเนินกิจการโดย คุณ วิสิทธิ์ พัฒน์ดำรงจิตร ( จากบันทึกความทรงจำของ คุณสมัย สาระจำนง )
ปัจจุบัน โรงเรียนศิริวิทยากรได้ปิดไปแล้ว มีโรงเรียนรวมมิตรย้ายมาอยู่แทน หลังจากที่โรงเรียนรวมมิตรถูกไฟไหม้
เอาภาพในอดีตมาฝาก เก็บมาจากกรุภาพของครูเก่า และหนังสืออนุสรณ์ โรงเรียนศิริวิทยากร
.
ภาพ 1
แถวนั่ง คุณครูประชุมศรี สุวรรณ คุณครูใหญ่นรินทร์ ไกรฤกษ์ คุณครูชะอุ่ม สวามิส คุณครูศิริ ไกรฤกษ์(ผู้จัดการ) คุณครูนารีรัตน์ ชีวะประเสริฐ
แถวยืน คุณครูมนัส รัตนสิงห์ คุณครูลำยอง ใฝ่กระโทก คุณครูปุ่น โพอุทัย คุณครูยงยุทธ วิจารณ์ คุณครูสมัย สารจำนงค์ คุณครูสกุล ศรีพรหม คุณครูสมศักดิ์ ศรีโชติ
.
ภาพ 2
.
ถาพ 3
ถ่ายเมื่อ 15 ม.ค. 2505
คุณครูสมชาย เหล็กกล้า คุณครูปรีดา วิจารย์ คุณครูนารีรัตน์ ชีวะประเสริฐคุณครูทองดี บุญประตูชัย คุณครูละม่อม สายวิเชียร คุณครูปุ่น โพอุทัย
.
ภาพ 4
ม.6 ก. ถ่ายเมื่อ 30 ม.ค. 2505
.
ภาพ 5
.
ภาพ 6
ม.6 จ. คุณครูประจำชั้น ครูลำยอง ใฝ่กระโทก
.
ภาพ 7
ม.6 ข. ปีการศึกษา 2501
.
ภาพ 8
ม.6 ช. 24 ม.ค. 2502
.
ภาพ 9
.
ภาพ 10
.
ภาพ 11
.
ภาพ 12
นักบาส ศวก.
.
ภาพ 13
แชมป์
.
ภาพ 14
เมื่อวันมืสเตอร์มิลเล่อร์มาแนะนำกีฬาให้เด็กนักเรียนที่รร.ศิริวิทยากร
.
ภาพ 15
.
ภาพ 16
.
ภาพ 17
.
ภาพ 18
.
ภาพ 19
.
ภาพ 20
.
ภาพ 21
.
ภาพ 22
ภาพอาจไม่เรียงวันที่
บรรยายตามข้างหลังภาพค่ะ
ภาพถ่ายในอดีต ... โรงเรียนศิริวิทยากร นครราชสีมา
เดิม สถานที่ตรงนี้เคยเป็นศาลารัฐบาลมณฑลนครราชสีมา
หรือคือศาลากลางจังหวัดในปัจจุบัน
เมื่อศาลากลางย้ายไปตั้งที่ใหม่
พ.ศ. 2456 โรงเรียนวัดกลาง ซึ่งมีนักเรียนทั้งหญิงและชาย ในบริเวณวัดกลางหรือวัดพระนารายณ์
ได้ย้ายเข้ามาใช้พื้นที่แทน เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนตัวอย่าง
พ.ศ. 2457 ได้ปรับสอนเพิ่มในชั้นมัธยม และ ฝึกหัดครู
พ.ศ. 2461 ก็เปิดถึงมัธยม 6 และเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนประจำมณฑล
ต่อมาโอนนักเรียนหญิงทั้งหมด ไปเรียนที่โรงเรียนประจำจังหวัด ซึ่งต่อมาคือโรงเรียนสุรนารี
ตอนนั้นโรงเรียนสุรนารีตั้งอยู่ในบริเวณเมรุวัดสุทธจินดาในปัจจุบัน
พ.ศ. 2476 เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ ได้มาตรวจโรงเรียนประจำมณฑล
ซึ่งหลักสูตรการศึกษาตอนนั้นเป็น ประถม หรือ ป.1- ป.4 , มัธยม หรือ ม.1 - ม.6
พบว่ามีนักเรียนกว่า 1,000 คน จึงเห็นควรให้เปิดสอนชั้นมัธยม หรือ ม. 7 และ ม. 8 ขึ้น
พ.ศ. 2477 โรงเรียนราชสีมาได้ขยายโรงเรียนเพิ่มชั้น ม.7
เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย
พ.ศ. 2478 ก็ได้เปิด ม.8 และ ได้เปิดสอนแผนกพาณิชยการเพิ่มขึ้น
สมัยนั้น เมื่อจบชั้น ม.6 หากจะเรียนต่อ มีแค่สามทางเลือกในโคราช
คือ ต่อที่ราชสีมาวิทยาลัย
ไปเรียนที่โรงเรียนช่างไม้หรือ วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมาในปัจจุบัน
และ โรงเรียนสุรนารี ซึ่งรับแต่นักเรียนหญิง
พ.ศ. 2478 คุณครูศิริ ไกรฤกษ์ เห็นว่า ทางโรงเรียนราชสีมาไม่สามารถรับนักเรียนเรียนต่อได้ทั้งหมด
จึงขออนุญาตอาจารย์ใหญ่ ขอใช้โรงเรียนเปิดสอนนักเรียนที่ไม่สามารถเข้าเรียนโรงเรียนราชสีมาได้ ในเวลาหลังโรงเรียนราชสีมาเลิก ราวบ่ายสามโมง
โดยครูจากโรงเรียนราชสีมา หรือนักเรียนที่จบแล้วไม่มีงานทำมาสอน เกิดเป็นโรงเรียนราชสีมาภาคบ่าย ซึ่งมีนักเรียนมากกว่าภาคปกติเสียอีก
ปี พ.ศ. 2483 โรงเรียนราชสีมาได้ย้ายโรงเรียนไปยังบ้านแสนสุขติดค่ายสุรนารี ใกล้สถานีรถไฟชุมทางจิระ
โรงเรียนราชสีมาเดิม ครูศิริจึงขอเช่ามาตั้งโรงเรียนราษฎร์อย่างแท้จริง เมื่อ 8 มกราคม พ.ศ. 2480 ชื่อ " โรงเรียนศิริวิทยากร "
มีจำนวนนักเรียนมากที่สุดในจังหวัดนครราชสีมา
...ทราบว่า เฉพาะ ม.ศ. 3 ตอนปีการศึกษา 2505 มีนักเรียน 11 ห้อง นักเรียนร่วม 400 คน ... มีนักเรียนหญิง 18 คน
พ.ศ. 2495 ได้รื้ออาคารเรียนหลังเก่าด้านทิศเหนือของสนามบอล มาสร้างใหม่ทางทิศใต้ของสนามบอล และอาคารต่าง ๆ ก็ถูกสร้างเสร็จมาตั้งแต่ปี 2495
พ.ศ. 2517 คุณครูศิริ ไกรฤกษ์ถึงแก่กรรม คุณสอางค์ ภรรยาท่านรับทำต่อ โดยมีครูนรินทร์ ไกรฤกษ์ น้องชายครูศิริเป็นครูใหญ่ และผู้จัดการ
พ.ศ. 2519 ครูนรินทร์ถึงแก่กรรม คุณสืบพงษ์ ไกรฤกษ์ดำเนินการต่อ
พ.ศ. 2523 เปลี่ยนมาเป็น อาจารย์สำราญ วิริยะภาพ มาจากโรงเรียนวัดทุ่งสว่าง
พ.ศ. 2529 ดำเนินกิจการโดย คุณ วิสิทธิ์ พัฒน์ดำรงจิตร ( จากบันทึกความทรงจำของ คุณสมัย สาระจำนง )
ปัจจุบัน โรงเรียนศิริวิทยากรได้ปิดไปแล้ว มีโรงเรียนรวมมิตรย้ายมาอยู่แทน หลังจากที่โรงเรียนรวมมิตรถูกไฟไหม้
เอาภาพในอดีตมาฝาก เก็บมาจากกรุภาพของครูเก่า และหนังสืออนุสรณ์ โรงเรียนศิริวิทยากร
แถวยืน คุณครูมนัส รัตนสิงห์ คุณครูลำยอง ใฝ่กระโทก คุณครูปุ่น โพอุทัย คุณครูยงยุทธ วิจารณ์ คุณครูสมัย สารจำนงค์ คุณครูสกุล ศรีพรหม คุณครูสมศักดิ์ ศรีโชติ
คุณครูสมชาย เหล็กกล้า คุณครูปรีดา วิจารย์ คุณครูนารีรัตน์ ชีวะประเสริฐคุณครูทองดี บุญประตูชัย คุณครูละม่อม สายวิเชียร คุณครูปุ่น โพอุทัย