ในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้การค้าปลีกผ่านระบบสตรีมมิ่งหรือไลฟ์สดกลายเป็นช่องทางยอดนิยมของบรรดาอี-คอร์เมิร์ซ จนมียอดขายเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศจีน ปัจจัยส่วนหนึ่งมาจากความน่ารักของบรรดาพนักงานขายทั้งหลายบวกกับบรรดา Influencer หรือบุคคลมีชื่อเสียงก็เข้ามามีส่วนสำคัญที่ทำให้ยอดขายพุ่งกระฉูดแบบหยุดไม่อยู่จากการที่บริษัทเหล่านี้จ้างให้เขามาช่วยขาย ทว่าล่าสุดได้มีการแข่งขันยกใหม่ในตลาดสตรีมมิ่งของจีนเมื่อบรรดาซีอีโอหรือผู้บริหารของแบรนด์ต่าง ๆ ลงมาเล่นด้วยตนเองพร้อมไลฟ์ขายกันแบบเป็นล่ำเป็นสัน
เรื่องนี้น่าสนใจและอยากนำมาเล่าสู่กันฟัง เพราะมันคือการบุกแผนการตลาดรูปแบบใหม่ซึ่งเชื่อว่าทั่วโลกแทบไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยเฉพาะกับแบรนด์ใหญ่ ๆ ที่ซีอีโอลงมาลุยสตรีมมิ่งขายด้วยตนเองแบบนี้
การตลาดแบบใหม่สร้างรายได้อย่างมั่งคั่งให้กับอี-คอมเมิร์ซ
มีซีอีโอจำนวนมากจากแบรนด์ใหญ่ ๆ ของเมืองจีนก้าวเข้าสู่การสตรีมมิ่งเพื่อขายสินค้าของตนเองจนทำให้เกิดรายได้มหาศาล โดยจะไล่เรียงให้เห็นภาพง่าย ๆ เริ่มจาก Li Jing ประธานบริษัทของ Mendale Textile ผู้จำหน่ายสินค้าประเภทอุปกรณ์ตกแต่งบ้าน มียอดขายสูงถึง 3.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการสตรีมมิ่งขายเป็นเวลา 4 ชั่วโมง เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
James Liang ประธานด้านบริหารและเป็นอดีตซีอีโอของ Trip.com ผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวทำรายได้จากการขายแพ็คเกจท่องเที่ยวถึง 8.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ด้วยการสตรีมมิ่งสดขายเป็นเวลา 5 ชั่วโมง ขณะเดียวกันเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม Dong Mingzhu ประธานสาวของ Gree Electric ได้มีการไลฟ์สดขายเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ภายในเวลา 3 ชั่วโมง เธอสามารถทำยอดขายได้สูงถึง 43.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ไม่ใช่แค่เรื่องรายได้ แต่ยังต่อยอดในด้านอื่น
นอกจากเรื่องตัวอย่างรายได้ที่กล่าวมา เทรนด์การสตรีมมิ่งเพื่อขายของผ่านการถ่ายทอดสดยังมีความน่าสนใจอีกหลาย ๆ ประเด็น อาทิ บรรดาผู้บริหาร 10 รายจากบริษัทด้านเทคโนโลยี อาทิ
Baidu, Huawei, Lenovo, iFlytek ได้มีการปรากฏตัวบนแพลตฟอร์มอี-คอมเมิร์ซอย่าง JD.com เพื่อทำการไลฟ์สดขายผลิตภัณฑ์ของพวกเขา
Zhang Hua รองประธานของ Lenovo Group เริ่มกาสตรีมมิ่งขายด้วยการเปิดตัวแล็บท็อปรุ่นใหม่ มีเทคโนโลยีจดจำใบหน้า พร้อมมอบส่วนลดให้กับผู้ซื้อถึง 400 หยวน (56.6 ดอลลาร์สหรัฐฯ)
Lu Yong ประธานของ Huawei ได้ทำการสาธิตอุปกรณ์สำนักงานอัจฉริยะระหว่างการสตรีมมิ่งสดบนแพลตฟอร์มช็อปปิ้งออนไลน์ของตนเอง หัวหน้างานฝ่าย Huawei Honor ได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ในกลุ่มซีรี่ส์ Honor รวมถึงบรรดาสมาร์ทโฟนและสมาร์ทวอช ซึ่งการไลฟ์สดขายสินค้าของบรรดาซีอีโอ Huawei เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม โดย He Gang ประธานแผนกโทรศัพท์มือถือ ซึ่งครั้งนั้นมีผู้คนเข้าชมสูงถึง 811,300 วิว เพิ่มขึ้นจากยอดการไลฟ์ขายสินค้าก่อนหน้านี้ของ Huawei ถึง 4 เท่า
Ding Lei ซีอีโอของ NetEase หนึ่งในผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศจีนก็มีการเปิดตัวรูปแบบสตรีมมิ่งขายของครั้งแรกในรูปแบบวิดีโอสั้นผ่านแพลตฟอร์ม Kuaishou ซึ่งเป็นวันเดียวกับ NetEase ได้ทำการจดทะเบียนอย่างเป็นทางการกับตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง โดยมีราคาหุ้นเปิดอยู่ที่ 133 ดอลลาร์ฮ่องกง และเพิ่มขึ้น 8% จากราคาขายเดิม ซึ่งสามารถขายหุ้นดังกล่าวได้ทั่วโลกถึง 171 ล้านหุ้น
Tmall ยักษ์ใหญ่ด้านอี-คอมเมิร์ซอีกรายภายใต้การดูแลของ Alibaba มีการประกาศว่าซีอีโอกว่า 600 คน จะเริ่มสตรีมมิ่งบนแพลตฟอร์มเพื่อส่งเสริมการขาย นอกจากนี้ยังได้เชิญบรรดาตัวแทนที่มีความสามารถจาก 16 ประเทศ เพื่อกระตุ้นยอดขายให้เกิดขึ้นอีกด้วย โดยหลังจากตัวแทนรายแรกได้ทำการสตรีมมิ่งสดให้เห็นผ่าน Pinduoduo ปรากฏว่ามีผู้รับชมสูงถึง 9 ล้านคน ซึ่งแพลตฟอร์มดังกล่าวมีผู้ใช้งานในประเทศจีนสูงถึง 600 ล้านคน นั่นแสดงให้เห็นว่าพวกเขาประสบความสำเร็จด้านการเพิ่มความรู้จักยิ่งขึ้น
สรุปแนวคิด
ปฏิเสธไม่ได้ว่าเหตุผลหนึ่งที่ทำให้บรรดาซีอีโอจำนวนมากของบริษัทยักษ์ใหญ่ในจีนต้องลงมาสร้างกระแสด้วยการสตรีมมิ่งขายสินค้า / บริการด้วยตนเองมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่ถึงกระนั้นมันก็แสดงให้เห็นถึงแนวทางการตลาดรูปแบบใหม่ที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาหากผู้นำองค์กรมีแนวคิดในเชิงบวก และไม่รอเพียงแค่สั่งการหรือวางแผนวิเคราะห์ แต่พวกเขาเลือกเข้ามาเดินตลาดด้วยตนเอง
น่าสนใจว่าในช่วงที่ประเทศไทยก็เกิดผลกระทบเกี่ยวกับสถานการณ์โรคระบาดแบบเดียวกัน จะมีธุรกิจประเภทไหนหรือผู้บริหารคนใดตัดสินใจลุกขึ้นมาทำการตลาดในรูปแบบนี้หรือไม่ เชื่อว่าจะช่วยให้เกิดความสนใจและสร้างภาพลักษณ์ดี ๆ ให้กับตนเองและองค์กรอีกเยอะมากทีเดียว
ที่มาจาก Facebook : Level Up China
การแข่งขันยกใหม่ เมื่อซีอีโอจีนเปิดตลาดสตรีมมิ่งขายของด้วยตนเอง
เรื่องนี้น่าสนใจและอยากนำมาเล่าสู่กันฟัง เพราะมันคือการบุกแผนการตลาดรูปแบบใหม่ซึ่งเชื่อว่าทั่วโลกแทบไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยเฉพาะกับแบรนด์ใหญ่ ๆ ที่ซีอีโอลงมาลุยสตรีมมิ่งขายด้วยตนเองแบบนี้
การตลาดแบบใหม่สร้างรายได้อย่างมั่งคั่งให้กับอี-คอมเมิร์ซ
มีซีอีโอจำนวนมากจากแบรนด์ใหญ่ ๆ ของเมืองจีนก้าวเข้าสู่การสตรีมมิ่งเพื่อขายสินค้าของตนเองจนทำให้เกิดรายได้มหาศาล โดยจะไล่เรียงให้เห็นภาพง่าย ๆ เริ่มจาก Li Jing ประธานบริษัทของ Mendale Textile ผู้จำหน่ายสินค้าประเภทอุปกรณ์ตกแต่งบ้าน มียอดขายสูงถึง 3.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการสตรีมมิ่งขายเป็นเวลา 4 ชั่วโมง เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
James Liang ประธานด้านบริหารและเป็นอดีตซีอีโอของ Trip.com ผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวทำรายได้จากการขายแพ็คเกจท่องเที่ยวถึง 8.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ด้วยการสตรีมมิ่งสดขายเป็นเวลา 5 ชั่วโมง ขณะเดียวกันเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม Dong Mingzhu ประธานสาวของ Gree Electric ได้มีการไลฟ์สดขายเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ภายในเวลา 3 ชั่วโมง เธอสามารถทำยอดขายได้สูงถึง 43.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ไม่ใช่แค่เรื่องรายได้ แต่ยังต่อยอดในด้านอื่น
นอกจากเรื่องตัวอย่างรายได้ที่กล่าวมา เทรนด์การสตรีมมิ่งเพื่อขายของผ่านการถ่ายทอดสดยังมีความน่าสนใจอีกหลาย ๆ ประเด็น อาทิ บรรดาผู้บริหาร 10 รายจากบริษัทด้านเทคโนโลยี อาทิ Baidu, Huawei, Lenovo, iFlytek ได้มีการปรากฏตัวบนแพลตฟอร์มอี-คอมเมิร์ซอย่าง JD.com เพื่อทำการไลฟ์สดขายผลิตภัณฑ์ของพวกเขา
Zhang Hua รองประธานของ Lenovo Group เริ่มกาสตรีมมิ่งขายด้วยการเปิดตัวแล็บท็อปรุ่นใหม่ มีเทคโนโลยีจดจำใบหน้า พร้อมมอบส่วนลดให้กับผู้ซื้อถึง 400 หยวน (56.6 ดอลลาร์สหรัฐฯ)
Lu Yong ประธานของ Huawei ได้ทำการสาธิตอุปกรณ์สำนักงานอัจฉริยะระหว่างการสตรีมมิ่งสดบนแพลตฟอร์มช็อปปิ้งออนไลน์ของตนเอง หัวหน้างานฝ่าย Huawei Honor ได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ในกลุ่มซีรี่ส์ Honor รวมถึงบรรดาสมาร์ทโฟนและสมาร์ทวอช ซึ่งการไลฟ์สดขายสินค้าของบรรดาซีอีโอ Huawei เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม โดย He Gang ประธานแผนกโทรศัพท์มือถือ ซึ่งครั้งนั้นมีผู้คนเข้าชมสูงถึง 811,300 วิว เพิ่มขึ้นจากยอดการไลฟ์ขายสินค้าก่อนหน้านี้ของ Huawei ถึง 4 เท่า
Ding Lei ซีอีโอของ NetEase หนึ่งในผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศจีนก็มีการเปิดตัวรูปแบบสตรีมมิ่งขายของครั้งแรกในรูปแบบวิดีโอสั้นผ่านแพลตฟอร์ม Kuaishou ซึ่งเป็นวันเดียวกับ NetEase ได้ทำการจดทะเบียนอย่างเป็นทางการกับตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง โดยมีราคาหุ้นเปิดอยู่ที่ 133 ดอลลาร์ฮ่องกง และเพิ่มขึ้น 8% จากราคาขายเดิม ซึ่งสามารถขายหุ้นดังกล่าวได้ทั่วโลกถึง 171 ล้านหุ้น
Tmall ยักษ์ใหญ่ด้านอี-คอมเมิร์ซอีกรายภายใต้การดูแลของ Alibaba มีการประกาศว่าซีอีโอกว่า 600 คน จะเริ่มสตรีมมิ่งบนแพลตฟอร์มเพื่อส่งเสริมการขาย นอกจากนี้ยังได้เชิญบรรดาตัวแทนที่มีความสามารถจาก 16 ประเทศ เพื่อกระตุ้นยอดขายให้เกิดขึ้นอีกด้วย โดยหลังจากตัวแทนรายแรกได้ทำการสตรีมมิ่งสดให้เห็นผ่าน Pinduoduo ปรากฏว่ามีผู้รับชมสูงถึง 9 ล้านคน ซึ่งแพลตฟอร์มดังกล่าวมีผู้ใช้งานในประเทศจีนสูงถึง 600 ล้านคน นั่นแสดงให้เห็นว่าพวกเขาประสบความสำเร็จด้านการเพิ่มความรู้จักยิ่งขึ้น
สรุปแนวคิด
ปฏิเสธไม่ได้ว่าเหตุผลหนึ่งที่ทำให้บรรดาซีอีโอจำนวนมากของบริษัทยักษ์ใหญ่ในจีนต้องลงมาสร้างกระแสด้วยการสตรีมมิ่งขายสินค้า / บริการด้วยตนเองมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่ถึงกระนั้นมันก็แสดงให้เห็นถึงแนวทางการตลาดรูปแบบใหม่ที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาหากผู้นำองค์กรมีแนวคิดในเชิงบวก และไม่รอเพียงแค่สั่งการหรือวางแผนวิเคราะห์ แต่พวกเขาเลือกเข้ามาเดินตลาดด้วยตนเอง
น่าสนใจว่าในช่วงที่ประเทศไทยก็เกิดผลกระทบเกี่ยวกับสถานการณ์โรคระบาดแบบเดียวกัน จะมีธุรกิจประเภทไหนหรือผู้บริหารคนใดตัดสินใจลุกขึ้นมาทำการตลาดในรูปแบบนี้หรือไม่ เชื่อว่าจะช่วยให้เกิดความสนใจและสร้างภาพลักษณ์ดี ๆ ให้กับตนเองและองค์กรอีกเยอะมากทีเดียว
ที่มาจาก Facebook : Level Up China