วัดพระธาตุแหลมลี่ - อำเภอลอง จังหวัดแพร่

วัดแหลมลี่ ตั้งอยู่ที่ตำบลปากกาง อำเภอลอง จังหวัดแพร่
ปากกางเป็นที่สบของลำน้ำกางลงสู่แม่น้ำยม - ข้อสังเกต ใช้คำว่า "ปาก" ไม่ใช่ "สบ"

แอ่งลองเป็นแอ่งแคบ ๆ ตั้งอยู่ระหว่าง แอ่งลำปาง และแอ่งแพร่
มีช่องทางไปยังวังชิ้น - เถิน - บ้านหอรบ (มีกำแพงเมืองโบราณ) -ทุ่งเสลียม - ไปบางขลัง - สุโขทัย หรือไปศรีสัชนาลัยได้
หรือจากวังชิ้น ไปตามแม่น้ำยมถึงศรีสัชนาลัยได้

ก่อนหน้านี้ก็คิดเสมอว่าเมืองลองโบราณอยู่ที่บริเวณที่ตั้งของตัวอำเภอลอง เพิ่งทราบว่า ;
* เวียงลองมีศูนย์กลางการปกครองที่บริเวณที่ตั้งวัดพระธาตุไฮสร้อย
* มีเวียงบริวาร ทางทิศเหนือในตำบลห้วยอ้อ คือตัวเมืองลองปัจจุบัน 
และทิศใต้ในตำบลเหล็กลอง และตำบลบ้านป้าก ก่อนถึงเวียงตรอกสลอบคือตัวอำเภอวังชิ้น
จากจารึกวัดบางสนุก อำเภอวังชิ้น กำหนดอายุจากที่จารึกไว้เป็น พ.ศ. 1882
สมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 พญาลิไท เขียนด้วยตัวอักษรสุโขทัย
ทำให้ทราบว่าในช่วงเวลาหนึ่ง - ในสมัยพญาลิไท เมืองตรอกสลอบขึ้นกับสุโขทัย
* มีเวียงพระธาตุ ได้แก่ วัดพระธาตุแหลมลี่ ที่มีคุ้งแม่น้ำยมยื่นแหลมออกไป

การขยายตัวของหริภุญไชยซึ่งอยู่ลุ่มน้ำปิง ไปทางลุ่มแม่น้ำวัง และแม่น้ำยม
ดูได้จากเวียงรูปหอยสังข์ที่ยังเห็นได้อยู่คือ หริภุญไชย-ลำพูน เขลางค์-ลำปาง พลนคร-แพร่ และแทบมองไม่เห็นแต่ยังคงมีร่องรอยคูน้ำคันดินที่เวียงลอง

การเดินทางไปวัดพระธาตุแหลมลี่
บนถนนสาย 11 จากลำปาง ผ่านทางแยก ลอง-วังชิ้นไป 16 ก.ม.
แยกซ้ายเข้า ทล.1403 ไป 3.5 ก.ม. ถึงทางแยกซ้ายเข้าวัดพระธาตุแหลมลี่
เลี้ยวซ้ายไป 1 ก.ม. ถึงวัด

ตำนานก่อนเลย
เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ก็ได้เสด็จมาแสดงธรรมชื่อว่า “สารัมมะจิตตะสูตร”
ส+อารฺมมณ = สารฺมมณ ; ส แปลว่ามี , อารัมมณะ แปลว่าอารมณ์ รวมเป็น จิตที่รู้ว่ามีอารมณ์

เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพานแล้วได้ 220 ปี
พระยาศรีธรรมาโศกมหาราช พร้อมด้วยพระอรหันต์ 400 องค์ ได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ที่นั่น

นี่ก็ตำนาน 
ราว พ.ศ. 949
พระยาพรหมกุลี เป็นผู้ครองเมืองเววาภาษีต์ - เมืองลอง
พระยามินัยยะเป็นผู้ครอง เมืองอาลัยยะราโม - เมืองทุ่งยั้ง
พระยาจังโกเป็นผู้ครองเมืองฝาง - น่าจะเป็นเมืองฝางสวางคบุรี
พระยาศิริสุทธะวังสา เป็นผู้ครองเมืองละโว้ (ลพบุรี)
ได้เป็นสหายกันก็ได้มาสร้างพระธาตุแหลมลี่

นี่ตำนานมุขปาฐะ
คำว่า เววาทะภาษิต ปรากฏชื่อในตำนานพระธาตุแหลมลี่ ตำนานพระธาตุศรีดอนคำ และตำนานพระธาตุขวยปูหรือตำนานพระธาตุเจ้าปูคำ
เล่าว่า มาจากการถกเถียงเรื่องหลงทางมาที่เมืองลองของเหล่าเสนาอามาตย์
ที่ตามเสด็จพระนางจามเทวีขึ้นไปครองเมืองหริภุญไชย แล้วมาผิดทาง

สถานที่จริง
วัดพระธาตุแหลมลี่ถูกสร้างให้เป็นเวียงมหาธาตุ โดยใช้แม่น้ำยมเป็นคูน้ำ
ในเวียงมีพระธาตุแหลมลี่เป็นพระมหาธาตุกลางเวียง
มีพระธาตุน้อยปากถ้ำ (พระธาตุน้อย)
และพระธาตุอีกองค์หนึ่ง เป็นพระธาตุบริวาร
(ปัจจุบันปรากฎเพียงซากฐานตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของพระธาตุแหลมลี่ )
มีกำแพงแก้วก่อด้วยอิฐเป็นเขตพุทธาวาส ล้อมพระธาตุแหลมลี่ อุโบสถ และวิหาร
วิหารหลวงเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้านอน “พระเจ้าเววาทะภาษิต”

ครั้งนี้ตอนเข้าไปไหว้พระนอนในวิหาร ได้มีลูกศิษย์หลวงพ่อคนหนึ่งตามมาเปิดไฟให้
พาเดินชมสถานที่ต่าง ๆ พร้อมทั้งเล่าเรื่องราวให้ได้นำมาถ่ายทอดครั้งนี้ บางเรื่องราวมาจากนิมิตรของหลวงพ่อ
เข้าไปในแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ถอดรองเท้าไว้หน้าประตูวัด ตรงที่รองเท้าที่ถอดเป็นตัวอย่าง มองตรงไปเป็นวิหารพระนอน

ทางขวา จั่วสีแดง เป็นวิหารที่สร้างตรงอุโบสถเก่าที่ถูกไฟไหม้

นึกถึงตาลปัตร


วิหารพระนอน ประดิษฐานพระเจ้าเววาทะภาษิต

พระพุทธรูปเก่าที่ได้ยกขึ้นจากดิน และสร้างวิหารขึ้น

ต้นโพธิข้างพระธาตุ

 
พระธาตุแหลมลี่
เป็นเจดีย์ฐานเขียงสี่เหลี่ยมสามชั้น แปดเหลี่ยมสามชั้น ฐานรูปบัวแปดเหลี่ยม
บัวปากระฆัง รับองค์ระฆังบัวแปดเหลี่ยม บัลลังก์ ปล้องไฉน ปลี ลูกแก้ว ปกฉัตร
มีกำแพงแก้วรอบองค์เจดีย์

ร่องรอบแนวกำแพงแก้วที่ล้อมรอบเขตพุทธาวาส - วิหาร อุโบสถ(เก่า) และเจดีย์

เจดีย์น้อยปากถ้ำ
เจดีย์ในกำแพงแก้ว ฐานเขียงสี่เหลี่ยม ฐานบัวสี่เหลี่ยมย่อมุมสิบสองยืดตัวขึ้น มีอกไก่
รับบัวถลา (บัวคว่ำ) แปดเหลี่ยมเหลือ 4 ชั้น

มีปากถ้ำอยู่ทางด้านตะวันออกของเจดีย์ - ปิดไปแล้ว
ถ้ำนี้เป็นทางทอดยาวไปยังด้านในอุโบสถเก่าที่ถูกไฟไหม้

น่าจะเป็นรูปเก่าปากถ้ำ อยู่ตรงไหนของรูปข้างบนนะ ????

ศาลเจ้าที่หรือเปล่า - ฟังไม่ทัน แต่ประกอบไปด้วยต้นสักยักษ์ จำปี จำปา ถ้าจำไม่ผิดนะคะ - ต้นที่ผูกผ้าไว้

เขาพาเดิน - เท้าเปล่าทั้งคนพาไปและคนตาม - ไปยังเจดีย์บริวารอีกองค์ที่เหลือแต่ฐาน
แต่ไปไม่ถึงหรอกหญ้าท่วม หยุดแค่นี้ไม่ไปแล้ว คนนำก็บอกว่าอยู่นี่เองมีร่มกางไว้ ซูมดู เห็นตรงที่ร่มกางไว้


ลานตรงนี้เขาว่าเจ้าแม่จามเทวีมาปลูกที่พักไว้ ถัดไปเป็นลานจอดเรือ แต่พันกว่าปีแล้วเนอะ - จากนิมิตรหลวงพ่อ


ฟังไม่ทันอีกละว่าเป็นที่ผูกช้าง ผูกม้าหรือ ช้างกะม้านี้เป็นของมีมาแต่เดิมที่พบ

แม่น้ำยมทางเหนือของเจดีย์ปากถ้า

วิหารใหม่ที่สร้างแทนอุโบสถเดิมที่ถูกไฟไหม้

หลวงพ่อสององค์ทางขวาคือของเดิม
ปากถ้าอีกด้านในโบสถ์ คนนำทางบอกว่าอยู่หน้าแท่นพระเจ้า ปิดไปแล้วเช่นกัน

ของเก่า

อุโบสถใหม่

ขาออก


ขอบคุณกูเกิลแมปค่ะ

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่