การสร้างกุศลแก้วิบากกรรม ถูกข่มขืน..!!
การข่มขืนมีอยู่ ๒ ประเภท คือ
๑. ข่มขืนทางเพศ
๒. ข่มขืนทางจิตใจ คือ บังคับขู่เข็ญ ไม่ถูกใจก็บังคับให้ทำ
เวลานี้เขาที่เคยทำผิดมาได้รับกรรมถูกข่มขืนอยู่แล้ว เพราะต้องรับทุกข์ปัจจุบันตรงนี้อยู่แล้ว
ถ้าเราจะมาแก้ทุกข์ ก็ต้องมาปลดปล่อย
ถ้าหากว่าใครเคยทำกรรมระรานคนอื่น ก็จะต้องไปสร้างกุศลปล่อยสัตว์ สร้างกุศลกับนักโทษต้องขัง คนติดคุก
แต่ถ้าจะแก้กรรมแบบว่า ต้องไปนอนแล้วให้คนอื่นข่มขืนเล่น อย่างนี้ไม่ใช่ชดใช้กรรม อันนี้เป็นการประชดกรรม
ทำไมถึงเรียกว่าเป็นการประชดกรรม?
เพราะว่า ฉันโดนยังไงก็จะต้องโดนอย่างนั้น จะได้จบๆ กันไป อย่างนี้ไม่ใช่ แต่ถ้าไปปล่อยสัตว์ หรือทำกุศลอย่างอื่นที่มีกรรมเช่นนี้ เป็นการแก้ที่ต้นตอ คือไปแก้ที่กรรม ขู่เข็ญ บังคับ เบียดเบียน บงการให้เขาเดือดร้อน นี่แหละ เราจะต้องแก้ที่ต้นเหตุตรงนี้ ไม่ใช่ไปแก้กิริยา อันนั้นไปแก้ที่ผล มันไม่ใช่
ถ้าเราไปเลี้ยงคนที่อยู่ในคุก นักโทษ แสดงว่าเราไปส่งเสริมให้คนอยู่ในคุกใช่ไหม?
อย่างนี้ไม่ใช่ ถ้าเป็นอย่างนั้น ทำไมไม่ไปจับนักโทษไปยิงเป้าเลย แต่เพราะเขาถูกขังในคุกอยู่แล้ว แล้วเราไปแสดงมุฑิตาจิตแล้วให้เขาสำนึก ขนาดพระยังต้องไปโปรดที่คุกเลย แล้วถ้าหากว่าพระไปโปรดนักโทษในคุก จะถือว่าพระท่านส่งเสริมให้คนติดคุกเหรอ? ส่งเสริมให้เขาทำผิดมากขึ้นเหรอ? อย่างนี้ไม่ใช่ คนเราทำผิด ก็ต้องการให้คนยอมรับความเห็นใจ ต้องให้คนเห็นใจ และต้องการคนชี้แนะ ต้องการกำลังใจที่จะแก้ไขตัวเอง
เห็นไหม? เราไปเพื่อจุดนี้ เพื่อให้กำลังใจเขา เพื่อให้เขาแก้ไขตัวเองในสิ่งที่ผิด พอเราแก้ไขสิ่งที่ผิดก็เท่ากับเป็นการปลดปล่อยกรรมตัวเองที่เคยทำผิดพลาดมา
การสร้างกุศลแก้วิบากกรรม ถูกข่มขืน..!!
การข่มขืนมีอยู่ ๒ ประเภท คือ
๑. ข่มขืนทางเพศ
๒. ข่มขืนทางจิตใจ คือ บังคับขู่เข็ญ ไม่ถูกใจก็บังคับให้ทำ
เวลานี้เขาที่เคยทำผิดมาได้รับกรรมถูกข่มขืนอยู่แล้ว เพราะต้องรับทุกข์ปัจจุบันตรงนี้อยู่แล้ว
ถ้าเราจะมาแก้ทุกข์ ก็ต้องมาปลดปล่อย
ถ้าหากว่าใครเคยทำกรรมระรานคนอื่น ก็จะต้องไปสร้างกุศลปล่อยสัตว์ สร้างกุศลกับนักโทษต้องขัง คนติดคุก
แต่ถ้าจะแก้กรรมแบบว่า ต้องไปนอนแล้วให้คนอื่นข่มขืนเล่น อย่างนี้ไม่ใช่ชดใช้กรรม อันนี้เป็นการประชดกรรม
ทำไมถึงเรียกว่าเป็นการประชดกรรม?
เพราะว่า ฉันโดนยังไงก็จะต้องโดนอย่างนั้น จะได้จบๆ กันไป อย่างนี้ไม่ใช่ แต่ถ้าไปปล่อยสัตว์ หรือทำกุศลอย่างอื่นที่มีกรรมเช่นนี้ เป็นการแก้ที่ต้นตอ คือไปแก้ที่กรรม ขู่เข็ญ บังคับ เบียดเบียน บงการให้เขาเดือดร้อน นี่แหละ เราจะต้องแก้ที่ต้นเหตุตรงนี้ ไม่ใช่ไปแก้กิริยา อันนั้นไปแก้ที่ผล มันไม่ใช่
ถ้าเราไปเลี้ยงคนที่อยู่ในคุก นักโทษ แสดงว่าเราไปส่งเสริมให้คนอยู่ในคุกใช่ไหม?
อย่างนี้ไม่ใช่ ถ้าเป็นอย่างนั้น ทำไมไม่ไปจับนักโทษไปยิงเป้าเลย แต่เพราะเขาถูกขังในคุกอยู่แล้ว แล้วเราไปแสดงมุฑิตาจิตแล้วให้เขาสำนึก ขนาดพระยังต้องไปโปรดที่คุกเลย แล้วถ้าหากว่าพระไปโปรดนักโทษในคุก จะถือว่าพระท่านส่งเสริมให้คนติดคุกเหรอ? ส่งเสริมให้เขาทำผิดมากขึ้นเหรอ? อย่างนี้ไม่ใช่ คนเราทำผิด ก็ต้องการให้คนยอมรับความเห็นใจ ต้องให้คนเห็นใจ และต้องการคนชี้แนะ ต้องการกำลังใจที่จะแก้ไขตัวเอง
เห็นไหม? เราไปเพื่อจุดนี้ เพื่อให้กำลังใจเขา เพื่อให้เขาแก้ไขตัวเองในสิ่งที่ผิด พอเราแก้ไขสิ่งที่ผิดก็เท่ากับเป็นการปลดปล่อยกรรมตัวเองที่เคยทำผิดพลาดมา