เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา คณะกรรมการพิจารณาการออกใบอนุญาตสโมสร (First Instance Body) ได้มีการประชุมพิจารณาสโมสร ที่ยื่นขอใบอนุญาตสโมสรในระดับ เอเอฟซี เพื่อเข้าร่วมแข่งขัน เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ ลีก ฤดูกาล 2021
โดยผลจากการประชุมและพิจารณา มีรายละเอียดดังนี้
สโมสรที่ยังไม่ผ่านการพิจารณา ได้รับใบอนุญาตสโมสรระดับ เอเอฟซี ได้แก่
1. ระยอง เอฟซี (ไม่ผ่านการพิจารณาเนื่องจากไม่ผ่านเกณฑ์ด้านสนามแข่งขันมาตรฐานเอเอฟซี)
2. สมุทรปราการ ซิตี้ (ไม่ผ่านการพิจารณาเนื่องจากไม่ผ่านเกณฑ์ด้านสนามแข่งขันมาตรฐานเอเอฟซี)
** ทั้งนี้สโมสรที่ไม่ผ่านการพิจารณา สามารถยื่นเรื่องสู่คณะอุทธรณ์ (Appeal Body) ภายในวันที่ 20 ตุลาคม 2563
สำหรับสโมสรที่แจ้งความจำนงไม่ยื่นขอใบอนุญาตสโมสรในระดับ เอเอฟซี ได้แก่
1. โปลิศ เทโร เอฟซี
2. ตราด เอฟซี
สโมสรที่ผ่านการพิจารณา ได้รับใบอนุญาตสโมสรระดับ เอเอฟซี ได้แก่
1. บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
2. ทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด
3. เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด
4. สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด
5. พีที ประจวบ เอฟซี
6. บีจี ปทุม ยูไนเต็ด
7. ราชบุรี มิตรผล เอฟซี
8. ชลบุรี เอฟซี
9. สุโขทัย เอฟซี
10. สุพรรณบุรี เอฟซี
11. นครราชสีมา มาสด้า เอฟซี
**หมายเหตุ สโมสรจะต้องปรับค่าส่องสว่างไฟสนามแข่งขัน (Floodlight Level) ให้ได้มาตรฐานของการเเข่งขัน (1,800 ลักซ์) โดยได้รับการผ่อนผันจากเอเอฟซี ให้สามารถปรับปรุงได้ จนกว่าจะถึงวันแข่งขันในนัดแรกของรายการ เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ ลีก ฤดูกาล 2021
สโมสรที่ผ่านการพิจารณาโดยมีเงื่อนไขด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ได้แก่
1. การท่าเรือ เอฟซี
โดยให้สโมสรดำเนินการตามแผนดังนี้
ส่งแผนการปรับปรุงระบบไฟฟ้าของสนามแพท สเตเดียม พร้อมกับยื่นรายชื่อสนามสำรองที่ผ่านมาตรฐานในระดับเอเอฟซี สำหรับใช้ในการแข่งขันรายการ เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ ลีก ฤดูกาล 2021 มายังคณะกรรมการพิจารณาการออกใบอนุญาตสโมสร (FIB) ภายในวันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม 2563
โดยกำหนดแล้วเสร็จ ของแผนการปรับปรุงระบบไฟฟ้าสนามแพท สเตเดียม คือก่อนนัดแรกของไทยลีกครึ่งฤดูกาลหลัง (MD 16) ขณะที่ค่าความสว่างของไฟสนามนั้น ได้รับการผ่อนผันจากเอเอฟซี ให้สามารถปรับปรุงได้ จนกว่าจะถึงวันแข่งขันในนัดแรกของรายการ เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ ลีก ฤดูกาล 2021
© FA Thailand
(อัพเดท) 4 รายชื่อสโมสรลีกสูงสุดที่ยังไม่ผ่าน การรับรองคลับไลเซนซิ่งระดับเอเอฟซี
โดยผลจากการประชุมและพิจารณา มีรายละเอียดดังนี้
สโมสรที่ยังไม่ผ่านการพิจารณา ได้รับใบอนุญาตสโมสรระดับ เอเอฟซี ได้แก่
1. ระยอง เอฟซี (ไม่ผ่านการพิจารณาเนื่องจากไม่ผ่านเกณฑ์ด้านสนามแข่งขันมาตรฐานเอเอฟซี)
2. สมุทรปราการ ซิตี้ (ไม่ผ่านการพิจารณาเนื่องจากไม่ผ่านเกณฑ์ด้านสนามแข่งขันมาตรฐานเอเอฟซี)
** ทั้งนี้สโมสรที่ไม่ผ่านการพิจารณา สามารถยื่นเรื่องสู่คณะอุทธรณ์ (Appeal Body) ภายในวันที่ 20 ตุลาคม 2563
สำหรับสโมสรที่แจ้งความจำนงไม่ยื่นขอใบอนุญาตสโมสรในระดับ เอเอฟซี ได้แก่
1. โปลิศ เทโร เอฟซี
2. ตราด เอฟซี
สโมสรที่ผ่านการพิจารณา ได้รับใบอนุญาตสโมสรระดับ เอเอฟซี ได้แก่
1. บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
2. ทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด
3. เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด
4. สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด
5. พีที ประจวบ เอฟซี
6. บีจี ปทุม ยูไนเต็ด
7. ราชบุรี มิตรผล เอฟซี
8. ชลบุรี เอฟซี
9. สุโขทัย เอฟซี
10. สุพรรณบุรี เอฟซี
11. นครราชสีมา มาสด้า เอฟซี
**หมายเหตุ สโมสรจะต้องปรับค่าส่องสว่างไฟสนามแข่งขัน (Floodlight Level) ให้ได้มาตรฐานของการเเข่งขัน (1,800 ลักซ์) โดยได้รับการผ่อนผันจากเอเอฟซี ให้สามารถปรับปรุงได้ จนกว่าจะถึงวันแข่งขันในนัดแรกของรายการ เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ ลีก ฤดูกาล 2021
สโมสรที่ผ่านการพิจารณาโดยมีเงื่อนไขด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ได้แก่
1. การท่าเรือ เอฟซี
โดยให้สโมสรดำเนินการตามแผนดังนี้
ส่งแผนการปรับปรุงระบบไฟฟ้าของสนามแพท สเตเดียม พร้อมกับยื่นรายชื่อสนามสำรองที่ผ่านมาตรฐานในระดับเอเอฟซี สำหรับใช้ในการแข่งขันรายการ เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ ลีก ฤดูกาล 2021 มายังคณะกรรมการพิจารณาการออกใบอนุญาตสโมสร (FIB) ภายในวันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม 2563
โดยกำหนดแล้วเสร็จ ของแผนการปรับปรุงระบบไฟฟ้าสนามแพท สเตเดียม คือก่อนนัดแรกของไทยลีกครึ่งฤดูกาลหลัง (MD 16) ขณะที่ค่าความสว่างของไฟสนามนั้น ได้รับการผ่อนผันจากเอเอฟซี ให้สามารถปรับปรุงได้ จนกว่าจะถึงวันแข่งขันในนัดแรกของรายการ เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ ลีก ฤดูกาล 2021
© FA Thailand