ไม่มีกินแม้ไม่มีม็อบ เสียงสะท้อนจากแม่ค้ารถเข็น เมื่อการชุมนุมต่อชีวิตรายวัน
https://www.matichon.co.th/lifestyle/news_2396911
14 ตุลาคม 2563 คณะราษฎร ประกาศใหญ่นัดชุมนุม ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ตั้งแต่ช่วงบ่าย เคลื่อนย้ายกำลังพล สู่ทำเนียบรัฐบาล ตามที่เคยประกาศเอาไว้ได้สำเร็จ
แม้ว่ายังไม่ทันถึงรุ่งสางของวัน อย่างที่แกนนำได้ประกาศไว้ว่าจะยุติการชุมนุม กลุ่มมวลชนก็ถูกกำลังของเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าสลายการชุมนุม พร้อมๆ กับมีแกนนำที่ถูกจับ ในวันที่ 15 ตุลาคม 2563
ก่อนเวลาประกาศยุติการชุมนุมเพียงไม่กี่ชั่วโมง
แต่ค่ำคืนของวันที่ 14 ตุลาคม เมื่อมวลชนปักหลักยึดพื้นที่โดยรอบ “
ทำเนียบรัฐบาล” ตั้งแต่สะพานมัฆวานรังสรรค์ จรดสะพานชมัยมรุเชฐ ยาวถึงแยกนางเลิ้ง มวลชนเรือนหมื่นเข้าประชิดเต็มพื้นที่ ปูเสื่อ แผ่นพลาสติก ตั้งเต็นท์ พร้อมค้างคืน
แน่นอน “
เรื่องปากท้อง” ต้องมาก่อน ปักหลักยึดพื้นที่ได้แล้ว ร้านรวงต่างๆ ก็เข็นกันมาตั้งร้าน กางแผงขายสินค้า อาหาร เครื่องดื่ม ไปจนถึงพร็อพต่างๆ กันถ้วนหน้าไม่ต่ำกว่า 50 ร้าน มีตั้งแต่สินค้าที่ระลึกของม็อบ ทั้งเสื้อ หมวก หมุดคณะราษฎร หรือแม้แต่สติ๊กเกอร์และริบบิ้นสีขาว ไปจนถึงเก้าอี้นั่ง เสื่อ และพัดคลายร้อน ก็มีให้เห็น
เมนูอาหารในม็อบ ก็มีให้เลือกไม่น้อย ทั้งลูกชิ้นปิ้ง หมึกปิ้ง น้ำดื่ม ข้าวโพดคลุก ไอศกรีม โตเกียว ก๋วยเตี๋ยวไก่ ข้าวเหนียวไก่ทอด ไปจนถึงเคบับแบบตลาดนัดต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่กาแฟซอง ที่ถือกาน้ำพร้อมเดินบริการถึงที่นั่ง บ้างก็มีเหล่าจิตอาสา ที่นำน้ำ อาหาร มาแจกให้กับผู้ชุมนุมฟรีๆ
ซึ่งพ่อค้าแม่ค้าก็หวังให้ม็อบช่วยให้มีกำไรผ่านเดือนนี้ไปได้ แม้ว่าออกมาตั้งแผงขายวันนี้ พ่อค้าแม่ค้าจะบอกว่า ขายไม่ค่อยดีเท่าไหร่ แต่ก็เข้าใจว่าเป็นเพราะประชาชนก็ไม่ได้มีกำลังซื้อ
ชาย วัย 47 ปี พ่อค้ารถเข็นไอศกรีมแบรนด์ดัง ที่ขับรถออกมาขายตั้งแต่ช่วง 7 โมงเช้า บรรทุกมาเต็มคันรถ วนขายมาตั้งแต่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในช่วงเช้า แต่มาขายได้จริงๆ ก็ช่วงเย็นที่ได้ปักหลักแล้ว
“วันนี้ก็มาขายตั้งแต่ 7 โมง แต่ตอนกลางวันขายไม่ได้ เข้าไปแล้วถูกคนไล่ หาว่าเราใส่เสื้อแดง แต่มันก็เป็นเครื่องแบบของเรา ไม่ใส่แล้วบริษัทก็ไม่รับผิดชอบ”
พ่อค้าไอติมคนนี้บอกว่า ขายไอศกรีมมาแล้วเกือบทุกม็อบ ตั้งแต่พฤษภา 35 หรือจะว่าไปก็ขายมาตั้งแต่ก่อน พล.ต.
จำลอง ศรีเมือง จะเป็นผู้ว่าฯกทม. ไปมาทั่วทั้งพันธมิตร เสื้อแดง และเสื้อน้ำเงิน ส่วนม็อบนี้ก็มาตั้งแต่เริ่มตั้งที่ราชดำเนิน ตามไปถึงรัฐสภา มีวันไหนก็ไป เพราะปกติก็วนขายอยู่แถวย่านวัดเบญฯ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยอยู่แล้ว ขายมาตั้งแต่เย็น จน 5 ทุ่ม ก็เกือบจะหมดรถแล้ว มาขายม็อบก็พอเหลือมีกำไรบ้าง หากเอาแบบแพงๆ มาขาย ก็ได้เยอะหน่อย
“ขายของมา 20-30 ปี ไม่เคยเป็นหนี้เลย แต่ก่อนพออยู่ได้ แต่ทุกวันนี้บางวันชักหน้าไม่ถึงหลัง เจอฝนตกออกไปขายก็ไม่ได้ บางวันกำไรก็หาย ขายไม่ได้ค่าน้ำมันรถ ได้วันละ 700-800 หักแล้วก็พอมาใช้จ่าย ซื้อข้าวต่างๆ อาศัยกรอกน้ำใส่ขวดมากินเอง อย่างมาขายม็อบก็ขายได้ถึงพัน หักแล้วก็พอมีกำไร 600-700 บาท เรานอนไม่กี่ชั่วโมงก็ออกมาขาย เห็นโอกาสก็ต้องไป ขายได้เงินต่อชีวิตถึงพรุ่งนี้ก็ยังดี”
ขณะที่
วันดี วัย 62 ปี ที่ลงทุนซื้อเสื่อ พัด และแผ่นพลาสติก กว่า 7,000 บาท หอบหิ้วขึ้นรถมอเตอร์ไซค์ กับลูกชายมาปักหลักขายที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เล่าอย่างเหงาหงอยว่า
“ขายไม่ดี”
วันดีกางแผงเป็นแม่ค้าตามตลาด และงานต่างๆ มานานนับ 10 ปี ไม่ว่าจะเป็นแท่งไฟตามคอนเสิร์ต หมวก เสื่อ ก็หอบหิ้วไปขาย กับม็อบคณะราษฎรนี้ ป้าวันดีบอกว่าเริ่มมาขายตั้งแต่ที่สนามหลวง แต่ก็ขายไม่ดีเพราะว่าฝนตก วันแรกขายได้ 7,000 บาท แต่วันที่ 2 ยุติการชุมนุมไว ขายได้เพียง 300 บาท ก็ต้องหอบกลับบ้านมาใหม่ เหลือกลับมาขายที่ทำเนียบรัฐบาล นำพัดมา 100 อัน ขายอันละ 20 บาท และเสื่ออีก 20 กว่าอัน รับว่านั่งขายทั้งวัน ยังไม่ได้ทุนเลย
“ทุกวันนี้ ขายของยากมาก ไม่กล้าซื้อของมาตุนเลย เพราะว่าก็ขายไม่ได้ ยิ่ง 5 เดือนที่ผ่านมา เจอโควิด ยิ่งแย่เข้าไปใหญ่ ขายของไม่ได้ ตลาดตามต่างจังหวัดที่รู้จักกัน เคยขายดีก็ไม่ดีแล้ว ต้นทุนของก็แพง เสื่อขึ้นราคาอีก 25 บาท แต่เราต้องขายถูกลง จาก 150 เหลือ 100 บาท กำไรแค่ 7 บาท ก็ต้องมา บอกจริงๆ ว่าไม่รู้จะไปทางไหนแล้ว เศรษฐกิจแบบนี้ อะไรที่มีก็เอาไปจำนำหมด”
เมื่อถามว่า คิดเห็นอย่างไรกับการชุมนุมของเยาวชน วันดีบอกว่า เด็กเดี๋ยวนี้มีความคิด 7-8 ขวบก็มีความคิดแล้ว เด็กเขารู้ เขาฉลาด และกล้าแสดงออก
ก่อนจะเก็บของกลับบ้าน เมื่อผู้คนเริ่มซาลง วันดียังขอทิ้งท้ายว่า
“อยากเห็นคนเก่งเข้ามาบริหารประเทศบ้างแล้ว ใครก็ได้ ขอให้เก่ง เพราะตอนนี้ ชาวบ้านจะตาย คนจนไม่ไหวจริงๆ”
ข้ามกลับมาที่ร้านที่หลายคนพบเห็นกันในตลาด อย่างร้านลูกชิ้นปิ้งและปลาหมึกย่าง ที่
นิต วัย 30 ปี พร้อมน้องสาว เข็นรถมาขายในม็อบเป็นครั้งแรก แรกเริ่มเดินทางมาตั้งแต่ตี 3 ก่อนจะถูกไล่กลับ ไม่ได้ขายทั้งวัน ต้องกลับมาใหม่ตอน 4 ทุ่ม ขายลูกชิ้น ปลาหมึก ไม้ละ 10 บาท ทั้งแผง
เจ้าของร้านลูกชิ้นปิ้งบอกว่า มาวันนี้ลงทุนไป 20,000 บาท เพื่อนบอกว่าขายในม็อบได้ราคาดี ก็เลยมาลองดู ปกติก็มีขายตามงานโอท็อป งานหมอลำต่างๆ แต่พอเจอโควิด ก็ต้องจอด ไม่มีเงินเลย เพราะตลาดนัดต่างๆ ก็เข้าไปไม่ได้ หมอลำต่างๆ ก็ไม่มี ช่วงที่ผ่านมาอยู่กรุงเทพฯไม่ได้ ต้องกลับบ้านต่างจังหวัด ไม่มีค่าเช่าห้อง ต้องขอผัดผ่อนส่งค่ารถ หยุดไป 6 เดือนก็เพิ่งได้กลับมา
“ถามว่าขายดีไหม วันนี้ก็ขายดี อย่างน้อยก็ได้ดีกว่าตลาด ที่คนไม่ค่อยซื้อ เราก็เข้าใจเพราะคนทำงานเขาก็ไม่ได้โอที ไม่มีเงินมาซื้อ ทุกวันนี้มาขาย ก็ได้กำไรไม่มาก เพราะต้นทุนสูงขึ้นเท่าตัว ปลาหมึกจากเคยซื้อกิโลกรัมละ 50 ก็กลายเป็น 100 บาท ได้กำไรเพียงไม้ละ 3 บาท โดยยังไม่หักค่าถ่านหรือน้ำจิ้ม หลายอย่างขึ้นราคา แต่เราก็ต้องขายเท่าเดิม”
เธอรับว่า ออกมาวันนี้ก็รู้สึกกลัวว่าจะมีการสลายการชุมนุม แม่ก็โทรมาว่าจะเข้ามาจริงๆ หรือเปล่า แต่เราก็ต้องเสี่ยง เพราะถ้าขายได้ ก็ได้เงิน ใจจริงก็อยากให้ม็อบอยู่ไปถึงวันเสาร์-อาทิตย์ ที่เราลงทุนมามันจะได้ทุนคืน
ในฐานะประชาชนคนไทย นิตยาภรณ์กล่าวว่า ก็อยากเห็นความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในประเทศ ไม่ว่าใครก็ได้ที่มาก็อยากให้เขาทำให้เศรษฐกิจมันดี ที่ผ่านมาอยู่มานานก็ไม่ได้มีอะไรดีขึ้น อยากให้จบลงด้วยดี ให้เขาฟังเสียงเราบ้าง ทุกวันนี้ลูกไปเรียนก็กังวล กลัวจะเกิดความรุนแรงเหมือนในข่าว นี่เป็นความกังวล ที่อยากเห็นความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับระบบการศึกษาไทย
ขาดไม่ได้ ขาประจำกับชาวม็อบ คงไม่พ้นรถเข็นผลไม้ เราขอแวะคุยกับ
วัฒน์ พ่อค้าวัย 34 ปี ที่ยึดอาชีพนี้มา 8 ปี ขายอยู่แถวคลองหลอด
วัฒน์เล่าว่า แวะเข้ามาที่ม็อบตั้งแต่ 11 โมง ที่หน้าถนนดินสอ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย แต่ก็ไม่ได้ขายดีมากนัก ไม่เหมือนวันที่ 19 กันยายน ที่ออกมา 4 โมงเย็น กลับไปตี 2 ได้กำไรมากกว่าเดิม 2 เท่าของแต่ละวัน เราก็ขายของเราไป หมดเวลาก็ค่อยกลับ
“วันนี้มาขาย ก็จัดของเยอะกว่าปกติหน่อย มาถึงที่นี่ มองๆ ดูแล้วน่าจะมีรถผลไม้ไม่ต่ำกว่า 10 คัน เราก็ต้องจัดร้านให้สะอาด น่ากิน ให้คนสนใจ ก็พอจะได้เงินอยู่บ้าง”
ชีวิตพ่อค้าอย่างทุกวันนี้
วัฒน์บอกว่า ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะของแพงขึ้นเกือบทุกอย่าง เคยซื้อมันแกว 10 โล 80 บาท ก็ขึ้นเป็น 160 บาท ผลไม้อื่นๆ ก็ขึ้น มันแพงไปหมดทุกวันนี้ กำไรน้อยลงไปหมด
เมื่อถามว่า หลายคนบอกว่าม็อบทำให้เศรษฐกิจไม่ดี เห็นด้วยหรือไม่
วัฒน์หัวเราะก่อนบอกว่า
“ไม่มีม็อบก็เงียบ” ก่อนว่า “
อยากให้ประยุทธ์ออกไป หากทำไม่ได้ก็ออกไปให้คนอื่นมาทำ” พร้อมว่า
“ที่จริง หากทุกที่มันเจริญเหมือนกัน ก็อยากกลับไปอยู่บ้านที่สุรินทร์ อยากอยู่กับพ่อแม่ อยากเห็นความเจริญกระจายออกไปบ้าง”
ปิดท้ายด้วย ป้า
ดาว วัย 60 ปี ที่ยึดอาชีพขายของมา 30 ปีแล้ว ทุกวันนี้ขายน้ำอยู่ที่ตลาดคลองหลอด ขับรถน้ำมาขายน้ำดื่ม น้ำอัดลม ใส่แก้ว 20-25 บาท ที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ มีลูกค้าแวะเวียนมาตลอดคืน ทั้งเจ้าหน้าที่และผู้ชุมนุม จนได้เวียนไปเติมของมาแล้ว 3 รอบ
ป้า
ดาว เรียกได้ว่าเป็นแม่ค้าที่ขายดีที่สุดในคืนนี้ที่เจอ ที่แกแง้มว่าขายได้แตะหลักหมื่น หักกำไรแล้ว เดือนนี้ก็พออยู่ได้
ไม่เหมือนกับแต่ละวัน ที่ป้า
ดาวเล่าว่า ปกติขายอยู่คลองหลอดได้พันกว่าบาท ของหมดเงินก็หมดไปด้วย โชคดีวันนี้มีกำไร อย่างวันที่ 19 กันยายน ก็ได้กำไรหลายพันบาท พอให้เราอยู่ได้อีกหลายวัน เพราะทุกวันนี้ขายของพอมีไปซื้อกับข้าวตลาดกินไปวันๆ ต้องไปกู้เงินเขามาลงทุนซื้อของแล้ว วันๆ ต้องผ่อนดอกเขาวันละ 200 กว่าบาท ของก็แพงขึ้นเยอะ วันไหนมีฝน ก็ขายไม่ได้ ได้ม็อบแบบนี้ ก็พอจะลืมตาอ้าปากได้”
ก่อนจะเผยความลำบากต่อว่า
“จริงๆ ก็อยากเห็นการเปลี่ยนแปลง อยากให้คนเก่งมาทำงาน เรารู้ไม่เป็นใครเราก็ต้องทำมาหากิน แต่ทุกวันนี้มันหนักไปหมด ป้าขายของดีมาตลอดชีวิต แต่พอเป็นรัฐบาลนี้ ต้องไปกู้เงินเขามาขายของ ชีวิตไม่เคยเป็นหนี้ ก็มาหนักเอาช่วงไม่กี่ปีนี้เลย”
JJNY : ไม่มีกินแม้ไม่มีม็อบ เสียงสะท้อนจากแม่ค้ารถเข็น ฯ/6อดีตกสม.จี้รบ.ต้องเลิกสถานการณ์ฉุกเฉิน
https://www.matichon.co.th/lifestyle/news_2396911
แม้ว่ายังไม่ทันถึงรุ่งสางของวัน อย่างที่แกนนำได้ประกาศไว้ว่าจะยุติการชุมนุม กลุ่มมวลชนก็ถูกกำลังของเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าสลายการชุมนุม พร้อมๆ กับมีแกนนำที่ถูกจับ ในวันที่ 15 ตุลาคม 2563
ก่อนเวลาประกาศยุติการชุมนุมเพียงไม่กี่ชั่วโมง
แต่ค่ำคืนของวันที่ 14 ตุลาคม เมื่อมวลชนปักหลักยึดพื้นที่โดยรอบ “ทำเนียบรัฐบาล” ตั้งแต่สะพานมัฆวานรังสรรค์ จรดสะพานชมัยมรุเชฐ ยาวถึงแยกนางเลิ้ง มวลชนเรือนหมื่นเข้าประชิดเต็มพื้นที่ ปูเสื่อ แผ่นพลาสติก ตั้งเต็นท์ พร้อมค้างคืน
แน่นอน “เรื่องปากท้อง” ต้องมาก่อน ปักหลักยึดพื้นที่ได้แล้ว ร้านรวงต่างๆ ก็เข็นกันมาตั้งร้าน กางแผงขายสินค้า อาหาร เครื่องดื่ม ไปจนถึงพร็อพต่างๆ กันถ้วนหน้าไม่ต่ำกว่า 50 ร้าน มีตั้งแต่สินค้าที่ระลึกของม็อบ ทั้งเสื้อ หมวก หมุดคณะราษฎร หรือแม้แต่สติ๊กเกอร์และริบบิ้นสีขาว ไปจนถึงเก้าอี้นั่ง เสื่อ และพัดคลายร้อน ก็มีให้เห็น
เมนูอาหารในม็อบ ก็มีให้เลือกไม่น้อย ทั้งลูกชิ้นปิ้ง หมึกปิ้ง น้ำดื่ม ข้าวโพดคลุก ไอศกรีม โตเกียว ก๋วยเตี๋ยวไก่ ข้าวเหนียวไก่ทอด ไปจนถึงเคบับแบบตลาดนัดต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่กาแฟซอง ที่ถือกาน้ำพร้อมเดินบริการถึงที่นั่ง บ้างก็มีเหล่าจิตอาสา ที่นำน้ำ อาหาร มาแจกให้กับผู้ชุมนุมฟรีๆ
ซึ่งพ่อค้าแม่ค้าก็หวังให้ม็อบช่วยให้มีกำไรผ่านเดือนนี้ไปได้ แม้ว่าออกมาตั้งแผงขายวันนี้ พ่อค้าแม่ค้าจะบอกว่า ขายไม่ค่อยดีเท่าไหร่ แต่ก็เข้าใจว่าเป็นเพราะประชาชนก็ไม่ได้มีกำลังซื้อ
ชาย วัย 47 ปี พ่อค้ารถเข็นไอศกรีมแบรนด์ดัง ที่ขับรถออกมาขายตั้งแต่ช่วง 7 โมงเช้า บรรทุกมาเต็มคันรถ วนขายมาตั้งแต่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในช่วงเช้า แต่มาขายได้จริงๆ ก็ช่วงเย็นที่ได้ปักหลักแล้ว
“วันนี้ก็มาขายตั้งแต่ 7 โมง แต่ตอนกลางวันขายไม่ได้ เข้าไปแล้วถูกคนไล่ หาว่าเราใส่เสื้อแดง แต่มันก็เป็นเครื่องแบบของเรา ไม่ใส่แล้วบริษัทก็ไม่รับผิดชอบ”
พ่อค้าไอติมคนนี้บอกว่า ขายไอศกรีมมาแล้วเกือบทุกม็อบ ตั้งแต่พฤษภา 35 หรือจะว่าไปก็ขายมาตั้งแต่ก่อน พล.ต.จำลอง ศรีเมือง จะเป็นผู้ว่าฯกทม. ไปมาทั่วทั้งพันธมิตร เสื้อแดง และเสื้อน้ำเงิน ส่วนม็อบนี้ก็มาตั้งแต่เริ่มตั้งที่ราชดำเนิน ตามไปถึงรัฐสภา มีวันไหนก็ไป เพราะปกติก็วนขายอยู่แถวย่านวัดเบญฯ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยอยู่แล้ว ขายมาตั้งแต่เย็น จน 5 ทุ่ม ก็เกือบจะหมดรถแล้ว มาขายม็อบก็พอเหลือมีกำไรบ้าง หากเอาแบบแพงๆ มาขาย ก็ได้เยอะหน่อย
“ขายของมา 20-30 ปี ไม่เคยเป็นหนี้เลย แต่ก่อนพออยู่ได้ แต่ทุกวันนี้บางวันชักหน้าไม่ถึงหลัง เจอฝนตกออกไปขายก็ไม่ได้ บางวันกำไรก็หาย ขายไม่ได้ค่าน้ำมันรถ ได้วันละ 700-800 หักแล้วก็พอมาใช้จ่าย ซื้อข้าวต่างๆ อาศัยกรอกน้ำใส่ขวดมากินเอง อย่างมาขายม็อบก็ขายได้ถึงพัน หักแล้วก็พอมีกำไร 600-700 บาท เรานอนไม่กี่ชั่วโมงก็ออกมาขาย เห็นโอกาสก็ต้องไป ขายได้เงินต่อชีวิตถึงพรุ่งนี้ก็ยังดี”
ขณะที่ วันดี วัย 62 ปี ที่ลงทุนซื้อเสื่อ พัด และแผ่นพลาสติก กว่า 7,000 บาท หอบหิ้วขึ้นรถมอเตอร์ไซค์ กับลูกชายมาปักหลักขายที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เล่าอย่างเหงาหงอยว่า “ขายไม่ดี”
วันดีกางแผงเป็นแม่ค้าตามตลาด และงานต่างๆ มานานนับ 10 ปี ไม่ว่าจะเป็นแท่งไฟตามคอนเสิร์ต หมวก เสื่อ ก็หอบหิ้วไปขาย กับม็อบคณะราษฎรนี้ ป้าวันดีบอกว่าเริ่มมาขายตั้งแต่ที่สนามหลวง แต่ก็ขายไม่ดีเพราะว่าฝนตก วันแรกขายได้ 7,000 บาท แต่วันที่ 2 ยุติการชุมนุมไว ขายได้เพียง 300 บาท ก็ต้องหอบกลับบ้านมาใหม่ เหลือกลับมาขายที่ทำเนียบรัฐบาล นำพัดมา 100 อัน ขายอันละ 20 บาท และเสื่ออีก 20 กว่าอัน รับว่านั่งขายทั้งวัน ยังไม่ได้ทุนเลย
“ทุกวันนี้ ขายของยากมาก ไม่กล้าซื้อของมาตุนเลย เพราะว่าก็ขายไม่ได้ ยิ่ง 5 เดือนที่ผ่านมา เจอโควิด ยิ่งแย่เข้าไปใหญ่ ขายของไม่ได้ ตลาดตามต่างจังหวัดที่รู้จักกัน เคยขายดีก็ไม่ดีแล้ว ต้นทุนของก็แพง เสื่อขึ้นราคาอีก 25 บาท แต่เราต้องขายถูกลง จาก 150 เหลือ 100 บาท กำไรแค่ 7 บาท ก็ต้องมา บอกจริงๆ ว่าไม่รู้จะไปทางไหนแล้ว เศรษฐกิจแบบนี้ อะไรที่มีก็เอาไปจำนำหมด”
เมื่อถามว่า คิดเห็นอย่างไรกับการชุมนุมของเยาวชน วันดีบอกว่า เด็กเดี๋ยวนี้มีความคิด 7-8 ขวบก็มีความคิดแล้ว เด็กเขารู้ เขาฉลาด และกล้าแสดงออก
ก่อนจะเก็บของกลับบ้าน เมื่อผู้คนเริ่มซาลง วันดียังขอทิ้งท้ายว่า “อยากเห็นคนเก่งเข้ามาบริหารประเทศบ้างแล้ว ใครก็ได้ ขอให้เก่ง เพราะตอนนี้ ชาวบ้านจะตาย คนจนไม่ไหวจริงๆ”
ข้ามกลับมาที่ร้านที่หลายคนพบเห็นกันในตลาด อย่างร้านลูกชิ้นปิ้งและปลาหมึกย่าง ที่ นิต วัย 30 ปี พร้อมน้องสาว เข็นรถมาขายในม็อบเป็นครั้งแรก แรกเริ่มเดินทางมาตั้งแต่ตี 3 ก่อนจะถูกไล่กลับ ไม่ได้ขายทั้งวัน ต้องกลับมาใหม่ตอน 4 ทุ่ม ขายลูกชิ้น ปลาหมึก ไม้ละ 10 บาท ทั้งแผง
เจ้าของร้านลูกชิ้นปิ้งบอกว่า มาวันนี้ลงทุนไป 20,000 บาท เพื่อนบอกว่าขายในม็อบได้ราคาดี ก็เลยมาลองดู ปกติก็มีขายตามงานโอท็อป งานหมอลำต่างๆ แต่พอเจอโควิด ก็ต้องจอด ไม่มีเงินเลย เพราะตลาดนัดต่างๆ ก็เข้าไปไม่ได้ หมอลำต่างๆ ก็ไม่มี ช่วงที่ผ่านมาอยู่กรุงเทพฯไม่ได้ ต้องกลับบ้านต่างจังหวัด ไม่มีค่าเช่าห้อง ต้องขอผัดผ่อนส่งค่ารถ หยุดไป 6 เดือนก็เพิ่งได้กลับมา
“ถามว่าขายดีไหม วันนี้ก็ขายดี อย่างน้อยก็ได้ดีกว่าตลาด ที่คนไม่ค่อยซื้อ เราก็เข้าใจเพราะคนทำงานเขาก็ไม่ได้โอที ไม่มีเงินมาซื้อ ทุกวันนี้มาขาย ก็ได้กำไรไม่มาก เพราะต้นทุนสูงขึ้นเท่าตัว ปลาหมึกจากเคยซื้อกิโลกรัมละ 50 ก็กลายเป็น 100 บาท ได้กำไรเพียงไม้ละ 3 บาท โดยยังไม่หักค่าถ่านหรือน้ำจิ้ม หลายอย่างขึ้นราคา แต่เราก็ต้องขายเท่าเดิม”
เธอรับว่า ออกมาวันนี้ก็รู้สึกกลัวว่าจะมีการสลายการชุมนุม แม่ก็โทรมาว่าจะเข้ามาจริงๆ หรือเปล่า แต่เราก็ต้องเสี่ยง เพราะถ้าขายได้ ก็ได้เงิน ใจจริงก็อยากให้ม็อบอยู่ไปถึงวันเสาร์-อาทิตย์ ที่เราลงทุนมามันจะได้ทุนคืน
ในฐานะประชาชนคนไทย นิตยาภรณ์กล่าวว่า ก็อยากเห็นความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในประเทศ ไม่ว่าใครก็ได้ที่มาก็อยากให้เขาทำให้เศรษฐกิจมันดี ที่ผ่านมาอยู่มานานก็ไม่ได้มีอะไรดีขึ้น อยากให้จบลงด้วยดี ให้เขาฟังเสียงเราบ้าง ทุกวันนี้ลูกไปเรียนก็กังวล กลัวจะเกิดความรุนแรงเหมือนในข่าว นี่เป็นความกังวล ที่อยากเห็นความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับระบบการศึกษาไทย
ขาดไม่ได้ ขาประจำกับชาวม็อบ คงไม่พ้นรถเข็นผลไม้ เราขอแวะคุยกับ วัฒน์ พ่อค้าวัย 34 ปี ที่ยึดอาชีพนี้มา 8 ปี ขายอยู่แถวคลองหลอด วัฒน์เล่าว่า แวะเข้ามาที่ม็อบตั้งแต่ 11 โมง ที่หน้าถนนดินสอ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย แต่ก็ไม่ได้ขายดีมากนัก ไม่เหมือนวันที่ 19 กันยายน ที่ออกมา 4 โมงเย็น กลับไปตี 2 ได้กำไรมากกว่าเดิม 2 เท่าของแต่ละวัน เราก็ขายของเราไป หมดเวลาก็ค่อยกลับ
“วันนี้มาขาย ก็จัดของเยอะกว่าปกติหน่อย มาถึงที่นี่ มองๆ ดูแล้วน่าจะมีรถผลไม้ไม่ต่ำกว่า 10 คัน เราก็ต้องจัดร้านให้สะอาด น่ากิน ให้คนสนใจ ก็พอจะได้เงินอยู่บ้าง”
ชีวิตพ่อค้าอย่างทุกวันนี้ วัฒน์บอกว่า ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะของแพงขึ้นเกือบทุกอย่าง เคยซื้อมันแกว 10 โล 80 บาท ก็ขึ้นเป็น 160 บาท ผลไม้อื่นๆ ก็ขึ้น มันแพงไปหมดทุกวันนี้ กำไรน้อยลงไปหมด
เมื่อถามว่า หลายคนบอกว่าม็อบทำให้เศรษฐกิจไม่ดี เห็นด้วยหรือไม่ วัฒน์หัวเราะก่อนบอกว่า “ไม่มีม็อบก็เงียบ” ก่อนว่า “อยากให้ประยุทธ์ออกไป หากทำไม่ได้ก็ออกไปให้คนอื่นมาทำ” พร้อมว่า
“ที่จริง หากทุกที่มันเจริญเหมือนกัน ก็อยากกลับไปอยู่บ้านที่สุรินทร์ อยากอยู่กับพ่อแม่ อยากเห็นความเจริญกระจายออกไปบ้าง”
ปิดท้ายด้วย ป้าดาว วัย 60 ปี ที่ยึดอาชีพขายของมา 30 ปีแล้ว ทุกวันนี้ขายน้ำอยู่ที่ตลาดคลองหลอด ขับรถน้ำมาขายน้ำดื่ม น้ำอัดลม ใส่แก้ว 20-25 บาท ที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ มีลูกค้าแวะเวียนมาตลอดคืน ทั้งเจ้าหน้าที่และผู้ชุมนุม จนได้เวียนไปเติมของมาแล้ว 3 รอบ
ป้าดาว เรียกได้ว่าเป็นแม่ค้าที่ขายดีที่สุดในคืนนี้ที่เจอ ที่แกแง้มว่าขายได้แตะหลักหมื่น หักกำไรแล้ว เดือนนี้ก็พออยู่ได้
ไม่เหมือนกับแต่ละวัน ที่ป้าดาวเล่าว่า ปกติขายอยู่คลองหลอดได้พันกว่าบาท ของหมดเงินก็หมดไปด้วย โชคดีวันนี้มีกำไร อย่างวันที่ 19 กันยายน ก็ได้กำไรหลายพันบาท พอให้เราอยู่ได้อีกหลายวัน เพราะทุกวันนี้ขายของพอมีไปซื้อกับข้าวตลาดกินไปวันๆ ต้องไปกู้เงินเขามาลงทุนซื้อของแล้ว วันๆ ต้องผ่อนดอกเขาวันละ 200 กว่าบาท ของก็แพงขึ้นเยอะ วันไหนมีฝน ก็ขายไม่ได้ ได้ม็อบแบบนี้ ก็พอจะลืมตาอ้าปากได้”
ก่อนจะเผยความลำบากต่อว่า
“จริงๆ ก็อยากเห็นการเปลี่ยนแปลง อยากให้คนเก่งมาทำงาน เรารู้ไม่เป็นใครเราก็ต้องทำมาหากิน แต่ทุกวันนี้มันหนักไปหมด ป้าขายของดีมาตลอดชีวิต แต่พอเป็นรัฐบาลนี้ ต้องไปกู้เงินเขามาขายของ ชีวิตไม่เคยเป็นหนี้ ก็มาหนักเอาช่วงไม่กี่ปีนี้เลย”