จากงานวิจัยใน “Current Biology“ วารสารชีววิทยาที่ตีพิมพ์ในปี 2015 รายงานว่าเด็กที่เติบโตมาในครอบครัวที่ไม่นับถือศาสนามักจะมีเมตตากว่าเด็กที่ถูกเลี้ยงดูมาในครอบครัวที่เคร่งศาสนา
การศึกษาครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่างนักวิชาการหลายคนจากมหาวิทยาลัยเจ็ดแห่งที่กระจายอยู่ทั่วโลก โดยทีมวิจัยได้เลือกศึกษาเด็กๆ ที่มีพื้นฐานครอบครัวแตกต่างกันไป ทั้งจากครอบครัวชาวคริสต์ มุสลิม และไม่นับถือศาสนา ซึ่งผลการวิจัยได้พบสิ่งที่น่าสนใจหลายอย่างและหนึ่งในนั้นคือ “เด็กจากครอบครัวที่นับถือศาสนามักชอบตัดสินคนอื่นมากกว่า”
การศึกษาครั้งนี้มีชื่อว่า “ความเกี่ยวพันเชิงลบระหว่างศาสนากับความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นของเด็กทั่วโลก” (The Negative Association Between Religiousness and Children’s Altruism Across the World)
“ในภาพรวมการค้นพบของเรานั้นอาจขัดแย้งกับข้อสันนิษฐานทั่วไปและสิ่งที่คนเราเชื่อกันมาตลอดว่าเด็กๆ ที่เติบโตจากครอบครัวที่นับถือศาสนานั้นจะเห็นอกเห็นใจผู้อื่นและมีเมตตามากกว่า จากข้อสงสัยที่ว่าศาสนามีความสำคัญต่อการพัฒนาทางศีลธรรมหรือไม่” นักวิจัยกล่าว
การวิจัยกับเด็กเกือบ 1,200 คน ที่มีอายุระหว่าง 5 ถึง 12 ปี ซึ่งเด็กๆ เหล่านี้มาจากหลายประเทศและมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ทั้งจากสหรัฐอเมริกา แคนาดา จีน จอร์แดน ตุรกีและแอฟริกาใต้ ในบรรดาเด็กที่เข้าร่วมการทดลอง เป็นชาวคริสต์เกือบ 24% ชาวมุสลิม 43% และไม่นับถือศาสนาอีก 27.6% ส่วนเด็กๆ ที่เป็นชาวยิว พุทธ ฮินดู หรือผู้ไม่เชื่อเรื่องพระเจ้า หรือศาสนาอื่นๆ ที่มีจำนวนน้อย ไม่ได้มีนัยสำคัญทางสถิติเพียงพอที่จะรวมผลลัพธ์ของพวกเขาเข้าไปด้วย กระบวนการวิจัยจะให้เด็กเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่พวกเขาจะมีโอกาสแบ่งปันกับผู้อื่น และยังแสดงภาพวิดีโอของเด็กๆ ที่กำลังต่อสู้กัน ขณะนั้นนักวิจัยก็จะประเมินปฏิกิริยาของพวกเขา
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า เด็กๆ จากครอบครัวที่นับถือศาสนาคริสต์ และครอบครัวที่นับถือศาสนาอิสลามซึ่งเป็นสองศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในโลก มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นน้อยกว่าเด็กที่มาจากครอบครัวที่ไม่นับถือศาสนา
นักวิจัยยังตั้งข้อสังเกตอีกว่าเด็กที่มีอายุมากกว่าซึ่งได้รับการปลูกฝังเรื่องศาสนามาอย่างเคร่งครัดนั้นจะแสดงออกด้านความสัมพันธ์ในแง่ลบมากกว่า และการศึกษายังพบว่าเด็กที่นับถือศาสนามีแนวโน้มที่จะตัดสินคนอื่นและลงโทษเด็กคนอื่นๆ ด้วย
“จากผลการวิจัยพบว่าศาสนาไม่ได้ทำให้เด็กเป็นคนเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เหมือนที่ตั้งสมมติฐานไว้ ตรงกันข้ามกลับส่งเสริมแนวโน้มพฤติกรรมการลงโทษผู้อื่นของพวกเขา ซึ่งผลลัพธ์ที่รวบรวมได้นี้คล้ายคลึงกันในหลายๆ ประเทศ สรุปได้ว่าศาสนามีอิทธิพลในทางลบต่อความเอื้อเฟื้อของเด็กๆ ท้าทายมุมมองความเชื่อเดิมที่ว่าศาสนาช่วยเสริมสร้างพฤติกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมหรือเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น “
นอกจากนี้งานวิจัยยังเปิดเผยถึงความสัมพันธ์ในเรื่องของศาสนาและศีลธรรมอีกด้วย ขณะที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าศาสนานั้นทำให้มนุษย์อยู่ในกรอบศีลธรรมและมีพฤติกรรมเอื้อสังคม แต่ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับศีลธรรมก็ยังเป็นสิ่งที่ถกเถียงกันอยู่
อีกแง่มุมหนึ่งที่ไม่ได้กล่าวถึงในงานวิจัยคือ ครอบครัวที่พ่อแม่นับถือศาสนามักจะลงโทษลูกๆ ของพวกเขา และเป็นการลงโทษด้วย ”การตี” ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่านี่จะเป็นเหตุผลสนับสนุนว่าเด็กที่มีพ่อแม่เคร่งศาสนาจะเข้ากับเด็กคนอื่นได้ยาก
Alan Edward Kazdin ศาสตราจารย์ด้านการวิจัยจิตวิทยาและจิตเวชเด็กที่มหาวิทยาลัยเยล และผู้อำนวยกาที่ Yale Parenting Center and Child Conduct Clinic กล่าวว่าการลงโทษด้วยการตีนั้นไม่ใช่สิ่งที่ได้ผลดีเหมือนที่พ่อแม่หลายคนคิดKazdin กล่าวว่า “คุณไม่สามารถใช้กำลังเพื่อควบคุมพฤติกรรมที่คุณไม่ต้องการได้ จากงานวิจัยต่างๆ พิสูจน์แล้วว่าการลงโทษด้วยการทำร้ายร่างกายนั้นไม่จำเป็นเลย เราไม่ยอมแพ้ที่จะเรียกร้องให้ใช้วิธีที่ดีกว่านี้ เรากำลังบอกว่าการกระทำเช่นนี้เป็นสิ่งที่น่ากลัวและไม่มีประโยชน์อะไรเลย”
มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์อีกมากมายที่พิสูจน์ว่าการตีนั้นไม่ดีต่อสุขภาพจิตและพัฒนาการของเด็ก และไม่มีการศึกษาใดเลยที่แสดงให้เห็นว่าการใช้กำลังลงโทษเป็นการกระทำที่ดี แม้งานวิจัยนี้จะแสดงให้เห็นว่าเด็กที่นับถือศาสนามีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่น้อยกว่า แต่ก็ไม่สามารถเหมารวมได้ทั้งหมดเพราะการวิจัยนี้เน้นการปฏิบัติตนตามหลักศาสนาในครอบครัวอย่างเดียว โดยไม่สนใจเงื่อนไขทางครอบครัวและวิธีการเลี้ยงดูอื่นๆ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน
อย่างไรก็ตามข้อมูลบางส่วนก็ได้แสดงให้เห็นว่าพ่อแม่ที่เคร่งศาสนามีแนวโน้มจะเป็นพ่อแม่ที่ชอบใช้อำนาจจึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าพฤติกรรมการเลี้ยงดูเหล่านี้จะเป็นสาเหตุให้เด็กมีบุคลิกต่อต้านสังคมได้
เห็นด้วยหรือไม่กับงานวิจัยนี้?
อ้างอิง
Anonews:
https://bit.ly/2kEPIKd
https://spectrumth.com/2019/09/19/%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%A2-%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%97/
งานวิจัยล่าสุดเผย เด็กที่โตในครอบครัวไม่มีศาสนา มีจิตใจที่เมตตาเห็นใจผู้อื่นมากกว่า
การศึกษาครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่างนักวิชาการหลายคนจากมหาวิทยาลัยเจ็ดแห่งที่กระจายอยู่ทั่วโลก โดยทีมวิจัยได้เลือกศึกษาเด็กๆ ที่มีพื้นฐานครอบครัวแตกต่างกันไป ทั้งจากครอบครัวชาวคริสต์ มุสลิม และไม่นับถือศาสนา ซึ่งผลการวิจัยได้พบสิ่งที่น่าสนใจหลายอย่างและหนึ่งในนั้นคือ “เด็กจากครอบครัวที่นับถือศาสนามักชอบตัดสินคนอื่นมากกว่า”
การศึกษาครั้งนี้มีชื่อว่า “ความเกี่ยวพันเชิงลบระหว่างศาสนากับความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นของเด็กทั่วโลก” (The Negative Association Between Religiousness and Children’s Altruism Across the World)
“ในภาพรวมการค้นพบของเรานั้นอาจขัดแย้งกับข้อสันนิษฐานทั่วไปและสิ่งที่คนเราเชื่อกันมาตลอดว่าเด็กๆ ที่เติบโตจากครอบครัวที่นับถือศาสนานั้นจะเห็นอกเห็นใจผู้อื่นและมีเมตตามากกว่า จากข้อสงสัยที่ว่าศาสนามีความสำคัญต่อการพัฒนาทางศีลธรรมหรือไม่” นักวิจัยกล่าว
การวิจัยกับเด็กเกือบ 1,200 คน ที่มีอายุระหว่าง 5 ถึง 12 ปี ซึ่งเด็กๆ เหล่านี้มาจากหลายประเทศและมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ทั้งจากสหรัฐอเมริกา แคนาดา จีน จอร์แดน ตุรกีและแอฟริกาใต้ ในบรรดาเด็กที่เข้าร่วมการทดลอง เป็นชาวคริสต์เกือบ 24% ชาวมุสลิม 43% และไม่นับถือศาสนาอีก 27.6% ส่วนเด็กๆ ที่เป็นชาวยิว พุทธ ฮินดู หรือผู้ไม่เชื่อเรื่องพระเจ้า หรือศาสนาอื่นๆ ที่มีจำนวนน้อย ไม่ได้มีนัยสำคัญทางสถิติเพียงพอที่จะรวมผลลัพธ์ของพวกเขาเข้าไปด้วย กระบวนการวิจัยจะให้เด็กเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่พวกเขาจะมีโอกาสแบ่งปันกับผู้อื่น และยังแสดงภาพวิดีโอของเด็กๆ ที่กำลังต่อสู้กัน ขณะนั้นนักวิจัยก็จะประเมินปฏิกิริยาของพวกเขา
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า เด็กๆ จากครอบครัวที่นับถือศาสนาคริสต์ และครอบครัวที่นับถือศาสนาอิสลามซึ่งเป็นสองศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในโลก มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นน้อยกว่าเด็กที่มาจากครอบครัวที่ไม่นับถือศาสนา
นักวิจัยยังตั้งข้อสังเกตอีกว่าเด็กที่มีอายุมากกว่าซึ่งได้รับการปลูกฝังเรื่องศาสนามาอย่างเคร่งครัดนั้นจะแสดงออกด้านความสัมพันธ์ในแง่ลบมากกว่า และการศึกษายังพบว่าเด็กที่นับถือศาสนามีแนวโน้มที่จะตัดสินคนอื่นและลงโทษเด็กคนอื่นๆ ด้วย
“จากผลการวิจัยพบว่าศาสนาไม่ได้ทำให้เด็กเป็นคนเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เหมือนที่ตั้งสมมติฐานไว้ ตรงกันข้ามกลับส่งเสริมแนวโน้มพฤติกรรมการลงโทษผู้อื่นของพวกเขา ซึ่งผลลัพธ์ที่รวบรวมได้นี้คล้ายคลึงกันในหลายๆ ประเทศ สรุปได้ว่าศาสนามีอิทธิพลในทางลบต่อความเอื้อเฟื้อของเด็กๆ ท้าทายมุมมองความเชื่อเดิมที่ว่าศาสนาช่วยเสริมสร้างพฤติกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมหรือเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น “
นอกจากนี้งานวิจัยยังเปิดเผยถึงความสัมพันธ์ในเรื่องของศาสนาและศีลธรรมอีกด้วย ขณะที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าศาสนานั้นทำให้มนุษย์อยู่ในกรอบศีลธรรมและมีพฤติกรรมเอื้อสังคม แต่ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับศีลธรรมก็ยังเป็นสิ่งที่ถกเถียงกันอยู่
อีกแง่มุมหนึ่งที่ไม่ได้กล่าวถึงในงานวิจัยคือ ครอบครัวที่พ่อแม่นับถือศาสนามักจะลงโทษลูกๆ ของพวกเขา และเป็นการลงโทษด้วย ”การตี” ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่านี่จะเป็นเหตุผลสนับสนุนว่าเด็กที่มีพ่อแม่เคร่งศาสนาจะเข้ากับเด็กคนอื่นได้ยาก
Alan Edward Kazdin ศาสตราจารย์ด้านการวิจัยจิตวิทยาและจิตเวชเด็กที่มหาวิทยาลัยเยล และผู้อำนวยกาที่ Yale Parenting Center and Child Conduct Clinic กล่าวว่าการลงโทษด้วยการตีนั้นไม่ใช่สิ่งที่ได้ผลดีเหมือนที่พ่อแม่หลายคนคิดKazdin กล่าวว่า “คุณไม่สามารถใช้กำลังเพื่อควบคุมพฤติกรรมที่คุณไม่ต้องการได้ จากงานวิจัยต่างๆ พิสูจน์แล้วว่าการลงโทษด้วยการทำร้ายร่างกายนั้นไม่จำเป็นเลย เราไม่ยอมแพ้ที่จะเรียกร้องให้ใช้วิธีที่ดีกว่านี้ เรากำลังบอกว่าการกระทำเช่นนี้เป็นสิ่งที่น่ากลัวและไม่มีประโยชน์อะไรเลย”
มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์อีกมากมายที่พิสูจน์ว่าการตีนั้นไม่ดีต่อสุขภาพจิตและพัฒนาการของเด็ก และไม่มีการศึกษาใดเลยที่แสดงให้เห็นว่าการใช้กำลังลงโทษเป็นการกระทำที่ดี แม้งานวิจัยนี้จะแสดงให้เห็นว่าเด็กที่นับถือศาสนามีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่น้อยกว่า แต่ก็ไม่สามารถเหมารวมได้ทั้งหมดเพราะการวิจัยนี้เน้นการปฏิบัติตนตามหลักศาสนาในครอบครัวอย่างเดียว โดยไม่สนใจเงื่อนไขทางครอบครัวและวิธีการเลี้ยงดูอื่นๆ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน
อย่างไรก็ตามข้อมูลบางส่วนก็ได้แสดงให้เห็นว่าพ่อแม่ที่เคร่งศาสนามีแนวโน้มจะเป็นพ่อแม่ที่ชอบใช้อำนาจจึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าพฤติกรรมการเลี้ยงดูเหล่านี้จะเป็นสาเหตุให้เด็กมีบุคลิกต่อต้านสังคมได้
เห็นด้วยหรือไม่กับงานวิจัยนี้?
อ้างอิง
Anonews: https://bit.ly/2kEPIKd
https://spectrumth.com/2019/09/19/%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%A2-%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%97/