วันนี้จะมาแชร์วิธีที่เราใช้กำจัดเชื้อราบนชั้นหนังสือไม้อัดให้หมดไปแบบถาวรกันค่ะ
เราเป็นคนหนึ่งที่หนักใจกับปัญหาเชื้อราที่ชอบขึ้นชั้นหนังสือ อากาศชื้นทีไร เชื้อราเป็นต้องผุดขึ้นเต็มชั้นไม้อัดทุกที
เช็ดถูหรือดูแลดีแค่ไหนก็ไม่หมดสักที จนแอบคิดว่า หรือต้องโยนชั้นไม้ทิ้งดี?
ภาพข้างบนนี่คือ ก่อนแปลงโฉม
เห็นจุดๆ ปื้นๆเป็นแผ่นนั่นไหมคะ เชื้อราล้วนๆเลยค่ะ ในภาพอาจไม่ชัด แต่ของจริงนี่หนามากๆ เยอะมากๆ เราใช้ผ้าชุบน้ำยาถูไปแค่สองวันเท่านั้น เชื้อราเจ้ากรรมก็ผุดขึ้นมาอีก
ช่วงแรกๆก็ไม่เท่าไร แต่ปล่อยนานครั้งไปก็มีแต่จะเพิ่มปริมาณขึ้น เห็นแล้วกลุ้มใจสุดๆ
ปกติเวลาเช็ด เราจะยกหนังสือออกมาทั้งหมดก่อนทุกครั้ง กินแรงมาก หนังสือก็ไม่ใช่เบาๆ แล้วเวลายกออกนี่คือ ต่อให้เบามือแค่ไหน เชื้อราเขียวๆนี่มันก็ฟุ้งอยู่ดี ยิ่งอยู่ในห้องนอนอีก เป็นอันตรายต่อร่างกายมากๆ ตายผ่อนส่งชัดๆ
บ้านเราเป็นบ้านพักข้าราชการค่ะ สภาพเก่ามากๆ อายุหลายสิบปีแล้ว จะพังแหล่มิพังแหล่ ปรับปรุงไม่ได้ ต้องรื้อสร้างใหม่เท่านั้น แต่งบประมาณมาไม่ถึงสักที (อุ๊ปส์ ไม่เอาไม่พูด) แล้วพอฤดูฝน ฝนตกติดต่อกันหลายๆวัน ชั้นหนึ่งจะชื้นมาก ยิ่งเป็นอาหารให้เชื้อราอีก
เป็นอย่างนี้มาสองเดือน จนเชื้อราฝังลึกเข้าในเนื้อไม้ แค่เช็ดถูคงไม่ไหวแล้ว หนักกว่านั้นคือหนังสือจะขึ้นราไปด้วย โอย รับไม่ได้ๆ
ก็เลยหาวิธีกำจัด หาข้อมูลใน Pantip บ้าง เว็บไซต์อื่นๆบ้าง สุดท้ายปรึกษาคุณพ่อ ท่านเลยจัดวิธีนี้ให้ค่ะ
นั่นก็คือการ
ทาแล็กเกอร์ เป็นวิธีเบสิค ที่หลายท่านคุ้นชินกันดี แต่จะบอกว่ามันได้ผลจริงๆค่ะ
อุปรณ์ที่เราใช้ จะมีดังต่อไปนี้ (คุณพ่อซื้อมาให้เลยค่ะ)
1. แล็กเกอร์ ของ เบเยอร์ 1 แกลลอน
2. โพลียูรีเทน ของ TOA 1 แกลลอน
สองข้อแรกนี่เป็นปริมาณที่เราใช้กับชั้นไม้สูงสองเมตร ทาเสร็จแล้วยังเหลือเยอะเลยค่ะ
3. แปรงทาสี ขนาดที่เหมาะใช้ทางานไม้ที่เราจะทา
4. ทินเนอร์ (ข้อนี้จะมีหรือไม่ก็ได้ค่ะ เพราะเอาไว้ใช้ล้างแปรงหลังใช้งาน เพราะถ้าไม่ล้าง ขนแปรงแข็งโป๊กแน่)
(ปล. ท่านอื่นจะใช้เป็นยี่ห้อไหนก็ได้นะคะ แต่ของเรา คุณพ่อซื้อมาให้ค่ะ
และ แล็กเกอร์, โพลียูรีเทนจะมีหลายสูตรด้วยกัน แนะนำให้ถามพนักงานขายก่อนว่า เราจะเอาไปใช้งานแบบนี้ ควรเลือกสูตรไหนดี ส่วนสูตรที่เราเลือกใช้ เราจำไม่ได้แล้วค่ะว่าใช้สูตรไหนบ้าง จำได้แค่ยี่ห้อ ต้องขออภัยจริงๆค่ะ)
การผสม
ให้เทส่วนผสมลงในภาชนะรองรับ โดยให้แล็กเกอร์มีอัตราส่วนน้อยกว่าโพลียูรีเทน คนให้เป็นเนื้อเดียวจะได้ส่วนผสมที่มีลักษณะหนืด ไม่เหลวเกินไป
เพราะการทาครั้งนี้เป็นการทาเพื่อให้ไม้อัดมีความหนาและแข็งกว่าการเคลือบเงาทั่วไป ป้องกันไม่ให้ความชื้นเข้าเนื้อไม้ และไม่ให้เชื้อราเกิดอีกค่ะ
ข้อควรระวัง! ไม่ควรเทผสมในครั้งเดียว เพราะมันระเหยเร็วมาก ควรผสมสักปริมาณหนึ่ง พอหมดแล้วค่อยเทผสมใหม่
วิธีการทา
- หาสถานที่โล่งๆ กลางแจ้งที่สามารถตากแดดได้ทั้งวัน (ควรเลือกทาในวันที่อากาศแจ่มใส อากาศร้อน แดดจ้าทั้งวัน)
- ก่อนทาก็เช็ดฝุ่นและเชื้อราออกให้หมด อย่าลืมใส่หน้ากากป้องกันด้วยนะคะ เพราะเราอาจสูดเอาพวกเชื้อราและสารระเหยเข้าไปได้
- การทาก็ง่ายๆเลยค่ะ เอาแปรงจุ่มแล้วก็ทาให้ทั่ว
(ต้องให้ได้ทุกซอกทุกมุม) แต่ของเรานี่อย่าเรียกทาเลยค่ะ เรียกว่า "โบก" จะเหมาะกว่า 555555555 เพราะเราทาหลายชั้น หลายรอบมากๆ กลัวเชื้อราจะกลับมาอีก
- ในการทาแต่ละรอบ ต้องปล่อยให้แห้งสนิทก่อนแล้วจึงทาทับซ้ำ(ไม่ต้องห่วงว่าจะรอนาน เพราะมันแห้งเร็วมากค่ะ) ไม่อย่างนั้นชั้นผิวจะเกิดฟองอากาศเล็กๆ พื้นผิวออกมาจะไม่เรียบและจะทำให้ลอก
- หลังทาซ้ำจนพอใจแล้ว แนะนำทิ้งไว้ที่โล่งให้ลมโกรกก่อนเก็บเข้าบ้านอย่างต่ำหนึ่งชั่วโมง เพื่อไม่ให้มีกลิ่นฉุน
ข้อแนะนำ: การทาเพื่อป้องกันเชื้อราในเคสของเรานี้เป็นเคสที่เชื้อราหนามากและฝังลึกเข้าเนื้อไม้แล้ว เราจึงทาหลายรอบมากๆ ส่วนท่านที่ไม่หนักเท่าเรา ทาซ้ำสักสามรอบก็น่าจะพอ แต่ถ้าอยากให้ชัวร์ก็เอาตามสะดวกเลยค่ะ โบกโลด
และภาพนี้ก็คือหลังการทาเรียบร้อยแล้ว (ผ่านมาแล้วเกือบครึ่งเดือน)
เป็นอย่างไรบ้างคะ ของจริงนี่คือสะท้อนเงาเลยนะเออ วิ้งวับๆ (กอดอกภูมิใจ)
ผลหลังการทา
หลังทาได้สามวัน พายุระลอกใหม่ก็โหมซัดเข้าอีกรอบ ตกแทบจะ 24 ชั่วโมง อากาศชื้นสุดๆ แต่ว่าชั้นหนังสือที่เรานำไปโบกแล็กเกอร์และโพลียูรีเทนมานั้น บอกเลยว่าไม่สะทกสะท้านต่อเชื้อราแต่อย่างใด ยังใสกิ๊กเหมือนเดิม
และทั้งหมดนี่ก็คือ วิธีที่เราใช้กำจัดเชื้อรามาแล้วได้ผล ท่านไหนที่กำลังมีปัญหาคล้ายๆเรา ก็ลองนำไปใช้ได้นะคะ
เกือบลืมเลย อยากแนะนำว่า ถ้าท่านไหนเจอปัญหาแบบนี้ อย่าปล่อยทิ้งไว้นะคะ อันตรายต่อร่างกายและสุขภาพของท่านและคนในครอบครัวมากๆ ต้องรีบแก้โดยด่วนค่ะ
หมายเหตุ! สำหรับเราใช้วิธีนี้แล้วได้ผลจริงๆ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นประสิทธิภาพและประสิทธิผลก็อาจจะขึ้นอยู่กับเนื้อไม้และอาการป่วยของงานไม้ของท่านด้วยนะคะ
กำจัดเชื้อรากวนใจให้หมดไปจากชั้นหนังสือไม้อัดแบบถาวร ด้วยวิธีง่ายๆ
เราเป็นคนหนึ่งที่หนักใจกับปัญหาเชื้อราที่ชอบขึ้นชั้นหนังสือ อากาศชื้นทีไร เชื้อราเป็นต้องผุดขึ้นเต็มชั้นไม้อัดทุกที
เช็ดถูหรือดูแลดีแค่ไหนก็ไม่หมดสักที จนแอบคิดว่า หรือต้องโยนชั้นไม้ทิ้งดี?
ภาพข้างบนนี่คือ ก่อนแปลงโฉม
เห็นจุดๆ ปื้นๆเป็นแผ่นนั่นไหมคะ เชื้อราล้วนๆเลยค่ะ ในภาพอาจไม่ชัด แต่ของจริงนี่หนามากๆ เยอะมากๆ เราใช้ผ้าชุบน้ำยาถูไปแค่สองวันเท่านั้น เชื้อราเจ้ากรรมก็ผุดขึ้นมาอีก
ช่วงแรกๆก็ไม่เท่าไร แต่ปล่อยนานครั้งไปก็มีแต่จะเพิ่มปริมาณขึ้น เห็นแล้วกลุ้มใจสุดๆ
ปกติเวลาเช็ด เราจะยกหนังสือออกมาทั้งหมดก่อนทุกครั้ง กินแรงมาก หนังสือก็ไม่ใช่เบาๆ แล้วเวลายกออกนี่คือ ต่อให้เบามือแค่ไหน เชื้อราเขียวๆนี่มันก็ฟุ้งอยู่ดี ยิ่งอยู่ในห้องนอนอีก เป็นอันตรายต่อร่างกายมากๆ ตายผ่อนส่งชัดๆ
บ้านเราเป็นบ้านพักข้าราชการค่ะ สภาพเก่ามากๆ อายุหลายสิบปีแล้ว จะพังแหล่มิพังแหล่ ปรับปรุงไม่ได้ ต้องรื้อสร้างใหม่เท่านั้น แต่งบประมาณมาไม่ถึงสักที (อุ๊ปส์ ไม่เอาไม่พูด) แล้วพอฤดูฝน ฝนตกติดต่อกันหลายๆวัน ชั้นหนึ่งจะชื้นมาก ยิ่งเป็นอาหารให้เชื้อราอีก
เป็นอย่างนี้มาสองเดือน จนเชื้อราฝังลึกเข้าในเนื้อไม้ แค่เช็ดถูคงไม่ไหวแล้ว หนักกว่านั้นคือหนังสือจะขึ้นราไปด้วย โอย รับไม่ได้ๆ
ก็เลยหาวิธีกำจัด หาข้อมูลใน Pantip บ้าง เว็บไซต์อื่นๆบ้าง สุดท้ายปรึกษาคุณพ่อ ท่านเลยจัดวิธีนี้ให้ค่ะ
นั่นก็คือการทาแล็กเกอร์ เป็นวิธีเบสิค ที่หลายท่านคุ้นชินกันดี แต่จะบอกว่ามันได้ผลจริงๆค่ะ
อุปรณ์ที่เราใช้ จะมีดังต่อไปนี้ (คุณพ่อซื้อมาให้เลยค่ะ)
1. แล็กเกอร์ ของ เบเยอร์ 1 แกลลอน
2. โพลียูรีเทน ของ TOA 1 แกลลอน
สองข้อแรกนี่เป็นปริมาณที่เราใช้กับชั้นไม้สูงสองเมตร ทาเสร็จแล้วยังเหลือเยอะเลยค่ะ
3. แปรงทาสี ขนาดที่เหมาะใช้ทางานไม้ที่เราจะทา
4. ทินเนอร์ (ข้อนี้จะมีหรือไม่ก็ได้ค่ะ เพราะเอาไว้ใช้ล้างแปรงหลังใช้งาน เพราะถ้าไม่ล้าง ขนแปรงแข็งโป๊กแน่)
(ปล. ท่านอื่นจะใช้เป็นยี่ห้อไหนก็ได้นะคะ แต่ของเรา คุณพ่อซื้อมาให้ค่ะ และ แล็กเกอร์, โพลียูรีเทนจะมีหลายสูตรด้วยกัน แนะนำให้ถามพนักงานขายก่อนว่า เราจะเอาไปใช้งานแบบนี้ ควรเลือกสูตรไหนดี ส่วนสูตรที่เราเลือกใช้ เราจำไม่ได้แล้วค่ะว่าใช้สูตรไหนบ้าง จำได้แค่ยี่ห้อ ต้องขออภัยจริงๆค่ะ)
การผสม
ให้เทส่วนผสมลงในภาชนะรองรับ โดยให้แล็กเกอร์มีอัตราส่วนน้อยกว่าโพลียูรีเทน คนให้เป็นเนื้อเดียวจะได้ส่วนผสมที่มีลักษณะหนืด ไม่เหลวเกินไป
เพราะการทาครั้งนี้เป็นการทาเพื่อให้ไม้อัดมีความหนาและแข็งกว่าการเคลือบเงาทั่วไป ป้องกันไม่ให้ความชื้นเข้าเนื้อไม้ และไม่ให้เชื้อราเกิดอีกค่ะ
ข้อควรระวัง! ไม่ควรเทผสมในครั้งเดียว เพราะมันระเหยเร็วมาก ควรผสมสักปริมาณหนึ่ง พอหมดแล้วค่อยเทผสมใหม่
วิธีการทา
- หาสถานที่โล่งๆ กลางแจ้งที่สามารถตากแดดได้ทั้งวัน (ควรเลือกทาในวันที่อากาศแจ่มใส อากาศร้อน แดดจ้าทั้งวัน)
- ก่อนทาก็เช็ดฝุ่นและเชื้อราออกให้หมด อย่าลืมใส่หน้ากากป้องกันด้วยนะคะ เพราะเราอาจสูดเอาพวกเชื้อราและสารระเหยเข้าไปได้
- การทาก็ง่ายๆเลยค่ะ เอาแปรงจุ่มแล้วก็ทาให้ทั่ว(ต้องให้ได้ทุกซอกทุกมุม) แต่ของเรานี่อย่าเรียกทาเลยค่ะ เรียกว่า "โบก" จะเหมาะกว่า 555555555 เพราะเราทาหลายชั้น หลายรอบมากๆ กลัวเชื้อราจะกลับมาอีก
- ในการทาแต่ละรอบ ต้องปล่อยให้แห้งสนิทก่อนแล้วจึงทาทับซ้ำ(ไม่ต้องห่วงว่าจะรอนาน เพราะมันแห้งเร็วมากค่ะ) ไม่อย่างนั้นชั้นผิวจะเกิดฟองอากาศเล็กๆ พื้นผิวออกมาจะไม่เรียบและจะทำให้ลอก
- หลังทาซ้ำจนพอใจแล้ว แนะนำทิ้งไว้ที่โล่งให้ลมโกรกก่อนเก็บเข้าบ้านอย่างต่ำหนึ่งชั่วโมง เพื่อไม่ให้มีกลิ่นฉุน
ข้อแนะนำ: การทาเพื่อป้องกันเชื้อราในเคสของเรานี้เป็นเคสที่เชื้อราหนามากและฝังลึกเข้าเนื้อไม้แล้ว เราจึงทาหลายรอบมากๆ ส่วนท่านที่ไม่หนักเท่าเรา ทาซ้ำสักสามรอบก็น่าจะพอ แต่ถ้าอยากให้ชัวร์ก็เอาตามสะดวกเลยค่ะ โบกโลด
และภาพนี้ก็คือหลังการทาเรียบร้อยแล้ว (ผ่านมาแล้วเกือบครึ่งเดือน)
เป็นอย่างไรบ้างคะ ของจริงนี่คือสะท้อนเงาเลยนะเออ วิ้งวับๆ (กอดอกภูมิใจ)
ผลหลังการทา
หลังทาได้สามวัน พายุระลอกใหม่ก็โหมซัดเข้าอีกรอบ ตกแทบจะ 24 ชั่วโมง อากาศชื้นสุดๆ แต่ว่าชั้นหนังสือที่เรานำไปโบกแล็กเกอร์และโพลียูรีเทนมานั้น บอกเลยว่าไม่สะทกสะท้านต่อเชื้อราแต่อย่างใด ยังใสกิ๊กเหมือนเดิม
และทั้งหมดนี่ก็คือ วิธีที่เราใช้กำจัดเชื้อรามาแล้วได้ผล ท่านไหนที่กำลังมีปัญหาคล้ายๆเรา ก็ลองนำไปใช้ได้นะคะ
เกือบลืมเลย อยากแนะนำว่า ถ้าท่านไหนเจอปัญหาแบบนี้ อย่าปล่อยทิ้งไว้นะคะ อันตรายต่อร่างกายและสุขภาพของท่านและคนในครอบครัวมากๆ ต้องรีบแก้โดยด่วนค่ะ
หมายเหตุ! สำหรับเราใช้วิธีนี้แล้วได้ผลจริงๆ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นประสิทธิภาพและประสิทธิผลก็อาจจะขึ้นอยู่กับเนื้อไม้และอาการป่วยของงานไม้ของท่านด้วยนะคะ