“แม้เราจะรู้แก่ใจว่าความโรแมนติกในหนังเป็นเรื่องแต่งขึ้น ไม่ใช่เรื่องจริง แต่เรากลับได้รับอิทธิพลในชีวิตจริงมากกว่าที่เราคิด”
นี่คือคำกล่าวของ Dr. Bjame Holmes นักจิตวิทยา หัวหน้าทีมวิจัยของสถาบันครอบครัวและความสัมพันธ์ แห่งมหาวิทยาลัย Heriot Watt University ที่ศึกษาผลกระทบของหนังฮอลีวูดประเภท Romantic Comedy ต่อจิตวิทยาของผู้ชม
โดยจากการศึกษาพบว่า ความโรแมนติกในหนัง สร้างอุดมคติความรัก และตีกรอบความคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของผู้ชมไม่มากก็น้อย
เช่น ผู้ชมมีแนวโน้มที่จะมองตัวเองเป็นจุดศูนย์กลางของความสัมพันธ์ (ตัวเอก) และคาดหวังว่าอีกฝ่ายจะเข้ามาเติมเต็ม มาแก้ไขปัญหาในชีวิต และรับเราได้ในทุกเรื่อง และเข้าใจเราทุกอย่าง โดยที่ไม่ต้องสื่อสารหรือปรับตัว
ในกลุ่มที่มีความสัมพันธ์แล้ว ผลกระทบเช่นนี้ อาจทำให้การรักษาความสัมพันธ์ในระยะยาวเป็นเรื่องยากขึ้น เพราะเป็นการคาดหวังให้อีกฝ่ายเข้าใจ และปรับตัวเข้าหา มากกว่าที่ตัวเองจะสื่อสารและปรับตัวเข้าหาอีกฝ่ายหรือในกลุ่มที่ยังไม่มีความสัมพันธ์ (และกำลังมองหา) อาจเป็นอุปสรรคในการเริ่มต้นความสัมพันธ์ ด้วยอิทธิพลของหนัง อาจส่งผลให้เกิดความคาดหวังต่อคนที่จะเข้ามาในชีวิต หรือลักษณะความสัมพันธ์ที่จะเกิดขึ้น ว่าควรเป็นใดแบบหนึ่ง ซึ่งอาจจะแย้งกับความเป็นจริง หรือเป็นไปได้ยาก
แนวความคิดนี้ ยังสอดคล้องกับ แนวความคิดของ Dr. Peter Strombergผู้เขียนหนังสือ Caught in Play: How Entertainment Works on You ที่ระบุว่า Romantic Realism หรือความโรแมนติกผ่านสื่อนั้น (ไม่ใช่แค่หนังหรือซีรีส์อย่างเดียว แต่ยังรวมถึงโฆษณา ภาพถ่าย การเล่าเรื่องราวผ่านสื่อ ฯลฯ) ส่งผลต่อจิตวิทยาของผู้ชมด้วย
โดยสื่อมักนำเสนอความจริงในรูปแบบที่ดีกว่า หรือแบบอุดมคติ เช่น ตัวเอกที่ดูดีกว่าคนอื่นในเรื่อง ภาพและบรรยากาศที่สวยกว่าปกติ แสงสีที่ลงตัวกว่า รวมถึงการใช้เพลง มุมกล้อง และเอฟเฟคต่าง ๆ เพื่อปลุกเร้าอารมณ์
สิ่งเหล่านี้อาจทำความจริงไม่สามารถสร้างความพึงพอใจได้เท่าที่ควรจะเป็น เช่น ไปเที่ยวทะเลกับคนที่รัก แต่รู้สึกโรแมนติกไม่พอ เพราะแดดร้อน หรือคนพลุกพล่าน หรือไม่ก็ทางใดทางหนึ่งที่ไม่ได้ลงตัวแบบในหนัง
ทั้งนี้ มีผู้เสนอความเห็นว่า อิทธิพลของหนังรักจะเป็นผลเสียก็ต่อเมื่อมีการนำแนวคิดนั้นไปบังคับใช้กับผู้อื่น แต่จะเป็นผลดีหากนำมาใช้กับตัวเอง เช่น ในคู่รักหญิง-ชายคู่หนึ่ง หากผู้ชายดูซีรีส์เกาหลี อาจจะซึมซับความเป็นสุภาพบุรุษมากขึ้น แต่หากเป็นผู้หญิงดูอยู่ฝ่ายเดียว อาจจะเกิดความคาดหวังในตัวผู้ชายสูงขึ้นกว่าความเป็นจริง และถ้าหากผู้ชายไม่สามารถทำตามความคาดหวังได้ ก็อาจจะเกิดปัญหา เป็นต้น
ที่มา
https://www.blockdit.com/posts/5ea571549ebc2a0c9caebb97
คุณโสด เพราะดูหนังรักโรแมนติกมากไป
นี่คือคำกล่าวของ Dr. Bjame Holmes นักจิตวิทยา หัวหน้าทีมวิจัยของสถาบันครอบครัวและความสัมพันธ์ แห่งมหาวิทยาลัย Heriot Watt University ที่ศึกษาผลกระทบของหนังฮอลีวูดประเภท Romantic Comedy ต่อจิตวิทยาของผู้ชม
โดยจากการศึกษาพบว่า ความโรแมนติกในหนัง สร้างอุดมคติความรัก และตีกรอบความคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของผู้ชมไม่มากก็น้อย
เช่น ผู้ชมมีแนวโน้มที่จะมองตัวเองเป็นจุดศูนย์กลางของความสัมพันธ์ (ตัวเอก) และคาดหวังว่าอีกฝ่ายจะเข้ามาเติมเต็ม มาแก้ไขปัญหาในชีวิต และรับเราได้ในทุกเรื่อง และเข้าใจเราทุกอย่าง โดยที่ไม่ต้องสื่อสารหรือปรับตัว
ในกลุ่มที่มีความสัมพันธ์แล้ว ผลกระทบเช่นนี้ อาจทำให้การรักษาความสัมพันธ์ในระยะยาวเป็นเรื่องยากขึ้น เพราะเป็นการคาดหวังให้อีกฝ่ายเข้าใจ และปรับตัวเข้าหา มากกว่าที่ตัวเองจะสื่อสารและปรับตัวเข้าหาอีกฝ่ายหรือในกลุ่มที่ยังไม่มีความสัมพันธ์ (และกำลังมองหา) อาจเป็นอุปสรรคในการเริ่มต้นความสัมพันธ์ ด้วยอิทธิพลของหนัง อาจส่งผลให้เกิดความคาดหวังต่อคนที่จะเข้ามาในชีวิต หรือลักษณะความสัมพันธ์ที่จะเกิดขึ้น ว่าควรเป็นใดแบบหนึ่ง ซึ่งอาจจะแย้งกับความเป็นจริง หรือเป็นไปได้ยาก
แนวความคิดนี้ ยังสอดคล้องกับ แนวความคิดของ Dr. Peter Strombergผู้เขียนหนังสือ Caught in Play: How Entertainment Works on You ที่ระบุว่า Romantic Realism หรือความโรแมนติกผ่านสื่อนั้น (ไม่ใช่แค่หนังหรือซีรีส์อย่างเดียว แต่ยังรวมถึงโฆษณา ภาพถ่าย การเล่าเรื่องราวผ่านสื่อ ฯลฯ) ส่งผลต่อจิตวิทยาของผู้ชมด้วย
โดยสื่อมักนำเสนอความจริงในรูปแบบที่ดีกว่า หรือแบบอุดมคติ เช่น ตัวเอกที่ดูดีกว่าคนอื่นในเรื่อง ภาพและบรรยากาศที่สวยกว่าปกติ แสงสีที่ลงตัวกว่า รวมถึงการใช้เพลง มุมกล้อง และเอฟเฟคต่าง ๆ เพื่อปลุกเร้าอารมณ์
สิ่งเหล่านี้อาจทำความจริงไม่สามารถสร้างความพึงพอใจได้เท่าที่ควรจะเป็น เช่น ไปเที่ยวทะเลกับคนที่รัก แต่รู้สึกโรแมนติกไม่พอ เพราะแดดร้อน หรือคนพลุกพล่าน หรือไม่ก็ทางใดทางหนึ่งที่ไม่ได้ลงตัวแบบในหนัง
ทั้งนี้ มีผู้เสนอความเห็นว่า อิทธิพลของหนังรักจะเป็นผลเสียก็ต่อเมื่อมีการนำแนวคิดนั้นไปบังคับใช้กับผู้อื่น แต่จะเป็นผลดีหากนำมาใช้กับตัวเอง เช่น ในคู่รักหญิง-ชายคู่หนึ่ง หากผู้ชายดูซีรีส์เกาหลี อาจจะซึมซับความเป็นสุภาพบุรุษมากขึ้น แต่หากเป็นผู้หญิงดูอยู่ฝ่ายเดียว อาจจะเกิดความคาดหวังในตัวผู้ชายสูงขึ้นกว่าความเป็นจริง และถ้าหากผู้ชายไม่สามารถทำตามความคาดหวังได้ ก็อาจจะเกิดปัญหา เป็นต้น
ที่มา https://www.blockdit.com/posts/5ea571549ebc2a0c9caebb97