หลังยุ่นหันซบญวน-มาเลย์ กกร.กระทุ้งรัฐชี้ขาดเข้าร่วม CPTPP
https://www.thairath.co.th/news/business/market-business/1947835
“กกร.” มองทิศทางส่งออกเริ่มกระเตื้อง ปรับเป้าหมายการส่งออกปีนี้ อยู่ที่ติดลบ 8%– ติดลบ 10% จากเดิม ติดลบ 10%– ติดลบ 12% แต่ยังคงกรอบการเติบโตทางเศรษฐกิจ เท่าเดิมที่ ติดลบ 7%– ติดลบ 9% โดยต้องอยู่บนพื้นฐานที่โควิดไม่ระบาดรอบ 2 จ่อชงประเด็นเร่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจในเวที กรอ. พร้อมศึกษา CPTPP เชิงลึกหลังญี่ปุ่นส่งสัญญาณชัด เลือกลงทุนไปเวียดนามและมาเลเซียเป็นอันดับต้นๆ
นาย
กลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ทำหน้าที่ประธานที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เปิดเผยว่า กกร.ได้มีการปรับเป้าหมายการคาดการณ์การส่งออกปีนี้ใหม่ จากเดิมที่คาดว่าจะอยู่ที่ ติดลบ 10%- ติดลบ 12% เป็นติดลบ 8- ติดลบ 10% เนื่องจากการส่งออกเริ่มทยอยฟื้นตัวมากขึ้น แต่ยังคงกรอบการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ปีนี้ที่กรอบตัวเลขติดลบ 7% - ติดลบ 9% และอัตราเงินเฟ้อทั่วไป คาดว่าอยู่ในกรอบ เดิมคือติดลบ 1% - ติดลบ 1.5%
“เศรษฐกิจของประเทศไทยขณะนี้ ได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และเริ่มทยอยดีขึ้นตามลำดับ หากไม่เกิดการระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ในประเทศไทย หรือสามารถควบคุมการระบาดให้อยู่ในวงจำกัดได้ คาดว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสที่ 4 จะฟื้นตัวได้ต่อไป แต่ยังคงต้องการการสนับสนุน จากมาตรการของรัฐที่ต่อเนื่องและตรงจุดเป้าหมาย”
ทั้งนี้ กกร.ได้เสนอให้มีการต่ออายุมาตรการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ อาทิ มาตรการชะลอการคืนเงินกู้ โดยขอให้ครอบคลุม ตามความเหมาะสมของผู้ประกอบการแต่ละประเภท, การลดเก็บภาษีน้ำมันเครื่องบิน และเร่งรัดซอฟท์โลน ของสายการบินต่างๆ เป็นต้น
ล่าสุด กกร., สภาธุรกิจตลาดทุนไทย, สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันจัดทำข้อเสนอด้านเศรษฐกิจ เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) ในเร็วๆนี้ ซึ่งประเด็นดังกล่าว เป็นประเด็นที่ได้เคยหารือกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ไปแล้ว อาทิ ด้านการค้า การลงทุน, การจ้างงาน, การช่วยเหลือเอสเอ็มอี, โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล เป็นต้น เพื่อให้การแก้ปัญหาเศรษฐกิจทำได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืนมากขึ้น
นอกจากนี้ กกร.ยังได้มีการหารือถึงแนวทางการจัดจ้าง ที่ปรึกษามาวิเคราะห์ถึงข้อดีและข้อเสียของประเทศไทยต่อการเข้าร่วมข้อตกลงความครอบคลุมและความก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนทางการค้าภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (CPTPP) ที่เป็นเชิงลึกแต่ละอุตสาหกรรมอีกครั้ง โดยล่าสุดนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ของญี่ปุ่น ได้ระบุชัดเจนถึงท่าทีการลงทุนต่างประเทศที่ต้องการเลือกเข้าไปลงทุนในเวียดนาม และมาเลเซียเป็นอันดับต้นๆ ซึ่งเมื่อสอบถามกับนักธุรกิจญี่ปุ่นในไทย ต่างชี้ชัดว่าเหตุผลหลักที่เลือก เพราะมี CPTPP ดังนั้น เรื่องดังกล่าวจึงต้องเร่งสรุปเพื่อที่จะประกอบการนำเสนอ ให้รัฐบาลไทยตัดสินใจการเข้าร่วมเจรจาในปี 2564 หลังจากที่ประเทศไทย ไม่สามารถเข้าร่วมเจรจาได้ทันในปีนี้
นาย
สุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า แนวโน้มการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ล่าสุดเริ่มฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่ก็จำเป็นที่รัฐบาลจะต้องมีมาตรการในการช่วยเหลือให้ต่อเนื่องทั้งด้านสภาพคล่อง ที่ยอมรับว่ายังเป็นปัญหาหลัก สำหรับธุรกิจเอสเอ็มอี นอกจากนี้ ต้องมีการกระตุ้นกำลังซื้อในประเทศให้เกิดขึ้นต่อเนื่อง และในส่วนของภาคแรงงาน พบว่า การจ้างงานยังฟื้นตัวช้า เนื่องจากแรงงานที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคมส่วนใหญ่ อยู่ในภาคการท่องเที่ยว ที่ขณะนี้ยังไม่ดีขึ้นนักเพราะต่างชาติยังไม่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย.
"หญิงหน่อย" เจอเอง คู-คลองโครงข่ายระบายน้ำกทม. ตื้นเขิน เต็มไปด้วย ขยะ-ต้มไม้รก
https://www.matichon.co.th/politics/news_2384603
“หญิงหน่อย” เจอเอง คู-คลองโครงข่ายระบายน้ำกทม. ตื้นเขิน เต็มไปด้วย ขยะ-ต้มไม้รก
เมื่อวันที่ 8 ต.ค. คุณหญิง
สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ แกนนำพรรคเพื่อไทย อดีตประธานยุทธศาสตร์พรรคโพสต์ข้อความแสดงความเห็น ปัญหาน้ำท่วมกทม. ระบุว่า
พายุกำลังจะเข้ากรุงเทพในช่วง2-3วันนี้ พวกเราชาวกรุงเทพคงจะต้องเผชิญทุกข์ กับสภาวะน้ำท่วม รถติดกันอีกครั้ง จึงควรต้องเตรียมแผนชีวิตและการเดินทางกันไว้ล่วงหน้านะคะ ไม่จำเป็นอย่านัดหมายตอนเย็นจะดีที่สุด
คำถามที่คนกรุงเทพอยากรู้คือ ทำไมต้องทนทุกข์ซ้ำซากกับฝนตกทุกครั้ง น้ำท่วมทุกครั้ง
ตามมาด้วยการต้องทนนั่งติดแหงกอยู่บนถนนครั้งละ 2-3 ชม.
โดยไม่รู้อนาคต ว่าเมื่อไหร่จะดีขึ้นสักที
อย่างที่ดิฉันได้เคย แสดงความห่วงใยไปก่อนหน้านี้ว่า การระบายน้ำท่วมในกรุงเทพ นอกเหนือจากการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ที่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก อย่างอุโมงค์ยักษ์แล้ว
โครงข่ายระบบระบายน้ำ ทั่วกรุงเทพถือเป็นปัจจัยสำคัญในการระบายน้ำฝน ไม่ให้ท่วมขังตามถนนหนทาง ตั้งแต่ท่อระบายน้ำในถนนสายหลักสายรอง ตรอกซอย จนไปถึงคูคลองก่อนลงแม่น้ำเจ้าพระยา ต้องถูกขุดลอกให้แล้วเสร็จ ก่อนที่ฤดูฝนจะมาถึงของทุกปี
ในสมัยที่เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยดูแลรับผิดชอบงานกรุงเทพมหานคร ดิฉันจะให้ขุดลอกท่อระบายน้ำ และคูคลองต่างๆให้แล้วเสร็จก่อนเดือนพฤษภาคม เพื่อประสิทธิภาพการระบายน้ำไม่ให้น้ำท่วม กรุงเทพ
เมื่อวานก่อน ดิฉันเลยชวนทีมสส. และอดีตสก. ไปลุยดูคูคลองในเขตลาดพร้าว บางเขน ก็พบปัญหาค่ะ
ตามภาพ จะเห็นว่าคูคลองที่เป็นโครงข่ายทางระบายน้ำ ตื้นเขินเต็มไปด้วยขยะและต้นไม้รก ขวางการระบายน้ำจากถนนใหญ่ลงสู่คลองสายหลัก ก่อนลงแม่น้ำเจ้าพระยา
ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อได้เดินพูดคุยสอบถามกับพี่น้องประชาชน ก็พบ2-3ปีที่ผ่านมาไม่มีการลอกท่อระบายน้ำในตรอกซอยที่เชื่อมระบบระบายน้ำลงคลอง
การ “พร่องการบริหารจัดการ” ในการรับมือกับน้ำท่วม เป็นสิ่งที่ต้องเร่งแกไข โดยเฉพาะการขุดลอกท่อระบายน้ำ และคูคลอง ก่อนถึงฤดูฝน เพื่อให้การลำเลียง #นำ้รอระบาย จากถนนใหญ่ลงสู่คลอง หรืออุโมงค์ ให้รวดเร็ว
https://www.facebook.com/sudaratofficial/posts/3371156302963139
JJNY : หลังยุ่นซบญวน-มาเลย์ กกร.กระทุ้งชี้ขาดร่วมCPTPP/หญิงหน่อยเจอคู-คลองตื้นเขิน/ทั่วโลกติดโควิด36.3ล./ติดเชื้อใหม่7
https://www.thairath.co.th/news/business/market-business/1947835
นายกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ทำหน้าที่ประธานที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เปิดเผยว่า กกร.ได้มีการปรับเป้าหมายการคาดการณ์การส่งออกปีนี้ใหม่ จากเดิมที่คาดว่าจะอยู่ที่ ติดลบ 10%- ติดลบ 12% เป็นติดลบ 8- ติดลบ 10% เนื่องจากการส่งออกเริ่มทยอยฟื้นตัวมากขึ้น แต่ยังคงกรอบการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ปีนี้ที่กรอบตัวเลขติดลบ 7% - ติดลบ 9% และอัตราเงินเฟ้อทั่วไป คาดว่าอยู่ในกรอบ เดิมคือติดลบ 1% - ติดลบ 1.5%
“เศรษฐกิจของประเทศไทยขณะนี้ ได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และเริ่มทยอยดีขึ้นตามลำดับ หากไม่เกิดการระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ในประเทศไทย หรือสามารถควบคุมการระบาดให้อยู่ในวงจำกัดได้ คาดว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสที่ 4 จะฟื้นตัวได้ต่อไป แต่ยังคงต้องการการสนับสนุน จากมาตรการของรัฐที่ต่อเนื่องและตรงจุดเป้าหมาย”
ทั้งนี้ กกร.ได้เสนอให้มีการต่ออายุมาตรการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ อาทิ มาตรการชะลอการคืนเงินกู้ โดยขอให้ครอบคลุม ตามความเหมาะสมของผู้ประกอบการแต่ละประเภท, การลดเก็บภาษีน้ำมันเครื่องบิน และเร่งรัดซอฟท์โลน ของสายการบินต่างๆ เป็นต้น
ล่าสุด กกร., สภาธุรกิจตลาดทุนไทย, สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันจัดทำข้อเสนอด้านเศรษฐกิจ เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) ในเร็วๆนี้ ซึ่งประเด็นดังกล่าว เป็นประเด็นที่ได้เคยหารือกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ไปแล้ว อาทิ ด้านการค้า การลงทุน, การจ้างงาน, การช่วยเหลือเอสเอ็มอี, โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล เป็นต้น เพื่อให้การแก้ปัญหาเศรษฐกิจทำได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืนมากขึ้น
นอกจากนี้ กกร.ยังได้มีการหารือถึงแนวทางการจัดจ้าง ที่ปรึกษามาวิเคราะห์ถึงข้อดีและข้อเสียของประเทศไทยต่อการเข้าร่วมข้อตกลงความครอบคลุมและความก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนทางการค้าภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (CPTPP) ที่เป็นเชิงลึกแต่ละอุตสาหกรรมอีกครั้ง โดยล่าสุดนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ของญี่ปุ่น ได้ระบุชัดเจนถึงท่าทีการลงทุนต่างประเทศที่ต้องการเลือกเข้าไปลงทุนในเวียดนาม และมาเลเซียเป็นอันดับต้นๆ ซึ่งเมื่อสอบถามกับนักธุรกิจญี่ปุ่นในไทย ต่างชี้ชัดว่าเหตุผลหลักที่เลือก เพราะมี CPTPP ดังนั้น เรื่องดังกล่าวจึงต้องเร่งสรุปเพื่อที่จะประกอบการนำเสนอ ให้รัฐบาลไทยตัดสินใจการเข้าร่วมเจรจาในปี 2564 หลังจากที่ประเทศไทย ไม่สามารถเข้าร่วมเจรจาได้ทันในปีนี้
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า แนวโน้มการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ล่าสุดเริ่มฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่ก็จำเป็นที่รัฐบาลจะต้องมีมาตรการในการช่วยเหลือให้ต่อเนื่องทั้งด้านสภาพคล่อง ที่ยอมรับว่ายังเป็นปัญหาหลัก สำหรับธุรกิจเอสเอ็มอี นอกจากนี้ ต้องมีการกระตุ้นกำลังซื้อในประเทศให้เกิดขึ้นต่อเนื่อง และในส่วนของภาคแรงงาน พบว่า การจ้างงานยังฟื้นตัวช้า เนื่องจากแรงงานที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคมส่วนใหญ่ อยู่ในภาคการท่องเที่ยว ที่ขณะนี้ยังไม่ดีขึ้นนักเพราะต่างชาติยังไม่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย.
"หญิงหน่อย" เจอเอง คู-คลองโครงข่ายระบายน้ำกทม. ตื้นเขิน เต็มไปด้วย ขยะ-ต้มไม้รก
https://www.matichon.co.th/politics/news_2384603
“หญิงหน่อย” เจอเอง คู-คลองโครงข่ายระบายน้ำกทม. ตื้นเขิน เต็มไปด้วย ขยะ-ต้มไม้รก
เมื่อวันที่ 8 ต.ค. คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ แกนนำพรรคเพื่อไทย อดีตประธานยุทธศาสตร์พรรคโพสต์ข้อความแสดงความเห็น ปัญหาน้ำท่วมกทม. ระบุว่า
พายุกำลังจะเข้ากรุงเทพในช่วง2-3วันนี้ พวกเราชาวกรุงเทพคงจะต้องเผชิญทุกข์ กับสภาวะน้ำท่วม รถติดกันอีกครั้ง จึงควรต้องเตรียมแผนชีวิตและการเดินทางกันไว้ล่วงหน้านะคะ ไม่จำเป็นอย่านัดหมายตอนเย็นจะดีที่สุด
คำถามที่คนกรุงเทพอยากรู้คือ ทำไมต้องทนทุกข์ซ้ำซากกับฝนตกทุกครั้ง น้ำท่วมทุกครั้ง
ตามมาด้วยการต้องทนนั่งติดแหงกอยู่บนถนนครั้งละ 2-3 ชม.
โดยไม่รู้อนาคต ว่าเมื่อไหร่จะดีขึ้นสักที
อย่างที่ดิฉันได้เคย แสดงความห่วงใยไปก่อนหน้านี้ว่า การระบายน้ำท่วมในกรุงเทพ นอกเหนือจากการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ที่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก อย่างอุโมงค์ยักษ์แล้ว
โครงข่ายระบบระบายน้ำ ทั่วกรุงเทพถือเป็นปัจจัยสำคัญในการระบายน้ำฝน ไม่ให้ท่วมขังตามถนนหนทาง ตั้งแต่ท่อระบายน้ำในถนนสายหลักสายรอง ตรอกซอย จนไปถึงคูคลองก่อนลงแม่น้ำเจ้าพระยา ต้องถูกขุดลอกให้แล้วเสร็จ ก่อนที่ฤดูฝนจะมาถึงของทุกปี
ในสมัยที่เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยดูแลรับผิดชอบงานกรุงเทพมหานคร ดิฉันจะให้ขุดลอกท่อระบายน้ำ และคูคลองต่างๆให้แล้วเสร็จก่อนเดือนพฤษภาคม เพื่อประสิทธิภาพการระบายน้ำไม่ให้น้ำท่วม กรุงเทพ
เมื่อวานก่อน ดิฉันเลยชวนทีมสส. และอดีตสก. ไปลุยดูคูคลองในเขตลาดพร้าว บางเขน ก็พบปัญหาค่ะ
ตามภาพ จะเห็นว่าคูคลองที่เป็นโครงข่ายทางระบายน้ำ ตื้นเขินเต็มไปด้วยขยะและต้นไม้รก ขวางการระบายน้ำจากถนนใหญ่ลงสู่คลองสายหลัก ก่อนลงแม่น้ำเจ้าพระยา
ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อได้เดินพูดคุยสอบถามกับพี่น้องประชาชน ก็พบ2-3ปีที่ผ่านมาไม่มีการลอกท่อระบายน้ำในตรอกซอยที่เชื่อมระบบระบายน้ำลงคลอง
การ “พร่องการบริหารจัดการ” ในการรับมือกับน้ำท่วม เป็นสิ่งที่ต้องเร่งแกไข โดยเฉพาะการขุดลอกท่อระบายน้ำ และคูคลอง ก่อนถึงฤดูฝน เพื่อให้การลำเลียง #นำ้รอระบาย จากถนนใหญ่ลงสู่คลอง หรืออุโมงค์ ให้รวดเร็ว
https://www.facebook.com/sudaratofficial/posts/3371156302963139