วิธีที่ใช้ในการบุกเบิกตลาดโลกของ Vtuber ญี่ปุ่นนั้นเรียบง่ายมาก ก็ให้ Vtuber สื่อสารด้วยภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาที่ใช้แพร่หลายทั่วโลกสิ แต่ก็อย่างที่หลายคนรู้ดีคือชาวญี่ปุ่นส่วนมากนั้นมักสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษไม่ค่อยดี
จากบทความ “The Weird Truth Behind Why Japanese People Can’t Speak English” นั้นได้อธิบายสาเหตุที่ชาวญี่ปุ่นสื่อสารภาษาอังกฤษไม่ค่อยได้นั้นมาจากรูปแบบการศึกษาที่เน้นอ่านและเขียนมากกว่าประกอบกับโครงสร้างสังคมและการใช้อักษรคาตาคานะในการออกเสียงภาษาอังกฤษที่ทำให้การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษนั้นด้อยความจำเป็นลงจนไม่จำเป็นต้องฝึกฝนการใช้ภาษาอังกฤษก็ได้
ผู้อ่านสามารถอ่านบทความเต็มได้ที่ Link ข้างล่าง
https://livejapan.com/en/in-tokyo/in-pref-tokyo/in-tokyo_suburbs/article-a0002216/
ถ้าเป็นเมื่อสัก 20 ปีก่อน การบุกเบิกตลาดต่างประเทศด้วยภาษาอังกฤษนั้นคงเป็นไปได้ยากและต้องใช้เวลาในการพัฒนาบุคลากร ต้องขอบคุณโลกาภิวัตน์, internet และการเดินทางด้วยเครื่องบินที่ทำให้เป้าหมายนี้เป็นไปได้
ด้วยโลกาภิวัตน์และการเดินทางด้วยเครื่องบินทำให้ชาวญี่ปุ่นจำนวนมากเดินทางไปตั้งรกรากที่ประเทศอื่นรวมถึงชาวต่างชาติเองที่เดินทางเข้ามาทำงานแล้วตั้งรกรากสร้างครอบครัวกับชาวญี่ปุ่น นี่ทำให้ชาวญี่ปุ่นลูกครึ่งจำนวนไม่น้อยเกิดหรืออาศัยในสภาพแวดล้อมที่หลุดจากข้อจำกัดในการพัฒนาภาษาอังกฤษทั้งในทางสังคมและวัฒนธรรม ทักษะการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษของคนญี่ปุ่นกลุ่มนี้จึงอยู่ในระดับที่ใช้สื่อสารจริงได้และครบทั้งฟัง พูด อ่าน เขียน แถมเจ้าตัวยังคงสามารถสื่อสารด้วยภาษาญี่ปุ่นได้อีกด้วย คนเหล่านี้คือบุคลากรชั้นดีในการบุกตลาดโลกของบริษัท Vtuber ญี่ปุ่น
ส่วน internet ก็ช่วยให้การหา Vtuber หน้าใหม่ที่มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการนั้นทำได้ง่ายขึ้นโดยการส่งแมวมองไปยังกลุ่ม Steamer ที่โชว์เล่นเกม, ร้องเพลงหรือทำกิจกรรมการแสดงต่าง ๆ แบบ Live สดแล้วชักชวนคนที่มีแววมาเข้าสังกัด อีกทั้ง internet ยังช่วยอำนวยความสะดวกให้ Vtuber สามารถทำรายการได้โดยไม่ต้องมาที่สำนักงานหรือย้ายถิ่นฐานรวมถึงเป็นช่องทางในการติดต่อประสานงานกับสังกัดอีกด้วย (Vtuber หลายคนไม่ได้อยู่ที่ญี่ปุ่น)
การที่ Vtuber ชาวญี่ปุ่นสื่อสารโดยการใช้ภาษาอังกฤษนั้นผู้เขียนไม่มีข้อมูลว่าเริ่มต้นครั้งแรกเมื่อไหร่แต่ครั้งที่เป็นที่ฮือฮาที่สุดครั้งหนึ่งคือการปรากฏตัวของ Vtuber ชื่อ Sakura Fujima ซึ่งเปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2018 ที่ตัว Vtuber เองนั้นเป็นชาวญี่ปุ่นแต่สามารถพูดสื่อสารภาษาอังกฤษได้คล่อง สาเหตุนั้นมาจากการที่เธอเป็นชาวญี่ปุ่นที่เติบโตในอเมริกานั้นเอง
ผู้อ่านสามารถดูวิดีโอเปิดตัวของ Sakura Fujima ได้ที่ Link ข้างล่าง
https://www.youtube.com/watch?v=IrqXCa6BxWM&list=FLSNZ-2e3zCbkrPydVLtVRpQ&index=59
การทำตลาดในต่างประเทศของ Vtuber ญี่ปุ่นในช่วงแรกนั้นยังไม่ได้รุกตลาดอย่างจริงจังนักโดยใช้วิธีให้ Vtuber ญี่ปุ่นที่สื่อสารภาษาอังกฤษได้ดีอยู่แล้ว (ส่วนใหญ่เป็นลูกครึ่งญี่ปุ่นตามที่เคยกล่าวไว้ แต่มาทำงานเป็น Vtuber ภาษาญี่ปุ่น) แบ่งเวลาช่วงหนึ่งออกมาทำรายการภาคภาษาอังกฤษออกอากาศ คาดว่าเพื่อเป็นการทดสอบและลองตลาดเพื่อดูผลตอบรับก่อน
แต่ขณะเดียวกันในช่วงปี 2019 – 2020 นั้นคู่แข่งในตลาด Vtuber ภาษาอังกฤษก็เริ่มเกิดขึ้นมาเรื่อย ๆ โดยเฉพาะ Vtuber อิสระเนื่องจากการที่เทคโนโลยีในการสร้างโมเดล Vtuber ด้วย Live 2D หรือ Animojo นั้นราคาถูกลงมากอีกทั้งเครื่องมือและทักษะในการสร้าง Vtuber โมเดลก็แพร่หลายจนสามารถหาเครื่องมือและศึกษาวิธีการสร้างโมเดลได้ด้วยตนเอง ทำให้จำนวน Vtuber ภาษาอังกฤษในตลาดเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยยังไม่รวมถึงการเกิด Vtuber อิสระที่สื่อสารด้วยภาษาท้องถิ่นที่มาแย่งส่วนแบ่งตลาดโลกออกไปอีก
ผู้เขียนคาดว่าการระบาดของโควิท 19 ที่ทำให้ผู้คนต้องกักตัวอยู่แต่ในบ้านเองก็มีส่วนอย่างมากในการทำให้เกิด Vtuber หน้าใหม่จำนวนมากในช่วงปี 2020
จุดเปลี่ยนสำคัญในวงการ Vtuber ญี่ปุ่นคือ Hololive Production หรือมักเรียกสั้น ๆ ว่า Hololive ซึ่งเป็นภาคธุรกิจหนึ่งของบริษัท Cover Corp ที่เน้นธุรกิจ Vtuber โดยเฉพาะได้เปิดตัว Hololive EN หรือ Hololive ภาคภาษาอังกฤษโดยเฉพาะขึ้น
ข้อสังเกตที่ผู้เขียนมีต่อ Hololive EN คือ นี่เป็นการที่บริษัทญี่ปุ่นเริ่มบุกตลาดภาคภาษาอังกฤษอย่างเต็มตัวเป็นครั้งแรกซึ่งถือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างแปลกใหม่มากสำหรับบริษัทญี่ปุ่นที่มักจะมุ่งเน้นแต่ตลาดภาษาญี่ปุ่นเป็นอันดับแรกหรือเจาะตลาดรายพื้นที่ไป เช่น Hololive China ซึ่งเปิดตัวไปเมื่อช่วงเดือนกันยายน 2019 หรือ Hololive Indonesia ที่เปิดตัวไปเมื่อเดือนเมษายน 2020 ที่ผ่านมา
ถึงแม้ Vtuber ในโครงการเหล่านี้นอกจากภาษาท้องถิ่นแล้วยังสามารถสื่อสารภาษาญี่ปุ่นรวมถึงภาษาอังกฤษและภาษาอื่น ๆ ได้อีกด้วยแต่ก็ไม่ได้เน้นการทำรายการด้วยภาษาอังกฤษแบบเต็มตัว ผิดกับ Hololive EN ที่การทำรายการด้วยภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาสากลเป็นหลักและมุ่งเน้นไปที่ตลาดใหญ่ระดับ World Wide โดยเหล่า Vtuber ภาคภาษาอังกฤษในสังกัดนั้นได้ทยอยเปิดตัวกันไปเมื่อช่วงวันที่ 12 ถึง 13 กันยายน 2020 ที่ผ่านมาและได้รับการตอบรับจากผู้ชมอย่างดี ซึ่ง ณ เวลาที่เขียนบทความนี้ Hololive EN เป็นกลุ่ม Vtuber ญี่ปุ่นเพียงกลุ่มเดียวที่สื่อสารด้วยภาษาอังกฤษเป็นหลัก
ขณะที่คู่แข่งอย่างเช่น Nijisanji แม้จะเปิดตัวช่อง NIJISANJI English ไปเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2020 ที่ผ่านมาแต่ก็ไม่ได้เป็นการก่อตั้งกลุ่ม Vtuber English แต่อย่างไร เป็นเพียงการนำเทปบันทึกภาพของ Vtuber ในสังกัดมาใส่คำบรรยายภาษาอังกฤษแทน (Official English Subtitles)
ผลตอบรับต่อ Hololive EN นั้นถือว่าน่าประทับใจ ภายในเวลาเพียง 18 วัน เหล่า Vtuber ญี่ปุ่นภาคภาษาอังกฤษกลุ่มนี้ได้รับยอดการกดติดตามหรือ Subscribe เฉลี่ยสูงถึง 343,000 บัญชีต่อคน โดย Vtuber ที่ได้รับการกดติดตามน้อยที่สุดนั้นมียอดอยู่ที่ 248,000 บัญชีและผู้ที่ได้รับการกดติดตามมากที่สุดอยู่ที่ 531,000 บัญชี
ไม่เพียงการตอบรับและยอดผู้ติดตามที่น่าพอใจเท่านั้น รายได้จากช่องทาง Donate เองก็น่าประทับใจเช่นกัน
Youtube ช่อง WooHooLad ซึ่งเป็นช่องเล่าข่าวเกี่ยวกับ Vtuber ได้พูดถึงยอดการ Donate อย่างน่าสนใจว่า Gori Calliope หนึ่งในสมาชิก Hololive EN นั้นมียอดการ Donate ผ่าน Super Chat สูงสุดในช่วง 13-20 กันยายนที่ผ่านมาโดยมีการ Donate ให้เธอมากถึง 49,429 USD ( 1.581 ล้านบาทที่ 1US เท่ากับ 32 บาท ) ทำให้เธอกลายคน Vtuber ที่มีคน Donate ให้มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ในช่วงเวลาดังกล่าว ชนะแม้แต่ Hololive ญี่ปุ่นรุ่นพี่อย่าง Uruha Rushia และที่น่าสังเกตคืออันดับที่ 3 และ 4 ก็มาจาก Hololive EN เช่นเดียวกัน
ผู้อ่านสามารถดูคลิปข่าวดังกล่าวได้ที่ Link ข้างล่าง
https://www.youtube.com/watch?v=l84vokr-acs
Hololive EN ได้พิสูจน์แล้วว่าตลาดโลกคือบ่อทองแห่งใหม่ของวงการ
ถึงแม้ว่า Hololive EN จะมีผลตอบรับและความนิยมที่ดีอย่างมากแต่ในระยะยาวนั้นผลกระทบจากความแตกต่างทางความคิดและวัฒนธรรมย่อมต้องมีการสะท้อนกลับมาอย่างแน่นอน ซึ่งเพียงไม่นานหลังการเปิดตัว Hololive EN ก็เกิดขึ้นจริง ๆ และยังทำให้ความเห็นทางลบต่อ Vtuber เริ่มปรากฏขึ้นมาให้เห็นในสังคม
Hololive EN นั้นเปิดตัวด้วย Vtuber จำนวน 5 คนโดยหนึ่งในนั้นคือ Vtuber ที่ชื่อว่า Gawr Gura (กวาว กู-รา)
ด้วยรูปลักษณ์ของเธอนี่เองทำให้เกิดการปะทะทางความคิดและวัฒนธรรมขึ้น
หลังจากการเปิดตัวของ Gawr Gura ได้มี Youtuber คนหนึ่งเผยแพร่วิดีโอโดยโจมตีการออกแบบรูปลักษณ์ของ Gura ที่มีลักษณะเหมือนเด็กผู้หญิงว่าเป็นการส่งเสริมให้เกิดความใคร่เด็กและเป็นการสนับสนุนกลุ่มผู้ใคร่เด็ก ซึ่งทำให้มีผู้ที่ไม่เห็นด้วยเข้าไปแสดงความเห็นค้านและกด Dislike วิดีโอของเธอเป็นจำนวนมาก
เรื่องราวดราม่าเกี่ยวกับ Gawr Gura มีผู้สรุปเรื่องราวไว้มากมายใน internet หนึ่งในนั้นคือเว็ปข่าวเกมและการ์ตูนภาษาไทย www.online-station.net ผู้อ่านสามารถอ่านบทความดังกล่าวของ www.online-station.net ได้ที่ Link ข้างล่าง
https://www.online-station.net/anime/view/175311?fbclid=IwAR1WMHYM-swphNdmZiVuUDLXrsJ52eKkMoq2WtTahLe-tVoF9dIfCBnSL68
ซึ่งนี้เป็นหนึ่งในปัญหาทางความคิดและวัฒนธรรมเพราะในสังคมตะวันตกนั้นจะอ่อนไหวต่อเรื่องการคุกคามทางเพศกับผู้เยาว์อย่างมาก หลายประเทศแถบตะวันตกถือว่าสื่อลามกเด็กนั้นผิดกฎหมายแม้ว่าจะเป็นเพียงเรื่องที่แต่งขึ้นหรือเป็นรูปที่ถูกสร้างขึ้นจากจินตนาการก็ตาม ขณะที่ทัศนคติของญี่ปุ่นและประเทศแถบเอเชียส่วนใหญ่มักมองว่าความเยาว์วัยคือส่วนหนึ่งของความงามจึงมักสร้างสรรตัวละครที่มีลักษณะดูเยาว์วัยแม้ตัวละครจะมีอายุในระดับวัยกลางคนแล้วก็ตามหรือในเรื่องแนวแฟนตาซีที่มักจะมีตัวละครอมนุษย์อายุหลายร้อยถึงหลายพันปีแต่มีรูปลักษณ์เหมือนเด็กอยู่ในเรื่อง ผู้อ่านสามารถสังเกตถึงอิทธิพลของค่านิยมนี้ในไทยได้ด้วยเช่นกันจากบทสนทนาในชีวิตประจำวัน เช่น “อายุขนาดนี้แล้วยังสาวยังสวย(หรือยังดูหนุ่มแน่น สำหรับผู้ชาย)อยู่เลย” เป็นต้น
นอกจากกรณีของ Gura ก็ยังมีกรณีที่สร้างภาพลักษณ์ในทางลบต่อ Vtuber ปรากฏต่อสังคม เช่น กรณีการฟ้องหย่าร้างจากสาเหตุที่สามีเอาเงินจำนวนมากไปโดเนทให้แก่ Vtuber ที่ชื่นชอบ
ล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้ซึ่งถือเป็นกรณีที่ใหญ่สมควรกับการที่ Vtuber ในสังกัด Hololive 2 คน Akai Haato และ Kiryu Coco ได้อ่านข้อมูลจาก Google Analytic เกี่ยวกับผู้ที่ Donate ให้กับพวกเธอว่าส่วนใหญ่มาจากไต้หวัน นี่ทำให้ชาว net ในจีนที่ถือนโยบายจีนเดียวนั้นเดือดกันเป็นแถวจนมาป่วนพวกเธอใน Super Chat รวมถึง Vtuber Hololive คนอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องแถมทางรัฐบาลจีนเองก็แบนช่องของ Vtuber ทั้ง 2 คนใน Blibli (youtube ของจีน) ไปอีกด้วยจนทาง Cover เองต้องออกหนังสือขอโทษและทำการพักงาน Akai Haato และ Kiryu Coco เป็นเวลา 3 สัปดาห์
แต่ก็ยังไม่มีทีท่าว่าเรื่องจะจบลงง่าย ๆ โดยในวันที่เขียนบทความนี้ ชาว net จีนที่ถือนโยบายจีนเดียวเพิ่มข้อเรียกร้องเข้าไปอีกว่าสมาชิก Hololive ทุกคนจะต้องออกมาขอโทษและให้ทาง Cover ปลด Kiryu Coco ออกจาก Hololive
ซึ่งผู้เขียนคาดว่านี่จะไม่ใช่ปัญหาสุดท้ายที่จะเกิดขึ้นจากการรุกตลาดโลกของ Vtuber ทำให้น่าจับตามองอย่างยิ่งว่าทาง Cover จะรับมือกับปัญหานี้อย่างไร ทิศทางการรุกตลาดโลกของทั้ง Cover และบริษัทอื่น ๆ ในอนาคตจะมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์หรือทิศทางรึไม่ จะมีวิธีที่สามารถสร้างรายรับโดยยังคงความปลอดภัยทั้งต่อบริษัทและตัว Vtuber เองได้อย่างไร
แต่สำหรับตอนนี้จากกรณีของ Akai Haato และ Kiryu Coco นั้น สิ่งที่น่าตื่นเต้นที่สุดคือ
นี่จะลุกลามกลายเป็น Cyber War ครั้งใหม่หรือไม่
รึ Milk Tea Alliance จะกลับมาอีกครั้ง
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน”
โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/
บทความตามใจฉัน “Vtuber กับการรุกตลาดโลก” Part2
จากบทความ “The Weird Truth Behind Why Japanese People Can’t Speak English” นั้นได้อธิบายสาเหตุที่ชาวญี่ปุ่นสื่อสารภาษาอังกฤษไม่ค่อยได้นั้นมาจากรูปแบบการศึกษาที่เน้นอ่านและเขียนมากกว่าประกอบกับโครงสร้างสังคมและการใช้อักษรคาตาคานะในการออกเสียงภาษาอังกฤษที่ทำให้การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษนั้นด้อยความจำเป็นลงจนไม่จำเป็นต้องฝึกฝนการใช้ภาษาอังกฤษก็ได้
ผู้อ่านสามารถอ่านบทความเต็มได้ที่ Link ข้างล่าง
https://livejapan.com/en/in-tokyo/in-pref-tokyo/in-tokyo_suburbs/article-a0002216/
ถ้าเป็นเมื่อสัก 20 ปีก่อน การบุกเบิกตลาดต่างประเทศด้วยภาษาอังกฤษนั้นคงเป็นไปได้ยากและต้องใช้เวลาในการพัฒนาบุคลากร ต้องขอบคุณโลกาภิวัตน์, internet และการเดินทางด้วยเครื่องบินที่ทำให้เป้าหมายนี้เป็นไปได้
ด้วยโลกาภิวัตน์และการเดินทางด้วยเครื่องบินทำให้ชาวญี่ปุ่นจำนวนมากเดินทางไปตั้งรกรากที่ประเทศอื่นรวมถึงชาวต่างชาติเองที่เดินทางเข้ามาทำงานแล้วตั้งรกรากสร้างครอบครัวกับชาวญี่ปุ่น นี่ทำให้ชาวญี่ปุ่นลูกครึ่งจำนวนไม่น้อยเกิดหรืออาศัยในสภาพแวดล้อมที่หลุดจากข้อจำกัดในการพัฒนาภาษาอังกฤษทั้งในทางสังคมและวัฒนธรรม ทักษะการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษของคนญี่ปุ่นกลุ่มนี้จึงอยู่ในระดับที่ใช้สื่อสารจริงได้และครบทั้งฟัง พูด อ่าน เขียน แถมเจ้าตัวยังคงสามารถสื่อสารด้วยภาษาญี่ปุ่นได้อีกด้วย คนเหล่านี้คือบุคลากรชั้นดีในการบุกตลาดโลกของบริษัท Vtuber ญี่ปุ่น
ส่วน internet ก็ช่วยให้การหา Vtuber หน้าใหม่ที่มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการนั้นทำได้ง่ายขึ้นโดยการส่งแมวมองไปยังกลุ่ม Steamer ที่โชว์เล่นเกม, ร้องเพลงหรือทำกิจกรรมการแสดงต่าง ๆ แบบ Live สดแล้วชักชวนคนที่มีแววมาเข้าสังกัด อีกทั้ง internet ยังช่วยอำนวยความสะดวกให้ Vtuber สามารถทำรายการได้โดยไม่ต้องมาที่สำนักงานหรือย้ายถิ่นฐานรวมถึงเป็นช่องทางในการติดต่อประสานงานกับสังกัดอีกด้วย (Vtuber หลายคนไม่ได้อยู่ที่ญี่ปุ่น)
การที่ Vtuber ชาวญี่ปุ่นสื่อสารโดยการใช้ภาษาอังกฤษนั้นผู้เขียนไม่มีข้อมูลว่าเริ่มต้นครั้งแรกเมื่อไหร่แต่ครั้งที่เป็นที่ฮือฮาที่สุดครั้งหนึ่งคือการปรากฏตัวของ Vtuber ชื่อ Sakura Fujima ซึ่งเปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2018 ที่ตัว Vtuber เองนั้นเป็นชาวญี่ปุ่นแต่สามารถพูดสื่อสารภาษาอังกฤษได้คล่อง สาเหตุนั้นมาจากการที่เธอเป็นชาวญี่ปุ่นที่เติบโตในอเมริกานั้นเอง
ผู้อ่านสามารถดูวิดีโอเปิดตัวของ Sakura Fujima ได้ที่ Link ข้างล่าง
https://www.youtube.com/watch?v=IrqXCa6BxWM&list=FLSNZ-2e3zCbkrPydVLtVRpQ&index=59
การทำตลาดในต่างประเทศของ Vtuber ญี่ปุ่นในช่วงแรกนั้นยังไม่ได้รุกตลาดอย่างจริงจังนักโดยใช้วิธีให้ Vtuber ญี่ปุ่นที่สื่อสารภาษาอังกฤษได้ดีอยู่แล้ว (ส่วนใหญ่เป็นลูกครึ่งญี่ปุ่นตามที่เคยกล่าวไว้ แต่มาทำงานเป็น Vtuber ภาษาญี่ปุ่น) แบ่งเวลาช่วงหนึ่งออกมาทำรายการภาคภาษาอังกฤษออกอากาศ คาดว่าเพื่อเป็นการทดสอบและลองตลาดเพื่อดูผลตอบรับก่อน
แต่ขณะเดียวกันในช่วงปี 2019 – 2020 นั้นคู่แข่งในตลาด Vtuber ภาษาอังกฤษก็เริ่มเกิดขึ้นมาเรื่อย ๆ โดยเฉพาะ Vtuber อิสระเนื่องจากการที่เทคโนโลยีในการสร้างโมเดล Vtuber ด้วย Live 2D หรือ Animojo นั้นราคาถูกลงมากอีกทั้งเครื่องมือและทักษะในการสร้าง Vtuber โมเดลก็แพร่หลายจนสามารถหาเครื่องมือและศึกษาวิธีการสร้างโมเดลได้ด้วยตนเอง ทำให้จำนวน Vtuber ภาษาอังกฤษในตลาดเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยยังไม่รวมถึงการเกิด Vtuber อิสระที่สื่อสารด้วยภาษาท้องถิ่นที่มาแย่งส่วนแบ่งตลาดโลกออกไปอีก
ผู้เขียนคาดว่าการระบาดของโควิท 19 ที่ทำให้ผู้คนต้องกักตัวอยู่แต่ในบ้านเองก็มีส่วนอย่างมากในการทำให้เกิด Vtuber หน้าใหม่จำนวนมากในช่วงปี 2020
จุดเปลี่ยนสำคัญในวงการ Vtuber ญี่ปุ่นคือ Hololive Production หรือมักเรียกสั้น ๆ ว่า Hololive ซึ่งเป็นภาคธุรกิจหนึ่งของบริษัท Cover Corp ที่เน้นธุรกิจ Vtuber โดยเฉพาะได้เปิดตัว Hololive EN หรือ Hololive ภาคภาษาอังกฤษโดยเฉพาะขึ้น
ข้อสังเกตที่ผู้เขียนมีต่อ Hololive EN คือ นี่เป็นการที่บริษัทญี่ปุ่นเริ่มบุกตลาดภาคภาษาอังกฤษอย่างเต็มตัวเป็นครั้งแรกซึ่งถือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างแปลกใหม่มากสำหรับบริษัทญี่ปุ่นที่มักจะมุ่งเน้นแต่ตลาดภาษาญี่ปุ่นเป็นอันดับแรกหรือเจาะตลาดรายพื้นที่ไป เช่น Hololive China ซึ่งเปิดตัวไปเมื่อช่วงเดือนกันยายน 2019 หรือ Hololive Indonesia ที่เปิดตัวไปเมื่อเดือนเมษายน 2020 ที่ผ่านมา
ถึงแม้ Vtuber ในโครงการเหล่านี้นอกจากภาษาท้องถิ่นแล้วยังสามารถสื่อสารภาษาญี่ปุ่นรวมถึงภาษาอังกฤษและภาษาอื่น ๆ ได้อีกด้วยแต่ก็ไม่ได้เน้นการทำรายการด้วยภาษาอังกฤษแบบเต็มตัว ผิดกับ Hololive EN ที่การทำรายการด้วยภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาสากลเป็นหลักและมุ่งเน้นไปที่ตลาดใหญ่ระดับ World Wide โดยเหล่า Vtuber ภาคภาษาอังกฤษในสังกัดนั้นได้ทยอยเปิดตัวกันไปเมื่อช่วงวันที่ 12 ถึง 13 กันยายน 2020 ที่ผ่านมาและได้รับการตอบรับจากผู้ชมอย่างดี ซึ่ง ณ เวลาที่เขียนบทความนี้ Hololive EN เป็นกลุ่ม Vtuber ญี่ปุ่นเพียงกลุ่มเดียวที่สื่อสารด้วยภาษาอังกฤษเป็นหลัก
ขณะที่คู่แข่งอย่างเช่น Nijisanji แม้จะเปิดตัวช่อง NIJISANJI English ไปเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2020 ที่ผ่านมาแต่ก็ไม่ได้เป็นการก่อตั้งกลุ่ม Vtuber English แต่อย่างไร เป็นเพียงการนำเทปบันทึกภาพของ Vtuber ในสังกัดมาใส่คำบรรยายภาษาอังกฤษแทน (Official English Subtitles)
ผลตอบรับต่อ Hololive EN นั้นถือว่าน่าประทับใจ ภายในเวลาเพียง 18 วัน เหล่า Vtuber ญี่ปุ่นภาคภาษาอังกฤษกลุ่มนี้ได้รับยอดการกดติดตามหรือ Subscribe เฉลี่ยสูงถึง 343,000 บัญชีต่อคน โดย Vtuber ที่ได้รับการกดติดตามน้อยที่สุดนั้นมียอดอยู่ที่ 248,000 บัญชีและผู้ที่ได้รับการกดติดตามมากที่สุดอยู่ที่ 531,000 บัญชี
ไม่เพียงการตอบรับและยอดผู้ติดตามที่น่าพอใจเท่านั้น รายได้จากช่องทาง Donate เองก็น่าประทับใจเช่นกัน
Youtube ช่อง WooHooLad ซึ่งเป็นช่องเล่าข่าวเกี่ยวกับ Vtuber ได้พูดถึงยอดการ Donate อย่างน่าสนใจว่า Gori Calliope หนึ่งในสมาชิก Hololive EN นั้นมียอดการ Donate ผ่าน Super Chat สูงสุดในช่วง 13-20 กันยายนที่ผ่านมาโดยมีการ Donate ให้เธอมากถึง 49,429 USD ( 1.581 ล้านบาทที่ 1US เท่ากับ 32 บาท ) ทำให้เธอกลายคน Vtuber ที่มีคน Donate ให้มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ในช่วงเวลาดังกล่าว ชนะแม้แต่ Hololive ญี่ปุ่นรุ่นพี่อย่าง Uruha Rushia และที่น่าสังเกตคืออันดับที่ 3 และ 4 ก็มาจาก Hololive EN เช่นเดียวกัน
ผู้อ่านสามารถดูคลิปข่าวดังกล่าวได้ที่ Link ข้างล่าง
https://www.youtube.com/watch?v=l84vokr-acs
Hololive EN ได้พิสูจน์แล้วว่าตลาดโลกคือบ่อทองแห่งใหม่ของวงการ
ถึงแม้ว่า Hololive EN จะมีผลตอบรับและความนิยมที่ดีอย่างมากแต่ในระยะยาวนั้นผลกระทบจากความแตกต่างทางความคิดและวัฒนธรรมย่อมต้องมีการสะท้อนกลับมาอย่างแน่นอน ซึ่งเพียงไม่นานหลังการเปิดตัว Hololive EN ก็เกิดขึ้นจริง ๆ และยังทำให้ความเห็นทางลบต่อ Vtuber เริ่มปรากฏขึ้นมาให้เห็นในสังคม
Hololive EN นั้นเปิดตัวด้วย Vtuber จำนวน 5 คนโดยหนึ่งในนั้นคือ Vtuber ที่ชื่อว่า Gawr Gura (กวาว กู-รา)
ด้วยรูปลักษณ์ของเธอนี่เองทำให้เกิดการปะทะทางความคิดและวัฒนธรรมขึ้น
หลังจากการเปิดตัวของ Gawr Gura ได้มี Youtuber คนหนึ่งเผยแพร่วิดีโอโดยโจมตีการออกแบบรูปลักษณ์ของ Gura ที่มีลักษณะเหมือนเด็กผู้หญิงว่าเป็นการส่งเสริมให้เกิดความใคร่เด็กและเป็นการสนับสนุนกลุ่มผู้ใคร่เด็ก ซึ่งทำให้มีผู้ที่ไม่เห็นด้วยเข้าไปแสดงความเห็นค้านและกด Dislike วิดีโอของเธอเป็นจำนวนมาก
เรื่องราวดราม่าเกี่ยวกับ Gawr Gura มีผู้สรุปเรื่องราวไว้มากมายใน internet หนึ่งในนั้นคือเว็ปข่าวเกมและการ์ตูนภาษาไทย www.online-station.net ผู้อ่านสามารถอ่านบทความดังกล่าวของ www.online-station.net ได้ที่ Link ข้างล่าง
https://www.online-station.net/anime/view/175311?fbclid=IwAR1WMHYM-swphNdmZiVuUDLXrsJ52eKkMoq2WtTahLe-tVoF9dIfCBnSL68
ซึ่งนี้เป็นหนึ่งในปัญหาทางความคิดและวัฒนธรรมเพราะในสังคมตะวันตกนั้นจะอ่อนไหวต่อเรื่องการคุกคามทางเพศกับผู้เยาว์อย่างมาก หลายประเทศแถบตะวันตกถือว่าสื่อลามกเด็กนั้นผิดกฎหมายแม้ว่าจะเป็นเพียงเรื่องที่แต่งขึ้นหรือเป็นรูปที่ถูกสร้างขึ้นจากจินตนาการก็ตาม ขณะที่ทัศนคติของญี่ปุ่นและประเทศแถบเอเชียส่วนใหญ่มักมองว่าความเยาว์วัยคือส่วนหนึ่งของความงามจึงมักสร้างสรรตัวละครที่มีลักษณะดูเยาว์วัยแม้ตัวละครจะมีอายุในระดับวัยกลางคนแล้วก็ตามหรือในเรื่องแนวแฟนตาซีที่มักจะมีตัวละครอมนุษย์อายุหลายร้อยถึงหลายพันปีแต่มีรูปลักษณ์เหมือนเด็กอยู่ในเรื่อง ผู้อ่านสามารถสังเกตถึงอิทธิพลของค่านิยมนี้ในไทยได้ด้วยเช่นกันจากบทสนทนาในชีวิตประจำวัน เช่น “อายุขนาดนี้แล้วยังสาวยังสวย(หรือยังดูหนุ่มแน่น สำหรับผู้ชาย)อยู่เลย” เป็นต้น
นอกจากกรณีของ Gura ก็ยังมีกรณีที่สร้างภาพลักษณ์ในทางลบต่อ Vtuber ปรากฏต่อสังคม เช่น กรณีการฟ้องหย่าร้างจากสาเหตุที่สามีเอาเงินจำนวนมากไปโดเนทให้แก่ Vtuber ที่ชื่นชอบ
ล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้ซึ่งถือเป็นกรณีที่ใหญ่สมควรกับการที่ Vtuber ในสังกัด Hololive 2 คน Akai Haato และ Kiryu Coco ได้อ่านข้อมูลจาก Google Analytic เกี่ยวกับผู้ที่ Donate ให้กับพวกเธอว่าส่วนใหญ่มาจากไต้หวัน นี่ทำให้ชาว net ในจีนที่ถือนโยบายจีนเดียวนั้นเดือดกันเป็นแถวจนมาป่วนพวกเธอใน Super Chat รวมถึง Vtuber Hololive คนอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องแถมทางรัฐบาลจีนเองก็แบนช่องของ Vtuber ทั้ง 2 คนใน Blibli (youtube ของจีน) ไปอีกด้วยจนทาง Cover เองต้องออกหนังสือขอโทษและทำการพักงาน Akai Haato และ Kiryu Coco เป็นเวลา 3 สัปดาห์
แต่ก็ยังไม่มีทีท่าว่าเรื่องจะจบลงง่าย ๆ โดยในวันที่เขียนบทความนี้ ชาว net จีนที่ถือนโยบายจีนเดียวเพิ่มข้อเรียกร้องเข้าไปอีกว่าสมาชิก Hololive ทุกคนจะต้องออกมาขอโทษและให้ทาง Cover ปลด Kiryu Coco ออกจาก Hololive
ซึ่งผู้เขียนคาดว่านี่จะไม่ใช่ปัญหาสุดท้ายที่จะเกิดขึ้นจากการรุกตลาดโลกของ Vtuber ทำให้น่าจับตามองอย่างยิ่งว่าทาง Cover จะรับมือกับปัญหานี้อย่างไร ทิศทางการรุกตลาดโลกของทั้ง Cover และบริษัทอื่น ๆ ในอนาคตจะมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์หรือทิศทางรึไม่ จะมีวิธีที่สามารถสร้างรายรับโดยยังคงความปลอดภัยทั้งต่อบริษัทและตัว Vtuber เองได้อย่างไร
แต่สำหรับตอนนี้จากกรณีของ Akai Haato และ Kiryu Coco นั้น สิ่งที่น่าตื่นเต้นที่สุดคือ
นี่จะลุกลามกลายเป็น Cyber War ครั้งใหม่หรือไม่
รึ Milk Tea Alliance จะกลับมาอีกครั้ง
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน”
โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/