รัฐขูดภาษี ทำไทยอาจชวดโอกาสรับกองถ่ายอินเตอร์ มาเล-เวียดนามคว้าแทน
https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_5032315
ไทยยังไม่ชัดเจนในการส่งเสริมให้สิทธิประโยชน์กองถ่ายต่างชาติ อาจทำให้กองถ่ายต่างชาติเลือกประเทศเพื่อนบ้านแทน
จากผลกระทบของไวรัส โควิด-19 ทำให้ทั่วโลกชะงักงัน รวมถึงกองถ่ายภาพยนตร์ในฮอลลีวูด รวมถึงประเทศอังกฤษ และ ฝรั่งเศส ที่ไม่สามารถถ่ายทำในอเมริกาและยุโรปได้ และหันมาพิจารณาการถ่ายทำในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น เพราะประเทศเหล่านี้ประสบความสำเร็จในการควบคุมสถานการณ์โควิด-19 ได้เป็นอย่างดี
เว็บไซต์
Thai Enquirer เปิดเผยว่า ไทยอาจพลาดโอกาสในการเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์จากต่างประเทศ เพราะรัฐไม่สนับสนุนนโยบายลดหย่อนภาษีและมีช่องโหว่ทางกฎหมายจำนวนมาก ทำให้กองถ่ายภาพยนตร์ต่างประเทศหันไปเลือกถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศมาเลเซียและเวียดนามแทน
แม้ว่ารัฐจะสร้างรายได้เป็นจำนวนมาก จากการจัดเก็บภาษีที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย แต่อาจคุ้มค่ากว่าหากรัฐลดภาษีลง ซึ่งทำให้กองถ่ายภาพยนตร์ต่างประเทศตัดสินใจมาถ่ายทำในประเทศไทยมากขึ้น โดยจะทำให้เกิดผลประโยชน์แก่ประเทศในทางอ้อม เนื่องจากการเติบโตของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย สร้างอาชีพให้คนในพื้นที่ถ่ายทำและสร้างรายได้หมุนเวียนในประเทศไม่ต่ำกว่า 1 พันล้านบาทต่อปี
ที่ผ่านมา แม้จะไม่มีสิทธิประโยชน์ทางภาษี แต่กองถ่ายภาพยนตร์จากต่างประเทศก็เติบโตในประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยมีจุดแข็งจากทั้งความสวยงามของภูมิประเทศ วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ ทั้งยังสามารถปรับภูมิทัศน์ในการถ่ายทำได้ง่าย ในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 รัฐบาลมีมาตราการตอบสนองที่รองรับต่อการถ่ายทำภาพยนตร์จากต่างประเทศ ดูเหมือนว่าประเทศไทยจะเป็นจุดหมายที่ดีในการถ่ายทำภาพยนตร์ในช่วงนี้
แต่ทว่าไม่เป็นเช่นนั้น เนื่องจากประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีนโยบายที่เป็นมิตรต่อกองถ่ายภาพยนตร์จากต่างประเทศมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด แม้ในปี พ.ศ.2559 ที่ผ่านมา กรมการท่องเที่ยวเคยมีการพยายามผลักดันสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ให้เป็นมิตรกับกองถ่ายจากต่างประเทศแล้วก็ตาม ทั้งมาตรการคืนเงิน และ งดเว้นภาษีในด้านต่าง ๆ แต่สุดท้ายยังไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากไม่ผ่านการพิจารณาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ขณะที่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศมาเลเซีย รัฐบาลมาเลเซียมีนโยบายที่ริเริ่ม และ ให้การต้อนรับผู้ผลิตภาพยนตร์มาโดยตลอด โดยมีการลดหย่อนภาษีการถ่ายทำภาพยนตร์ ทั้งยังให้ผลประโยชน์ต่าง ๆ แก่กองถ่ายภาพยนตร์จากต่างประเทศ เช่น งดเว้นภาษีทุกประเภทให้แก่การถ่ายทำ และคืนค่าใช้จ่ายบางส่วนแก่คณะถ่ายทำ จึงทำให้กองถ่ายภาพยนตร์จากต่างประเทศเติบโตในประเทศมาเลเซียอย่างมาก และ เป็นตัวเลือกแรก ๆ ของกองถ่ายทำภาพยนตร์ที่ต้องการเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หลังจากที่มีข่าวคราวว่ากองถ่ายจากต่างชาติหันหลังให้ประเทศไทย ในวันที่ 1 ตุลาคม 2563 เพจเฟซบุ๊ก
กรมการท่องเที่ยว จึงออกมาตอบรับ โดยโพสคู่มือรองรับคณะถ่ายทำภาพยนตร์จากต่างประเทศในรูปแบบวิถีใหม่ เพื่อเป็นแนวปฏิบัติในการถ่ายทำภาพยนตร์จากต่างประเทศในประเทศไทย โดยมีเนื้อหาในด้านของการบริหารจัดการในกองถ่ายทำภาพยนตร์ และมาตรการป้องกันโรคตามที่ส่วนราชการกำหนด ทั้งยังเชิญชวนให้คนไทยเป็นเจ้าบ้านที่ดี เพื่อให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์และภาคการท่องเที่ยวของไทยฟื้นกลับมาอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม การตอบสนองด้วยการรับรองการถ่ายทำภาพยนตร์ด้วยมาตราการป้องกันไวรัสโควิด-19 ที่มีประสิทธิภาพ และการเป็นเจ้าบ้านที่ดีของคนไทยอาจยังไม่เพียงพอ หากรัฐให้ความสำคัญกับนโยบายด้านภาษีมากขึ้นในการส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ประเทศไทยจะกลายเป็นตัวเลือกแรก ๆ ของการถ่ายทำภาพยนตร์ในอาเซียนอย่างแน่นอน
โดยที่ผ่านมา ประเทศไทยเคยเป็นสถานที่ถ่ายฉากสำคัญ ในหนังเรื่องดัง อาทิ Fast and Furious 9 หรือ Fast 9 เตรียมเข้ามาถ่ายทำในประเทศไทย โดยเลือกพื้นที่ จ.กระบี่ และยังมีฉากหนังดัง อย่าง The Hangover 2 ที่ใช้สถานที่ถ่ายทำ ทั้ง โรงแรมในจังหวัดกระบี่ หรืออาคารสุดหรู เลอบัว แอท สเตททาวเวอร์ กรุงเทพมหานคร
Mechanic: Resurrection ได้ Jason Statham นำแสดง ก็ยกกองถ่ายมาถ่ายทำบางฉากในไทย หลัก ๆ แล้วจะเป็นพื้นที่ทางภาคใต้เช่นเกาะยาวน้อย-เกาะยาวใหญ่ อ่าวพังงา, เมืองพัทยา, ภูเก็ต หรือในกรุงเทพมหานครก็จะมี วัดอรุณ, แม่น้ำเจ้าพระยา ,The Beach ที่มี Leonardo DiCaprio เป็นนักแสดงนำ เป็นเรื่องราวของเกาะสวรรค์ลึกลับ จนทำให้ทะเลไทยดังไปทั่วโลกโดย ถ่ายทำกันที่เกาะพีพีเล, อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่, ถนนข้าวสาร, กระบี่และภูเก็ต
คอนเสิร์ตท้ายปีวูบ 50% ผู้จัดกัดฟันปรับโมเดลใหม่สู้
https://www.prachachat.net/marketing/news-531005
คอนเสิร์ตปลายปีกร่อย มาตรการโควิดทำยอดคนดูหาย ต้นทุนสูง เศรษฐกิจซบ-กำลังซื้อหด หาสปอนเซอร์ยาก จำนวนงานลดลงมากกว่า 50% ซีไอ-แกรมมี่ลุยงานประจำปี “ซีซั่นออฟเลิฟซอง-บิ๊กเมาน์เท่น” “อินเด็กซ์” ลุยคอนเสิร์ตไฮบริด ปลุกกระแสธุรกิจตื่นตัว-ไม่หวังกำไร
ดูเหมือนว่าช่วงโค้งท้ายปลายปีที่เป็นไฮซีซั่นของงานคอนเสิร์ตปีนี้อาจจะไม่คึกคักเหมือนปีที่ผ่าน ๆ มา โดยเฉพาะในจำนวนงานอาจหายไปมากกว่าครึ่งเมื่อเทียบปีก่อน ๆ งานเล็กงานน้อยไม่มีโอกาสจะแจ้งเกิด เหลือแต่งานใหญ่ที่ได้รับความนิยมและติดตลาดเท่านั้น
โดยปัจจัยหลัก ๆ มาจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทำให้การจัดงานคอนเสิร์ตมีความท้าทายมากขึ้น โดยเฉพาะมาตรการเว้นระยะห่างที่ทำให้ต้นทุนการจัดพุ่งสูงขึ้นแต่รายได้ลดลง และยังมีเรื่องของเศรษฐกิจที่ชะลอตัว กำลังซื้อที่ลดลง เป็นตัวแปรที่ทำให้บรรดาสปอนเซอร์ต้องคิดหนัก
โค้งท้ายงานหายไปกว่าครึ่ง
นาย
ญาณกร อภิราชกมล กรรมการบริหาร บริษัท ครีเอท อินเทลลิเจ้นซ์ จำกัด หรือซีไอ (CI) ผู้จัดงานเอาต์ดอร์ เฟสติวัล อาทิ เสม็ดอินเลิฟ ซีซั่นออฟเลิฟซอง เป็นต้น เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปีนี้ธุรกิจจัดคอนเสิร์ตได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 อย่างหนัก โดยคาดว่าในช่วงปลายปีที่เป็นไฮซีซั่นจำนวนงานจะลดลงไปมากกว่า 50% จากปีก่อน ๆ
นอกจากปัจจัยในเรื่องของเศรษฐกิจและกำลังซื้อแล้ว การจัดงานภายใต้เงื่อนไขในเรื่องของการเว้นระยะห่างจะทำให้จำนวนคนสูงสุดที่เข้าร่วมงานลดลงไปมากกว่าครึ่งหนึ่ง และทำให้ต้นทุนการจัดสูงขึ้น ขณะที่แบรนด์สินค้าที่เป็นสปอนเซอร์หลาย ๆ รายก็ลดการใช้งบฯการตลาดลง
อย่างไรก็ตาม งานคอนเสิร์ตที่จะเกิดในช่วงปลายปีหลัก ๆ จะเป็นงานใหญ่ที่เคยจัดต่อเนื่องมาหลายปีจนมีฐานแฟนคลับเหนียวแน่น และสปอนเซอร์เชื่อมั่นในศักยภาพ อาทิ ซีซั่นออฟเลิฟซอง,บิ๊กเมาน์เท่น รวมถึงงานคอนเสิร์ตของผู้จัดรายใหญ่ที่มีทรัพยากรเพียงพอ เช่น มีศิลปินในสังกัด ส่วนงานที่มีศิลปินต่างชาติเข้าร่วม อาทิ งานอีดีเอ็ม คงต้องงดไปโดยปริยาย หรือเลื่อนออกไปแบบไม่มีกำหนด เนื่องจากยังมีข้อห้ามการเดินทางเข้าประเทศ
“จากเงื่อนไขต่าง ๆ ดังกล่าว ทำให้ผู้จัดงานต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบหรือโมเดลการจัดงานค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม ไตรมาสสุดท้ายนี้ บริษัทมีแผนจะจัดคอนเสิร์ตใหญ่ 2 งาน คือ ซิงกิ้งออนเดอะร็อก และซีซั่นออฟเลิฟซอง ซึ่งลดจำนวนผู้เข้าร่วมงานลงประมาณ 50% อย่างซีซั่นออฟเลิฟซอง ลดจาก 2.8-3.5 หมื่นคน เหลือเพียง 1.5 หมื่นคน พร้อมร่วมมือกับสปอนเซอร์และพันธมิตรลดค่าใช้จ่ายด้านต่าง ๆ อาทิ ค่าเช่าสถานที่ ค่าศิลปิน เพื่อให้สามารถจัดงานได้โดยไม่ขาดทุน” นาย
ญาณกรกล่าว
แกรมมี่-อินเด็กซ์ โอดงานน้อย ชูโมเดลใหม่
นาย
ยุทธนา บุญอ้อม รองกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส หน่วยงาน Showbiz บริษัท จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ช่วงปลายนี้จำนวนงานมิวสิกอีเวนต์ยังน้อยกว่าที่คาดไว้ เพราะบางงานเลื่อนไปอยู่ปีหน้า และบางงานก็ยกเลิกไป อย่างไรก็ตาม ปลายปีนี้บริษัทเตรียมจะจัดคอนเสิร์ตใหญ่ 3-5 งาน อาทิ The Gentlemen Live, บิ๊กเมาน์เท่น มิวสิค เฟสติวัล, เชียงใหญ่ และแฟนโทเปีย เป็นต้น โดยการจัดงานดังกล่าวบริษัทจะเน้นการบริหารต้นทุน ไม่ว่าจะเป็นการเจรจากับซัพพลายเออร์ และเจ้าของพื้นที่ รวมถึงศิลปิน เพื่อคุมต้นทุนให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
พร้อมกับปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดงาน อย่างงานบิ๊กเมาน์เท่น ได้ใช้ระบบ RFID ตรวจคัดกรองของคนเข้างาน ตลอดจนการติดตามเฉพาะบุคคล และก่อนเข้างาน จะมีการแจกเสื่อพลาสติกขนาด 1 ตารางเมตร ให้ใช้ยืนดูภายในงาน เป็นการกำหนดให้ทุกคนจะยืนห่างกัน 1 เมตร รวมถึงการแบ่งโซนร้านอาหาร และร้านขายเครื่องดื่ม ให้อยู่ในพื้นที่ที่จัดไว้ ตามที่ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ ศบค.กำหนด
“วันนี้ธุรกิจอีเวนต์และคอนเสิร์ตจะได้รับการปลดล็อกแล้ว แต่การจัดงานจะต้องอยู่ใต้กฎเกณฑ์การเว้นระยะห่างทางสังคม ต้องจำกัดจำนวนคนเข้างานลงกว่า 50% ส่งผลให้ผู้จัดงานต้องแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้น รวมทั้งการมีต้นทุนในเรื่องระบบการคัดกรองเข้ามาด้วย ในทางกลับกันรายรับกลับลดลง เพราะคนดูน้อย รายได้จากสปอนเซอร์ก็จะลดลงตามไปด้วย”
นาย
เกรียงไกร กาญจนะโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด (มหาชน) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ช่วงปลายปีนี้ อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ เตรียมจะจัดงานคอนเสิร์ตอินดอร์ฯ 2-3 งาน ทั้งศิลปินเดี่ยวและศิลปินกลุ่ม ในรูปแบบไฮบริดขายบัตรทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ตอนนี้อยู่ระหว่างการวางแผนการจัดงานและเจรจากับสปอนเซอร์ที่ยังกังวลเรื่องการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อที่ลดลง โดยโมเดลที่บริษัทจัดขึ้นจะเรียกว่า friendship economy คือ ทุกคนมาเป็นพาร์ตเนอร์กันหมด ไม่มีค่าตัว แล้วกำไรแบ่งกัน เป็นการปรับตัวเพื่อให้มีงานเกิดขึ้น ด้วยรูปแบบที่เป็นไฮบริดคอนเสิร์ตคือ มีทั้ง online และ offline และมีคนเข้ามาชมจริง ๆ
“สิ่งที่ต้องการจากการจัดงานก็คือ การปลุกกระแสให้อุตสาหกรรมอีเวนต์ตื่น เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับทั้งผู้คน รวมทั้งเป็นการสร้างความมั่นใจให้ ศบค.ไม่ได้มองผลกำไรเป็นตัวตั้ง” นาย
เกรียงไกรกล่าวย้ำ
JJNY : รัฐขูดภาษี อาจชวดโอกาสรับกองถ่ายอินเตอร์/คอนเสิร์ตท้ายปีวูบ50%/โภคินชวนดันตั้งส.ส.ร./โคทมชี้รธน.ไม่มีความชอบธรรม
https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_5032315
จากผลกระทบของไวรัส โควิด-19 ทำให้ทั่วโลกชะงักงัน รวมถึงกองถ่ายภาพยนตร์ในฮอลลีวูด รวมถึงประเทศอังกฤษ และ ฝรั่งเศส ที่ไม่สามารถถ่ายทำในอเมริกาและยุโรปได้ และหันมาพิจารณาการถ่ายทำในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น เพราะประเทศเหล่านี้ประสบความสำเร็จในการควบคุมสถานการณ์โควิด-19 ได้เป็นอย่างดี
เว็บไซต์ Thai Enquirer เปิดเผยว่า ไทยอาจพลาดโอกาสในการเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์จากต่างประเทศ เพราะรัฐไม่สนับสนุนนโยบายลดหย่อนภาษีและมีช่องโหว่ทางกฎหมายจำนวนมาก ทำให้กองถ่ายภาพยนตร์ต่างประเทศหันไปเลือกถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศมาเลเซียและเวียดนามแทน
แม้ว่ารัฐจะสร้างรายได้เป็นจำนวนมาก จากการจัดเก็บภาษีที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย แต่อาจคุ้มค่ากว่าหากรัฐลดภาษีลง ซึ่งทำให้กองถ่ายภาพยนตร์ต่างประเทศตัดสินใจมาถ่ายทำในประเทศไทยมากขึ้น โดยจะทำให้เกิดผลประโยชน์แก่ประเทศในทางอ้อม เนื่องจากการเติบโตของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย สร้างอาชีพให้คนในพื้นที่ถ่ายทำและสร้างรายได้หมุนเวียนในประเทศไม่ต่ำกว่า 1 พันล้านบาทต่อปี
ที่ผ่านมา แม้จะไม่มีสิทธิประโยชน์ทางภาษี แต่กองถ่ายภาพยนตร์จากต่างประเทศก็เติบโตในประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยมีจุดแข็งจากทั้งความสวยงามของภูมิประเทศ วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ ทั้งยังสามารถปรับภูมิทัศน์ในการถ่ายทำได้ง่าย ในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 รัฐบาลมีมาตราการตอบสนองที่รองรับต่อการถ่ายทำภาพยนตร์จากต่างประเทศ ดูเหมือนว่าประเทศไทยจะเป็นจุดหมายที่ดีในการถ่ายทำภาพยนตร์ในช่วงนี้
แต่ทว่าไม่เป็นเช่นนั้น เนื่องจากประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีนโยบายที่เป็นมิตรต่อกองถ่ายภาพยนตร์จากต่างประเทศมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด แม้ในปี พ.ศ.2559 ที่ผ่านมา กรมการท่องเที่ยวเคยมีการพยายามผลักดันสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ให้เป็นมิตรกับกองถ่ายจากต่างประเทศแล้วก็ตาม ทั้งมาตรการคืนเงิน และ งดเว้นภาษีในด้านต่าง ๆ แต่สุดท้ายยังไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากไม่ผ่านการพิจารณาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ขณะที่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศมาเลเซีย รัฐบาลมาเลเซียมีนโยบายที่ริเริ่ม และ ให้การต้อนรับผู้ผลิตภาพยนตร์มาโดยตลอด โดยมีการลดหย่อนภาษีการถ่ายทำภาพยนตร์ ทั้งยังให้ผลประโยชน์ต่าง ๆ แก่กองถ่ายภาพยนตร์จากต่างประเทศ เช่น งดเว้นภาษีทุกประเภทให้แก่การถ่ายทำ และคืนค่าใช้จ่ายบางส่วนแก่คณะถ่ายทำ จึงทำให้กองถ่ายภาพยนตร์จากต่างประเทศเติบโตในประเทศมาเลเซียอย่างมาก และ เป็นตัวเลือกแรก ๆ ของกองถ่ายทำภาพยนตร์ที่ต้องการเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หลังจากที่มีข่าวคราวว่ากองถ่ายจากต่างชาติหันหลังให้ประเทศไทย ในวันที่ 1 ตุลาคม 2563 เพจเฟซบุ๊ก กรมการท่องเที่ยว จึงออกมาตอบรับ โดยโพสคู่มือรองรับคณะถ่ายทำภาพยนตร์จากต่างประเทศในรูปแบบวิถีใหม่ เพื่อเป็นแนวปฏิบัติในการถ่ายทำภาพยนตร์จากต่างประเทศในประเทศไทย โดยมีเนื้อหาในด้านของการบริหารจัดการในกองถ่ายทำภาพยนตร์ และมาตรการป้องกันโรคตามที่ส่วนราชการกำหนด ทั้งยังเชิญชวนให้คนไทยเป็นเจ้าบ้านที่ดี เพื่อให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์และภาคการท่องเที่ยวของไทยฟื้นกลับมาอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม การตอบสนองด้วยการรับรองการถ่ายทำภาพยนตร์ด้วยมาตราการป้องกันไวรัสโควิด-19 ที่มีประสิทธิภาพ และการเป็นเจ้าบ้านที่ดีของคนไทยอาจยังไม่เพียงพอ หากรัฐให้ความสำคัญกับนโยบายด้านภาษีมากขึ้นในการส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ประเทศไทยจะกลายเป็นตัวเลือกแรก ๆ ของการถ่ายทำภาพยนตร์ในอาเซียนอย่างแน่นอน
โดยที่ผ่านมา ประเทศไทยเคยเป็นสถานที่ถ่ายฉากสำคัญ ในหนังเรื่องดัง อาทิ Fast and Furious 9 หรือ Fast 9 เตรียมเข้ามาถ่ายทำในประเทศไทย โดยเลือกพื้นที่ จ.กระบี่ และยังมีฉากหนังดัง อย่าง The Hangover 2 ที่ใช้สถานที่ถ่ายทำ ทั้ง โรงแรมในจังหวัดกระบี่ หรืออาคารสุดหรู เลอบัว แอท สเตททาวเวอร์ กรุงเทพมหานคร
Mechanic: Resurrection ได้ Jason Statham นำแสดง ก็ยกกองถ่ายมาถ่ายทำบางฉากในไทย หลัก ๆ แล้วจะเป็นพื้นที่ทางภาคใต้เช่นเกาะยาวน้อย-เกาะยาวใหญ่ อ่าวพังงา, เมืองพัทยา, ภูเก็ต หรือในกรุงเทพมหานครก็จะมี วัดอรุณ, แม่น้ำเจ้าพระยา ,The Beach ที่มี Leonardo DiCaprio เป็นนักแสดงนำ เป็นเรื่องราวของเกาะสวรรค์ลึกลับ จนทำให้ทะเลไทยดังไปทั่วโลกโดย ถ่ายทำกันที่เกาะพีพีเล, อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่, ถนนข้าวสาร, กระบี่และภูเก็ต
คอนเสิร์ตท้ายปีวูบ 50% ผู้จัดกัดฟันปรับโมเดลใหม่สู้
https://www.prachachat.net/marketing/news-531005
คอนเสิร์ตปลายปีกร่อย มาตรการโควิดทำยอดคนดูหาย ต้นทุนสูง เศรษฐกิจซบ-กำลังซื้อหด หาสปอนเซอร์ยาก จำนวนงานลดลงมากกว่า 50% ซีไอ-แกรมมี่ลุยงานประจำปี “ซีซั่นออฟเลิฟซอง-บิ๊กเมาน์เท่น” “อินเด็กซ์” ลุยคอนเสิร์ตไฮบริด ปลุกกระแสธุรกิจตื่นตัว-ไม่หวังกำไร
ดูเหมือนว่าช่วงโค้งท้ายปลายปีที่เป็นไฮซีซั่นของงานคอนเสิร์ตปีนี้อาจจะไม่คึกคักเหมือนปีที่ผ่าน ๆ มา โดยเฉพาะในจำนวนงานอาจหายไปมากกว่าครึ่งเมื่อเทียบปีก่อน ๆ งานเล็กงานน้อยไม่มีโอกาสจะแจ้งเกิด เหลือแต่งานใหญ่ที่ได้รับความนิยมและติดตลาดเท่านั้น
โดยปัจจัยหลัก ๆ มาจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทำให้การจัดงานคอนเสิร์ตมีความท้าทายมากขึ้น โดยเฉพาะมาตรการเว้นระยะห่างที่ทำให้ต้นทุนการจัดพุ่งสูงขึ้นแต่รายได้ลดลง และยังมีเรื่องของเศรษฐกิจที่ชะลอตัว กำลังซื้อที่ลดลง เป็นตัวแปรที่ทำให้บรรดาสปอนเซอร์ต้องคิดหนัก
โค้งท้ายงานหายไปกว่าครึ่ง
นายญาณกร อภิราชกมล กรรมการบริหาร บริษัท ครีเอท อินเทลลิเจ้นซ์ จำกัด หรือซีไอ (CI) ผู้จัดงานเอาต์ดอร์ เฟสติวัล อาทิ เสม็ดอินเลิฟ ซีซั่นออฟเลิฟซอง เป็นต้น เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปีนี้ธุรกิจจัดคอนเสิร์ตได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 อย่างหนัก โดยคาดว่าในช่วงปลายปีที่เป็นไฮซีซั่นจำนวนงานจะลดลงไปมากกว่า 50% จากปีก่อน ๆ
นอกจากปัจจัยในเรื่องของเศรษฐกิจและกำลังซื้อแล้ว การจัดงานภายใต้เงื่อนไขในเรื่องของการเว้นระยะห่างจะทำให้จำนวนคนสูงสุดที่เข้าร่วมงานลดลงไปมากกว่าครึ่งหนึ่ง และทำให้ต้นทุนการจัดสูงขึ้น ขณะที่แบรนด์สินค้าที่เป็นสปอนเซอร์หลาย ๆ รายก็ลดการใช้งบฯการตลาดลง
อย่างไรก็ตาม งานคอนเสิร์ตที่จะเกิดในช่วงปลายปีหลัก ๆ จะเป็นงานใหญ่ที่เคยจัดต่อเนื่องมาหลายปีจนมีฐานแฟนคลับเหนียวแน่น และสปอนเซอร์เชื่อมั่นในศักยภาพ อาทิ ซีซั่นออฟเลิฟซอง,บิ๊กเมาน์เท่น รวมถึงงานคอนเสิร์ตของผู้จัดรายใหญ่ที่มีทรัพยากรเพียงพอ เช่น มีศิลปินในสังกัด ส่วนงานที่มีศิลปินต่างชาติเข้าร่วม อาทิ งานอีดีเอ็ม คงต้องงดไปโดยปริยาย หรือเลื่อนออกไปแบบไม่มีกำหนด เนื่องจากยังมีข้อห้ามการเดินทางเข้าประเทศ
“จากเงื่อนไขต่าง ๆ ดังกล่าว ทำให้ผู้จัดงานต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบหรือโมเดลการจัดงานค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม ไตรมาสสุดท้ายนี้ บริษัทมีแผนจะจัดคอนเสิร์ตใหญ่ 2 งาน คือ ซิงกิ้งออนเดอะร็อก และซีซั่นออฟเลิฟซอง ซึ่งลดจำนวนผู้เข้าร่วมงานลงประมาณ 50% อย่างซีซั่นออฟเลิฟซอง ลดจาก 2.8-3.5 หมื่นคน เหลือเพียง 1.5 หมื่นคน พร้อมร่วมมือกับสปอนเซอร์และพันธมิตรลดค่าใช้จ่ายด้านต่าง ๆ อาทิ ค่าเช่าสถานที่ ค่าศิลปิน เพื่อให้สามารถจัดงานได้โดยไม่ขาดทุน” นายญาณกรกล่าว
แกรมมี่-อินเด็กซ์ โอดงานน้อย ชูโมเดลใหม่
นายยุทธนา บุญอ้อม รองกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส หน่วยงาน Showbiz บริษัท จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ช่วงปลายนี้จำนวนงานมิวสิกอีเวนต์ยังน้อยกว่าที่คาดไว้ เพราะบางงานเลื่อนไปอยู่ปีหน้า และบางงานก็ยกเลิกไป อย่างไรก็ตาม ปลายปีนี้บริษัทเตรียมจะจัดคอนเสิร์ตใหญ่ 3-5 งาน อาทิ The Gentlemen Live, บิ๊กเมาน์เท่น มิวสิค เฟสติวัล, เชียงใหญ่ และแฟนโทเปีย เป็นต้น โดยการจัดงานดังกล่าวบริษัทจะเน้นการบริหารต้นทุน ไม่ว่าจะเป็นการเจรจากับซัพพลายเออร์ และเจ้าของพื้นที่ รวมถึงศิลปิน เพื่อคุมต้นทุนให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
พร้อมกับปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดงาน อย่างงานบิ๊กเมาน์เท่น ได้ใช้ระบบ RFID ตรวจคัดกรองของคนเข้างาน ตลอดจนการติดตามเฉพาะบุคคล และก่อนเข้างาน จะมีการแจกเสื่อพลาสติกขนาด 1 ตารางเมตร ให้ใช้ยืนดูภายในงาน เป็นการกำหนดให้ทุกคนจะยืนห่างกัน 1 เมตร รวมถึงการแบ่งโซนร้านอาหาร และร้านขายเครื่องดื่ม ให้อยู่ในพื้นที่ที่จัดไว้ ตามที่ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ ศบค.กำหนด
“วันนี้ธุรกิจอีเวนต์และคอนเสิร์ตจะได้รับการปลดล็อกแล้ว แต่การจัดงานจะต้องอยู่ใต้กฎเกณฑ์การเว้นระยะห่างทางสังคม ต้องจำกัดจำนวนคนเข้างานลงกว่า 50% ส่งผลให้ผู้จัดงานต้องแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้น รวมทั้งการมีต้นทุนในเรื่องระบบการคัดกรองเข้ามาด้วย ในทางกลับกันรายรับกลับลดลง เพราะคนดูน้อย รายได้จากสปอนเซอร์ก็จะลดลงตามไปด้วย”
นายเกรียงไกร กาญจนะโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด (มหาชน) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ช่วงปลายปีนี้ อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ เตรียมจะจัดงานคอนเสิร์ตอินดอร์ฯ 2-3 งาน ทั้งศิลปินเดี่ยวและศิลปินกลุ่ม ในรูปแบบไฮบริดขายบัตรทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ตอนนี้อยู่ระหว่างการวางแผนการจัดงานและเจรจากับสปอนเซอร์ที่ยังกังวลเรื่องการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อที่ลดลง โดยโมเดลที่บริษัทจัดขึ้นจะเรียกว่า friendship economy คือ ทุกคนมาเป็นพาร์ตเนอร์กันหมด ไม่มีค่าตัว แล้วกำไรแบ่งกัน เป็นการปรับตัวเพื่อให้มีงานเกิดขึ้น ด้วยรูปแบบที่เป็นไฮบริดคอนเสิร์ตคือ มีทั้ง online และ offline และมีคนเข้ามาชมจริง ๆ
“สิ่งที่ต้องการจากการจัดงานก็คือ การปลุกกระแสให้อุตสาหกรรมอีเวนต์ตื่น เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับทั้งผู้คน รวมทั้งเป็นการสร้างความมั่นใจให้ ศบค.ไม่ได้มองผลกำไรเป็นตัวตั้ง” นายเกรียงไกรกล่าวย้ำ