อินเดียโดนๆ : ภาพยนตร์อินเดียที่ "สร้างจากเรื่องจริง" ไม่ติงนัง (มาต่อกันอีกนิ๊ดดดดดด)

ต่อเนื่องจากโพสต์ท์ที่แล้วกันจ้า มาชวนคุยเรื่อง "ภาพยนตร์ที่สร้างจากเรื่องจริง ไม่ติงนัง" ที่ส่วนตัวเราประทับใจ (ต่อ) ค่ะ 🥰🤟

ฝากเพจเล็ก ๆ ของเราด้วยนะคะ : www.CHARMSHANTI.com

เรื่องจริงอิงคดีสืบสวน :
☢️ Talvar – แค่เอ่ยชื่อนักแสดงนำผู้เปี่ยมด้วยความสามารถอย่าง Irrfan Khan (ล่วงลับไปแล้ว - RIP) การันตีคุณภาพของหนังได้เลยโดยเฉพาะหนังที่ต้องการความเด่นชัดในการสื่ออารมณ์ 👍 เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับคดีที่เกิดขึ้นจริงใน Noida ปี 2008 เป็นคดีที่ยังปิดไม่ลง 🕵️‍♀️ ยังสรุปหาตัวคนร้ายที่ทำให้เด็กหญิงอายุ 13 ปี เสียชีวิตในอพาร์ทเม้นท์ไม่ได้ 🏢 เธอเสียชีวิตในชณะที่พ่อกับแม่ก้อนอนอยู่ในห้องถัดไปที่ติดกัน... ❓ เรื่องราวดำเนินแบบไม่หวือหวา แต่ที่ทำให้หนังโดดเด่นสำหรับเราคือการแสดงอารมณ์ของผู้เล่นแต่ละคน ถ่ายทอดอารมณ์ได้ดีมากทั้งสายตา ท่าทาง หลอกให้เราสับสน ❓ หลักฐานก้อมีแทรกเข้ามาเรื่อย ๆ บทสนทนาที่แฝงความน่าสงสัยได้ในทุกคนที่เกี่ยวข้องที่จุดเกิดเหตุนั้น ❓ ดูหนังไป.. คิดไป... ต้องติดตามทุกบทสนทนา ดูว่าใครกันแน่เป็นผู้ทำร้ายเด็กน้อยคนนี้ ถ้าชอบหนังแนวหนัก ๆ หน่อย เน้นเรื่องอารมณ์ และการคิดตาม เรื่องนี้น่าจะเหมาะนะคะ จบแล้วยังต้องนั่งก่ายหน้าผากคิดต่อ อั๊ยหย่ะ 😅 👥 ❓


Special 26 – เป็นเรื่องราวของกลุ่มโจร 18 มงกุฎที่เกิดขึ้นในช่วงปี 1980 – 1987 🕵️‍♀️ ในขณะที่บางรีวิวชี้เจาะจงไปแค่ว่าเป็นคดีปล้นร้านเพชรในมุมไบที่ได้ไปหลายล้านรูปี แต่ถ้าเราดูหนังเรื่องนี้จริง ๆ จะเห็นว่าเดอะแก๊งค์เนียนเซียนโจรนี้ปล้นพลิ้วกันมาตลอดตั้งแต่ปี ’80 รวมทั้งสิ้นประมาณ 50 คดี 😳 พี่ไทยอย่างเราดูแล้วอาจจะสงสัยว่ามันทำได้ถี่แบบนั้นเลยเหรอ ส่วนตัวเราคิดว่าเบื้องต้นเราต้องเข้าใจวัฒนธรรมสังคมอินเดียอย่างนึงก่อนว่า ประชาชนจะให้ความนับถือและยำเกรงคนในเครื่องแบบและข้าราชการ จะเห็นได้ง่าย ๆ จากการที่ตำรวจจะขอตรวจค้นอะไรบนท้องถนนก้อได้ เรียกให้ใครหยุดก้อได้ บางทีเดินเข้าไปในร้านค้าในบริษัทเลยก้อได้ 😳 ซึ่งโดยระเบียบแล้วต้องมีหมายค้นหรือใบขอตรวจ แต่ระบบราชการกับประชาชนของอินเดียไม่ได้เคร่งครัดขนาดนั้น บวกกับการคอรัปชั่นก้อเยอะ ผู้คนทำมาหากินแบบไม่ส่งภาษีเข้าระบบก้อแยะโดยเฉพาะระบบการค้าขายด้วยเงินสด ซึ่งหมายความว่าแต่ละบริษัท ห้างร้าน ร้านค้าต่าง ๆ จะมีเงินสดเก็บไว้ (มากหรือน้อย สุดแล้วแต่) 💲💲 พอเราเข้าใจจุดนี้แล้วก้อจะยิ่งดูหนังได้อินเข้าไปอีกว่า เฮ้ย ทำไมถึงปล้นร้านเพชรใหญ่กลางเมืองมุมไบได้ภายในแค่ 30 นาที! ่ส่วนตัวที่เราประทับใจหนังเรื่องนี้คือ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นตั้งแต่ยุค ’80 ตอนนั้นยังไม่มีเครื่องมือเครื่องไม้อะไรที่ทันสมัยมาก ไม่มีอินเทอร์เน็ต แล้วงี้เค้ามีการวางแผนกี่ชั้น สื่อสารกันยังไง ลวงตำรวจแบบไหน ฉลาดเนียนเฟร่อถึงบอร์อะไร สับขาหลอก ปอกหอมแดง แกงไก่ ไรต้า อั๊คช่า ปาปิยองกันขนาดไหน ❓ ต้องดูเลยจ้า! เรื่องนี้เพลินนนน บอกเลย! 😊❤️🙏


Sanju - ออกตัวไว้นิดนึงสำหรับเรื่องนี้ ส่วนตัวเราคิดว่าน่าเหมาะกับแฟนพันธุ์แท้ สาย Bollywood เพราะเป็นเรื่องราวเจาะจงเกี่ยวกับนักแสดงอินเดียคนนึง คือถ้าเราไม่รู้จักหรือไม่เคยได้ดูผลงานเค้า ก้ออาจจะไม่อิน แต่ถ้าใครอยากลองดูแง่มุมชีวิตเค้าที่โลดโผนในวงการบันเทิงและยาเสพย์ติด ลองเปิดใจเดินทางไปกับเรื่องนี้ดูค่ะ 😊
มาว่ากันที่เรื่องนี้เล๊ยยย เป็นเรื่องจริงของนักแสดง Bollywood ชื่อดัง Sanjay Dutt นักแสดงผู้มีชีวิตหกคะเมนตีลังกาอย่างกับนั่งรถไฟเหาะ ทั้งติดยา ค้ายา พัวพันกับแก๊งค์ยาเสพย์ติด ผู้ก่อการร้าย (ถูกกล่าวหาหรือว่าจะจริง❓) ฯลฯ แต่ยังคงกลับมาสู่เส้นทางแห่งทางวงการบันเทิงได้ 😳 ซึ่งเป็นการยากมากที่จะทำได้โดยเฉพาะในสังคมที่เคร่งครัดอย่างอินเดีย สิ่งที่เราประทับใจในหนังเรื่องนี้คือ การแสดงของแต่ละคาแรคเตอร์ ไม่เฉพาะตัวเอกอย่าง Ranbir Singh เรื่องนี้เรากลับชอบตัวรองมากกว่าอย่าง Vicky Kaushal (เพื่อนพระเอก) 😊 ส่วนตัวหนังเองสื่อความแน่นแฟ้นของเพื่อนไม่ทิ้งกันของสองหนุ่มนี้ และตัวเขาก้อถ่ายทอดอารมณ์ออกมาได้อย่างดี 💙👍 และชื่อผู้กำกับอย่าง Rajkumar Hirani (➡️ ผู้กำกับ PK และ 3 Idiots ที่แฟนหนังอินเดียคนไทยเรารู้จักเป็นอย่างดี ⬅️) น่าจะการันตีหนังเรื่องนี้ได้ระดับนึงเลยทีเดียว
▶️ อย่างไรก้อดีในกระแสวิจารณ์หนังของคนอินเดียมีนักวิจารณ์บางคนแย้งว่าหนังเรื่องนี้ไม่ใช่ชีวประวัติของซันเจย์เพราะมีบุคคลสำคัญในชีวิตเค้าหลายคนที่ไม่ได้ถูกกล่าวถึง เช่น ภรรยาทั้ง 2 คนของเค้า เพื่อนสนิทอีกคนของเค้าที่เคียงบ่าเคียงไหล่กันฝันฟ่ามาตลอดในชีวิตของเค้า และผู้ทำหนังอีกคนนึงที่ถ้าไม่มีคนนี้ก้อไม่มีซํนเจย์ในวันนี้ (แปลข้อมูลอ้างอิงจาก thenational.ae)
▶️ถ้าอยากรู้จักเค้าเพิ่มเติม มีหนังสือชีวประวัติของเค้าที่ออกมาในปีเดียวกันด้วย (2018) ชื่อ Sanju Dutt – the Crazy Untold Story of Bollywood’s Bad Boy แต่น่าจะยังไม่มีฉบับแปลไทยนะจ้ะ


Class of ‘83
เรื่องนี้เป็นหนังที่บริษัทผู้สร้างร่วมกับ Netflix สร้างจากเรื่องจริงของตำรวจน้ำดีในมุมใบ ขื่อ Vijay Singh ในปี 1983 ⭐️ ตามชื่อเรื่องเลย เค้าเสียภรรยาและลูกไปในการต่อกรกับอิทธิพลมาเฟีย ต่อมาเค้าได้มาเป็นผอ. โรงเรียนฝึกตำรวจในนาซิก (Nashik) และได้พบกับนักเรียนเตรียมตำรวจ 5 คน ที่ไม่ได้ทำตัวอยู่ในกรอบ ทำอะไรห่าม ๆ กล้า บ้าบิ่น แต่รักกันและกันดี 👌 เค้าจึงมีความคิดที่จะฝึกนักเรียนทั้ง 5 คนนี้แล้วส่งเข้าไปแทรงแซงในวงการตำรวจและจัดการตำรวจที่คอรัปชั่นและไปจนถึงจัดการกับมาเฟียคนนั้น 🤝 ส่วนตัวเราคิดว่าการดำเนินเรื่องอาจจะไม่เร้าใจมากนัก บทก้อพอได้อยู่ แต่ส่วนตัวเราชอบในความกล้าคิดกล้าในการทำแบบนี้ของทั้งตัว Vijay เอง และตำรวจทั้ง 5 คน 🤟 ซึ่งถ้าเราลองหลับตาแล้วนึกถึงเรื่องจริง วงการตำรวจอินเดีย อย่างที่เรารู้กัน ว่ามาเฟียก้อเยอะ คอรัปชั่นก้อแยะ การที่จะลุกขึ้นมาทำอะไรแบบนี้ได้ สำหรับเราคิดว่าคือพวกเค้า "ต้องกล้า" "ต้องบ้า" จริง ๆ ‼️ สรุปว่าเรื่องนี้ส่วนตัวเราประทับใจในความกล้าที่เป็นเรื่องจริง ให้เหรียญกล้าบ้าบิ่นไปเล๊ยยยยยย! 😆👍 ส่วนตัวหนังนั้น เอาไว้ดูเพื่อให้รู้เรื่องราว ส่วนเรื่องที่ว่าจะทำสำเร็จหรือไม่นั้น ต้องไปลุ้นดูในหนังเอาเองเด้อค่าาาาา 😉
ปล. เรื่องนี้ไม่ได้สร้างมาในแนวหนัก ๆ เหมือนหนังตำรวจอื่น ค้นไปค้นมาเราถึงรู้ว่าหนังเรื่องนี้สร้างจากบริษัท Red Chillies Entertainment ของเฮีย Sharukh Khan ร่วมกับทาง Netflix ฟีลลิ่งหนังเลยออกแนวเบากว่าหนังตำรวจทั่วไปตามสไตล์พี่เค้าหล่ะ (แปลข้อมูลอ้างอิงจาก hindustantimes.com) 🙂


(credit photo : NetFlix)

🧡💚 ☢️ ยังมีหนังอินเดียที่สร้างจากเรื่องจริงที่ประทับใจที่น่าดูอีกหลายเรื่อง (เสียดายที่บางเรื่องหาดูไม่ได้ที่เมืองไทย) หรือหนังแนวแอ็คชั่นบู๊ล้างผลาญ งานระเบิดภูเขาเผากระท่อม แนวสืบสวน แนวพลิกตอนจบ แนวดีต่อใจ ฯลฯ ก้อมีดีอีกหลายยยยยยเรื่องเหมือนกัน ไว้โอกาสต่อ ๆ ไปจะมาชวนคุยอีกเด้อค่ะเด้อ หรือถ้าเพื่อน ๆ อยากชวนคุยเกี่ยวกับหนังแนวไหน อะไร ยังไง คุยมาได้เลยนะคะ เล่าสู่กันฟังเพลิน ๆ ค่ะ 🙂🥰✌️🤟

(credit photo : thank you to all respective owners from internet)
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่