แอร์ไม่เย็นเกิดจากอะไรได้บ้าง? ตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง (รวมวิธีแก้ปัญหาเบื้องต้นเมื่อแอร์ไม่เย็น)
ใครบอกว่าอากาศประเทศไทยมีแต่หน้าร้อน ไม่จริง! เพราะยังมีร้อนมาก ร้อนมากๆๆๆ ร้อนไม่ไหวแล้วววว เวลาเราซื้อแอร์หรือเครื่องปรับอากาศมาก็หวังใจให้มาช่วยต่อสู้กับอากาศเมืองไทยที่ร้อนตับแล่บ วาดฝันไว้ว่าต้องเปลี่ยนห้องที่เหมือนเตาอบให้กลายเป็นตู้แช่แข็งให้ได้! แต่แอร์เจ้ากรรมดันไม่เย็นซะนี่ หมดกันฝันสลาย
อาการแอร์งอแงไม่เย็นเป็นปัญหาที่คนติดแอร์มักจะต้องเจอและกังวลอย่างมาก คิดไว้ว่าจะต้องได้ซื้อแอร์ใหม่แน่ๆ แต่อย่าพึ่งตกใจไป! ทุกปัญหามีทางแก้ หากแอร์มีอาการงอแงไม่เย็น ให้เรารีบหาสาเหตุกันก่อน เพราะแอร์ไม่เย็นเกิดได้จากปัจจัยหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยภายนอก ที่เกิดจากทั้งสิ่งที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ ดังนี้
- รีโมทแอร์
- ความร้อนในห้องสะสมมากเกินไป
- สภาพภูมิอากาศ
- แผงระบายความเย็นหรือความร้อนเกิดการอุดตัน
เรามาดูกันดีกว่าว่าแต่ละสาเหตุจริงๆ แล้วเกิดจากอะไรและมีวิธีการแก้ไขอย่างไรให้ถูกวิธีและตรงจุดบ้าง
สาเหตุที่ทำให้แอร์ไม่เย็น
1. ปัญหาจากรีโมทแอร์
ให้หยิบรีโมทขึ้นมาแล้ว สังเกตที่หน้าจอว่าแอร์กำลังทำงานอยู่ในโหมดอะไร บางครั้งเราอาจจะเผลอไปกดโดนโหมด Dry หรือโหมด Fan ที่จะไม่ได้ทำหน้าที่ในการผลิตความเย็น จึงทำให้ลมที่ออกจากแอร์มีเพียงลมในอุณหภูมิของห้องเท่านั้น ดังนั้นจึงให้สังเกตหน้าจอรีโมทแอร์ว่ามีสัญลักษณ์รูปหยดน้ำหรือรูปพัดลมปรากฏปอยู่หน้าจอหรือเปล่า ก่อนที่จะตื่นตระหนกว่าแอร์ไม่เย็น
วิธีแก้ : ปรับแอร์ให้อยู่ในโหมด Cool ที่มีสัญลักษณ์เป็นรูปหิมะ เพราะโหมดนี้จะมีการปล่อยลมเย็นออกมา จะช่วยให้ห้องเย็นฉ่ำที่สุด อีกทั้งยังสามารถตรวจสอบได้อีกว่าเครื่องปรับอากาศมีปัญหาหรือไม่ด้วยการปรับใช้โหมด Cool และปรับแรงพัดลมสูงสุดเพื่อตรวจสอบแรงลมที่ออกมาว่าทั่วถึงหรือไม่
(ถ้าอยากรู้ว่าแต่ละโหมดทำงานอย่างไร คลิกเลย 👉
https://ppantip.com/topic/40201474 >> เรื่องน่ารู้โหมดความเย็น ปรับยังไงให้โดนใจ จะช่วยให้เข้าใจการทำงานของโหมดของโหมดความเย็นแต่ละอันมากยิ่งขึ้น)
2. ปัญหาความร้อนในห้องสะสมมากเกินไป
ในที่นี้หมายถึงการที่เราเป็นคนทำให้ห้องเกิดความร้อน ได้แก่ การประกอบอาหารในห้อง ไม่ว่าจะเป็นการใช้หม้อทอดไร้น้ำมัน หม้อชาบู เตาปิ้งย่าง หรือแม้แต่การต้มน้ำร้อนในห้อง และยังรวมไปถึงความร้อนที่ออกมาจากเครื่องใช้ไฟฟ้าในห้อง
การที่ในห้องของเรามีความร้อนมากเกินไป นอกจากจะทำให้ห้องไม่เย็นแล้วยังจะทำให้ค่าไฟพุ่งกระฉูดอีกด้วย
วิธีแก้ : ให้เรางดพฤติกรรมต่างๆ ที่ก่อให้เกิดความร้อนในห้อง หากเลี่ยงไม่ได้ก็อาจลดระยะเวลาในการประกอบอาหารให้สั้นลง ก็จะช่วยให้แอร์ของเราไม่ทำงานหนักและยังทำให้อากาศในห้องเย็นขึ้นกว่าเดิม
3. ปัญหาสภาพภูมิอากาศ
จะเป็นสิ่งที่นอกเหนือจากการควบคุมของเราจริงๆ เพราะไม่มีใครสามารถควบคุมสภาพอากาศได้ ปัญหานี้จะเกิดในช่วงหน้าร้อนซึ่งก็คือเกือบทั้งปีของไทยนั่นเอง อากาศภายนอกที่ร้อนจะทำให้อากาศในห้องร้อนตามไปด้วย หรือตำแหน่งของห้องเป็นตำแหน่งที่รับแสงจากดวงอาทิตย์แบบเต็มๆ ในตอนกลางวัน ก็คือเตาอบดีๆ นี่เอง แต่ไม่ต้องกังวลไปทุกปัญหามีทางแก้อยู่แล้ว
วิธีแก้ : รับมือกับความร้อนด้วยเปิดหน้าต่างเพื่อระบายความร้อนก่อนที่จะเปิดเครื่องปรับอากาศอย่างน้อย 15 นาที เพราะการที่เรายิ่งปิดไว้จะทำให้ห้องอบอวลไปด้วยความร้อน ควรติดม่านเพื่อช่วยป้องกันไม่ให้แสงแดดเข้ามาในห้องเพิ่มเติม เมื่อเปิดแอร์ให้ปรับใช้โหมด Hi-Power เพื่อช่วยเร่งการทำความเย็น แทนการเปิดแอร์แล้วเร่งให้อุณหภูมิต่ำทันที
4. เกิดจากแผงระบายความเย็นหรือความร้อนอุดตัน
สิ่งที่ทำให้แผงระบายความเย็น-ความร้อนอุดตันก็คือฝุ่นละออง เชื้อรา สิ่งสกปรกต่างๆ เป็นต้น จริงอยู่ที่เป็นเรื่องปกติของแผงระบายที่ต้องเป็นตัวผ่านของสิ่งสกปรก แต่เราก็ไม่ควรที่จะละเลยในการทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศของเรา การที่แผงระบายเกิดการอุดตันนอกจากจะทำให้ให้เครื่องปรับอากาศไม่เย็นแล้วยังทำให้อายุการใช้งานของเครื่องปรับอากาศลดลงอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีอาการแฝงที่จะเกิดตามมาจากการอุดตันที่แผงระบายคือ มีน้ำหยดออกมาจากตัวแอร์อีกด้วย
วิธีแก้ : วิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้ไม่เกิดการอุดตันคือการทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศอยู่สม่ำเสมอ และหมั่นทำการล้างแอร์ทุกๆ 4-6 เดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของห้องที่ใช้งาน เพื่อให้แอร์สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
เคล็ดไม่ลับ

รู้หรือไม่!? เราสามารถเช็กสถานะของเครื่องปรับอากาศด้วยการตรวจสอบ Error Code ซึ่งวิธีการอ่าน Error Code จะต่างกันไปในแต่ละยี่ห้อของเครื่องปรับอากาศ ซึ่งจะมีบอกวิธีการตรวจเช็ก Error Code ในคู่มือเครื่องปรับอากาศของที่ได้มาตอนซื้อเครื่องนั่นเอง เพราะฉะนั้นอย่าพึ่งทิ้งกันล่ะ
หมายเหตุ : Error Code คือ รหัสที่ใช้บอกอาการผิดปกติขอเครื่องปรับอากาศ อาจมาในรูปแบบสัญญาณไฟกระพริบหรือรูปแบบสัญลักษณ์อักษรหรือสัญลักษณ์ตัวเลข ขึ้นอยู่กับเครื่องปรับอากาศยี่ห้อนั้น
แอร์ไม่เย็นเกิดจากอะไรได้บ้าง? ตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง (รวมวิธีแก้ปัญหาเบื้องต้นเมื่อแอร์ไม่เย็น)
ใครบอกว่าอากาศประเทศไทยมีแต่หน้าร้อน ไม่จริง! เพราะยังมีร้อนมาก ร้อนมากๆๆๆ ร้อนไม่ไหวแล้วววว เวลาเราซื้อแอร์หรือเครื่องปรับอากาศมาก็หวังใจให้มาช่วยต่อสู้กับอากาศเมืองไทยที่ร้อนตับแล่บ วาดฝันไว้ว่าต้องเปลี่ยนห้องที่เหมือนเตาอบให้กลายเป็นตู้แช่แข็งให้ได้! แต่แอร์เจ้ากรรมดันไม่เย็นซะนี่ หมดกันฝันสลาย
อาการแอร์งอแงไม่เย็นเป็นปัญหาที่คนติดแอร์มักจะต้องเจอและกังวลอย่างมาก คิดไว้ว่าจะต้องได้ซื้อแอร์ใหม่แน่ๆ แต่อย่าพึ่งตกใจไป! ทุกปัญหามีทางแก้ หากแอร์มีอาการงอแงไม่เย็น ให้เรารีบหาสาเหตุกันก่อน เพราะแอร์ไม่เย็นเกิดได้จากปัจจัยหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยภายนอก ที่เกิดจากทั้งสิ่งที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ ดังนี้
- รีโมทแอร์
- ความร้อนในห้องสะสมมากเกินไป
- สภาพภูมิอากาศ
- แผงระบายความเย็นหรือความร้อนเกิดการอุดตัน
เรามาดูกันดีกว่าว่าแต่ละสาเหตุจริงๆ แล้วเกิดจากอะไรและมีวิธีการแก้ไขอย่างไรให้ถูกวิธีและตรงจุดบ้าง
สาเหตุที่ทำให้แอร์ไม่เย็น
1. ปัญหาจากรีโมทแอร์
ให้หยิบรีโมทขึ้นมาแล้ว สังเกตที่หน้าจอว่าแอร์กำลังทำงานอยู่ในโหมดอะไร บางครั้งเราอาจจะเผลอไปกดโดนโหมด Dry หรือโหมด Fan ที่จะไม่ได้ทำหน้าที่ในการผลิตความเย็น จึงทำให้ลมที่ออกจากแอร์มีเพียงลมในอุณหภูมิของห้องเท่านั้น ดังนั้นจึงให้สังเกตหน้าจอรีโมทแอร์ว่ามีสัญลักษณ์รูปหยดน้ำหรือรูปพัดลมปรากฏปอยู่หน้าจอหรือเปล่า ก่อนที่จะตื่นตระหนกว่าแอร์ไม่เย็น
วิธีแก้ : ปรับแอร์ให้อยู่ในโหมด Cool ที่มีสัญลักษณ์เป็นรูปหิมะ เพราะโหมดนี้จะมีการปล่อยลมเย็นออกมา จะช่วยให้ห้องเย็นฉ่ำที่สุด อีกทั้งยังสามารถตรวจสอบได้อีกว่าเครื่องปรับอากาศมีปัญหาหรือไม่ด้วยการปรับใช้โหมด Cool และปรับแรงพัดลมสูงสุดเพื่อตรวจสอบแรงลมที่ออกมาว่าทั่วถึงหรือไม่
(ถ้าอยากรู้ว่าแต่ละโหมดทำงานอย่างไร คลิกเลย 👉 https://ppantip.com/topic/40201474 >> เรื่องน่ารู้โหมดความเย็น ปรับยังไงให้โดนใจ จะช่วยให้เข้าใจการทำงานของโหมดของโหมดความเย็นแต่ละอันมากยิ่งขึ้น)
2. ปัญหาความร้อนในห้องสะสมมากเกินไป
ในที่นี้หมายถึงการที่เราเป็นคนทำให้ห้องเกิดความร้อน ได้แก่ การประกอบอาหารในห้อง ไม่ว่าจะเป็นการใช้หม้อทอดไร้น้ำมัน หม้อชาบู เตาปิ้งย่าง หรือแม้แต่การต้มน้ำร้อนในห้อง และยังรวมไปถึงความร้อนที่ออกมาจากเครื่องใช้ไฟฟ้าในห้อง
การที่ในห้องของเรามีความร้อนมากเกินไป นอกจากจะทำให้ห้องไม่เย็นแล้วยังจะทำให้ค่าไฟพุ่งกระฉูดอีกด้วย
วิธีแก้ : ให้เรางดพฤติกรรมต่างๆ ที่ก่อให้เกิดความร้อนในห้อง หากเลี่ยงไม่ได้ก็อาจลดระยะเวลาในการประกอบอาหารให้สั้นลง ก็จะช่วยให้แอร์ของเราไม่ทำงานหนักและยังทำให้อากาศในห้องเย็นขึ้นกว่าเดิม
3. ปัญหาสภาพภูมิอากาศ
จะเป็นสิ่งที่นอกเหนือจากการควบคุมของเราจริงๆ เพราะไม่มีใครสามารถควบคุมสภาพอากาศได้ ปัญหานี้จะเกิดในช่วงหน้าร้อนซึ่งก็คือเกือบทั้งปีของไทยนั่นเอง อากาศภายนอกที่ร้อนจะทำให้อากาศในห้องร้อนตามไปด้วย หรือตำแหน่งของห้องเป็นตำแหน่งที่รับแสงจากดวงอาทิตย์แบบเต็มๆ ในตอนกลางวัน ก็คือเตาอบดีๆ นี่เอง แต่ไม่ต้องกังวลไปทุกปัญหามีทางแก้อยู่แล้ว
วิธีแก้ : รับมือกับความร้อนด้วยเปิดหน้าต่างเพื่อระบายความร้อนก่อนที่จะเปิดเครื่องปรับอากาศอย่างน้อย 15 นาที เพราะการที่เรายิ่งปิดไว้จะทำให้ห้องอบอวลไปด้วยความร้อน ควรติดม่านเพื่อช่วยป้องกันไม่ให้แสงแดดเข้ามาในห้องเพิ่มเติม เมื่อเปิดแอร์ให้ปรับใช้โหมด Hi-Power เพื่อช่วยเร่งการทำความเย็น แทนการเปิดแอร์แล้วเร่งให้อุณหภูมิต่ำทันที
4. เกิดจากแผงระบายความเย็นหรือความร้อนอุดตัน
สิ่งที่ทำให้แผงระบายความเย็น-ความร้อนอุดตันก็คือฝุ่นละออง เชื้อรา สิ่งสกปรกต่างๆ เป็นต้น จริงอยู่ที่เป็นเรื่องปกติของแผงระบายที่ต้องเป็นตัวผ่านของสิ่งสกปรก แต่เราก็ไม่ควรที่จะละเลยในการทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศของเรา การที่แผงระบายเกิดการอุดตันนอกจากจะทำให้ให้เครื่องปรับอากาศไม่เย็นแล้วยังทำให้อายุการใช้งานของเครื่องปรับอากาศลดลงอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีอาการแฝงที่จะเกิดตามมาจากการอุดตันที่แผงระบายคือ มีน้ำหยดออกมาจากตัวแอร์อีกด้วย
วิธีแก้ : วิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้ไม่เกิดการอุดตันคือการทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศอยู่สม่ำเสมอ และหมั่นทำการล้างแอร์ทุกๆ 4-6 เดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของห้องที่ใช้งาน เพื่อให้แอร์สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
เคล็ดไม่ลับ
รู้หรือไม่!? เราสามารถเช็กสถานะของเครื่องปรับอากาศด้วยการตรวจสอบ Error Code ซึ่งวิธีการอ่าน Error Code จะต่างกันไปในแต่ละยี่ห้อของเครื่องปรับอากาศ ซึ่งจะมีบอกวิธีการตรวจเช็ก Error Code ในคู่มือเครื่องปรับอากาศของที่ได้มาตอนซื้อเครื่องนั่นเอง เพราะฉะนั้นอย่าพึ่งทิ้งกันล่ะ
หมายเหตุ : Error Code คือ รหัสที่ใช้บอกอาการผิดปกติขอเครื่องปรับอากาศ อาจมาในรูปแบบสัญญาณไฟกระพริบหรือรูปแบบสัญลักษณ์อักษรหรือสัญลักษณ์ตัวเลข ขึ้นอยู่กับเครื่องปรับอากาศยี่ห้อนั้น