คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
ตัวแทนเชิด และตัวการ ตาม ป.แพ่ง ม.821 กรณี ใช้ชื่อผู้อื่นซื้อรถ แล้วขาดส่งค่างวด ผลเป็นอย่างไร ตัวแทนเชิด จะดำเนินคดีกับตัวการ ในความผิดฐาน ยักยอก ได้หรือไม่ ไปหาคำตอบกันครับ
กรณี ตัวการใช้ชื่อผู้อื่น เช่าซื้อรถ ถือว่า ผู้อื่นนั้น คือ ตัวแทนเชิด ของตัวการ ซึ่ง ตัวการจะต้องรับผิดชอบทางแพ่งต่อการที่ตัวแทนเชิดได้กระทำไว้กับบุคคลภายนอกคือ บริษัท ผู้ให้เช่าซื้อรถ ตามสัญญาเช่าซื้อ หากตัวการ ขาดส่งค่างวดรถติดต่อกันหลายงวด บริษัท ฯ ย่อมมีสิทธิ์ฟ้องตัวแทนเชิดตามสัญญาเช่าซื้อ และฟ้องตัวการที่ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตัวแทนเชิด ตาม มาตรา 821 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในส่วนคดีอาญานั้น ตัวแทนเชิด ไม่สามารถดำเนินคดีฐานยักยอกทรัพย์กับตัวการได้ เพราะตัวแทนเชิด ไม่ใช่ผู้เสียหายคดีอาญาโดยตรง เนื่องจาก ไม่ใช่เจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ และไม่ใช่ ผู้มีสิทธิ์ครอบครองรถ เนื่องจากตัวแทนเชิดไม่ได้จ่ายเงินดาวน์ และไม่ใช่ผู้ส่งค่างวด เพราะเจ้าของรถที่แท้จริงคือตัวการที่ยืมชื่อตัวแทนเชิดเพื่อทำสัญญาให้มีคุณสมบัติตามที่บริษัท ฯ ต้องการเท่านั้น จึงจะอนุมัติการเช่าซื้อ โดย สิทธิครอบครองรถตกเป็นของตัวการ ตั้งแต่วันเช่าซื้อและส่งมอบรถให้ตัวการไปตั้งแต่วันทำสัญญา หากตัวแทนเชิด ไปยึดรถที่ตัวการครอบครองอยู่โดยพลการ ย่อมมีความผิดฐาน ลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์แล้วแต่กรณี แม้ตัวการจะขาดส่งค่างวดรถก็ตาม สิ่งที่ตัวแทนเชิดทำได้คือ แจ้งเบาะแสให้บริษัท ฯ ทราบว่ารถอยู่ที่ใดเพื่อตามยึดรถคืน ในส่วนทางแพ่ง ตัวแทนเชิดจะต้องรับผิดชอบต่อบริษัท ฯ ตามสัญญาเช่าซื้อ และไม่สามารถเรียกร้องเอากับตัวการได้ เว้นแต่จะได้ทำข้อตกลงหรือสัญญากันไว้ว่า หากตัวการไม่ส่งค่างวดรถ ดังนั้น ทางแก้ ก่อนจะให้เพื่อนยืมชื่อซื้อรถ ควรทำสัญญากันไว้ ระหว่างตัวแทนเชิดและตัวการ ดังนี้ 1.หาก ตัวการค้างชำระค่างวดรถและ ตัวแทนเชิดถูกบริษัท ฟ้องหรือเรียกร้องเพื่อชำระหนี้ หรือเรียกค่าเสียหาย ตัวการจะต้องรับผิดชอบชดใช้เงินคืนที่ตัวแทนเชิดได้จ่ายชำระหนี้แทนไป ก่อน 2. หากตัวการขาดส่งค่างวดเกิน 3 งวดติดต่อกัน และตัวแทนเชิดถูกบริษัท ฯ ฟ้องร้อง หรือมีหนังสือเรียกให้ชำระหนี้ ให้ตัวแทนเชิด มีสิทธืเข้าครอบครองรถได้และส่งค่างวดต่อไป หรือนำคืนบริษัท อย่างนี้ ก็จะทำให้ตัวแทนเชิดไม่มีความผิดฐาน ลักทรัพย์ ฯ เนื่องจากมีสิทธิ์ตามสัญญาที่ได้ทำกันไว้
คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๑๑๗/๒๕๖๒ แม้การเช่าทรัพย์สินนั้น ปกติผู้ให้เช่าย่อมเพ่งเล็งถึงคุณสมบัติของผู้เช่าว่าสมควรได้รับความไว้วางใจในการใช้และดูแลทรัพย์สินที่เช่าหรือไม่ สิทธิของผู้เช่าจึงมีสภาพเป็นการเฉพาะตัว เมื่อผู้เช่าตายสิทธิการเช่าตาม สัญญาเช่าก็เป็นอันระงับสิ้นสุดลง และไม่เป็นมรดกตกทอดไปถึงทายาทก็ตาม แต่สัญญาเช่าซื้อไม่ใช่สัญญาเช่าทรัพย์ธรรมดา แต่มีคำมั่นว่าจะขาย ทรัพย์โดยมีเงื่อนไขการชำระเงินกันเป็นครั้งคราวรวมอยู่ด้วย ถ้าผู้เช่าซื้อชำระเงินแก่ผู้ให้เช่าซื้อครบถ้วนตามเงื่อนไขก็จะได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น เพียงแต่การที่ผู้ให้เช่าซื้อจะให้บุคคลใดเช่าซื้อหรือไม่อาจพิจารณาคุณสมบัติของผู้เช่าซื้อว่ามีความสามารถที่จะชำระเงินให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อครบถ้วนตามเงื่อนไขที่กำหนดหรือไม่ โดยไม่ได้พิจารณาคุณสมบัติของผู้เช่าซื้อว่าสมควรได้รับความไว้วางใจในการใช้และดูแลทรัพย์สินที่เช่าซื้อหรือไม่ดังเช่นสัญญาเช่าทรัพย์ สิทธิที่จะได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตาม สัญญาเช่าซื้อจึงไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัว และไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายที่ห้ามตัวการมอบหมายหรือเชิดบุคคลอื่นเป็นตัวแทนทำสัญญาเช่าซื้อแทนตัวการ ตัวการจึงอาจมอบหมายหรือเชิดบุคคลอื่นที่มีความสามารถจะชำระเงินให้แก่ผู้เช่าซื้อตามเงื่อนไขที่ผู้ให้เช่าซื้อกำหนดเป็นตัวแทนทำเช่าซื้อแทนตนเองได้ ดังนั้น การที่ผู้เสียหายที่ ๒ ขอให้จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อรถกระบะจากผู้เสียหายที่ ๑ แทนผู้เสียหายที่ ๒ โดยผู้เสียหายที่ ๒ เป็นผู้ชำระเงินดาวน์แล้วรับมอบการครอบครองรถที่เช่าซื้อและผ่อนชำระค่าเช่าซื้อ ถือได้ว่าผู้เสียหายที่ ๒ มอบหมายหรือเชิดจำเลยเป็นตัวแทนในการทำสัญญาเช่าซื้อรถกระบะจากผู้เสียหายที่ ๑ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๘๒๑ โดยผู้เสียหายที่ ๒ เป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อ หาใช่ว่านิติสัมพันธ์ระหว่างผู้เสียหายที่ ๒ กับจำเลยไม่ใช่เรื่องตัวการตัวแทน แต่อย่างใดไม่
แม้จำเลยมีชื่อเป็นผู้เช่าซื้อ แต่จำเลยเป็นเพียงตัวแทนของผู้เสียหายที่ ๒ แล้วมอบรถที่เช่าซื้อให้แก่ผู้เสียหายที่ ๒ไปแล้ว ผู้เสียหายที่ ๒ จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองรถที่เช่าซื้อ ส่วนจำเลยไม่มีสิทธิครอบครองรถที่เช่าซื้อ แม้ต่อมาผู้เสียหายที่ ๒ ซึ่งตกลงจะให้จำเลยกู้ยืมเงินเพื่อตอบแทนที่จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อรถแทนผู้เสียหายที่ ๒ ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงกับจำเลยให้ครบถ้วน ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จำเลยจะเอารถที่เช่าซื้อคืนจากผู้เสียหายที่ ๒ การที่จำเลยเอารถที่เช่าซื้อไปจากผู้เสียหาย ที่ ๒ เพื่อเรียกร้องให้ผู้เสียหายที่ ๒ ปฏิบัติตามข้อตกลงเป็นการแย่งการครอบครองและเป็นการบังคับสิทธิทางแพ่งของตนโดยพลการ จึงเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเอง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์สำเร็จแล้ว แม้ต่อมาผู้เสียหายที่ ๒ ตกลงจะชำระเงินแก่จำเลย แล้วให้จำเลยคืนรถที่เช่าซื้อแก่ผู้เสียหายที่ ๒ และเมื่อถึงวันเวลานัดจำเลยขับรถที่เช่าซื้อไปรอผู้เสียหายที่ ๒ ก็หาทำให้การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ที่สำเร็จแล้วกลายเป็นการกระทำที่ไม่เป็นความผิดแต่อย่างใดไม่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ❯ มาตรา 821
มาตรา 821 บุคคลผู้ใดเชิดบุคคลอีกคนหนึ่งออกแสดงเป็นตัวแทนของตนก็ดี รู้แล้วยอมให้บุคคลอีกคนหนึ่งเชิดตัวเขาเองออกแสดงเป็นตัวแทนของตนก็ดี ท่านว่าบุคคลผู้นั้นจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนว่าบุคคลอีกคนหนึ่งนั้นเป็นตัวแทนของตน
กรณี ตัวการใช้ชื่อผู้อื่น เช่าซื้อรถ ถือว่า ผู้อื่นนั้น คือ ตัวแทนเชิด ของตัวการ ซึ่ง ตัวการจะต้องรับผิดชอบทางแพ่งต่อการที่ตัวแทนเชิดได้กระทำไว้กับบุคคลภายนอกคือ บริษัท ผู้ให้เช่าซื้อรถ ตามสัญญาเช่าซื้อ หากตัวการ ขาดส่งค่างวดรถติดต่อกันหลายงวด บริษัท ฯ ย่อมมีสิทธิ์ฟ้องตัวแทนเชิดตามสัญญาเช่าซื้อ และฟ้องตัวการที่ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตัวแทนเชิด ตาม มาตรา 821 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในส่วนคดีอาญานั้น ตัวแทนเชิด ไม่สามารถดำเนินคดีฐานยักยอกทรัพย์กับตัวการได้ เพราะตัวแทนเชิด ไม่ใช่ผู้เสียหายคดีอาญาโดยตรง เนื่องจาก ไม่ใช่เจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ และไม่ใช่ ผู้มีสิทธิ์ครอบครองรถ เนื่องจากตัวแทนเชิดไม่ได้จ่ายเงินดาวน์ และไม่ใช่ผู้ส่งค่างวด เพราะเจ้าของรถที่แท้จริงคือตัวการที่ยืมชื่อตัวแทนเชิดเพื่อทำสัญญาให้มีคุณสมบัติตามที่บริษัท ฯ ต้องการเท่านั้น จึงจะอนุมัติการเช่าซื้อ โดย สิทธิครอบครองรถตกเป็นของตัวการ ตั้งแต่วันเช่าซื้อและส่งมอบรถให้ตัวการไปตั้งแต่วันทำสัญญา หากตัวแทนเชิด ไปยึดรถที่ตัวการครอบครองอยู่โดยพลการ ย่อมมีความผิดฐาน ลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์แล้วแต่กรณี แม้ตัวการจะขาดส่งค่างวดรถก็ตาม สิ่งที่ตัวแทนเชิดทำได้คือ แจ้งเบาะแสให้บริษัท ฯ ทราบว่ารถอยู่ที่ใดเพื่อตามยึดรถคืน ในส่วนทางแพ่ง ตัวแทนเชิดจะต้องรับผิดชอบต่อบริษัท ฯ ตามสัญญาเช่าซื้อ และไม่สามารถเรียกร้องเอากับตัวการได้ เว้นแต่จะได้ทำข้อตกลงหรือสัญญากันไว้ว่า หากตัวการไม่ส่งค่างวดรถ ดังนั้น ทางแก้ ก่อนจะให้เพื่อนยืมชื่อซื้อรถ ควรทำสัญญากันไว้ ระหว่างตัวแทนเชิดและตัวการ ดังนี้ 1.หาก ตัวการค้างชำระค่างวดรถและ ตัวแทนเชิดถูกบริษัท ฟ้องหรือเรียกร้องเพื่อชำระหนี้ หรือเรียกค่าเสียหาย ตัวการจะต้องรับผิดชอบชดใช้เงินคืนที่ตัวแทนเชิดได้จ่ายชำระหนี้แทนไป ก่อน 2. หากตัวการขาดส่งค่างวดเกิน 3 งวดติดต่อกัน และตัวแทนเชิดถูกบริษัท ฯ ฟ้องร้อง หรือมีหนังสือเรียกให้ชำระหนี้ ให้ตัวแทนเชิด มีสิทธืเข้าครอบครองรถได้และส่งค่างวดต่อไป หรือนำคืนบริษัท อย่างนี้ ก็จะทำให้ตัวแทนเชิดไม่มีความผิดฐาน ลักทรัพย์ ฯ เนื่องจากมีสิทธิ์ตามสัญญาที่ได้ทำกันไว้
คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๑๑๗/๒๕๖๒ แม้การเช่าทรัพย์สินนั้น ปกติผู้ให้เช่าย่อมเพ่งเล็งถึงคุณสมบัติของผู้เช่าว่าสมควรได้รับความไว้วางใจในการใช้และดูแลทรัพย์สินที่เช่าหรือไม่ สิทธิของผู้เช่าจึงมีสภาพเป็นการเฉพาะตัว เมื่อผู้เช่าตายสิทธิการเช่าตาม สัญญาเช่าก็เป็นอันระงับสิ้นสุดลง และไม่เป็นมรดกตกทอดไปถึงทายาทก็ตาม แต่สัญญาเช่าซื้อไม่ใช่สัญญาเช่าทรัพย์ธรรมดา แต่มีคำมั่นว่าจะขาย ทรัพย์โดยมีเงื่อนไขการชำระเงินกันเป็นครั้งคราวรวมอยู่ด้วย ถ้าผู้เช่าซื้อชำระเงินแก่ผู้ให้เช่าซื้อครบถ้วนตามเงื่อนไขก็จะได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น เพียงแต่การที่ผู้ให้เช่าซื้อจะให้บุคคลใดเช่าซื้อหรือไม่อาจพิจารณาคุณสมบัติของผู้เช่าซื้อว่ามีความสามารถที่จะชำระเงินให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อครบถ้วนตามเงื่อนไขที่กำหนดหรือไม่ โดยไม่ได้พิจารณาคุณสมบัติของผู้เช่าซื้อว่าสมควรได้รับความไว้วางใจในการใช้และดูแลทรัพย์สินที่เช่าซื้อหรือไม่ดังเช่นสัญญาเช่าทรัพย์ สิทธิที่จะได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตาม สัญญาเช่าซื้อจึงไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัว และไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายที่ห้ามตัวการมอบหมายหรือเชิดบุคคลอื่นเป็นตัวแทนทำสัญญาเช่าซื้อแทนตัวการ ตัวการจึงอาจมอบหมายหรือเชิดบุคคลอื่นที่มีความสามารถจะชำระเงินให้แก่ผู้เช่าซื้อตามเงื่อนไขที่ผู้ให้เช่าซื้อกำหนดเป็นตัวแทนทำเช่าซื้อแทนตนเองได้ ดังนั้น การที่ผู้เสียหายที่ ๒ ขอให้จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อรถกระบะจากผู้เสียหายที่ ๑ แทนผู้เสียหายที่ ๒ โดยผู้เสียหายที่ ๒ เป็นผู้ชำระเงินดาวน์แล้วรับมอบการครอบครองรถที่เช่าซื้อและผ่อนชำระค่าเช่าซื้อ ถือได้ว่าผู้เสียหายที่ ๒ มอบหมายหรือเชิดจำเลยเป็นตัวแทนในการทำสัญญาเช่าซื้อรถกระบะจากผู้เสียหายที่ ๑ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๘๒๑ โดยผู้เสียหายที่ ๒ เป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อ หาใช่ว่านิติสัมพันธ์ระหว่างผู้เสียหายที่ ๒ กับจำเลยไม่ใช่เรื่องตัวการตัวแทน แต่อย่างใดไม่
แม้จำเลยมีชื่อเป็นผู้เช่าซื้อ แต่จำเลยเป็นเพียงตัวแทนของผู้เสียหายที่ ๒ แล้วมอบรถที่เช่าซื้อให้แก่ผู้เสียหายที่ ๒ไปแล้ว ผู้เสียหายที่ ๒ จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองรถที่เช่าซื้อ ส่วนจำเลยไม่มีสิทธิครอบครองรถที่เช่าซื้อ แม้ต่อมาผู้เสียหายที่ ๒ ซึ่งตกลงจะให้จำเลยกู้ยืมเงินเพื่อตอบแทนที่จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อรถแทนผู้เสียหายที่ ๒ ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงกับจำเลยให้ครบถ้วน ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จำเลยจะเอารถที่เช่าซื้อคืนจากผู้เสียหายที่ ๒ การที่จำเลยเอารถที่เช่าซื้อไปจากผู้เสียหาย ที่ ๒ เพื่อเรียกร้องให้ผู้เสียหายที่ ๒ ปฏิบัติตามข้อตกลงเป็นการแย่งการครอบครองและเป็นการบังคับสิทธิทางแพ่งของตนโดยพลการ จึงเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเอง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์สำเร็จแล้ว แม้ต่อมาผู้เสียหายที่ ๒ ตกลงจะชำระเงินแก่จำเลย แล้วให้จำเลยคืนรถที่เช่าซื้อแก่ผู้เสียหายที่ ๒ และเมื่อถึงวันเวลานัดจำเลยขับรถที่เช่าซื้อไปรอผู้เสียหายที่ ๒ ก็หาทำให้การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ที่สำเร็จแล้วกลายเป็นการกระทำที่ไม่เป็นความผิดแต่อย่างใดไม่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ❯ มาตรา 821
มาตรา 821 บุคคลผู้ใดเชิดบุคคลอีกคนหนึ่งออกแสดงเป็นตัวแทนของตนก็ดี รู้แล้วยอมให้บุคคลอีกคนหนึ่งเชิดตัวเขาเองออกแสดงเป็นตัวแทนของตนก็ดี ท่านว่าบุคคลผู้นั้นจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนว่าบุคคลอีกคนหนึ่งนั้นเป็นตัวแทนของตน
แสดงความคิดเห็น
เพื่อนยืมชื่อซื้อรถมอเตอร์ไซค์ เอารถไปใช้แล้วไม่ส่งค่างวด โทรก็ไม่รับ ไม่เห็นรถ แจ้งความ ยักยอกทรัพย์ ได้หรือไม่