ภาพถ่ายของดวงจันทร์จำลองของ James Nasmyth ในปี 1874



ใน 1874 นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษและนักประดิษฐ์ร่วมกันตีพิมพ์หนึ่งในหนังสือที่มีอิทธิพลมากที่สุดของ "ธรณีวิทยาของดวงจันทร์" (the time on lunar geology) ชื่อว่า The Moon: Considered as a Planet, a World, and a Satellite   ซึ่ง James Nasmyth และ James Carpenter ได้สรุปผลการวิจัยสามทศวรรษที่ครอบคลุมถึงสิ่งที่นักดาราศาสตร์รู้เกี่ยวกับดวงจันทร์ใน 276 หน้า และยังพยายามตอบคำถามบางข้อที่ยังไม่ได้รับคำตอบเช่น มนุษย์สามารถยังชีพบนดวงจันทร์ได้หรือไม่? มันมีบรรยากาศไหม? หลุมอุกกาบาตก่อตัวขึ้นได้อย่างไร?

ข้อความมีภาพประกอบด้วยชุดภาพถ่ายที่โดดเด่นของพื้นผิวดวงจันทร์ที่มีรายละเอียดสูง และใกล้มากจนดูเหมือนภาพถ่ายจากภารกิจของอพอลโล (Apollo missions) ซึ่งจะไม่ขึ้นไปอีกเป็นศตวรรษ  วันนี้มันเป็นไปได้ที่จะถ่ายภาพดวงจันทร์อย่างละเอียดได้โดยไม่ต้องออกจากพื้นดิน โดยใช้กล้องโทรทรรศน์ทรงพลังและกล้องที่ทันสมัย ​​ แต่ในตอนนั้นการถ่ายภาพยังอยู่ในระยะเริ่มต้นและไม่มีเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการถ่ายภาพผ่านกล้องโทรทรรศน์โดยตรง

แล้ว James Nasmyth ทำอย่างไรในการถ่ายภาพเหล่านี้  เขาทำโดยการมองผ่านกล้องโทรทรรศน์ที่สร้างขึ้นเอง ด้วยการสร้างแบบจำลองปูนปลาสเตอร์ที่แม่นยำของพื้นผิวดวงจันทร์ในรายละเอียดที่พิถีพิถันซึ่งนำโดยภาพร่าง จากนั้นเขาก็ถ่ายภาพแบบกับพื้นหลังสีดำและให้แสงจ้าส่องลงมาเพื่อเลียนแบบแสงอาทิตย์ที่ส่องกระทบหลุมอุกกาบาตและภูเขาจำนวนมากของดวงจันทร์ในแบบจำลอง
“ ผลลัพธ์ที่ได้นั้นสมบูรณ์แบบ สมบูรณ์แบบมากเกินกว่าที่รูปถ่ายจะเป็นไปได้” หนึ่งในผู้วิจารณ์ร่วมสมัยของหนังสือเล่มนี้กล่าวไว้

James Nasmyth อาจไม่ได้เป็นนักดาราศาสตร์มืออาชีพ แต่ชาวสก็อตที่เกิดใน Edinburgคนนี้ เป็นหนึ่งในวิศวกรชั้นนำในยุคของเขา  ตั้งแต่อายุยังน้อย  Nasmyth แสดงให้เห็นถึงความโน้มเอียงเชิงกลที่ไม่ธรรมดา เขาอายุเพียงสิบเจ็ดเมื่อสร้างเครื่องจักรไอน้ำรุ่นแรก และเมื่ออายุยี่สิบเอ็ดเมื่อเขาสร้างรถจักรไอน้ำที่สมบูรณ์ซึ่งสามารถบรรทุกคนได้ครึ่งโหล

เป็นเวลาสองปีที่ Nasmyth ทำงานในโรงงานผลิตเครื่องจักรของ Henry Maudslay นักประดิษฐ์ที่มีชื่อเสียงในลอนดอน แต่หลังจากนั้นเขาก็ย้ายไปที่แมนเชสเตอร์ซึ่งเขาตั้งธุรกิจโรงหล่อของตัวเอง  ในไม่ช้า Nasmyth และหุ้นส่วนทางธุรกิจของเขาได้ทำการผลิตเครื่องจักรกลหนักทุกชนิดสำหรับโรงงานทางรถไฟและเรือกลไฟ

ขณะทำการหลอมล้อใบจักรขนาดใหญ่ที่ผิดปกติของเรือกลไฟ SS Great Britain, Nasmyth แก้ปัญหาความท้าทายทางเทคนิคด้วยการออกแบบจุดเด่นในอาชีพของเขานั่นคือ" the steam hammer " แม้ว่าล้อใบจักรอันยิ่งใหญ่สำหรับใช้ค้อนใหญ่ที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นนั้นไม่เคยถูกใช้ แต่" the steam hammer" ก็กลายเป็นความสำเร็จทางการค้าที่ยิ่งใหญ่ที่ทำให้ Nasmyth สามารถเกษียณอายุได้อย่างสบายเมื่ออายุสี่สิบแปด และเพื่อไล่ตามความปรารถนาอื่น ๆ ในชีวิตของเขาโดยเฉพาะภาพถ่ายทางดาราศาสตร์

Nasmyth ตั้งหลักแหล่งอยู่ใกล้ Penshurst ใน Kent (หมู่บ้านประวัติศาสตร์ที่ตั้งอยู่ในหุบเขาบนเนินเขาทางตอนเหนือของ Kentish Weald) ที่ซึ่งเขาสร้างกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสง 20 นิ้วด้วยตัวของเขาเอง  Nasmyth แก้ไขดัดแปลงกล้อง Cassegrain Telescope โดยเพิ่มกระจกแบนแนวทแยงรูปสามเหลี่ยม เพื่อส่งลำแสงออกจากด้านข้างของกระบอกกล้องโทรทรรศน์แทนที่จะผ่านปลายอีกด้านหนึ่ง สิ่งนี้ทำให้สามารถหมุนกล้องโทรทรรศน์ได้ทุกมุมโดยไม่ต้องขยับชิ้นส่วนดวงตาตลอดเวลา โดยกล้องโทรทรรศน์สมัยใหม่ส่วนใหญ่ในปัจจุบันก็ใช้โครงแบบนี้

หลังจากสองทศวรรษของการจ้องมองดวงจันทร์ Nasmyth ได้ร่วมเขียนหนังสือเรื่อง "The Moon Considered as a Planet, a World, and a Satellite" กับนักดาราศาสตร์ James Carpenter ซึ่งทั้งคู่ได้ตั้งสมมติฐานต่างๆเกี่ยวกับการกำเนิดของดวงจันทร์,โครงสร้างภายใน และธรณีวิทยา

ภาพวาดตัวอย่างประกอบในหนังสือแสดงเกิดหลุมอุกกาบาตของดวงจันทร์
เช่นเดียวกับนักดาราศาสตร์หลายคนในสมัยนี้ Nasmyth เชื่อว่าหลุมอุกกาบาตบนพื้นผิวดวงจันทร์นั้นมาจากภูเขาไฟ หนังสือเล่มนี้มาพร้อมกับแผนภาพตัดขวางของชั้นพื้นผิว‎ใต้ดิน รวมทั้งภาพวาดตัวอย่างจากโลกบนบกเพื่อแสดงให้เห็น

ตัวอย่างเช่น Nasmyth แย้งว่าเมื่อดวงจันทร์เย็นตัวลงชั้นนอกก็แข็งตัวก่อนและหดตัวลง ในขณะที่ชั้นในยังหลอมละลาย การขยายตัวซึ่งNasmyth เรียกว่า "การขยายตัวก่อนแข็งตัว" แกนกลางด้านในที่ขยายตัวต่อต้านกับชั้นนอกที่หดตัวส่งผลให้เกิดรอยแตกจากการปรากฏบนพื้นผิวดวงจันทร์ ซึ่งลาวาหลอมเหลวได้ปะทุขึ้นจนเกิดหลุมอุกกาบาตของดวงจันทร์

ในที่สุดเมื่อแกนกลางเย็นลงและหดตัวลงทำให้เกิดภูเขาเช่นเดียวกับกล้ามเนื้อที่หดตัวเนื่องจากวัยชราทำให้เกิดรอยย่นที่หลังมือ Nasmyth ยังแสดงให้เห็นว่าการขยายตัวภายในทำให้เกิดริ้วในลักษณะเฉพาะที่พบบนพื้นผิวดวงจันทร์  โดยการแสดงภาพถ่ายของทรงกลมแก้วที่แตกในแนวรัศมีโดยแรงกดจากภายใน

แม้ว่าในทางวิทยาศาสตร์จะไม่ถูกต้อง แต่ภาพที่มาพร้อมกับหนังสือก็เป็นที่น่าประหลาดใจ  รูปถ่ายแม้จะเป็นของปลอมนั้นก็เป็นภาพที่ NASA ตั้งข้อสังเกตว่า “ เหมือนจริงมากกว่าภาพที่ถ่ายด้วยกล้องโทรทรรศน์ในเวลานั้น”  น่าแปลกที่หนึ่งศตวรรษต่อมาเมื่อภารกิจของอพอลโลเผยแพร่ภาพจริงและ footage(ต้นฉบับที่ถ่ายมาแล้วยังไม่ได้เอาไปตัดต่อหรือดัดแปลง) ของพื้นผิวดวงจันทร์  NASAและรัฐบาลถูกกล่าวหาว่าแกล้งทำขึ้นทั้งหมดซึ่งเป็นความคิดที่ไร้สาระที่ไม่หายไปจนถึงทุกวันนี้  
และเพื่อเป็นการระลึกถึงผลงานอันทรงคุณค่าของเขาทั้งสองคนและยกย่องเกียรติของพวกเขาชื่อ James Nasmyth และ James Carpenter ได้ถูกตั้งให้เป็นชื่อของหลุมอุกกาบาตหลังจากที่พวกเขาได้ล่วงลับไปแล้ว

โครงการอพอลโล่ที่กล่าวถึงในบทความได้เกิดขึ้นจริงในปี 1961 โดยโครงการนี้เกิดขึ้นจากการที่ประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคเนอดี้ไดัประกาศต่อสาธารณชนว่าสหรัฐฯจะต้องไปเหยียบดวงจันทร์ให้ได้ภายในสิ้นปี 1970 โดยยานอพอลโล่ที่ประสบความสำเร็จสามารถพามนุษย์ขึ้นไปเหยียบดวงจันทร์ได้สำเร็จ คือยานอพอลโล่ 11 และยานอพอลโล่ 17 ถือเป็นยานอพอลโล่ที่ได้ลงจอดบนดวงจันทร์เป็นครั้งสุดท้าย หลังจากนั้นโครงการอพอลโล่ก็ได้ยุติลง 
 
(สำหรับผู้ที่สนใจในหนังสือฉบับดิจิทัลสามารถเข้าไปอ่านได้ที่  Cr.https://archive.org/details/moonconsideredas00nasmrich/)














กล้อง 20-inch reflecting telescope
ภาพวาดในศตวรรษที่ 19 นี้แสดงให้เห็นว่า James Nasmyth นั่งอยู่ที่กล้องโทรทรรศน์ขนาด 20 นิ้ว ซึ่งเขาเป็นคนแรกที่คิดจะใช้กระจกแบนแนวทแยงเพื่อส่งลำแสงผ่านแกนความสูงที่เป็นโพรง สิ่งนี้ช่วยให้ระนาบโฟกัสอยู่ในตำแหน่งเดิมเสมอไม่ว่ากล้องโทรทรรศน์จะชี้ไปที่ใด 
สภาพพื้นผิวบนดวงจันทร์ที่อ้างว้างและแห้งแล้งถูกถ่ายโดยโครงการ "อพอลโล 11" ของนาซา


(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่