พอดีว่างๆเลยนั่งดูข้อมูลไปเรื่อยๆ จนไปเจอคนคุยกันว่าส่วนหนี้สินของธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่นับเป็นหนี้ของรัฐบาลหรือหนี้สาธารณะ อันนีเเข้าใจได้เพราะมันมีส่วนสินทรัพย์ที่แปลงกลับคืนหนี้สินได้ ก็เลยไปนั่งดูงบการเงินของ BOT แล้วเจอขาดทุนสะสมเยอะมากจนแบบว่ากินสัดส่วนของทุน (คือส่วนของผู้ถือหุ้นรึเปล่าครับ สงสัยว่าทำไมไม่ใช้คำว่าส่วนของผู้ถือหุ้น แต่ในความหมายทางงบการเงินก็น่าจะเป็นส่วนของผู้ถือหุ้น) ติดลบไปเลย ทีนี้ก็เลยลองดูงบการเงินหลายๆปีย้อนหลังก็พบว่าส่วนใหญ่ขาดทุนทำให้ส่วนของทุนติดลบ แต่บางปีก็มีกำไรจนส่วนผู้ถือหุ้นเป็นบวกด้วย
จากที่ไล่ดูข้อมูลมาก็เลยทำให้เข้าใจว่า โดย Nature การบริหารน่าจะยากเลยทำให้หลายๆปีขาดทุน เท่าที่เห็นยิ่งสินทรัพย์เยอะสัดส่วนขาดทุนหรือค่าใช้จ่ายอื่นๆก็เยอะตาม
เผื่อใครไม่รู้ว่าปกติแล้วในกรณีของบริษัทส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบคืออะไร
ก็นึกตัวอย่างง่ายๆ สมมุติผมมีเงิน 50 บาท แล้วไปทำการกู้ยืมเงินมาจากคนอื่นอีก 50 บาท ตรงจุดนี้ก็จะทำให้ผมมีเงินทั้งหมด 100 บาทรวมกัน แบ่งเป็นส่วนของผม (ผู้ถือหุ้น) 50 บาท และส่วนที่ยืมมาจากคนอื่น(หนี้สิน) อีก 50 บาท จากเงิน 100 ที่ผมมี
ทีนี้ผมเอาไปใช้ลงทุน สมมุติคือการซื้อหวยแล้วไม่ถูกรางวัล จ่ายค่าหวยไป 80 จนสุดท้ายเหลือเงิน 20 บาท
ตรงจุดที่เงิน 20 บาทที่เหลือนี้ ส่วนหนี้สินที่ผมไปยืมมาจะไม่สามารถติดลบได้ ก็จะคงอยู่ที่ 50 บาทเท่าเดิม แต่จะกลายเป็นว่าส่วนของผมเองที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นจะติดลบไป 30 บาท ก็จะได้ว่า 50 + (-30) = 20 บาท
ซึ่งถ้าเป็นบริษัททั่วไป กรรมการจะต้องเป็นผู้ถือหุ้น เพราะงั้นถ้าเกิดปัญหาอะไรขึ้น กรรมการจะต้องไปหามาอีก 30 บาท หรือหาเงินใช้หนี้ เพื่อรวมกับ 20 บาทที่มีอยู่ เพื่อคืนคนที่ยืมมาให้ครบ 50 บาท
ทีนี้เลยสงสัยว่า ถ้ากรณีของธนาคารแห่งประเทศไทย ส่วนที่หนี้สินมากกว่าส่วนของผู้ถือหุ้น จนส่วนผู้ถือหุ้นติดลบไป ตรงนี้ถ้าเกิดเคสอะไรขึ้นมาจริงๆ ใครจะต้องหาเงินมาจ่ายให้เจ้าหนี้ครับ เพราะไม่รู้จะเหมือนกรณีของบริษัทหรือเปล่า ถามไว้เพราะอยากมีความรู้ประดับ
อันนี้เป็นข้อมูลสินทรัพย์, ส่วนของทุน (ผู้ถือหุ้น?) และหนี้สิน เรียงรายปีเท่าที่มีข้อมูลใน
https://www.bot.or.th/Thai/AboutBOT/FinancialReports/AnnualAccount/Pages/default.aspx
พอดีสังเกตุมาเห็นว่ายิ่งสินทรัพย์เยอะส่วนขาดทุนก็ยิ่งเยอะทำให้ส่วนของทุน(ผู้ถือหุ้นติด?)ลบเยอะขึ้นตาม ก็เลยทำ Ratio อีกอันไว้ทางขวาสุดเพื่อเทียบส่วนของทุน(ผู้ถือหุ้น?)กับสินทรัพย์ จะได้เข้าใจง่ายๆว่าส่วนที่บวก(หรือติดลบ)ของทุน(ผู้ถือหุ้น?)คิดเป็นกี่ % ของสินทรัพย์ที่มีอยู่
สงสัยครับว่าส่วนขาดทุนของธนาคารแห่งประเทศไทยปกติแล้วจัดการยังไงครับ
จากที่ไล่ดูข้อมูลมาก็เลยทำให้เข้าใจว่า โดย Nature การบริหารน่าจะยากเลยทำให้หลายๆปีขาดทุน เท่าที่เห็นยิ่งสินทรัพย์เยอะสัดส่วนขาดทุนหรือค่าใช้จ่ายอื่นๆก็เยอะตาม
เผื่อใครไม่รู้ว่าปกติแล้วในกรณีของบริษัทส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบคืออะไร
ก็นึกตัวอย่างง่ายๆ สมมุติผมมีเงิน 50 บาท แล้วไปทำการกู้ยืมเงินมาจากคนอื่นอีก 50 บาท ตรงจุดนี้ก็จะทำให้ผมมีเงินทั้งหมด 100 บาทรวมกัน แบ่งเป็นส่วนของผม (ผู้ถือหุ้น) 50 บาท และส่วนที่ยืมมาจากคนอื่น(หนี้สิน) อีก 50 บาท จากเงิน 100 ที่ผมมี
ทีนี้ผมเอาไปใช้ลงทุน สมมุติคือการซื้อหวยแล้วไม่ถูกรางวัล จ่ายค่าหวยไป 80 จนสุดท้ายเหลือเงิน 20 บาท
ตรงจุดที่เงิน 20 บาทที่เหลือนี้ ส่วนหนี้สินที่ผมไปยืมมาจะไม่สามารถติดลบได้ ก็จะคงอยู่ที่ 50 บาทเท่าเดิม แต่จะกลายเป็นว่าส่วนของผมเองที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นจะติดลบไป 30 บาท ก็จะได้ว่า 50 + (-30) = 20 บาท
ซึ่งถ้าเป็นบริษัททั่วไป กรรมการจะต้องเป็นผู้ถือหุ้น เพราะงั้นถ้าเกิดปัญหาอะไรขึ้น กรรมการจะต้องไปหามาอีก 30 บาท หรือหาเงินใช้หนี้ เพื่อรวมกับ 20 บาทที่มีอยู่ เพื่อคืนคนที่ยืมมาให้ครบ 50 บาท
ทีนี้เลยสงสัยว่า ถ้ากรณีของธนาคารแห่งประเทศไทย ส่วนที่หนี้สินมากกว่าส่วนของผู้ถือหุ้น จนส่วนผู้ถือหุ้นติดลบไป ตรงนี้ถ้าเกิดเคสอะไรขึ้นมาจริงๆ ใครจะต้องหาเงินมาจ่ายให้เจ้าหนี้ครับ เพราะไม่รู้จะเหมือนกรณีของบริษัทหรือเปล่า ถามไว้เพราะอยากมีความรู้ประดับ
อันนี้เป็นข้อมูลสินทรัพย์, ส่วนของทุน (ผู้ถือหุ้น?) และหนี้สิน เรียงรายปีเท่าที่มีข้อมูลใน https://www.bot.or.th/Thai/AboutBOT/FinancialReports/AnnualAccount/Pages/default.aspx
พอดีสังเกตุมาเห็นว่ายิ่งสินทรัพย์เยอะส่วนขาดทุนก็ยิ่งเยอะทำให้ส่วนของทุน(ผู้ถือหุ้นติด?)ลบเยอะขึ้นตาม ก็เลยทำ Ratio อีกอันไว้ทางขวาสุดเพื่อเทียบส่วนของทุน(ผู้ถือหุ้น?)กับสินทรัพย์ จะได้เข้าใจง่ายๆว่าส่วนที่บวก(หรือติดลบ)ของทุน(ผู้ถือหุ้น?)คิดเป็นกี่ % ของสินทรัพย์ที่มีอยู่