+ ซูแปร์ติซัง +
ความเชื่อพระเจ้า เผชิญหน้ากับ ความเชื่อโชคลาง
ซูแปรฺติซัง เป็นศัพท์โบราณที่เป็นคำทับศัพท์ที่บรรดามิชชันนารีชาวต่างประเทศใช้เรียก การเชื่อถือโชคลางคุณไสย ที่ผิดต่อหลักศาสนาคริสต์ ในภาษาอังกฤษคือคำว่า superstition ซึ่งหมายถึงการเชื่อ ในเชิงสิ่งเหนือธรรมชาติ เชื่อโชคลาง และไสยศาสตร์ อันรวมถึงการดูดวงหรือหลักการที่ไม่มีเหตุผลรองรับ หรือพิสูจน์ไม่ได้ต่างๆ
จากบันทึกของบรรดามิชันนารีตั้งแต่สมัยเผยแพร่ศาสนาครั้งอยุธยา พวกท่านต้องเผชิญหน้ากับปัญหาคริสตชนคาทอลิกที่ไม่ยอมละทิ้งความเชื่อโชคลางแบบเดิมๆ และบันทึกประวัติศาสตร์การแพร่ธรรมในสยาม ก็มีเรื่องราวการต่อสู้ของบรรดามิชันนารีต่อความ ซูแปร์ติซัง ของคริสตังสยาม เกิดขึ้นเรื่อยๆ เป็นระยะ แม้ทุกวันนี้ คำว่า ซูแปร์ติซัง จะรู้จักในหมู่คริสตังนอนรุ่นวัย50ปีขึ้นไปเป็นส่วนใหญ่ แต่สภาวะ ซูแปร์ติซัง ยังคงมีอยู่เสมอไม่เคยหมดไปจนปัจจุบัน
ปัจจุบันไทยยังคงเป็นประเทศที่เต็มไปด้วยไสยศาสตร์ในชีวิตประจำวัน และทุกสิ่งทุกอย่างถูกทำให้ศักดิ์สิทธิ์ วัฒนธรรมการกราบไหว้ทุกอย่าง แม้แต่สัตว์พิการ หรือต้นไม้ออกดอกออกผลหน้าตาแปลก ด้วยคำว่าไม่เชื่ออย่าลบหลู่ รายการทีวี ที่พากันดูดวง หรือนำคนที่อ้างว่ามีคนมีพลังพิเศษออกทีวีแล้วมีผู้ชมจำนวนมาก ประเทศที่ทุกปีใหม่ทุกสำนักข่าวพากันสัมภาษณ์หมอดูชื่อดังดูดวงเมืองต่างๆ แม้เวลาผ่านไปจะพิสูจน์ว่าไม่แม่น แต่ปีต่อไปก็ยังคงมีการลงข่าวหน้าหนึ่งเรื่องการดูดวงเมืองจากหมอดูชื่อดังคนเดิมๆ
ถึงขนาดศาสนาส่วนใหญ่ของประเทศอย่างศาสนาพุทธซึ่งก็สอนว่าห้ามทำสิ่งเหล่านี้ แต่ความเชื่อส่วนบุคคลของประชาชนก็เข้มแข็งกว่าขนาดปรับการปฏิบัติศาสนาให้เข้ากับความเชื่อคุณไสยโชคลางที่มีอยู่เดิมของตัวเองแทนซะอีก
คริสตศาสนา ซึ่งมีคนนับถือจำนวนน้อยกว่ามาก ก็โดนสถานการณ์ทั้งทางตรงทางอ้อมในเรื่องนี้เข้าบีบบังคับในแบบต่างๆ แต่ด้วยความที่ศาสนาคริสต์มีบทบัญญัติข้อแรกที่สำคัญที่สุดอันดับหนึ่งในบัญญัติ10ประการ คือ จงนับถือพระเจ้าผู้เดียวของเจ้า เมื่อเดินทางเข้าสู่ประเทศที่มีลักษณะความ ซูแปร์ติซัง เป็นวัฒนธรรมประจำชาติก็หลีกเลี่ยงการปะทะไม่ได้ ในบันทึกของมิชชันนารี บางท่านยอมต่อสู้กับสิ่งเหล่านี้ถึงขนาดยอมตายแลกชีวิต บางครั้งคริสตังสยามไม่ต้องการเปลี่ยนวิถีชีวิตซูแปร์ติซังของตน ถึงขนาดกลั่นแกล้งขับไล่มิชันนารีที่มาห้ามปรามพวกตนราวกับรักและอยากเอาใจความเชื่อหรือลัทธิอื่นมากกว่าพระเจ้าซะอีก ในปัจจุบันแม้การสอนคำสอนจะสร้างความเข้าใจแก่คริสตังรุ่นใหม่มากขึ้น แต่เรายังคงพบลักษณะซูแปร์ติซังในคาทอลิกไทยส่วนมาก โดยข้ออ้างที่เข้าใจผิดเรื่อง ศาสนสัมพันธ์
--ศาสนสัมพันธ์--
เป็นหลักการหลังสังคยนาวาติกันที่2 เป็นหลักการของการเป็นมิตรและอยู่ร่วมกับศาสนาอื่นๆ เรียนรู้และ เข้าใจศาสนาอื่นๆ และมีหลักชัดเจนถึงขอบเขตในการร่วมศาสนกิจกับศาสนาอื่นๆ แต่แน่นอนว่า พระศาสนจักรไม่เคยอนุญาตให้คริสตชนเป็นคนนับถือหลายศาสนา หรือเป็นคนนับถือศาสนาแบบพหุเทวนิยม ที่สามารถกราบไหว้เทพเจ้าหลายองค์แต่อย่างใด ดังนั้นภาพของคาทอลิกบางคนที่กราบไหว้เทพเจ้าหรือกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาอื่น เป็นลักษณะ ซูแปร์ติซัง ไม่ใช่ ศาสนาสัมพันธ์ ที่พระศาสนจักร รณรงค์และสนับสนุน
ปัจจุบันพระศาสนจักรมีมุมมองเรื่องซูแปร์ติซัง ผ่อนคลายกว่าเดิม ไม่ได้มองด้านการผิดบัญญัติประการที่1เสมอไป แต่บางครั้งเป็นเพียงความอ่อนแอทางความเชื่อ ทำให้คริสตชนบางคนหลงทางไปเชื่อสิ่งต่างๆที่ไม่มีเหตุผลและไม่ได้มาจากพระเจ้า แต่หากจะถามว่าซูแปร์ติซังแบบใด เป็นการผิดบัญญัติประการที่1 แบบใดเป็นเพียงการถือตามกันโดยไม่รู้ หรือโดยพลาดพลั้งอ่อนแอ ก็ต้องถามจาก จิตสำนึกของตนเองโดยตรงว่า ที่บางครั้งเราไปขอพรเทพเจ้าอื่นๆเราเชื่อว่าเทพหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่นๆมีพลังอำนาจในการบันดาลสิ่งที่เราต้องการมากกว่าการสวดขอพระเจ้าของเราเพียงผู้เดียวหรือเปล่า ถ้าใช่ก็คือปัญหาของบัญญัติประการที่หนึ่ง
ในบางกรณีเช่นการดูหมอดูดวง หรือการเชื่อโชคลางทั่วไปที่พูดต่อๆกันมาเช่น ของต่างประเทศก็มี แมวดำตัดหน้า ศุกร์13 ฯลฯ ของไทยมีเยอะแยะมากมายสารธยายไม่หมด เหล่านี้อาจนับเป็นเพียง ซูแปร์ติซังที่เกิดจาก ความอ่อนแอ ความไม่รู้
--ประเพณีกับศาสนา--
ในบางกรณี ซูแปร์ติซังนั้นก่ำกึ่งมากว่าเป็นหรือไม่เป็นโดยเฉพาะเมื่อมีการปะทะกับประเพณีท้องถิ่นบางอย่าง โดยหลักการกว้างๆแล้ว พระศาสนจักรอนุญาตการใช้วัสดุหรือประเพณีท้องถิ่นในทางศาสนาได้ แต่ไม่ใช่นำพิธีกรรมศาสนาอื่นเข้ามาในศาสนา เช่น ประเพณีไหว้ครูที่กราบไหว้สำนึกบุญคุณครูที่เป็นมนุษย์ เราสามารถทำได้ แต่ประเพณีไหว้ครูที่กราบไหว้ครูที่มีลักษณะเป็นวิญญาณหรือเทพเจ้า มีการเชื่อมต่อกับ จิตวิญญาณและมีพิธีกรรมเชิงศาสนา ถือว่าเป็นซูแปร์ติซัง เป็นต้น
หลักวิธีพิจารณาเบื้องต้นกับเรื่องประเพณีท้องถิ่นคือ ถ้าประเพณีนั้นไม่เกี่ยวกับศาสนาหรือความเชื่อไสยศาสตร์สามารถทำได้ แต่ถ้าเกี่ยวข้องกับศาสนาหรือความเชื่อไสยศาสตร์ ให้งดเสีย
--เครื่องรางและของศักดิ์สิทธิ์--
ไม่เฉพาะ ผ้ายันต์ หรือเครื่องรางของขลังในศาสนาอื่นๆ แต่ หลักการคริสตศาสนานั้น แม้มีสิ่งของศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาคริสต์ก็จริง แต่ของนั้นไม่ได้มีพลังอำนาจในตัวเเอง ที่สำคัญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทางคริสตศาสนา มีความศักดิ์สิทธิ์เพราะการอวยพรขอพรจากพระเจ้าเพื่อสงวนสิ่งนั้นไว้ใช้เป็นศาสนภัณฑ์ (คาทอลิกติดปากคำว่าเสกมาแต่เดิมที่จริงถือว่าไม่ตรงความหมายซะทีเดียว เพราะในภาษาอังกฤษใช้คำว่า bless แปลว่าอวยพร ไม่ใช่ spell ที่แปลว่าเสก เข้าใจว่าแรกเริ่มเราใช้วิธีเทียบคำกับศาสนาพุทธเลยรับคำว่าเสกเวลาเขาเสกพระเครื่องมาใช้) รูปพระต่างๆ เราใช้สื่อถึงพระเจ้า เราไม่มีการสอนว่า รูปแม่พระวัดนั้นวัดนี้ ศักดิ์สิทธิ์กว่า รูปแม่พระอีกวัด รูปแม่พระทุกรูปสื่อถึงมารดาพระเจ้าและรหัสธรรมการบังเกิดเป้นมนุษย์ของพระเยซู กางเขนทุกอันจะพลาสติก หรือทอง ก็สื่อถึงพระเยซูเท่าๆกัน ไม่ขึ้นกับการเสกหรือวัสดุ แต่ขึ้นกับความเชื่อของเรา
หลักซูแปร์ติซังง่ายๆเรื่องวัตถุ ถ้าวัตถุใดช่วยให้เราเชื่อพระเจ้า ช่วยให้เราเชื่อว่าความดีงามต่างๆที่เกิดขึ้นมาจากพระเจ้าโดยเพียงใช้วัตถุนั้นเป็นเครื่องมือ ไม่ซูแปร์ติซัง แต่หากวัตถุใดมีการอวดสรรพคุณว่ามีพลังในตัวเอง หรือมีพลังของสิ่งที่ไม่ใช่พระเจ้า หรือมาจากศาสนาอื่นๆ อันทำให้เราขาดความเชื่อหรือวางใจพระเจ้า ไปเชื่อวางใจวัตถุมากกว่า เป็น ซูแปร์ติซัง
--การร่วมพิธีกรรมในศาสนาอื่นๆ+
การร่วมพิธีกรรมในศาสนาอื่นๆ ไม่ใช่ปัญหา แต่เราไม่สามารถปฏิบัติศาสนกิจทุกอย่างในศาสนาอื่น ในที่นี้ ทางพระสาสนจักรคาทอลิกไทยได้สรุปหลักการทุกอย่างไว้ในเวบคำสอน ขอให้คริสตชนคาทอลิกพึงปฏิบัติตาม ดีกว่าทำตามที่ตัวเองคิดแล้วต้องมาถกเถียงกันเอง ซึ่งจะไม่จบสิ้นในเหตุผล ในหัวข้อนี้รายละเอียดเยอะขอทุกท่านโปรดอ่านตามลิงค์นี้
http://www.kamsonbkk.com/2012-03-16-04-09-07
+ ซูแปร์ติซัง +
ความเชื่อพระเจ้า เผชิญหน้ากับ ความเชื่อโชคลาง
ซูแปรฺติซัง เป็นศัพท์โบราณที่เป็นคำทับศัพท์ที่บรรดามิชชันนารีชาวต่างประเทศใช้เรียก การเชื่อถือโชคลางคุณไสย ที่ผิดต่อหลักศาสนาคริสต์ ในภาษาอังกฤษคือคำว่า superstition ซึ่งหมายถึงการเชื่อ ในเชิงสิ่งเหนือธรรมชาติ เชื่อโชคลาง และไสยศาสตร์ อันรวมถึงการดูดวงหรือหลักการที่ไม่มีเหตุผลรองรับ หรือพิสูจน์ไม่ได้ต่างๆ
จากบันทึกของบรรดามิชันนารีตั้งแต่สมัยเผยแพร่ศาสนาครั้งอยุธยา พวกท่านต้องเผชิญหน้ากับปัญหาคริสตชนคาทอลิกที่ไม่ยอมละทิ้งความเชื่อโชคลางแบบเดิมๆ และบันทึกประวัติศาสตร์การแพร่ธรรมในสยาม ก็มีเรื่องราวการต่อสู้ของบรรดามิชันนารีต่อความ ซูแปร์ติซัง ของคริสตังสยาม เกิดขึ้นเรื่อยๆ เป็นระยะ แม้ทุกวันนี้ คำว่า ซูแปร์ติซัง จะรู้จักในหมู่คริสตังนอนรุ่นวัย50ปีขึ้นไปเป็นส่วนใหญ่ แต่สภาวะ ซูแปร์ติซัง ยังคงมีอยู่เสมอไม่เคยหมดไปจนปัจจุบัน
ปัจจุบันไทยยังคงเป็นประเทศที่เต็มไปด้วยไสยศาสตร์ในชีวิตประจำวัน และทุกสิ่งทุกอย่างถูกทำให้ศักดิ์สิทธิ์ วัฒนธรรมการกราบไหว้ทุกอย่าง แม้แต่สัตว์พิการ หรือต้นไม้ออกดอกออกผลหน้าตาแปลก ด้วยคำว่าไม่เชื่ออย่าลบหลู่ รายการทีวี ที่พากันดูดวง หรือนำคนที่อ้างว่ามีคนมีพลังพิเศษออกทีวีแล้วมีผู้ชมจำนวนมาก ประเทศที่ทุกปีใหม่ทุกสำนักข่าวพากันสัมภาษณ์หมอดูชื่อดังดูดวงเมืองต่างๆ แม้เวลาผ่านไปจะพิสูจน์ว่าไม่แม่น แต่ปีต่อไปก็ยังคงมีการลงข่าวหน้าหนึ่งเรื่องการดูดวงเมืองจากหมอดูชื่อดังคนเดิมๆ
ถึงขนาดศาสนาส่วนใหญ่ของประเทศอย่างศาสนาพุทธซึ่งก็สอนว่าห้ามทำสิ่งเหล่านี้ แต่ความเชื่อส่วนบุคคลของประชาชนก็เข้มแข็งกว่าขนาดปรับการปฏิบัติศาสนาให้เข้ากับความเชื่อคุณไสยโชคลางที่มีอยู่เดิมของตัวเองแทนซะอีก
คริสตศาสนา ซึ่งมีคนนับถือจำนวนน้อยกว่ามาก ก็โดนสถานการณ์ทั้งทางตรงทางอ้อมในเรื่องนี้เข้าบีบบังคับในแบบต่างๆ แต่ด้วยความที่ศาสนาคริสต์มีบทบัญญัติข้อแรกที่สำคัญที่สุดอันดับหนึ่งในบัญญัติ10ประการ คือ จงนับถือพระเจ้าผู้เดียวของเจ้า เมื่อเดินทางเข้าสู่ประเทศที่มีลักษณะความ ซูแปร์ติซัง เป็นวัฒนธรรมประจำชาติก็หลีกเลี่ยงการปะทะไม่ได้ ในบันทึกของมิชชันนารี บางท่านยอมต่อสู้กับสิ่งเหล่านี้ถึงขนาดยอมตายแลกชีวิต บางครั้งคริสตังสยามไม่ต้องการเปลี่ยนวิถีชีวิตซูแปร์ติซังของตน ถึงขนาดกลั่นแกล้งขับไล่มิชันนารีที่มาห้ามปรามพวกตนราวกับรักและอยากเอาใจความเชื่อหรือลัทธิอื่นมากกว่าพระเจ้าซะอีก ในปัจจุบันแม้การสอนคำสอนจะสร้างความเข้าใจแก่คริสตังรุ่นใหม่มากขึ้น แต่เรายังคงพบลักษณะซูแปร์ติซังในคาทอลิกไทยส่วนมาก โดยข้ออ้างที่เข้าใจผิดเรื่อง ศาสนสัมพันธ์
--ศาสนสัมพันธ์--
เป็นหลักการหลังสังคยนาวาติกันที่2 เป็นหลักการของการเป็นมิตรและอยู่ร่วมกับศาสนาอื่นๆ เรียนรู้และ เข้าใจศาสนาอื่นๆ และมีหลักชัดเจนถึงขอบเขตในการร่วมศาสนกิจกับศาสนาอื่นๆ แต่แน่นอนว่า พระศาสนจักรไม่เคยอนุญาตให้คริสตชนเป็นคนนับถือหลายศาสนา หรือเป็นคนนับถือศาสนาแบบพหุเทวนิยม ที่สามารถกราบไหว้เทพเจ้าหลายองค์แต่อย่างใด ดังนั้นภาพของคาทอลิกบางคนที่กราบไหว้เทพเจ้าหรือกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาอื่น เป็นลักษณะ ซูแปร์ติซัง ไม่ใช่ ศาสนาสัมพันธ์ ที่พระศาสนจักร รณรงค์และสนับสนุน
ปัจจุบันพระศาสนจักรมีมุมมองเรื่องซูแปร์ติซัง ผ่อนคลายกว่าเดิม ไม่ได้มองด้านการผิดบัญญัติประการที่1เสมอไป แต่บางครั้งเป็นเพียงความอ่อนแอทางความเชื่อ ทำให้คริสตชนบางคนหลงทางไปเชื่อสิ่งต่างๆที่ไม่มีเหตุผลและไม่ได้มาจากพระเจ้า แต่หากจะถามว่าซูแปร์ติซังแบบใด เป็นการผิดบัญญัติประการที่1 แบบใดเป็นเพียงการถือตามกันโดยไม่รู้ หรือโดยพลาดพลั้งอ่อนแอ ก็ต้องถามจาก จิตสำนึกของตนเองโดยตรงว่า ที่บางครั้งเราไปขอพรเทพเจ้าอื่นๆเราเชื่อว่าเทพหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่นๆมีพลังอำนาจในการบันดาลสิ่งที่เราต้องการมากกว่าการสวดขอพระเจ้าของเราเพียงผู้เดียวหรือเปล่า ถ้าใช่ก็คือปัญหาของบัญญัติประการที่หนึ่ง
ในบางกรณีเช่นการดูหมอดูดวง หรือการเชื่อโชคลางทั่วไปที่พูดต่อๆกันมาเช่น ของต่างประเทศก็มี แมวดำตัดหน้า ศุกร์13 ฯลฯ ของไทยมีเยอะแยะมากมายสารธยายไม่หมด เหล่านี้อาจนับเป็นเพียง ซูแปร์ติซังที่เกิดจาก ความอ่อนแอ ความไม่รู้
--ประเพณีกับศาสนา--
ในบางกรณี ซูแปร์ติซังนั้นก่ำกึ่งมากว่าเป็นหรือไม่เป็นโดยเฉพาะเมื่อมีการปะทะกับประเพณีท้องถิ่นบางอย่าง โดยหลักการกว้างๆแล้ว พระศาสนจักรอนุญาตการใช้วัสดุหรือประเพณีท้องถิ่นในทางศาสนาได้ แต่ไม่ใช่นำพิธีกรรมศาสนาอื่นเข้ามาในศาสนา เช่น ประเพณีไหว้ครูที่กราบไหว้สำนึกบุญคุณครูที่เป็นมนุษย์ เราสามารถทำได้ แต่ประเพณีไหว้ครูที่กราบไหว้ครูที่มีลักษณะเป็นวิญญาณหรือเทพเจ้า มีการเชื่อมต่อกับ จิตวิญญาณและมีพิธีกรรมเชิงศาสนา ถือว่าเป็นซูแปร์ติซัง เป็นต้น
หลักวิธีพิจารณาเบื้องต้นกับเรื่องประเพณีท้องถิ่นคือ ถ้าประเพณีนั้นไม่เกี่ยวกับศาสนาหรือความเชื่อไสยศาสตร์สามารถทำได้ แต่ถ้าเกี่ยวข้องกับศาสนาหรือความเชื่อไสยศาสตร์ ให้งดเสีย
--เครื่องรางและของศักดิ์สิทธิ์--
ไม่เฉพาะ ผ้ายันต์ หรือเครื่องรางของขลังในศาสนาอื่นๆ แต่ หลักการคริสตศาสนานั้น แม้มีสิ่งของศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาคริสต์ก็จริง แต่ของนั้นไม่ได้มีพลังอำนาจในตัวเเอง ที่สำคัญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทางคริสตศาสนา มีความศักดิ์สิทธิ์เพราะการอวยพรขอพรจากพระเจ้าเพื่อสงวนสิ่งนั้นไว้ใช้เป็นศาสนภัณฑ์ (คาทอลิกติดปากคำว่าเสกมาแต่เดิมที่จริงถือว่าไม่ตรงความหมายซะทีเดียว เพราะในภาษาอังกฤษใช้คำว่า bless แปลว่าอวยพร ไม่ใช่ spell ที่แปลว่าเสก เข้าใจว่าแรกเริ่มเราใช้วิธีเทียบคำกับศาสนาพุทธเลยรับคำว่าเสกเวลาเขาเสกพระเครื่องมาใช้) รูปพระต่างๆ เราใช้สื่อถึงพระเจ้า เราไม่มีการสอนว่า รูปแม่พระวัดนั้นวัดนี้ ศักดิ์สิทธิ์กว่า รูปแม่พระอีกวัด รูปแม่พระทุกรูปสื่อถึงมารดาพระเจ้าและรหัสธรรมการบังเกิดเป้นมนุษย์ของพระเยซู กางเขนทุกอันจะพลาสติก หรือทอง ก็สื่อถึงพระเยซูเท่าๆกัน ไม่ขึ้นกับการเสกหรือวัสดุ แต่ขึ้นกับความเชื่อของเรา
หลักซูแปร์ติซังง่ายๆเรื่องวัตถุ ถ้าวัตถุใดช่วยให้เราเชื่อพระเจ้า ช่วยให้เราเชื่อว่าความดีงามต่างๆที่เกิดขึ้นมาจากพระเจ้าโดยเพียงใช้วัตถุนั้นเป็นเครื่องมือ ไม่ซูแปร์ติซัง แต่หากวัตถุใดมีการอวดสรรพคุณว่ามีพลังในตัวเอง หรือมีพลังของสิ่งที่ไม่ใช่พระเจ้า หรือมาจากศาสนาอื่นๆ อันทำให้เราขาดความเชื่อหรือวางใจพระเจ้า ไปเชื่อวางใจวัตถุมากกว่า เป็น ซูแปร์ติซัง
--การร่วมพิธีกรรมในศาสนาอื่นๆ+
การร่วมพิธีกรรมในศาสนาอื่นๆ ไม่ใช่ปัญหา แต่เราไม่สามารถปฏิบัติศาสนกิจทุกอย่างในศาสนาอื่น ในที่นี้ ทางพระสาสนจักรคาทอลิกไทยได้สรุปหลักการทุกอย่างไว้ในเวบคำสอน ขอให้คริสตชนคาทอลิกพึงปฏิบัติตาม ดีกว่าทำตามที่ตัวเองคิดแล้วต้องมาถกเถียงกันเอง ซึ่งจะไม่จบสิ้นในเหตุผล ในหัวข้อนี้รายละเอียดเยอะขอทุกท่านโปรดอ่านตามลิงค์นี้
http://www.kamsonbkk.com/2012-03-16-04-09-07