ความเข้าใจเรื่องนิมิตแท้ นิมิตเทียม  ในอานาปานสติ

กระทู้สนทนา

"นิมิต ลมออก  ลมเข้า ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว เพราะไม่รู้ธรรม ๓ ประการ จึงไม่ได้ภาวนา 

นิมิต ลมออก  ลมเข้า ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว เพราะ รู้ธรรม ๓ ประการ จึงจะได้ภาวนา ฉะนี้แล ฯ "

คำถามสวัสดีค่ะ ยังมีความสงสัยว่านิมิตแห่งอัสสาสะ ปัสสาละ มีอารมณ์เป็นลักษณะอย่างไรค่ะ. เห็นแสงสีขาวนวลปรากฏขึ้นขณะดูลมสั้น  เป็นลมละเอียดค่ะแล้วลมนี้เรียกว่านิมิตแห่งอัสสาสะปัสสาละได้ไหมค่ะ
---------
มีสองนัยทั้งได้และไม่ได้ครับอยู่ที่จุดประสงค์

ปกตินิมิต หมายถึงปลายจมูกเท่านั้นในคัมภีร์ชั้นต้น. คือมุ่งฆ่ากิเลส  คือไปตามลำดับ 1-16
นิมิตอึกนัยยะเกิดในคัมภีร์รอง หลังพุทธปรินิพพาน 950 ปี  มีนิมิตมากกว่า 10 แบบ เช่น กลุ่มควัน  เมฆ ไข่มุก เสี้ยนไม้  ดอกไม้ พวงมาลัย ธรรมจักร อัญมณี สร้อยสังวาลย์ ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์

ที่ว่าอยู่ที่จุดประสงค์  ถ้าเป็นนิมิตแบบหลังนี้ จะเน้นเป็นเครื่องอยู่ เป็นฌานถึงสมาบัติ8  แต่ไม่ใช่ฆ่ากิเลสโดยตรง ฉะนั้นอยู่ที่ ตอนนั้นต้องการทำอะไร 

ประเด็นความแตกต่าง ในการปฏิบัติอยู่ตรงที่  ถ้าไปตามพระพุทธเจ้าที่ปรากฏในพระสูตร และพระสารีบุตร จะไม่สนรูปนิมิตใดๆเลย. นิมิตพระสารีบุตรหมายถึง ปลายจมูก จะไปตามลำดับ 1-16

แต่อย่างไรก็ตาม พระองค์ตรัสไว้ว่า อานาฯ ไปได้ถึง อรูปฌาน  นั้นหมายถึง ต้องใช้รูปนิมิตด้วย เพราะจะเข้าอรูปฌานได้ต้องมีรูปนิมิตในฌาน4 เป็นพื้น   

อันนี้ผมเห็นว่า เป็นลักษณะเครื่องอยู่อันผาสุข หรือฌานกีฬา. วิธีคือเมื่อมีนิมิตเกิดจนชัดให้ละการรู้ลม มาใส่ใจนิมิต. แล้วทำตามลำดับในวิธีของกสิณ ที่บอกไว้ในกสิณดิน ตามแนววิสุทธิมรรค.

ย้ำๆโดยต้องเข้าใจว่าพระองค์ไม่สอนโดยตรง. และในอานาฯ16  ที่ทรงสอนไปถึงนิพพาน. ไม่มีวัตถุลำดับไหนเลยที่จะออกจากการรู้ลม

พระสารีบุตร รจนาคาถานี้

"นิมิต ลมออก  ลมเข้า ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว เพราะไม่รู้ธรรม ๓ ประการ จึงไม่ได้ภาวนา 

นิมิต ลมออก  ลมเข้า ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว เพราะ รู้ธรรม ๓ ประการ จึงจะได้ภาวนา ฉะนี้แล ฯ "
             
[๓๘๔] ธรรม ๓ ประการนี้ ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว เป็นธรรมไม่ปรากฏ จิตไม่ถึงความฟุ้งซ่าน จิตปรากฏเป็นประธาน จิตให้ประโยคสำเร็จ และบรรลุผลวิเศษอย่างไร              

เปรียบเหมือนต้นไม้ที่เขาวางไว้ ณ ภาคพื้นที่เรียบ บุรุษเอาเลื่อยเลื่อยต้นไม้นั้น สติของบุรุษย่อมเข้าไปตั้งอยู่ด้วยสามารถแห่งฟันเลื่อยซึ่งถูกที่ต้นไม้. บุรุษนั้นไม่ได้ใส่ใจถึงฟันเลื่อยที่มาหรือที่ไป  ฟันเลื่อยที่มาหรือที่ไปไม่ปรากฏก็หามิได้

จิตปรากฏเป็นประธาน จิตให้ประโยคสำเร็จ และบรรลุผลวิเศษ ความเนื่องกันเป็นนิมิต เหมือนต้นไม้ที่เขาวางไว้ ณ ภาคพื้นที่เรียบ ลมออก  ลมเข้าเหมือนฟันเลื่อย ภิกษุนั่งตั้งสติไว้มั่นที่ปลายจมูกหรือที่ริมฝีปาก ไม่ได้ใส่ใจถึงลมออกหรือลมเข้า ลมออกหรือลมเข้าจะไม่ปรากฏก็หามิได้ 

จิตปรากฏเป็นประธาน จิตให้ประโยคสำเร็จ และบรรลุถึงผล
วิเศษ เหมือนบุรุษตั้งสติไว้ด้วยสามารถฟันเลื่อยอันถูกที่ต้นไม้ เขาไม่ได้ใส่ใจถึงฟันเลื่อยที่มาหรือที่ไป ฟันเลื่อยที่มาหรือที่ไปจะไม่ปรากฏก็หามิได้ จิตปรากฏ
เป็นประธาน จิตให้ประโยคสำเร็จ และบรรลุถึงผลวิเศษ ฉะนั้น ฯ



เพิ่มสรุป

สรุปจากเนื้อกระทู้
ถ้าเป็นเครื่องอยู่ให้ละลมไปดูนิมิตที่เป็น อุคหหรือปฏิภาค ที่มั่นคงแล้ว ใช้วิธีแบบเดียวกับกสิณ  .... อันนี้ตามวิสุทธิมรรค. วิธีนี้จะต้องออกจากอานาฯ หรือกสิณ จึงจะเข้าวิปัสสนาได้
แต่ถ้าเป็นเครื่องประหารกิเลสจะไม่สนใจรูปนิมิต(จิตสังขาร  วัตถุที่7-8)  นิมิตนั้นจะมาพร้อมๆกับลมที่เปรียบดั่งกังสดาลแล้วใช้ลมกังสดาลนั้นเป็นเครื่องพาไปเห็นจิต วัตถุ9(นามรูปปริเฉทญาณ เรียกธรรมเอกที่ผุดขึ้น)  จนถึงสลัดคืน แล่นสู่นิพพาน(ปฏินิสสัคโค) วัตถุที่16. ตามปฏิสัมภิทา พระสารีบุตร
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่