สงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรีย

สงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรีย


ภาพเหตุการณ์หนึ่งในสงครามนี้

   สงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรีย (1740-1748) Österreichischer Erbfolgekrieg  เป็นครั้งสุดท้ายของการขัดแย้งกับราชวงศ์บูร์บอง – และราชวงศ์ฮับส์เบิร์กส์และทำให้ราชอาณาจักรปรัสเซียผงาดขึ้นในความขัดแย้งนี้ ในขณะที่ข้ออ้างคือสิทธิเจ้าหญิงมาเรียเทเรซา ที่จะได้รับราชสมบัติจากจักรพรรดิชาร์ลส์ที่หกจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิสิทธิ์,กษัตริย์แห่งโบฮีเมียกับฮังการี,และอาร์คดุ๊กแห่งออสเตรีย ผู้เป็นพระราชบิดาหลังสวรรคต ซึ่งในรัฐเยอรมันจะมีกฎแซลิกที่บอกว่าห้ามสตรีเป็นประมุขแห่งรัฐเด็ดขาด ในเวลานี้ฝรั่งเศสกับปรัสเซียและบาวาเรียเห็นโอกาสที่จะท้าทายอำนาจของจักรวรรดิฮับส์บูร์กอันยิ่งใหญ่และเป็นมหาอำนาจมานานแสนนาน มาเรียเทเรซ่าได้รับการสนับสนุนจากราชอาณาจักรบริเตนใหญ่(สหราชอาณาจักรในขณะนั้น) (สงครามในช่วงนี้อังกฤษมักจะพยายามอยู่ตรงข้ามฝรั่งเศสอยู่เสมอ ออสเตรียเป็นเพียงแค่เพื่อนชั่วคราวของอังกฤษเพราะยังไงอังกฤษก็เป็นศัตรูกับออสเตรียอยู่ดี)กับสาธารณรัฐดัตช์และฮันโนเวอร์(ฮันโนเวอร์ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรบริเตนใหญ่หรือสหราชอาณาจักรในตอนนั้นแต่ถือว่าใช้พระมหากษัตริย์องค์เดียวกับอังกฤษและปกครองโดยสภาฮันโนเวอร์ซึ่งเป็นรัฐบาลย่อยของรัฐบาลอังกฤษ นอกจากนี้ยังปกครองด้วยข้าหลวงอุปราชชาวอังกฤษทำให้ถือว่าฮันโนเวอร์เป็นของอังกฤษก็ว่าได้เพียงแต่ไม่ได้เป็นเป็นส่วนหนึ่งของอังกฤษเท่านั้นเอง)เป็นที่รู้จักกันเป็นศาสตร์พันธมิตร และความขัดแย้งที่กว้างขึ้นก็เข้ามาอยู่ในผู้เข้าร่วมอื่น ๆ ในหมู่พวกสเปน , ซาร์ดิเนีย , แซกโซนี , สวีเดนและรัสเซียซึ่งรัฐทั้งหมดเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นศัตรูของจักรวรรดิฮับส์บูร์ก,ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และฮันโนเวอร์,กับสาธารณรัฐดัตช์
ทั้งนี้ก็ได้เกิดความขัดแย้งกันเช่นปรัสเซียภายใต้การครอบครองของพระเจ้าฟรีดริชที่สองที่ทรงนำทัพเข้ายึดครองไซลีเซียของออสเตรียได้ในปี 1740 ซึ่งออสเตรียภายใต้การปกครองของพระนางมาเรียเทเรซ่าโกรธเป็นอย่างมากและพยายามยึดไซลีเซียคืนในปี 1745 ถึง 1748 ฝรั่งเศสได้พิชิตออสเตรียเนเธอร์แลนด์ส่วนใหญ่(ออสเตรียเนเธอแลนด์ในปัจจุบันคือประเทศเบลเยียม) ทั้งออสเตรียและซาร์ดิเนียชนะต่อความพ่ายแพ้ต่อความพยายามของสเปนที่จะยึดครองดินแดนในอิตาลีตอนเหนือในปี 1747 การปิดล้อมทางเรือของอังกฤษทำให้สถานีการค้าของฝรั่งเศสบางแห่งถูกทำลายอย่างย่อยยับ
สนธิสัญญาแอกซ์-ลา-ชาแปล (1748)สะท้อนให้เห็นถึงข้อสรุปในสงครามนี้ ประเด็นทางการค้าที่นำไปสู่สงครามส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการแก้ไขและผู้ลงนามหลายคนไม่พอใจกับเงื่อนไขนี้ แม้ฝรั่งเศสจะเกือบล้มละลาย แต่พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศสก็ถอนการค้าออกจากกลุ่มประเทศต่ำซึ่งก็คือเนเธอแลนด์หรือสาธารณรัฐดัตช์ในตอนนั้นเพื่อผลประโยชน์เพียงเล็กน้อยและสร้างความผิดหวังให้กับขุนนางและประชาชนชาวฝรั่งเศสที่ตัวเองจะล้มละลายกับการที่กษัตริย์ใช้เงินเปลืองและการทำสงครามอยู่แล้วแต่กษัตริย์กลับเลิกค้าขายกับดัตช์ซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่รักการค้าอย่างมากเรียกง่ายๆ ว่าค้าขายเก่งและร่ำรวยมหาศาลจากการค้าเครื่องเทศและการได้อาณานิคมในอินโดนีเซียหรือปัตตาเวีย ส่วนสเปนได้ผลประโยชน์จากอิตาลีน้อยมากทั้งยังเสียมินอร์กาหรือยิบรอลตาร์ให้อังกฤษอีก(ยิบรอลตาร์เป็นอาณานิคมของอังกฤษจนถึงปัจจุบัน)นอกจากนี้สเปนยังเสียผลประโยชน์ทางการค้าในทวีปอเมริกาให้อังกฤษไปเกือบหมดสเปนจึงโกรธมาก แม้ว่าเจ้าหญิงมาเรียเทเรซ่าจะได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้สืบราชสมบัติจากพระบิดาคือชาร์ลส์ที่หก แต่พระองค์ก็รู้สึกไม่พอใจอยู่ดีที่อังกฤษไม่ได้ช่วยตนมากนักแถมยังเห็นด้วยอย่างยิ่งที่ออสเตรียยกไซลีเซียให้ปรัสเซีกอีก ทำให้พระนางทรงรู้ว่าการที่อังกฤษทำอย่างนี้เพียงเพราะต้องการสร้างความรำคาญและทะเลาะกับฝรั่งเศสเท่านั้นไม่ได้คำนึงถึงพันธมิตรเลย ผลที่ตามมาคือการปรับฐานที่เรียกว่าการปฏิวัติทางการทูตหรือการสลับพันธมิตร เช่น อังกฤษกับออสเตรียซึ่งเป็นพันธมิตรกันมาก่อนกลับกลายเป็นศัตรูกัน โดยออสเตรียเข้าไปเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสซึ่งเป็นศัตรูเก่าแทน และอังกฤษซึ่งเป็นศัตรูของปรัสเซียก็กลายเป็นว่าทั้งสองยอมเป็นพันธมิตรกัน ซึ่งด้วยสาเหตุแห่งการที่ออสเตรียต้องการไซลีเซียและการปฏิวัติทางการทูตนี้เองเป็นสาเหตุของสงครามเจ็ดปีซึ่งรุนแรงมากถึงขนาดที่ได้รับฉายาว่าสงครามโลกครั้งที่ศูนย์ (1756-1763)

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่