ละคร "ความทรงจำสีจาง" ทำให้เห็นถึงความไม่ฉลาดในการตามคนร้าย

จริงๆ ไม่ได้ชอบดูละครนะครับ แต่เนื่องด้วยเมื่อคืนต้องนั่งช่วยงานแม่ที่กำลังเย็บผ้า แม่เปิดดูไปพลางผมก็เลยต้องดู แล้วก็ถึงตอนที่มีการนำผู้หญิงคนหนึ่ง มาสารภาพว่า เพื่อนพระเอกเป็นคนว่าจ้างให้นำข้าวเก่ามาหุงเป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท และจ้างให้ออกอีก 50,000 บาท ทำให้เกิดความเข้าใจผิด และทุกคนมองว่าเพื่อนพระเอกเป็นคนทำ...จากนั้นก็มีการสั่งพักงานเพื่อสอบสอน...เรื่องก็ยังดำเนินต่อไป

ในสถานการณ์จริงแบบนั้น ผมมองว่า มันเป็นเรื่องไม่ฉลาดที่เขียนมุขนี้ขึ้นมาในยุคปัจจุบัน..​เพราะแว๊บแรกที่มันพูดจบในห้องประชุม ผมก็คิดวิธีการตรวจสอบได้อย่างทันที ไม่ใช่ว่าผมฉลาดนะ แต่ผมว่ามันเป็นเรื่องที่ง่ายในยุคนี้ ยิ่งในเรื่องนางเอกก็เป็นคนทำยูทูปด้วย แสดงว่าละครเรื่องนี้อิงจากยุคนี้เป็นหลัก

โดยหลักการการตรวจสอบก็คือ ให้ผู้หญิงแสดงหลักฐานการรับเงิน ว่ารับเงินมาในรูปแบบไหน ซอง หรือการโอน 
อิงจากเหตุการณ์ปัจจุบัน มองถึงการ "โอน" เป็นหลัก
1 ดูเงินในปัญชีของผู้หญิง ว่าได้รับการโอนเงินมาจากบัญชีไหน ถ้าผู้ร้ายตัวจริง ฝากเงินไปอีกคน แล้วฝากไปอีกคน แล้วก็ฝากไปอีกคน เพื่อจะโอนให้ผู้หญิง โดยไม่ว่าจะกี่คนกี่ทอด มันก็สอบย้อนขึ้นไปได้อยู่ดี
2 ผู้หญิงอ้างว่าเพื่อนพระเอกมอบเงินค่าจ้างให้ ... อันนี้ละง่ายเลย เพราะสามารถตรวจสอบบัญชีจากเพื่อนพระเอกได้ ว่ามีเงินเข้าออกจำนวนกว่า 7 หมื่นบาทเมื่อวันไหน ตรวจย้อนไปได้เป็นปีๆ เพราะเงินจำนวนนั้น มันก็ต้องมีการผ่านบัญชีมาในรูปแบบของเงินสะสม เงินเดือน เงินพิเศษต่างๆ เช่นก่อนหน้านี้ เพื่อนพระเอกมีเงินติดบัญชี 3 ล้าน แล้วก็ดูยอดเงินที่กดออกหรือโอนออกไป มียอดไหนที่มันใกล้เคียงกับยอดที่หายไปบ้าง 
3 หากตรวจสอบบัญชีเพื่อนพระเอกไม่ได้ และตัวผู้หญิงแสดงการได้เงินมาไม่ได้ ตัวผู้หญิงเองต่างหากที่จะโดน เพราะถ้ามีเงินเข้ามาผ่านบัญชี มันยังไงก็ตรวจได้ แต่ถ้าเป็นเงินสด ก็ต้องริบเงินนั้นไว้เป็นของกลางก่อน การตรวจสอบรายนิ้วมือคงยาก แต่เชื่อว่าเงิน 7 หมื่นคงแลกกับอนาคตและคดีความคงไม่ได้ ดังนั้นผู้หญิงน่าจะได้รับการจ้างวานมานับแสน หรือหลักล้าน เพราะพนักงานเงินเดือน การที่จะโยนความผิดให้ใครสักคนแลกเงินหมื่น ผมว่าไม่มีใครทำ

อิงจากเหตุการณ์การรับ "เงินสด​"เป็นหลัก
1 ถ้าในเหตุการณ์แจ้งว่าได้รับมาเป็นเงินสด ดังนั้นให้ทำการตรวจบัญชีการเดินบัญชีของพนักงาน "ทุกคน" ตั้งแต่ระดับผู้บริหารถึงยาม ว่าใครมียอดเงินหมุนเวียนออก 5-7 หมื่น หรือหลักแสนบ้าง ซึ่งเงินระดับนี้็ก็จะจำกัดวงแคบเหลือแค่ผู้บริหาร หรือคนที่มีตำแหน่งหน้าที่ จากนั้นก็ไล่ดู เช่น มีคนมีเงินหมุนเวียนเงินระดับนั้น 5 ราย ให้แต่ละรายแสดงว่าเอาเงินไปใช้อะไรบ้าง เงินขนาดนี้ "เอาไปซื้อมือถือมาใหม่" ก็เอามือถือมาแสดง ไปซื้อศูนย์ไหนมา, "เอาเงินไปดาวน์รถ" ก็ง่ายเลยหลักฐานก็ต้องมี "เอาเงินไปให้เมียน้อย" อันนี้ก็ง่ายเช่นกัน ไม่ว่าจะให้ใครด้วยเสน่ห์หา มันก็ตรวจสอบได้หมดว่าไปให้ใคร แล้วคนได้เอาไปใช้อะไร
2 ถ้าในเหตุการณ์แจ้งว่า เป็นการว่าจ้าง โดยยังไม่ได้รับเงินสักบาท เหมือนให้ดำเนินการให้เรียบร้อยแล้วจะจัดการให้ทีหลัง อันนี้คือตรรกะป่วยสุด จะมีใครบ้างที่ยอมกระทำผิดโดยที่ไม่มีหลักฐานหรือการค้ำประกันหรือมัดจำอะไรสักอย่าง ไม่ว่าจะการว่าจ้างฆ่าคน ยิงคน ลักพาตัว กระทำผิดต่างๆ ในละคร ส่วนใหญ่จะได้เงินมัดจำหรือค่าจ้างเพื่อเป็นแรงจูงใจ แล้วก็มักพูดว่า "นี่เป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น...ไว้แกจัดการให้เรียบร้อย ค่อยมารับส่วนที่เหลือ" นั้นหมายถึง ส่วนที่จะได้ในการครั้งแรก มักจะมีปริมาณมากกว่า ส่วนที่เหลือ เว้นเสียแต่งานต้องใหญ่มากๆ ที่ให้ส่วนแรกมากพอจะจูงใจได้

แต่ในละครเหมือนคิดอะไรกันไม่ได้... พอโดนกล่าวหา ก็โดนพักงานทันที ไม่มีการตรวจสอบใดๆ แถมยังโยกตำแหน่งให้เพื่อนนางเอก รู้แหละว่านางเก่ง และมองเห็นว่า ถ้าเพื่อนพระเอกพ้นผิด น่าจะมารับตำแหน่งที่ดีกว่าเดิมแน่นอน...แต่มันไม่เมกเซ้นต์...

สำหรับเคสนี้ คิดว่ามีการตรวจสอบความถูกต้องของการค้นหาคนร้ายได้แบบไหนได้อีก ผมมองว่าแบบนี้น่าจะง่ายและชัดเจนสุดแหละ
ป.ล. ลูกค้ามากินข้าวคำเดียว ถึงกับทิ้งช้อนแล้วโมโหเหมือนพ่อไปโดนต่อยมา ...มันก็เกินไป๊ ข้าวเก่าข้าวใหม่ ผมเองอาจจะลิ้นไม่เทพขนาดนั้นที่จะแยกออกได้ แต่การโมโหแค่ข้าวคำๆ เดียวมันก็เกินไป... เออ ถ้าหุงข้าวแข็งเกินไป แฉะเกินไป แบบนี้คือน่าโมโห เพราะเคยเหมือนกันที่เวลาหิวจัดๆ แล้วพอกินข้าวที่หุงแข็งแล้วอารมณ์เสียจริงๆ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่