คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
คนละส่วนครับ
ดอกเบี้ยมีหลายอย่างครับ ที่หักภาษี ณ ที่จ่าย 15%
มีทั้งฝากประจำ ตั๋วเงินฝาก หุ้นกู้ และเงินในพอร์ตด้วย
แต่ฝากออมทรัพย์ได้รับยกเว้นไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย (ไม่ต้องหัก ณ ที่จ่ายไม่ได้แปลว่าไม่ต้องจ่ายภาษี)
แต่ยกเว้นให้เฉพาะถ้าไม่เกิน 2 หมื่นต่อปี ก็เลยมีเงื่อนไขว่าต้องยอมให้แบงค์ส่งข้อมูลให้สรรพากร เพราะเมื่อก่อนคนไม่ยอมจ่ายภาษีตัวนี้กัน ใช้กระจายบัญชีบ้าง ฝากสั้นๆ ให้ดอกไม่ถึงเกณฑ์บ้าง ฯลฯ
ดอกเบี้ยอื่นๆ ที่หักภาษี ณ ที่จ่าย หักแล้วถ้าปล่อยไปก็จบครับ
(ไม่รวมแบงค์รัฐ 3 แบงค์ คือ ออมสิน ธกส และ ธอส)
ดอกเบี้ยมีหลายอย่างครับ ที่หักภาษี ณ ที่จ่าย 15%
มีทั้งฝากประจำ ตั๋วเงินฝาก หุ้นกู้ และเงินในพอร์ตด้วย
แต่ฝากออมทรัพย์ได้รับยกเว้นไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย (ไม่ต้องหัก ณ ที่จ่ายไม่ได้แปลว่าไม่ต้องจ่ายภาษี)
แต่ยกเว้นให้เฉพาะถ้าไม่เกิน 2 หมื่นต่อปี ก็เลยมีเงื่อนไขว่าต้องยอมให้แบงค์ส่งข้อมูลให้สรรพากร เพราะเมื่อก่อนคนไม่ยอมจ่ายภาษีตัวนี้กัน ใช้กระจายบัญชีบ้าง ฝากสั้นๆ ให้ดอกไม่ถึงเกณฑ์บ้าง ฯลฯ
ดอกเบี้ยอื่นๆ ที่หักภาษี ณ ที่จ่าย หักแล้วถ้าปล่อยไปก็จบครับ
(ไม่รวมแบงค์รัฐ 3 แบงค์ คือ ออมสิน ธกส และ ธอส)
แสดงความคิดเห็น
เงินฝากในบ/ช cash balance ถือเป็นเงินฝากออมทรัพย์ที่ต้องเอาดอกเบี้ยไปรวมกับยอด 20000 บาทด้วยหรือไม่ครับ
อยากเรียนถาม ดอกเบี้ยรับที่ผมได้จากบัญชี cash balance ของบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งเขาจ่ายดอกเบี้ยให้ผมทุกเดือนพร้อมหักณที่จ่าย ถือว่าเข้าข่ายที่จะเลือกเป็นภาษีสุดท้าย ไม่ต้องเอารวมคิดภาษีได้เลยไหมครับ
ผมกังวลว่าต้องเอามารวมกับดอกเบี้ยออมทรัพย์หรือเปล่า เพราะอย่างหลังใช้หลัก 20,000 บาทเป็นเกณฑ์วัดว่าถ้ารวมแล้วเกินจำนวนเงินดังกล่าวต้องเอามารวมยื่นในเงินได้ ซึ่งลำบากผมมากเนื่องจากอาจมีบัญชีออมทรัพย์ที่ผมเปิดไว้ไม่ได้ปิดแต่จำไม่ได้แต่ยังจ่ายดอกเบี้ยทุกปีแม้เพียงไม่กี่สิบบาท ถ้าผมยื่นแจ้งดอกเบี้ยออมทรัพย์รับไม่ครบ กลายเป็นอาจโดนเรื่องแจ้งไม่ครบหรือหลีกเลี่ยง และอาจกลายเป็นปัญหาทำให้การขอเงินภาษีคืนได้เงินล่าช้าครับ
รบกวนท่านผู้รู้ช่วยชี้แจงแนะนำด้วยครับ ว่ามันเป็นส่วนเดียวกัน หรือคนล่ะส่วนครับ จะได้วางแผนการเงินและภาษีถูก
ขอบคุณทุกคำแนะนำและคำอธิบาย
ที่มาของภาพ itax.in.th