สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 7
ตามที่คุณเข้าใจเรื่องหมายเลขทางหลวงนั้น (1=เหนือ , 2=อีสาน , 3=กลาง , 4=ใต้) คุณเข้าใจถูกต้องแล้วครับ
แต่เกณฑ์ที่คุณเข้าใจนั้น ใช้กับถนนของกรมทางหลวงเท่านั้น
นอกจากกรมทางหลวงแล้ว ถนนในประเทศไทยยังมีหน่วยงานอีก 4 กลุ่มที่จัดสร้างและดูแลถนน นั่นคือ
1. กรมโยธาธิการ (ยธ./ป้ายเหลี่ยมสีเหลือง) และ กรมการเร่งรัดและพัฒนาชนบท (รพช./ป้ายเหลี่ยมสีน้ำเงิน)
ทั้ง 2 หน่วยงานนี้ เป็นหน่วยงานในอดีต มีหน้าที่ก่อสร้างทางหลวงท้องถิ่น
โดยที่หมายเลขสายทางจะประกอบด้วย อักษรย่อชื่อจังหวัด 2 ตัว และตามด้วยเลขอีก 4 ตัว ซึ่งตัวเลขแต่ละตัวไม่ได้มีความหมายเฉพาะ
ต่อมาทั้ง 2 หน่วยงานนี้ได้ถูกยุบรวมในปี 2545 กลายเป็นกรมทางหลวงชนบท
เส้นทางในความดูแลส่วนหนึ่งถูกโอนมาอยู่กรมทางหลวงชนบท และกำหนดหมายเลขใหม่ แต่บางส่วนก็ถูกโอนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2. กรมทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคม : ป้ายหมายเลขทาง จะเป็นป้ายสีน้ำเงิน มีตราสัญลักษณ์กรมทางหลวงชนบทด้านบน
ด้านล่างมีคำว่า "ทางหลวงชนบท" อีกบรรทัดมีอักษรย่อชื่อจังหวัด และตามด้วยเลขอีก 4 ตัว โดยที่เลขหลักแรกจะมีความหมายดังนี้ครับ
ขึ้นต้นด้วย 1 = เป็นเส้นทางที่แยกออกจากถนนของกรมทางหลวง ที่มีหมายเลข 1 ตัว
ขึ้นต้นด้วย 2 = เป็นเส้นทางที่แยกออกจากถนนของกรมทางหลวง ที่มีหมายเลข 2 ตัว
ขึ้นต้นด้วย 3 = เป็นเส้นทางที่แยกออกจากถนนของกรมทางหลวง ที่มีหมายเลข 3 ตัว
ขึ้นต้นด้วย 4 = เป็นเส้นทางที่แยกออกจากถนนของกรมทางหลวง ที่มีหมายเลข 4 ตัว
ขึ้นต้นด้วย 5 = เป็นเส้นทางที่แยกออกจากทางหลวงชนบทด้วยกัน
ขึ้นต้นด้วย 6 = เป็นเส้นทางที่แยกออกจากถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบจ. , อบต. , เทศบาล) และถนนอื่นๆ ที่ไม่เข้าพวก
3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ (อบจ. , อบต. , เทศบาล)
ถนนที่อยู่ในความดูแลของท้องถิ่น จะมีการตั้งหมายเลขแตกต่างกันไป ตามแต่ที่นั้นๆ จะกำหนด
บางที่อาจตั้งหมายเลขใหม่ แต่บางที่ก็ใช้หมายเลขเดิม เหมือนเมื่อครั้งที่ยังเป็นถนนของ ยธ. หรือ รพช.
4. สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร : ถนนที่ขึ้นกับหน่วยงานนี้ ไม่ได้มีการกำหนดหมายเลขทางและไม่ได้ตั้งหลักกิโลเมตร
หน่วยงานตามข้อ 1-3 นี้ มีรูปแบบป้ายบอกหมายเลขทางต่างกัน
แต่ว่าใน Google Map กลับแสดงสัญลักษณ์หมายเลขทางเหล่านี้เป็นป้ายขาว-ตัวเลขดำ ตามที่คุณ meam บอกไว้
ซึ่งก็ไม่ถูกต้อง เพราะนั่นเป็นป้ายตามรูปแบบของกรมทางหลวง ทำให้คนดูสับสนเอาได้
อีกสาเหตุหนึ่งที่หมายเลขทางหลักแรกไม่ตรงตามภาค ก็คือ กลุ่มจังหวัดที่คาบเกี่ยวระหว่างภาค ทำให้มีบางเส้นทางขึ้นตัวเลขต่างภาคกัน
ตัวอย่างเช่นภาพที่ 3 ที่เป็นภาพในจังหวัดชุมพร : จังหวัดชุมพรเป็นจังหวัดภาคใต้ ปกติทางหลวงภาคใต้จะขึ้นต้นด้วยเลข 4
แต่ด้วยความที่ จังหวัดชุมพรมีอาณาเขตติดกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นจังหวัดภาคกลาง
ทำให้มีทางหลวงบางสายที่ขึ้นต้นด้วยเลข 3 ซึ่งก็ตรงกับที่ในเว็บบอกไว้ว่า
"ขึ้นต้นด้วยหมายเลข 3 คือทางหลวงในภาคกลาง ภาคตะวันออก และบางส่วนของภาคใต้"
(จริงๆแล้วจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นภาคเหนือ ก็มีทางหลวงที่ขึ้นต้นด้วย 3 อยู่นิดหน่อยด้วยเช่นกัน)
ซึ่งก็ไม่ใช่ที่เดียวที่เป็นลักษณะนี้ เพราะในพื้นที่อื่นๆ เช่น จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นจังหวัดภาคเหนือ
แต่หมายเลขทางโดยส่วนใหญ่ขึ้นต้นด้วย 2 ซึ่งเป็นเลขของทางหลวงภาคอีสาน
หรืออย่างจังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดภาคกลาง แต่มีทางหลวงทั้งที่ขึ้นต้นด้วย 2 และ 3 อยู่ปนๆกันอีกด้วยครับ
แต่เกณฑ์ที่คุณเข้าใจนั้น ใช้กับถนนของกรมทางหลวงเท่านั้น
นอกจากกรมทางหลวงแล้ว ถนนในประเทศไทยยังมีหน่วยงานอีก 4 กลุ่มที่จัดสร้างและดูแลถนน นั่นคือ
1. กรมโยธาธิการ (ยธ./ป้ายเหลี่ยมสีเหลือง) และ กรมการเร่งรัดและพัฒนาชนบท (รพช./ป้ายเหลี่ยมสีน้ำเงิน)
ทั้ง 2 หน่วยงานนี้ เป็นหน่วยงานในอดีต มีหน้าที่ก่อสร้างทางหลวงท้องถิ่น
โดยที่หมายเลขสายทางจะประกอบด้วย อักษรย่อชื่อจังหวัด 2 ตัว และตามด้วยเลขอีก 4 ตัว ซึ่งตัวเลขแต่ละตัวไม่ได้มีความหมายเฉพาะ
ต่อมาทั้ง 2 หน่วยงานนี้ได้ถูกยุบรวมในปี 2545 กลายเป็นกรมทางหลวงชนบท
เส้นทางในความดูแลส่วนหนึ่งถูกโอนมาอยู่กรมทางหลวงชนบท และกำหนดหมายเลขใหม่ แต่บางส่วนก็ถูกโอนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2. กรมทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคม : ป้ายหมายเลขทาง จะเป็นป้ายสีน้ำเงิน มีตราสัญลักษณ์กรมทางหลวงชนบทด้านบน
ด้านล่างมีคำว่า "ทางหลวงชนบท" อีกบรรทัดมีอักษรย่อชื่อจังหวัด และตามด้วยเลขอีก 4 ตัว โดยที่เลขหลักแรกจะมีความหมายดังนี้ครับ
ขึ้นต้นด้วย 1 = เป็นเส้นทางที่แยกออกจากถนนของกรมทางหลวง ที่มีหมายเลข 1 ตัว
ขึ้นต้นด้วย 2 = เป็นเส้นทางที่แยกออกจากถนนของกรมทางหลวง ที่มีหมายเลข 2 ตัว
ขึ้นต้นด้วย 3 = เป็นเส้นทางที่แยกออกจากถนนของกรมทางหลวง ที่มีหมายเลข 3 ตัว
ขึ้นต้นด้วย 4 = เป็นเส้นทางที่แยกออกจากถนนของกรมทางหลวง ที่มีหมายเลข 4 ตัว
ขึ้นต้นด้วย 5 = เป็นเส้นทางที่แยกออกจากทางหลวงชนบทด้วยกัน
ขึ้นต้นด้วย 6 = เป็นเส้นทางที่แยกออกจากถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบจ. , อบต. , เทศบาล) และถนนอื่นๆ ที่ไม่เข้าพวก
3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ (อบจ. , อบต. , เทศบาล)
ถนนที่อยู่ในความดูแลของท้องถิ่น จะมีการตั้งหมายเลขแตกต่างกันไป ตามแต่ที่นั้นๆ จะกำหนด
บางที่อาจตั้งหมายเลขใหม่ แต่บางที่ก็ใช้หมายเลขเดิม เหมือนเมื่อครั้งที่ยังเป็นถนนของ ยธ. หรือ รพช.
4. สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร : ถนนที่ขึ้นกับหน่วยงานนี้ ไม่ได้มีการกำหนดหมายเลขทางและไม่ได้ตั้งหลักกิโลเมตร
หน่วยงานตามข้อ 1-3 นี้ มีรูปแบบป้ายบอกหมายเลขทางต่างกัน
แต่ว่าใน Google Map กลับแสดงสัญลักษณ์หมายเลขทางเหล่านี้เป็นป้ายขาว-ตัวเลขดำ ตามที่คุณ meam บอกไว้
ซึ่งก็ไม่ถูกต้อง เพราะนั่นเป็นป้ายตามรูปแบบของกรมทางหลวง ทำให้คนดูสับสนเอาได้
อีกสาเหตุหนึ่งที่หมายเลขทางหลักแรกไม่ตรงตามภาค ก็คือ กลุ่มจังหวัดที่คาบเกี่ยวระหว่างภาค ทำให้มีบางเส้นทางขึ้นตัวเลขต่างภาคกัน
ตัวอย่างเช่นภาพที่ 3 ที่เป็นภาพในจังหวัดชุมพร : จังหวัดชุมพรเป็นจังหวัดภาคใต้ ปกติทางหลวงภาคใต้จะขึ้นต้นด้วยเลข 4
แต่ด้วยความที่ จังหวัดชุมพรมีอาณาเขตติดกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นจังหวัดภาคกลาง
ทำให้มีทางหลวงบางสายที่ขึ้นต้นด้วยเลข 3 ซึ่งก็ตรงกับที่ในเว็บบอกไว้ว่า
"ขึ้นต้นด้วยหมายเลข 3 คือทางหลวงในภาคกลาง ภาคตะวันออก และบางส่วนของภาคใต้"
(จริงๆแล้วจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นภาคเหนือ ก็มีทางหลวงที่ขึ้นต้นด้วย 3 อยู่นิดหน่อยด้วยเช่นกัน)
ซึ่งก็ไม่ใช่ที่เดียวที่เป็นลักษณะนี้ เพราะในพื้นที่อื่นๆ เช่น จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นจังหวัดภาคเหนือ
แต่หมายเลขทางโดยส่วนใหญ่ขึ้นต้นด้วย 2 ซึ่งเป็นเลขของทางหลวงภาคอีสาน
หรืออย่างจังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดภาคกลาง แต่มีทางหลวงทั้งที่ขึ้นต้นด้วย 2 และ 3 อยู่ปนๆกันอีกด้วยครับ
ความคิดเห็นที่ 6
จริง ๆ ต้องโทษ Google Maps ด้วยครับ เพราะแสดงข้อมูลไม่สมบูรณ์
ตัวเลขในกรอบพื้นขาว คือถนนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง มีหลักการตามที่ จขกท.กล่าวมา โดยมีเพิ่มเติมคือถนนในภาคกลางจะขึ้นต้นด้วย 3 โดยของสายใต้จะขึ้นต้นด้วย 3 ลงมาจนถึงแยกปฐมพร จ.ชุมพร หลังจากนั้นจึงจะขึ้นต้นด้วย 4
ส่วนตัวเลขในกรอบพื้นน้ำเงิน คือถนนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท ซึ่ง Google Maps แสดงถนนหลายสายผิดเป็นกรอบขาว ทำให้ไปสับสนกับถนนของกรมทางหลวง นอกจากนี้ Google Maps ก็ยังไม่แสดงตัวอักษรย่อของจังหวัดด้วย
ตัวอย่างป้ายของกรมทางหลวง (202) กับป้ายของกรมทางหลวงชนบท (ยส.3020)
ตัวเลขในกรอบพื้นขาว คือถนนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง มีหลักการตามที่ จขกท.กล่าวมา โดยมีเพิ่มเติมคือถนนในภาคกลางจะขึ้นต้นด้วย 3 โดยของสายใต้จะขึ้นต้นด้วย 3 ลงมาจนถึงแยกปฐมพร จ.ชุมพร หลังจากนั้นจึงจะขึ้นต้นด้วย 4
ส่วนตัวเลขในกรอบพื้นน้ำเงิน คือถนนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท ซึ่ง Google Maps แสดงถนนหลายสายผิดเป็นกรอบขาว ทำให้ไปสับสนกับถนนของกรมทางหลวง นอกจากนี้ Google Maps ก็ยังไม่แสดงตัวอักษรย่อของจังหวัดด้วย
ตัวอย่างป้ายของกรมทางหลวง (202) กับป้ายของกรมทางหลวงชนบท (ยส.3020)
ความคิดเห็นที่ 5
ทางหลวงมีหลายประเภทแล้วแต่ว่าหน่วยงานไหนเป็นผู้ดูแล
ระบบหมายเลขขึ้นต้น 1 2 3 4 แยกตาม 4 ภาค ข้างต้นใช้กับ ทางหลวงแผ่นดิน ในความดูแลของ กรมทางหลวง
ถ้าเป็น ทางหลวงชนบท ในความดูแลของ กรมทางหลวงชนบท จะมีชื่อย่อจังหวัด 2 ตัวนำหน้า ตามด้วยระบบหมายเลข เช่น
เลข 1 เริ่มต้นจากทางหลวงแผ่นดินที่มีหมายเลขตัวเดียว
..........
เลข 4 หมายถึง เริ่มต้นจากทางหลวงแผ่นดินที่มีหมายเลขสี่ตัว
เลข 6 หมายถึง เริ่มต้นจากสถานที่ เช่น โรงเรียน วัด บ้าน ตำบล อำเภอ
นอกจากนี้ยังมี ทางหลวงท้องถิ่น ในความดูแลของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล อบต. ก็จะมีอีกระบบ
รายละเอียดลองอ่านในลิงค์ข้างล่างดูครับ
https://th.wikipedia.org/wiki/ทางหลวงในประเทศไทย#ระบบหมายเลข
ระบบหมายเลขขึ้นต้น 1 2 3 4 แยกตาม 4 ภาค ข้างต้นใช้กับ ทางหลวงแผ่นดิน ในความดูแลของ กรมทางหลวง
ถ้าเป็น ทางหลวงชนบท ในความดูแลของ กรมทางหลวงชนบท จะมีชื่อย่อจังหวัด 2 ตัวนำหน้า ตามด้วยระบบหมายเลข เช่น
เลข 1 เริ่มต้นจากทางหลวงแผ่นดินที่มีหมายเลขตัวเดียว
..........
เลข 4 หมายถึง เริ่มต้นจากทางหลวงแผ่นดินที่มีหมายเลขสี่ตัว
เลข 6 หมายถึง เริ่มต้นจากสถานที่ เช่น โรงเรียน วัด บ้าน ตำบล อำเภอ
นอกจากนี้ยังมี ทางหลวงท้องถิ่น ในความดูแลของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล อบต. ก็จะมีอีกระบบ
รายละเอียดลองอ่านในลิงค์ข้างล่างดูครับ
https://th.wikipedia.org/wiki/ทางหลวงในประเทศไทย#ระบบหมายเลข
แสดงความคิดเห็น
งงกับระบบหมายเลขทางหลวงของไทยจริงๆ
เลข 1 ไปเหนือ (ถนนพหลโยธิน)
เลข 2 ไปอิสาน (ถนนมิตรภาพ)
เลข 3 ไปตะวันออก-ตะวันตก และกลาง (ถนนสุขุมวิท)
เลข 4 ไปใต้ (ถนนเพชรเกษม)
ซึ่งผมก็เข้าใจว่า ถนนที่แตกออกจากสายหลัก มันก็จะมีหลักเพิ่มขึ้น แต่เลขข้างหน้ามันก็ต้องเลขเหมือนกัน
เช่น ทางหลวงสาย 11 แตกออกจากสาย 1
สาย 1xx ก็เป็นสายระดับเชื่อมอำเภอ ย่อยสุด 1xxx แต่มันก็อยู่ในภาคเหนือ
แต่มาดูใน google แล้วผมงง
ทำไมมันมีสายอื่นมาปะปนเต็มไปหมด ดูแล้วสับสน หรือว่า google บอกผิด?
เช่นรูปนี้ อุบลฯ หลักๆก็นำด้วยเลข 2 แล้วถนนเลข 4xxx มาโผล่แถวนี้ได้ไง
อันนี้ท่ามกลางถนนเลข 3 ก็มีถนน 4xxx มาปรากฏ (คือทำไมไม่ตั้งชื่อถนน 3xxx มีเลขเหลืออีกตั้งเยอะ ทำไมต้องมาใช้ 4xxx แถวนี้)
อันนี้ภาคใต้ ถนนเลข 3xx, 3xxx ทำไมมาอยู่แถวนี้(สลับกับข้างบนป่าว)
นี่ก็ภาคใต้ แต่ถนน 2xxx มาอยู่อะไรแถวนี้
นี่ก็ภาคใต้ แต่มีถนน 3xxx, 5xxx ปะปน
นี่ภาคตะวันออก แต่มี 2xxx, 4xxx, 5xxx มาแจม
อยู่เหนือ ก็มีถนน 4xxx มาร่วม
นี่ภาคเหนือ ก็มีถนน 4xxx, 5xxx ด้วย
คือที่บอกมาทั้งหมด ผมสับสน ว่าตกลงถนนในไทย ไม่ได้แบ่งเลขกันตามที่เข้าใจเหรอครับ
อยู่เหนือมันก็ต้องเป็นถนน 1, 1x, 1xx, 1xxx สิ มันจะมามีถนน 4xxx มาแทรกทำไม
อยู่ใต้ก็ต้องเป็น 4,4x,4xx,4xxx ทำไมต้องตั้งชื่อ 3xxx แถวนั้นด้วย
คือแทนที่ ถ้าผมหลงทางอยู่บนถนนสาย 2xxx ผมก็รู้แน่ได้ว่าอยู่อีสานแน่นอน แต่ความจริงมันไม่ใช่ยังงั้นเลย
คือดูแล้ว มันปะปนกันไปหมด เหมือนถนนจะขึ้นต้นอะไรก็อยู่ได้ทั่วทุกภาคของประเทศ
แล้วจะตั้งไปทำไม ผมดูแล้วงงจริงๆ มีใครงงเหมือนผมบ้างมั้ย