นายทองคำเป็นชาวเพชรบุรี เกิดเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๑ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ตอนนั้นคนไทยเรายังไม่ใช้นามสกุลกัน พ่อแม่ฝากฝังให้เรียนหนังสือที่วัดใกล้บ้าน แล้วส่งให้มาเรียนต่อที่กรุงเทพฯ โดยอยู่กับญาติคนหนึ่งที่เป็นมหาอยู่วัดโสมนัส เรียนอยู่ ๒ ปี พออายุ ๑๖ เพื่อนก็มาชวนให้ออกไปเป็นเสมียน ได้เงินเดือนๆละ ๓ ตำลึง หรือ ๑๒ บาท แต่นิสัยนายทองคำไม่ชอบอยู่กับที่ อยากรู้อยากเห็น อยากเที่ยวไปให้ทั่ว จึงกลับอยู่บ้านที่เพชรบุรีแล้วเที่ยวไปตามจังหวัดต่างๆ ทางบ้านเห็นว่าปล่อยไว้เป็นทโมนแน่ จึงจับบวชเสียที่วัดหน้าพระธาตุเมื่อปี ๒๔๔๑
บวชอยู่ได้ปีเดียวก็ได้พบเพื่อนคนหนึ่ง ชื่อแสวง ที่เพิ่งกลับมาจากฝรั่งเศส เล่าให้ฟังว่าเมืองนอกนั้นสนุกสนานมาก มีของประหลาด เช่นตึกสูงตั้ง ๑๐ ชั้น หน้าหนาวม้าเดินบนน้ำได้ และมีอะไรที่น่าตื่นเต้นอีกมาก
คำบอกเล่าของแสวงทำให้พระภิกษุทองคำอยากเห็นเมืองฝรั่งขึ้นมาทันที และนิสัยของเขาอยากทำอะไรแล้วต้องทำให้ได้ จึงได้ลาสมณเพศออกมาเตรียมเดินทางโดยไม่แพร่งพรายให้ใครรู้ นอกจากแสวงที่ช่วยค่าเดินทางให้ ๕๐ บาท ทองคำจึงอาศัยเรือน้ำตาลเข้ากรุงเทพฯ มาพักห้องเช่าอยู่แถวบางรัก
ดูลาดเลาที่จะหาทางไปเมืองนอกอยู่หลายวันก็ยังไม่พบ จนเห็นชาวอินเดียคนหนึ่งเดินคุยกับฝรั่งมา ทองคำจึงตามชาวอินเดียคนนั้นไปจนถึงบ้าน แล้วแจ้งความประสงค์ว่าต้องการจะไปเที่ยวประเทยุโรป
“โอ..ฉันไม่ใช่เสนาบดีเมืองไทย ที่มีอำนาจจะส่งคนไปประเทศยุโรปได้” ชาวอินเดียคนนั้นบอกพร้อมหัวเราะ และจ้องมองทองคำด้วยความประหลาดใจ
ทองคำชี้แจงว่า ที่พูดหมายถึงจะให้ช่วยทำหนังสือแนะนำตัวและแสดงความประสงค์ให้ เพื่อจะนำไปยื่นกับกัปตันเดินเรือด้วยตัวเอง ชาวอินเดียจึงเข้าใจและทำหนังสือสมัครเป็นกลาสีเรือให้ทันที ซึ่งทองคำก็จ่ายค่าจ้างเขียนให้ถึง ๑๐ บาท
เมื่อได้หนังสือแนะนำตัวแล้ว ทองคำก็ตื่นเต้นจนนอนไม่หลับ อยากให้เช้าเสียไวๆ ครั้นพอสว่างเขาก็รีบตรงไปที่ท่าเรือจ้าง ให้ไปส่งหมู่เรือใบที่ทอดสมออยู่แถวหน้าวัดพระยาไกร ถนนตก ทองคำได้นำหนังสือแนะนำตัวไปยื่นให้กัปตันเรือ ๓ ลำแรก กัปตันอ่านแล้วก็ส่ายหน้าส่งหนังสือคืน ทำให้ทองคำวิตก แต่ก็ยังมีมานะจะยื่นต่อไปให้ครบทุกลำ
พอถึงลำที่ ๔ ซึ่งเป็นเรือใบสัญชาตินอร์เวย์ ชื่อ “แพดซียา” กัปตันวัยราว ๖๐ ปี ซึ่งต่อมาทราบว่าแกชื่อ นิลสัน พอทองคำยื่นหนังสือให้ แกรับไปอ่านแล้วหันมาส่งภาษาแขกด้วยทันที ทำทองคำยืนเซ่อ เพราะชาวอินเดียที่เขียนหนังสือให้บอกว่าทองคำเป็นชาวอินเดีย ชื่อ “อาหมัดทองคำ” กัปตันจึงต้องเรียกล่ามมาเจรจาจึงรู้เรื่อง เผอิญเรือลำนี้มีกลาสีคนหนึ่งป่วยต้องขึ้นบก กัปตันจึงถามว่าจะไปด้วยกันจริงๆหรือ งานกลาสีลำบากมากนะ ทองคำก็ยืนยันว่าลำบากอย่างไรก็เอาทั้งนั้น ขอให้ได้ไปก็แล้วกัน กัปตันจึงตบบ่าทองคำว่างั้นก็ตกลง แต่ต้องไปแจ้งทางสำนักงานให้เขารู้ก่อน
เมื่อกัปตันพาทองคำไปที่สำนักงานของบริษัทวินเซอร์ หรือที่เรียกกันว่า “ห้างสี่ตา” ก็เกิดปัญหาในข้อกฎหมายที่ห้ามชาวต่างประเทศพาคนไทยออกนอกประเทศ แต่เพราะทองคำอ้อนวอน หรืออาจเป็นเพราะใบสมัครของเขาระบุว่าเป็นคนอินเดีย ทางบริษัทจึงมีทางออก ทองคำขนของลงไปนอนในเรือแพดซียาตั้งแต่คืนนั้น
แพดซียาเป็นเรือใบ ๓ เสา มีลูกเรือ ๒๘ คนมาจากหลายชาติ แต่ส่วนใหญ่เป็นชาวนอร์เวย์ ได้ออกเดินทางในอีก ๒ วันต่อมา และไปจอดที่เกาะสีชังอีก ๓ สัปดาห์เพื่อบรรทุกซุงไม้สัก เพราะถ้าบรรทุกจากท่ากรุงเทพฯ จะทำให้เรือหนักติดสันดอนที่ปากน้ำ ทองคำได้ออกเดินทางจากเกาะสีชังในราววันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๔๔๒
ชีวิตกลาสีเรือเดินสมุทรของหนุ่มเมืองเพชร นับว่าสาหัสสากรรจ์พอควร พอออกทะเลใหญ่เขาก็เมาคลื่นหัวปักหัวปำอยู่วันกับคืน จากนั้นจึงเริ่มคุ้นกับทะเลและไม่เมาอีกเลย ทองคำเริ่มเรียนรู้กับการต่อเชือก ฟั่นเชือก เย็บใบ ทำความสะอาดเรือ และท่องจำอุปกรณ์เรือต่างๆเป็นภาษานอร์เวย์ ซึ่งทองคำเรียนรู้ได้เร็วจนได้รับคำชมเชย แต่หนักหนาสาหัสที่สุดก็คือต้องตักน้ำวันละ ๑,๐๐๐ ถังทุกๆเช้าเพื่อล้างเรือ
“วันสองวันแรกมันเล่นเอาแทบเป็นไข้ ถึงตะครั่นตะครอ ครั้นนานๆก็ชินไปเอง จนเห็นเป็นกีฬายามเช้า” ทองคำเล่า ซึ่งมันก็เป็นผลดีกับเขา ทำให้แกร่ง กล้ามเนื้อเป็นมัดๆ
พอเรือผ่านชวา มุ่งหน้าข้ามไปทวีปอาฟริกา กัปตันนิลสันสั่งให้ต้นหนฝึกทองคำให้หัดถือท้ายเรือ ดูเข็มทิศ ดูทิศทางลม ทำให้ทองคำรู้สึกขยับสูงขึ้น แต่ก็ยังต้องเล่นกีฬายามเช้าตามหน้าที่หลักเช่นเดิม
ถึงเวลานี้นับเวลาที่ออกจากประเทศไทยมา ๙ เดือน ทองคำปรับตัวจนเข้ากับบรรดาลูกเรือแพดซียาได้เป็นอย่างดี และพูดภาษานอร์เวย์ได้จนสามารถเล่านิทานไทยให้เพื่อนกลาสีฟัง แต่ถูกลูกเรือเรียกชื่อเพี้ยนจากทองคำ เป็น “ทอม”
มนุษย์ประหลาดชาติไทย ผจญภัยต่างแดน ร.6 ชวนกลับก็ไม่ยอม
นายทองคำเป็นชาวเพชรบุรี เกิดเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๑ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ตอนนั้นคนไทยเรายังไม่ใช้นามสกุลกัน พ่อแม่ฝากฝังให้เรียนหนังสือที่วัดใกล้บ้าน แล้วส่งให้มาเรียนต่อที่กรุงเทพฯ โดยอยู่กับญาติคนหนึ่งที่เป็นมหาอยู่วัดโสมนัส เรียนอยู่ ๒ ปี พออายุ ๑๖ เพื่อนก็มาชวนให้ออกไปเป็นเสมียน ได้เงินเดือนๆละ ๓ ตำลึง หรือ ๑๒ บาท แต่นิสัยนายทองคำไม่ชอบอยู่กับที่ อยากรู้อยากเห็น อยากเที่ยวไปให้ทั่ว จึงกลับอยู่บ้านที่เพชรบุรีแล้วเที่ยวไปตามจังหวัดต่างๆ ทางบ้านเห็นว่าปล่อยไว้เป็นทโมนแน่ จึงจับบวชเสียที่วัดหน้าพระธาตุเมื่อปี ๒๔๔๑
บวชอยู่ได้ปีเดียวก็ได้พบเพื่อนคนหนึ่ง ชื่อแสวง ที่เพิ่งกลับมาจากฝรั่งเศส เล่าให้ฟังว่าเมืองนอกนั้นสนุกสนานมาก มีของประหลาด เช่นตึกสูงตั้ง ๑๐ ชั้น หน้าหนาวม้าเดินบนน้ำได้ และมีอะไรที่น่าตื่นเต้นอีกมาก
คำบอกเล่าของแสวงทำให้พระภิกษุทองคำอยากเห็นเมืองฝรั่งขึ้นมาทันที และนิสัยของเขาอยากทำอะไรแล้วต้องทำให้ได้ จึงได้ลาสมณเพศออกมาเตรียมเดินทางโดยไม่แพร่งพรายให้ใครรู้ นอกจากแสวงที่ช่วยค่าเดินทางให้ ๕๐ บาท ทองคำจึงอาศัยเรือน้ำตาลเข้ากรุงเทพฯ มาพักห้องเช่าอยู่แถวบางรัก
ดูลาดเลาที่จะหาทางไปเมืองนอกอยู่หลายวันก็ยังไม่พบ จนเห็นชาวอินเดียคนหนึ่งเดินคุยกับฝรั่งมา ทองคำจึงตามชาวอินเดียคนนั้นไปจนถึงบ้าน แล้วแจ้งความประสงค์ว่าต้องการจะไปเที่ยวประเทยุโรป
“โอ..ฉันไม่ใช่เสนาบดีเมืองไทย ที่มีอำนาจจะส่งคนไปประเทศยุโรปได้” ชาวอินเดียคนนั้นบอกพร้อมหัวเราะ และจ้องมองทองคำด้วยความประหลาดใจ
ทองคำชี้แจงว่า ที่พูดหมายถึงจะให้ช่วยทำหนังสือแนะนำตัวและแสดงความประสงค์ให้ เพื่อจะนำไปยื่นกับกัปตันเดินเรือด้วยตัวเอง ชาวอินเดียจึงเข้าใจและทำหนังสือสมัครเป็นกลาสีเรือให้ทันที ซึ่งทองคำก็จ่ายค่าจ้างเขียนให้ถึง ๑๐ บาท
เมื่อได้หนังสือแนะนำตัวแล้ว ทองคำก็ตื่นเต้นจนนอนไม่หลับ อยากให้เช้าเสียไวๆ ครั้นพอสว่างเขาก็รีบตรงไปที่ท่าเรือจ้าง ให้ไปส่งหมู่เรือใบที่ทอดสมออยู่แถวหน้าวัดพระยาไกร ถนนตก ทองคำได้นำหนังสือแนะนำตัวไปยื่นให้กัปตันเรือ ๓ ลำแรก กัปตันอ่านแล้วก็ส่ายหน้าส่งหนังสือคืน ทำให้ทองคำวิตก แต่ก็ยังมีมานะจะยื่นต่อไปให้ครบทุกลำ
พอถึงลำที่ ๔ ซึ่งเป็นเรือใบสัญชาตินอร์เวย์ ชื่อ “แพดซียา” กัปตันวัยราว ๖๐ ปี ซึ่งต่อมาทราบว่าแกชื่อ นิลสัน พอทองคำยื่นหนังสือให้ แกรับไปอ่านแล้วหันมาส่งภาษาแขกด้วยทันที ทำทองคำยืนเซ่อ เพราะชาวอินเดียที่เขียนหนังสือให้บอกว่าทองคำเป็นชาวอินเดีย ชื่อ “อาหมัดทองคำ” กัปตันจึงต้องเรียกล่ามมาเจรจาจึงรู้เรื่อง เผอิญเรือลำนี้มีกลาสีคนหนึ่งป่วยต้องขึ้นบก กัปตันจึงถามว่าจะไปด้วยกันจริงๆหรือ งานกลาสีลำบากมากนะ ทองคำก็ยืนยันว่าลำบากอย่างไรก็เอาทั้งนั้น ขอให้ได้ไปก็แล้วกัน กัปตันจึงตบบ่าทองคำว่างั้นก็ตกลง แต่ต้องไปแจ้งทางสำนักงานให้เขารู้ก่อน
เมื่อกัปตันพาทองคำไปที่สำนักงานของบริษัทวินเซอร์ หรือที่เรียกกันว่า “ห้างสี่ตา” ก็เกิดปัญหาในข้อกฎหมายที่ห้ามชาวต่างประเทศพาคนไทยออกนอกประเทศ แต่เพราะทองคำอ้อนวอน หรืออาจเป็นเพราะใบสมัครของเขาระบุว่าเป็นคนอินเดีย ทางบริษัทจึงมีทางออก ทองคำขนของลงไปนอนในเรือแพดซียาตั้งแต่คืนนั้น
แพดซียาเป็นเรือใบ ๓ เสา มีลูกเรือ ๒๘ คนมาจากหลายชาติ แต่ส่วนใหญ่เป็นชาวนอร์เวย์ ได้ออกเดินทางในอีก ๒ วันต่อมา และไปจอดที่เกาะสีชังอีก ๓ สัปดาห์เพื่อบรรทุกซุงไม้สัก เพราะถ้าบรรทุกจากท่ากรุงเทพฯ จะทำให้เรือหนักติดสันดอนที่ปากน้ำ ทองคำได้ออกเดินทางจากเกาะสีชังในราววันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๔๔๒
ชีวิตกลาสีเรือเดินสมุทรของหนุ่มเมืองเพชร นับว่าสาหัสสากรรจ์พอควร พอออกทะเลใหญ่เขาก็เมาคลื่นหัวปักหัวปำอยู่วันกับคืน จากนั้นจึงเริ่มคุ้นกับทะเลและไม่เมาอีกเลย ทองคำเริ่มเรียนรู้กับการต่อเชือก ฟั่นเชือก เย็บใบ ทำความสะอาดเรือ และท่องจำอุปกรณ์เรือต่างๆเป็นภาษานอร์เวย์ ซึ่งทองคำเรียนรู้ได้เร็วจนได้รับคำชมเชย แต่หนักหนาสาหัสที่สุดก็คือต้องตักน้ำวันละ ๑,๐๐๐ ถังทุกๆเช้าเพื่อล้างเรือ
“วันสองวันแรกมันเล่นเอาแทบเป็นไข้ ถึงตะครั่นตะครอ ครั้นนานๆก็ชินไปเอง จนเห็นเป็นกีฬายามเช้า” ทองคำเล่า ซึ่งมันก็เป็นผลดีกับเขา ทำให้แกร่ง กล้ามเนื้อเป็นมัดๆ
พอเรือผ่านชวา มุ่งหน้าข้ามไปทวีปอาฟริกา กัปตันนิลสันสั่งให้ต้นหนฝึกทองคำให้หัดถือท้ายเรือ ดูเข็มทิศ ดูทิศทางลม ทำให้ทองคำรู้สึกขยับสูงขึ้น แต่ก็ยังต้องเล่นกีฬายามเช้าตามหน้าที่หลักเช่นเดิม
ถึงเวลานี้นับเวลาที่ออกจากประเทศไทยมา ๙ เดือน ทองคำปรับตัวจนเข้ากับบรรดาลูกเรือแพดซียาได้เป็นอย่างดี และพูดภาษานอร์เวย์ได้จนสามารถเล่านิทานไทยให้เพื่อนกลาสีฟัง แต่ถูกลูกเรือเรียกชื่อเพี้ยนจากทองคำ เป็น “ทอม”