อารียาขาย 2 โครงการ, ตราสารหนี้ระเบิด, Debt Complex
https://mgronline.com/stockmarket/detail/9630000096389
อสังหาฯ ดิ้นรักษาสภาพคล่อง บริษัท อารียา พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) ยกเลิกแผนขายอาคารสำนักงาน หลังได้ข้อสรุปชัดเจนขาย 2 โครงการคอนโดฯ มูลค่า 1,100 ล้านบาท ให้แก่..บริษัท เรียลแอสเสท ดีเวลลอปเม้นท์ จํากัด แล้วเสร็จเมื่อ 17 กันยายน 2563 ที่ผ่านมา หวังรองรับชำระหนี้คืนหุ้นกู้เดิม และรักษาสภาพคล่องของบริษัทฯ
นายอาณัติ ปิ่นรัตน์ เลขานุการ บริษัท อารียา พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ (A)..ได้แจ้งเรื่องต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย..ถึงรายการเข้าทำธุรกรรมการจำหน่ายเงินลงทุน และสินทรัพย์หมุนเวียนประเภท โครงการอสังหาริมทรัพย์ระหว่างการพัฒนา ต่อ กรรมการผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่า บริษัท ได้เข้าทำรายการจำหน่ายสินทรัพย์หมุนเวียนประเภทโครงการอสังหาริมทรัพย์ระหว่างการพัฒนา (สินค้าคงเหลือ หรือ Inventory) ของโครงการคอนโดมิเนียม เอ สเปซ เมกา (โครงการ Mega1) และโครงการคอนโดมิเนียม เอ สเปซ เมกา 2 (โครงการ Mega2) แล้วเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2563 ตามมติคณะกรรมการบริษัทเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2563 ที่ผ่านมา
โดยเป็นการจำหน่ายเงินลงทุนในบริษัท เมกา สเปซ 1 จำกัด (SPV) ซึ่งเป็นเจ้าของใบอนุญาตก่อสร้างและใบอนุญาตการประกอบกิจกรรมต่างๆ ของโครงการ Mega1 (ตั้งอยู่บนถนนเทพารักษ์ ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ) และโครงการ Mega2 (บนถนนบางนา-ตราด) ซึ่งเป็นโครงการอาคารชุดอยู่อาศัยและพาณิชยกรรม ให้แก่ บริษัท เรียลแอสเสท ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (ผู้ซื้อ) ในมูลค่ารวม 1,100 ล้านบาท ทั้งนี้ ธุรกรรมขายหุ้นดังกล่าวมีขนาดรายการสูงสุดเท่ากับ 0.03% ตามเกณฑ์มูลค่าสินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิ โดยอ้างอิงจากงบการเงินรวมฉบับสอบทานของบริษัทสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2563
ทั้งนี้ บริษัท อารียา พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน)..ได้ยกเลิกรายการขายอาคารสำนักงานใหญ่ เนื่องจากบริษัทมีการจัดหาเงินด้วยวิธีอื่นควบคู่ไปด้วย คือ การจำหน่ายโครงการอสังหาฯ ทั้ง 2 โครงการแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2563 ที่ผ่านมา ส่งผลให้บริษัทมีสภาพคล่องทางการเงินและกระแสเงินสดเพิ่มขึ้น เพื่อใช้บริหารความเสี่ยงต่อการชำระหนี้สินระยะสั้นที่จะถึงกำหนดชำระภายในไตรมาส 4 ของปีนี้ (ครบกำหนดวันที่ 1 ตุลาคม 2563 จำนวนทั้งสิ้น 999.70 ล้านบาท) ซึ่งก่อนหน้านี้ บริษัทมีแผนที่จะออกขายหุ้นกู้รุ่นใหม่เพื่อใช้ชำระคืนหุ้นกู้เดิม แต่เนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ตลาดตราสารหนี้ภายในประเทศได้รับผลกระทบตั้งแต่ช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
...แสดงว่าสภาพคล่องของบริษัทลดลงอย่างมาก ปัญหานี้ไม่ใช่เป็นแค่บริษัทเดียว หรือ ในประเทศไทย แต่เป็นทั่วโลก
ปัญหาการขาดสภาพคล่องแก้ไขเบื้องต้นได้ 3 วิธี (1) กู้เงินธนาคาร (2) การ Roll Over หุ้นกู้ และ (3) การขายทรัพย์สิน
ปัญหาสภาพคล่องและหนี้ ยิ่งถ้าเป็นบริษัทที่มีปัญหาสภาพคล่องและหนี้สินที่ต้องชำระ ในภาวะปกติที่มีสภาพคล่อง บริษัทสามารถ Roll Over หุ้นกู้ได้ แต่พอเกิดโควิด-19 สภาพคล่องหดหาย การ Roll Over หุ้นกู้ ทำได้ยาก หรือ อาจต้องขึ้นดอกเบี้ยหุ้นกู้ใหม่ ซึ่งภาระดอกเบี้ยในหุ้นกู้ใหม่เป็นภาระหนักของบริษัท ทางสุดท้าย คือ การขายทรัพย์สิน อย่างบริษัท อารียา พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) ก็คือ การขายโครงการอสังหาริมทรัพย์ออกมา
ที่ต้องระวัง คือ การระเบิดของตราสารหนี้ เนื่องจากการไม่ชำระหนี้คืน การออกตราสารหนี้ของบางบริษัทที่ไม่มั่งคงพอและตัวบริษัทไม่มีรายได้มาชำระหนี้ในสภาวะนี้อย่างที่ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ได้เขียนไว้ว่า “จากการท่องเที่ยวหดตัว จากไม่สามารถส่งออกสินค้า หรือจากไม่สามารถหาซื้อวัตถุดิบ หรือชิ้นส่วนจากจีน หรือเจ้าของศูนย์การค้าจะเก็บค่าเช่าไม่ได้ ส่วนผู้ออกที่เป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ยิ่งไม่ต้องพูดถึง” ก็คือ กิจการไม่สามาถใช้หนี้จากการกู้เงินผ่านทางตราสารหนี้ได้
>> อย่างบริษัท เพซ ดีเวลลอปเมนท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ประสบปัญหาต่างๆ จนต้องขายโครงการมหานครให้กลุ่มคิงคิงเพาเวอร์ ซึ่งก่อนหน้าการขายโครงการมหานคร บริษัทได้ออกหุ้นกู้อัตราดอกเบี้ย 6.5% และผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้ 1,219 ล้านบาท จนต้องขอยืดระยะเวลาชำระหนี้ออกไป 3 ปี
>> อย่าง บริษัท อารียา พรอพเพอร์ตี้ จํากัด (มหาชน) ที่ได้ออกหู้นกู้ดอกเบี้ยสูง แต่ในสภาพนี้เวลาการขายอสังหาริมทรัพย์ยากลำบาก สภาพคล่องลดลง บริษัทถือแต่ทรัพย์สิน ไม่มีสภาพคล่องเพียงพอในการไถ่ถอนหุ้นกู้ จนถึงกับจะขายสำนักงานใหญ่ แต่ยังดีที่บริษัท อารียา พรอพเพอร์ตี้ จํากัด สามารถขายโครงการอสังหาริมทรัพย์ออกไปได้ 2 โครงการ ไม่อย่างนั้นอาจต้องประสบปัญหาล้มละลาย หรือ ผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้
=========================
>>>>> Bond Default คืออะไร?
Bond Default คือการที่ผู้ออกตราสารหนี้ เช่น หุ้นกู้ จ่ายดอกเบี้ยของหุ้นกู้ไม่ไหว หรือหุ้นกู้หมดอายุแล้วไม่สามารถหาเงินมาจ่ายคืนผู้ถือหน่วยหุ้นกู้ (ผู้ให้กู้) ได้ทัน และไม่สามารถออกหุ้นกู้ชุดใหม่ได้ทัน ทำให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้เกิดขึ้น ปกติแล้วหุ้นกู้เป็นสิ่งที่ไม่ค่อยผิดนัดชำระหนี้ซักเท่าไหร่ ในสถานการณ์ปกติ โดยเฉพาะหุ้นกู้ที่เป็น Investment Grade ขึ้นไป BBB- ไปจนถึง AAA ที่ผิดนัดชำระหนี้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจก็เพราะ บริษัทที่ทำธุรกิจอยู่ถูกกระทบจากปัญหา ที่ทำให้รายได้ลดลง กำไรหดตัว บางบริษัทขาดทุน ต้อง Lay-off พนักงาน ขาดสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจอย่างรุนแรง ไม่มีเงินพอจ่ายหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย เหตุการณ์แบบนี้มักจะเกิดขึ้นในช่วงท้ายๆเพราะบริษัทรู้ดีว่าถ้า ผิดนัดชำระหนี้เมื่อไหร่ จะไม่มีใครยอมให้กู้อีกเลย ดังนั้นการผิดนัดชำระหนี้คือทางเลือกสุดท้าย และท้ายสุดจริงๆ
=========================
Debt Complex
Debt Complex คือ ลักษณะการสร้างบริษัททำธุรกิจ กู้เงิน และเปิดบริษัทเพิ่ม ขยายธุรกิจไปเรื่อยๆ เป็นการสร้าง Asset Balance Sheet ที่จะมีปัญหา คือ ตอนจ่ายดอกเบี้ย ถ้าไม่มีเงินจ่ายดอกเบี้ย ก็จะเข้าสู่ภาวะล้มละลาย
อย่างบริษัท เพซ ดีเวลลอปเมนท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด สร้างโครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่และทยอยเปิดโครงการไป กู้เงินธนาคารทำโครงการและซื้อธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม เข้ามาในบริษัท อยู่ใน Balance Sheet ระหว่างนั้นออกตั๋ว B/E และ ออกหุ้นกู้ ตามงบการเงินปี 2560 จึงทำให้บริษัทมีทรัพย์สินรวม 32,422 ล้านบาท แต่ไม่มีสภาพคล่อง กระแสเงินสดติดลบ สุดท้ายมีหนี้สิน 30,160 ล้านบาท
อารียาขาย 2 โครงการ, ตราสารหนี้ระเบิด, Debt Complex
https://mgronline.com/stockmarket/detail/9630000096389
อสังหาฯ ดิ้นรักษาสภาพคล่อง บริษัท อารียา พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) ยกเลิกแผนขายอาคารสำนักงาน หลังได้ข้อสรุปชัดเจนขาย 2 โครงการคอนโดฯ มูลค่า 1,100 ล้านบาท ให้แก่..บริษัท เรียลแอสเสท ดีเวลลอปเม้นท์ จํากัด แล้วเสร็จเมื่อ 17 กันยายน 2563 ที่ผ่านมา หวังรองรับชำระหนี้คืนหุ้นกู้เดิม และรักษาสภาพคล่องของบริษัทฯ
นายอาณัติ ปิ่นรัตน์ เลขานุการ บริษัท อารียา พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ (A)..ได้แจ้งเรื่องต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย..ถึงรายการเข้าทำธุรกรรมการจำหน่ายเงินลงทุน และสินทรัพย์หมุนเวียนประเภท โครงการอสังหาริมทรัพย์ระหว่างการพัฒนา ต่อ กรรมการผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่า บริษัท ได้เข้าทำรายการจำหน่ายสินทรัพย์หมุนเวียนประเภทโครงการอสังหาริมทรัพย์ระหว่างการพัฒนา (สินค้าคงเหลือ หรือ Inventory) ของโครงการคอนโดมิเนียม เอ สเปซ เมกา (โครงการ Mega1) และโครงการคอนโดมิเนียม เอ สเปซ เมกา 2 (โครงการ Mega2) แล้วเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2563 ตามมติคณะกรรมการบริษัทเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2563 ที่ผ่านมา
โดยเป็นการจำหน่ายเงินลงทุนในบริษัท เมกา สเปซ 1 จำกัด (SPV) ซึ่งเป็นเจ้าของใบอนุญาตก่อสร้างและใบอนุญาตการประกอบกิจกรรมต่างๆ ของโครงการ Mega1 (ตั้งอยู่บนถนนเทพารักษ์ ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ) และโครงการ Mega2 (บนถนนบางนา-ตราด) ซึ่งเป็นโครงการอาคารชุดอยู่อาศัยและพาณิชยกรรม ให้แก่ บริษัท เรียลแอสเสท ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (ผู้ซื้อ) ในมูลค่ารวม 1,100 ล้านบาท ทั้งนี้ ธุรกรรมขายหุ้นดังกล่าวมีขนาดรายการสูงสุดเท่ากับ 0.03% ตามเกณฑ์มูลค่าสินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิ โดยอ้างอิงจากงบการเงินรวมฉบับสอบทานของบริษัทสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2563
ทั้งนี้ บริษัท อารียา พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน)..ได้ยกเลิกรายการขายอาคารสำนักงานใหญ่ เนื่องจากบริษัทมีการจัดหาเงินด้วยวิธีอื่นควบคู่ไปด้วย คือ การจำหน่ายโครงการอสังหาฯ ทั้ง 2 โครงการแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2563 ที่ผ่านมา ส่งผลให้บริษัทมีสภาพคล่องทางการเงินและกระแสเงินสดเพิ่มขึ้น เพื่อใช้บริหารความเสี่ยงต่อการชำระหนี้สินระยะสั้นที่จะถึงกำหนดชำระภายในไตรมาส 4 ของปีนี้ (ครบกำหนดวันที่ 1 ตุลาคม 2563 จำนวนทั้งสิ้น 999.70 ล้านบาท) ซึ่งก่อนหน้านี้ บริษัทมีแผนที่จะออกขายหุ้นกู้รุ่นใหม่เพื่อใช้ชำระคืนหุ้นกู้เดิม แต่เนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ตลาดตราสารหนี้ภายในประเทศได้รับผลกระทบตั้งแต่ช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
...แสดงว่าสภาพคล่องของบริษัทลดลงอย่างมาก ปัญหานี้ไม่ใช่เป็นแค่บริษัทเดียว หรือ ในประเทศไทย แต่เป็นทั่วโลก
ปัญหาการขาดสภาพคล่องแก้ไขเบื้องต้นได้ 3 วิธี (1) กู้เงินธนาคาร (2) การ Roll Over หุ้นกู้ และ (3) การขายทรัพย์สิน
ปัญหาสภาพคล่องและหนี้ ยิ่งถ้าเป็นบริษัทที่มีปัญหาสภาพคล่องและหนี้สินที่ต้องชำระ ในภาวะปกติที่มีสภาพคล่อง บริษัทสามารถ Roll Over หุ้นกู้ได้ แต่พอเกิดโควิด-19 สภาพคล่องหดหาย การ Roll Over หุ้นกู้ ทำได้ยาก หรือ อาจต้องขึ้นดอกเบี้ยหุ้นกู้ใหม่ ซึ่งภาระดอกเบี้ยในหุ้นกู้ใหม่เป็นภาระหนักของบริษัท ทางสุดท้าย คือ การขายทรัพย์สิน อย่างบริษัท อารียา พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) ก็คือ การขายโครงการอสังหาริมทรัพย์ออกมา
ที่ต้องระวัง คือ การระเบิดของตราสารหนี้ เนื่องจากการไม่ชำระหนี้คืน การออกตราสารหนี้ของบางบริษัทที่ไม่มั่งคงพอและตัวบริษัทไม่มีรายได้มาชำระหนี้ในสภาวะนี้อย่างที่ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ได้เขียนไว้ว่า “จากการท่องเที่ยวหดตัว จากไม่สามารถส่งออกสินค้า หรือจากไม่สามารถหาซื้อวัตถุดิบ หรือชิ้นส่วนจากจีน หรือเจ้าของศูนย์การค้าจะเก็บค่าเช่าไม่ได้ ส่วนผู้ออกที่เป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ยิ่งไม่ต้องพูดถึง” ก็คือ กิจการไม่สามาถใช้หนี้จากการกู้เงินผ่านทางตราสารหนี้ได้
>> อย่างบริษัท เพซ ดีเวลลอปเมนท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ประสบปัญหาต่างๆ จนต้องขายโครงการมหานครให้กลุ่มคิงคิงเพาเวอร์ ซึ่งก่อนหน้าการขายโครงการมหานคร บริษัทได้ออกหุ้นกู้อัตราดอกเบี้ย 6.5% และผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้ 1,219 ล้านบาท จนต้องขอยืดระยะเวลาชำระหนี้ออกไป 3 ปี
>> อย่าง บริษัท อารียา พรอพเพอร์ตี้ จํากัด (มหาชน) ที่ได้ออกหู้นกู้ดอกเบี้ยสูง แต่ในสภาพนี้เวลาการขายอสังหาริมทรัพย์ยากลำบาก สภาพคล่องลดลง บริษัทถือแต่ทรัพย์สิน ไม่มีสภาพคล่องเพียงพอในการไถ่ถอนหุ้นกู้ จนถึงกับจะขายสำนักงานใหญ่ แต่ยังดีที่บริษัท อารียา พรอพเพอร์ตี้ จํากัด สามารถขายโครงการอสังหาริมทรัพย์ออกไปได้ 2 โครงการ ไม่อย่างนั้นอาจต้องประสบปัญหาล้มละลาย หรือ ผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้
=========================
>>>>> Bond Default คืออะไร?
Bond Default คือการที่ผู้ออกตราสารหนี้ เช่น หุ้นกู้ จ่ายดอกเบี้ยของหุ้นกู้ไม่ไหว หรือหุ้นกู้หมดอายุแล้วไม่สามารถหาเงินมาจ่ายคืนผู้ถือหน่วยหุ้นกู้ (ผู้ให้กู้) ได้ทัน และไม่สามารถออกหุ้นกู้ชุดใหม่ได้ทัน ทำให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้เกิดขึ้น ปกติแล้วหุ้นกู้เป็นสิ่งที่ไม่ค่อยผิดนัดชำระหนี้ซักเท่าไหร่ ในสถานการณ์ปกติ โดยเฉพาะหุ้นกู้ที่เป็น Investment Grade ขึ้นไป BBB- ไปจนถึง AAA ที่ผิดนัดชำระหนี้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจก็เพราะ บริษัทที่ทำธุรกิจอยู่ถูกกระทบจากปัญหา ที่ทำให้รายได้ลดลง กำไรหดตัว บางบริษัทขาดทุน ต้อง Lay-off พนักงาน ขาดสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจอย่างรุนแรง ไม่มีเงินพอจ่ายหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย เหตุการณ์แบบนี้มักจะเกิดขึ้นในช่วงท้ายๆเพราะบริษัทรู้ดีว่าถ้า ผิดนัดชำระหนี้เมื่อไหร่ จะไม่มีใครยอมให้กู้อีกเลย ดังนั้นการผิดนัดชำระหนี้คือทางเลือกสุดท้าย และท้ายสุดจริงๆ
=========================
Debt Complex
Debt Complex คือ ลักษณะการสร้างบริษัททำธุรกิจ กู้เงิน และเปิดบริษัทเพิ่ม ขยายธุรกิจไปเรื่อยๆ เป็นการสร้าง Asset Balance Sheet ที่จะมีปัญหา คือ ตอนจ่ายดอกเบี้ย ถ้าไม่มีเงินจ่ายดอกเบี้ย ก็จะเข้าสู่ภาวะล้มละลาย
อย่างบริษัท เพซ ดีเวลลอปเมนท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด สร้างโครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่และทยอยเปิดโครงการไป กู้เงินธนาคารทำโครงการและซื้อธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม เข้ามาในบริษัท อยู่ใน Balance Sheet ระหว่างนั้นออกตั๋ว B/E และ ออกหุ้นกู้ ตามงบการเงินปี 2560 จึงทำให้บริษัทมีทรัพย์สินรวม 32,422 ล้านบาท แต่ไม่มีสภาพคล่อง กระแสเงินสดติดลบ สุดท้ายมีหนี้สิน 30,160 ล้านบาท