คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 7
จขกท. พูดมาก็ถูก ในเรื่องควาหมายตามหลักตัวหนังสือ
แต่มีที่มาครับ และกระแสคนทั่วไปใช้แบบนี้นานเกิน 50 ปีแล้ว เปลี่ยนแปลงยากแล้ว
การใช้งานคำแบบนี้ ไม่ใช่เรื่องอื่นไกล มีส่วนคล้ายกับกับ คำว่า "คุณ" ที่ใช้กันอยู่ เอาตามหลักการจริง ที่ดั้งเดิมก็มาจากการใช้ไม่ตรงเช่นกัน
เพราะหลักทางการจริง ต้องกรณีคล้ายกับคุณหญิง คือท่านที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชฯ ทุติยจุลจอมเกล้า (ชั้นที่ 3) ขึ้นไป ที่เป็นหญิงที่ยังไม่ได้สมรส
แต่เมื่อเป็นที่ยอมรับ ปัจจุบันความหมายเปลี่ยนไปจนใช้เป็นคำสามัญปกติไป ของ "เจ้าของภาษา" คือคนไทยส่วนใหญ่ใช้ปกติ คนทั่วไปใช้ยกย่องผู้อื่น เพื่อความสุภาพ เอาคำให้สูงเกินจริงไปอีกระดับ แล้วแหวกกฎ "คุณ" เอามาใช้กับผู้ชายอีกด้วย
และทางราชบัณฑิตสถาน ก็ไม่มีทักท้วง เพราะมองว่าเป็นไปตามยุคสมัย ต้านกระแสคนส่วนใหญ่ที่นิยมไม่ได้ และไม่ได้เกิดความเสียหาย แยกแยะจริงได้
คนทั่วไปธรรมดา ไม่มียศศักดิ์อะไร ยุคนี้เรามีขึ้นไปอีกขั้น เรียกว่า "ท่าน" เลย
แค่คำว่าหม่อมยังไม่ได้เป็นทางการในพจนานุกรมเหมือนคำว่า "คุณ" แต่มีความเหมือนกรณีนี้ เรื่องเป็นภาษาปาก
การเรียก "หม่อมหลวง" เป็นภาษาพูด ถ้าไม่ใช่การประกาศพิธีอะไรหรือเขียนในหนังสืออะไร ไม่มีใครใช้พูดว่า "อ้าว หม่อมหลวง..(ชื่อ)... เดินมานั่นแล้ว" ไม่มี "ว่าไง หม่อมหลวงศิริเฉลิม" หรือต่อให้เรียกชื่อเล่น ไม่มีใครใช้แบบ "ไปกัน หม่อมหลวงหมึกแดง"... ซึ่งเหมือนภาษาปากคนทั่วไป ที่ไม่มีใครเรียกกัน ว่าไง ได้ข่าวว่า "นางสาวติ๊ก" ทำเรื่องปวดหัวอีกแล้วหรือ "นายศรราม เพทพิทักษ์"
นั่นบทละครไปแล้วภาษาพูดก็เป็นการเล่นสำนวนหยอกล้อกัน
ถ้าใช้เรียกด้วยความสุภาพ จึงใช้คำที่นิยมคำใหม่มาแทน ซึ่งอย่างที่บอก ว่าไม่ใช่หลักของทางการ แต่คนทั่วไปค่อย ๆ กระจายใช้กันทั่ว ไม่ถึงค่อนศตวรรษนี่เอง
"หม่อม" คำเดียว คนจำนวนมากรู้นะครับว่าเรียกไม่ตรงหลักทางการเดิม
คนที่มีการศึกษาแม้แต่เรียนราชาศัพท์อะไรต่าง ๆ มา ที่รู้ก็ใช้กันด้วยทั่วไปอีกด้วย ใช้เพื่อการให้เกียรติ
"หม่อมหลวง" ภาษาปาก มันยาวไป เลยเกิดการตัดสั้นหรือ "หม่อม" ที่เป็นแม่คำพยางค์เดียว ใช้ขึ้นมาแบบไม่เป็นทางการ ให้เกียรติสมฐานะว่าต่างกันกับคนทั่วไป
แต่คนที่รู้ ก็อย่างที่จขกท. ยกมา จะไม่สับสนกับหม่อมราชวงศ์ หม่อมเจ้าเลย และไม่สับสนกับหม่อมในราชสำนักได้ง่ายอยู่แล้ว
เพราะวิธีการ ก็เหมือนหม่อมราชวงศ์ม หม่อมเจ้า ภาษาปากเช่นกัน เมื่อคำต่างไปชัดเจนใช้คนละสถ่านการณ์ คนที่เข้าใจ ก็จะไม่สับสน
ก็อย่างที่จขกท. ว่าอยู่แล้ว คุณชาย/คุณหญิง, ท่านชาย/ท่านหญิง
ซึ่งทุกคน ล้วนไม่ใช่ตามหลักทางการ เขียนลงในบัตรประชาชนไม่ได้ หรือหนังสือตำแหน่งทางการ ก็ใช้เขียนไม่ได้ จะเขียนก็เป็นประเภทบทความกันเอง หรือใส่อัญประกาศ "...." ทำนองว่าเป็นภาษาพูด
แต่คนที่เข้าใจ แยกแยะออก
แล้วประเด็นสำคัญ ถ้าจขกท. มีประสบการณ์ชีวิตเพิ่มขึ้น ได้รู้เห็นเห็น ได้ติดต่อคนในสังคมมากขึ้น
เอาตรงไปตรงมานะ โลกนี้ (ไม่ใช่เฉพาะไทย) คนที่ถือยศตำแหน่ง อำนาจ บารมี ถือศักดิ์ มีมากกว่าคนไม่ถือนะ ไม่มีใครเดาใจได้ ว่าคนฟังจะคิดเหมือนคุณพ่อจขกท. ไปได้
คนที่เรียก เขาไม่รู้หรอกว่าคนที่ถูกเรียก ที่เป็นหม่อมหลวงจะคิดแบบไหน ก็เรียกเผื่อกรณีสูงสุดไว้ก่อน
เพราะขนาดคนไม่มียศศักดิ์อะไร ยังอวดเบ่งเลย พบเห็นได้อยู่ทั่วไป
ยิ่งถ้าเป็นการติดต่องานติดต่อลูกค้าอยากประสบความสำเร็จเพ่งไปที่งาน ต้องให้เกียรติคนพูดด้วยตามฐานะสูงสุดที่เป็นไปได้ไว้ก่อน โดบใช้การเรียก "หม่อม" เพราะแยกจากคนทั่วไป มองว่าสืบจากราชสกุล
คำปกติหรือคำลำลอง ของคำว่า "หม่อม" ถ้าจะเอาภาษาพูดตามหลักการ ต้องใช้พูด "คุณ" เพราะถือว่าเป็นสามัญชนแล้ว
แต่ถ้าคนที่มี sense ในการติดต่อสื่อสาร จะเดาได้ ว่าไม่เกิดผลดีแน่
ครั้นจะใช้คุยกัน ว่าหม่อมหลวงยังงั้น หม่อมหลวงยังงี้ นั่นบทละคร นั่นภาษาเขียนไปแล้ว
ก็อย่างที่ว่า ยุคนี้บางคนเรียกคน แม้ปกติสามัญ ยังให้ต่างจาก "คุณ" ด้วยการใช้ "ท่าน" ไว้ก่อนเลยอีกด้วย
แต่มีที่มาครับ และกระแสคนทั่วไปใช้แบบนี้นานเกิน 50 ปีแล้ว เปลี่ยนแปลงยากแล้ว
การใช้งานคำแบบนี้ ไม่ใช่เรื่องอื่นไกล มีส่วนคล้ายกับกับ คำว่า "คุณ" ที่ใช้กันอยู่ เอาตามหลักการจริง ที่ดั้งเดิมก็มาจากการใช้ไม่ตรงเช่นกัน
เพราะหลักทางการจริง ต้องกรณีคล้ายกับคุณหญิง คือท่านที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชฯ ทุติยจุลจอมเกล้า (ชั้นที่ 3) ขึ้นไป ที่เป็นหญิงที่ยังไม่ได้สมรส
แต่เมื่อเป็นที่ยอมรับ ปัจจุบันความหมายเปลี่ยนไปจนใช้เป็นคำสามัญปกติไป ของ "เจ้าของภาษา" คือคนไทยส่วนใหญ่ใช้ปกติ คนทั่วไปใช้ยกย่องผู้อื่น เพื่อความสุภาพ เอาคำให้สูงเกินจริงไปอีกระดับ แล้วแหวกกฎ "คุณ" เอามาใช้กับผู้ชายอีกด้วย
และทางราชบัณฑิตสถาน ก็ไม่มีทักท้วง เพราะมองว่าเป็นไปตามยุคสมัย ต้านกระแสคนส่วนใหญ่ที่นิยมไม่ได้ และไม่ได้เกิดความเสียหาย แยกแยะจริงได้
คนทั่วไปธรรมดา ไม่มียศศักดิ์อะไร ยุคนี้เรามีขึ้นไปอีกขั้น เรียกว่า "ท่าน" เลย
แค่คำว่าหม่อมยังไม่ได้เป็นทางการในพจนานุกรมเหมือนคำว่า "คุณ" แต่มีความเหมือนกรณีนี้ เรื่องเป็นภาษาปาก
การเรียก "หม่อมหลวง" เป็นภาษาพูด ถ้าไม่ใช่การประกาศพิธีอะไรหรือเขียนในหนังสืออะไร ไม่มีใครใช้พูดว่า "อ้าว หม่อมหลวง..(ชื่อ)... เดินมานั่นแล้ว" ไม่มี "ว่าไง หม่อมหลวงศิริเฉลิม" หรือต่อให้เรียกชื่อเล่น ไม่มีใครใช้แบบ "ไปกัน หม่อมหลวงหมึกแดง"... ซึ่งเหมือนภาษาปากคนทั่วไป ที่ไม่มีใครเรียกกัน ว่าไง ได้ข่าวว่า "นางสาวติ๊ก" ทำเรื่องปวดหัวอีกแล้วหรือ "นายศรราม เพทพิทักษ์"
นั่นบทละครไปแล้วภาษาพูดก็เป็นการเล่นสำนวนหยอกล้อกัน
ถ้าใช้เรียกด้วยความสุภาพ จึงใช้คำที่นิยมคำใหม่มาแทน ซึ่งอย่างที่บอก ว่าไม่ใช่หลักของทางการ แต่คนทั่วไปค่อย ๆ กระจายใช้กันทั่ว ไม่ถึงค่อนศตวรรษนี่เอง
"หม่อม" คำเดียว คนจำนวนมากรู้นะครับว่าเรียกไม่ตรงหลักทางการเดิม
คนที่มีการศึกษาแม้แต่เรียนราชาศัพท์อะไรต่าง ๆ มา ที่รู้ก็ใช้กันด้วยทั่วไปอีกด้วย ใช้เพื่อการให้เกียรติ
"หม่อมหลวง" ภาษาปาก มันยาวไป เลยเกิดการตัดสั้นหรือ "หม่อม" ที่เป็นแม่คำพยางค์เดียว ใช้ขึ้นมาแบบไม่เป็นทางการ ให้เกียรติสมฐานะว่าต่างกันกับคนทั่วไป
แต่คนที่รู้ ก็อย่างที่จขกท. ยกมา จะไม่สับสนกับหม่อมราชวงศ์ หม่อมเจ้าเลย และไม่สับสนกับหม่อมในราชสำนักได้ง่ายอยู่แล้ว
เพราะวิธีการ ก็เหมือนหม่อมราชวงศ์ม หม่อมเจ้า ภาษาปากเช่นกัน เมื่อคำต่างไปชัดเจนใช้คนละสถ่านการณ์ คนที่เข้าใจ ก็จะไม่สับสน
ก็อย่างที่จขกท. ว่าอยู่แล้ว คุณชาย/คุณหญิง, ท่านชาย/ท่านหญิง
ซึ่งทุกคน ล้วนไม่ใช่ตามหลักทางการ เขียนลงในบัตรประชาชนไม่ได้ หรือหนังสือตำแหน่งทางการ ก็ใช้เขียนไม่ได้ จะเขียนก็เป็นประเภทบทความกันเอง หรือใส่อัญประกาศ "...." ทำนองว่าเป็นภาษาพูด
แต่คนที่เข้าใจ แยกแยะออก
แล้วประเด็นสำคัญ ถ้าจขกท. มีประสบการณ์ชีวิตเพิ่มขึ้น ได้รู้เห็นเห็น ได้ติดต่อคนในสังคมมากขึ้น
เอาตรงไปตรงมานะ โลกนี้ (ไม่ใช่เฉพาะไทย) คนที่ถือยศตำแหน่ง อำนาจ บารมี ถือศักดิ์ มีมากกว่าคนไม่ถือนะ ไม่มีใครเดาใจได้ ว่าคนฟังจะคิดเหมือนคุณพ่อจขกท. ไปได้
คนที่เรียก เขาไม่รู้หรอกว่าคนที่ถูกเรียก ที่เป็นหม่อมหลวงจะคิดแบบไหน ก็เรียกเผื่อกรณีสูงสุดไว้ก่อน
เพราะขนาดคนไม่มียศศักดิ์อะไร ยังอวดเบ่งเลย พบเห็นได้อยู่ทั่วไป
ยิ่งถ้าเป็นการติดต่องานติดต่อลูกค้าอยากประสบความสำเร็จเพ่งไปที่งาน ต้องให้เกียรติคนพูดด้วยตามฐานะสูงสุดที่เป็นไปได้ไว้ก่อน โดบใช้การเรียก "หม่อม" เพราะแยกจากคนทั่วไป มองว่าสืบจากราชสกุล
คำปกติหรือคำลำลอง ของคำว่า "หม่อม" ถ้าจะเอาภาษาพูดตามหลักการ ต้องใช้พูด "คุณ" เพราะถือว่าเป็นสามัญชนแล้ว
แต่ถ้าคนที่มี sense ในการติดต่อสื่อสาร จะเดาได้ ว่าไม่เกิดผลดีแน่
ครั้นจะใช้คุยกัน ว่าหม่อมหลวงยังงั้น หม่อมหลวงยังงี้ นั่นบทละคร นั่นภาษาเขียนไปแล้ว
ก็อย่างที่ว่า ยุคนี้บางคนเรียกคน แม้ปกติสามัญ ยังให้ต่างจาก "คุณ" ด้วยการใช้ "ท่าน" ไว้ก่อนเลยอีกด้วย
แสดงความคิดเห็น
หม่อมหลวง
ตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา ไม่ได้มีเจตนาในทางที่ไม่ดี มาอวดรู้มากว่าใครนะคะ หลายท่านคงจะรู้มากกว่าเราเยอะ
แต่พอดีว่า มีคนเข้าใจผิด เรียกคุณพ่อเราผิดเสมอมา ส่วนใหญ่จะให้เกียรติคุณพ่อเรา ซึ่งเราและครอบครัวก็ขอขอบคุณเป็นอย่างสูง แต่พอดีมันไม่ถูก เลยเป็นที่มาของกระทู้นี้ค่ะ
คุณพ่อเรา เป็น หม่อมหลวง ดังนั้นส่วนใหญ่คนทั่วไปจะเรียกพ่อเราว่า หม่อม... ตามด้วยชื่อเล่นพ่อเรา ~ ไม่ถูกค่ะ
หม่อม... นี้ใช้สำหรับผู้หญิงสามัญชนที่แต่งงานกับหม่อมเจ้าค่ะ
หรือ เรียกพ่อเราว่า คุณชาย
ซึ่งคุณพ่อเราบอกเราเสมอว่า เรียก คุณ ...
ก็พอ หรือ เรียกชื่อธรรมดา
หรือ ถ้าจะเรียก หม่อมหลวง ก็เรียก หม่อมหลวง.... ตามด้วยชื่อไปเลย
คุณชายนี้ ไว้เรียก หม่อมราชวงศ์ ค่ะ ไม่ใช่ เรียก หม่อมหลวง
ส่วนเราเป็นลูกคุณพ่อ ก็ไม่ได้มีหม่อมนำหน้าอะไรทั้งนั้น นอกจาก นามสกุลที่ใช้ของคุณพ่อ มี ณ อยุธยา เป็นสร้อยต่อท้ายจากนามสกุลค่ะ
เผื่อเด็กๆมาอ่านจะได้ทราบเนาะ ^^
ขอบคุณค่ะ