คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
ให้ข้อมูลเพิ่มเติมนะครับ คือโรคสมาธิสั้นจะแบ่งเป็นสามกลุ่มใหญ่ๆ ที่สามารถร่วมกับอาการกลุ่มอื่นได้ครับ โดยมีโรคสมาธิสั้นเป็นอาการพื้นฐานครับ
กลุ่มแรก คือ โรคสมาธิสั้น ประเภท ไฮเปอร์แอคทีฟ กลุ่มนี้จะอยู่ไม่นิ่ง ตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมอย่างรวดเร็ว และบางครั้ง over hyper ตามกลไกของเคมีในสมอง จึงมีระดับของความไฮเปอร์ด้วย
กลุ่มที่สอง โรคสมาธิสั้น ร่วมกับ โรคซึมเศร้า จะตรงข้ามกับกลุ่มอาการแรก จะไม่ค่อยชอบเข้าสังคม อยู่กับความกดดัน ทั้งจากสังคมรอบข้างและกลับมาสร้างความกดดันให้กับตัวเอง ตอบสนองกับสิ่งเร้าบางอย่าง กลุ่มอาการนี้จะปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ยาก จะคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมเดิมๆ เพื่อนกลุ่มเดิม ชีวิตแบบเดิมที่คุ้นเคย ดังนั้นการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมกลุ่มนี้ จะยิ่งสร้างความกดดัน และเกิดภาวะซึมเศร้าได้ง่ายมาก สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป เช่น ย้ายโรงเรียนใหม่ต้องเจอกับวัฒนธรรมใหม่ เพื่อนใหม่ วิถีชีวิตใหม่ กว่าจะปรับตัวได้อาจต้องใช้เวลาเป็นปี
กลุ่มที่สาม อันนี้ต้องขอโทษด้วย จำไม่ได้หล่ะครับ
นอกจากนี้อาการสมาธิสั้น สามารถไปร่วมกับกลุ่มอาการอื่นๆ ได้อีก ซึ่งจะกลายเป็นพฤติกรรมนั้นๆ
การได้พบหมอและวินิจฉัยแล้วก็ถือว่าพบต้นเหตุของอาการในระดับหนึ่ง แต่ถ้าจะให้ดี อาจจะต้องปรึกษากับคุณหมอด้วยว่าเราเป็นสมาธิสั้นในกลุ่มไหน เพื่อจะได้รับการรักษาหรือรับยาอย่างถูกวิธี ซึ่งจะช่วยให้อาการดีขึ้นครับ
จขกท. บอกว่าอายุ ๑๕ ปี และรับทราบว่าตนได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมาธิสั้นแล้ว แสดงว่า จขกท. ยอมรับกับอาการแบบนี้ได้ดีในระดับหนึงแล้วครับ อย่างที่ความเห็นด้านบนกล่าวไว้ จขกท. ต้องดูแลตัวเองให้ดีเป็นพิเศษ
คำแนะนำประการนึงคือ เราไม่จำเป็นต้องแสวงหาสังคมหรือเพื่อนเพื่อให้เราแฝงฝังตัวเองหรือให้เพื่อนยอมรับเราครับ เพราะถ้ายิ่งทำแบบนั้น เราอาจจะถูกเพื่อนบางกลุ่มที่นิสัยไม่ดีชักจูงหรือให้เราทำอะไรที่ผิดๆ ได้ และเราต้องพึ่งพาเพื่อนเพื่อมาชดเชยมากเกินไป ท้ายที่สุดจะขาดเพื่อนไม่ได้และกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง เพื่อนไม่จำเป็นต้องมีเยอะ มีแค่ไม่กี่คนแต่รู้ใจและพาไปในทางที่ถูกก็พอครับ
สิ่งสำคัญคือเราต้องกลับมาทำความเข้าใจกับตัวเอง ค้นให้พบว่า จุดเด่น ของเราคืออะไร เด็กสมาธิสั้นทุกคน จะมีความสามารถพิเศษบางประการซ่อนอยู่ เราต้องค้นให้พบ และดึงความสามารถนั้นๆ ออกมาใช้ ขัดเกลาให้กลายเป็นจุดเด่น
ความสามารถนี้ อาจจะเป็นกีฬาที่ใช้ความสามารถส่วนตัว ไม่ใช่กีฬาปะทะ อาจจะเป็นความสามารถทางคณิตศาสตร์ หรือศิลปะบางประเภท
ขอให้ จขกท. เจอความสามารถของตัวเอง ขัดเกลาให้ดี และก้าวต่อไปครับ
กลุ่มแรก คือ โรคสมาธิสั้น ประเภท ไฮเปอร์แอคทีฟ กลุ่มนี้จะอยู่ไม่นิ่ง ตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมอย่างรวดเร็ว และบางครั้ง over hyper ตามกลไกของเคมีในสมอง จึงมีระดับของความไฮเปอร์ด้วย
กลุ่มที่สอง โรคสมาธิสั้น ร่วมกับ โรคซึมเศร้า จะตรงข้ามกับกลุ่มอาการแรก จะไม่ค่อยชอบเข้าสังคม อยู่กับความกดดัน ทั้งจากสังคมรอบข้างและกลับมาสร้างความกดดันให้กับตัวเอง ตอบสนองกับสิ่งเร้าบางอย่าง กลุ่มอาการนี้จะปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ยาก จะคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมเดิมๆ เพื่อนกลุ่มเดิม ชีวิตแบบเดิมที่คุ้นเคย ดังนั้นการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมกลุ่มนี้ จะยิ่งสร้างความกดดัน และเกิดภาวะซึมเศร้าได้ง่ายมาก สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป เช่น ย้ายโรงเรียนใหม่ต้องเจอกับวัฒนธรรมใหม่ เพื่อนใหม่ วิถีชีวิตใหม่ กว่าจะปรับตัวได้อาจต้องใช้เวลาเป็นปี
กลุ่มที่สาม อันนี้ต้องขอโทษด้วย จำไม่ได้หล่ะครับ
นอกจากนี้อาการสมาธิสั้น สามารถไปร่วมกับกลุ่มอาการอื่นๆ ได้อีก ซึ่งจะกลายเป็นพฤติกรรมนั้นๆ
การได้พบหมอและวินิจฉัยแล้วก็ถือว่าพบต้นเหตุของอาการในระดับหนึ่ง แต่ถ้าจะให้ดี อาจจะต้องปรึกษากับคุณหมอด้วยว่าเราเป็นสมาธิสั้นในกลุ่มไหน เพื่อจะได้รับการรักษาหรือรับยาอย่างถูกวิธี ซึ่งจะช่วยให้อาการดีขึ้นครับ
จขกท. บอกว่าอายุ ๑๕ ปี และรับทราบว่าตนได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมาธิสั้นแล้ว แสดงว่า จขกท. ยอมรับกับอาการแบบนี้ได้ดีในระดับหนึงแล้วครับ อย่างที่ความเห็นด้านบนกล่าวไว้ จขกท. ต้องดูแลตัวเองให้ดีเป็นพิเศษ
คำแนะนำประการนึงคือ เราไม่จำเป็นต้องแสวงหาสังคมหรือเพื่อนเพื่อให้เราแฝงฝังตัวเองหรือให้เพื่อนยอมรับเราครับ เพราะถ้ายิ่งทำแบบนั้น เราอาจจะถูกเพื่อนบางกลุ่มที่นิสัยไม่ดีชักจูงหรือให้เราทำอะไรที่ผิดๆ ได้ และเราต้องพึ่งพาเพื่อนเพื่อมาชดเชยมากเกินไป ท้ายที่สุดจะขาดเพื่อนไม่ได้และกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง เพื่อนไม่จำเป็นต้องมีเยอะ มีแค่ไม่กี่คนแต่รู้ใจและพาไปในทางที่ถูกก็พอครับ
สิ่งสำคัญคือเราต้องกลับมาทำความเข้าใจกับตัวเอง ค้นให้พบว่า จุดเด่น ของเราคืออะไร เด็กสมาธิสั้นทุกคน จะมีความสามารถพิเศษบางประการซ่อนอยู่ เราต้องค้นให้พบ และดึงความสามารถนั้นๆ ออกมาใช้ ขัดเกลาให้กลายเป็นจุดเด่น
ความสามารถนี้ อาจจะเป็นกีฬาที่ใช้ความสามารถส่วนตัว ไม่ใช่กีฬาปะทะ อาจจะเป็นความสามารถทางคณิตศาสตร์ หรือศิลปะบางประเภท
ขอให้ จขกท. เจอความสามารถของตัวเอง ขัดเกลาให้ดี และก้าวต่อไปครับ
แสดงความคิดเห็น
ปัญหาครอบครัว