ความน่าเจ็บปวด ของจำนวนครู ในโรงเรียนขนาดเล็ก ที่มีอยู่จริง

วันนี้เราคงได้มาพูดคุยกันถึงเรื่อง 1 ในปัญหาของการศึกษาไทย จำนวนครู ที่มีอยู่จริงในสถานศึกษา ขนาดเล็ก มันน่าเจ็บปวดอยู่พอสมควร เราคงปฏิเสธไม่ได้เลย เพราะนี่คือ อีกหนึ่งความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โรงเรียน ขนาดเล็ก ที่มีนักเรียนตั้งแต่ 120 คนลงมา จะจัดให้มีครูได้ สูงสุดคือ 6 คน ตามเกณฑ์อัตรากำลังข้าราชการครูของ ก.ค.ศ. (สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา) ที่กำหนดไว้  ข้อสังเกตุที่อยากให้ทุกท่านมองคือ  โรงเรียนขนาดเล็กประมาณ นี้ ที่มีสอน ตั้งแต่ อ.1 - ป.6 หรือ อ.2-ป.6  มีจำนวนชั้นเรียน ต่ำสุด คือ 8 ห้องเรียน  8 ห้องเรียน กับครู 6 คน  ส่วนต่างอีกสอง โรงเรียนต้องทำหน้าที่ บริหารจัดการตัวเอง ตามแต่จะทำได้ตามศักยภาพของนักเรียน

รูปแสดง ตามสัดส่วนอัตรากำลัง แบบที่ 1 โรงเรียนประถมศึกษาที่มีนักเรียน 120 คน ลงมาและจัดการเรียนการสอน อ.1-ป.6 หรือ ป.1-ป.6
งดงามกันเลยทีเดียว ผู้เขียนกระทู้ ยอมรับว่าไม่ค่อย จะเห็นด้วยกันเกณฑ์นี้สะทีเดียว เพราะมันคือความโหดร้ายที่โรงเรียนต้องพบเจอ บนความเหลื่อมล้ำ ทางการศึกษาที่เกิดขึ้น

แบบ 2  โรงเรียนประถมศึกษาที่มีนักเรียน 121 คนขึ้นไป และจัดการเรียนการสอน อ.1-ป.6 หรือ ป.1-ป.6

ซึ่งผมขอยกตัวอย่างมาแค่สองแบบ การคิดอัตรากำลัง ซึ่งหลักแล้ว จะมีอยู่ด้วยกัน 5 แบบปกติ 3 แบบพิเศษ( การศึกษาพิเศษ,โรงเรียนมัธยมศึกษาในโครงการพิเศษต่าง ๆ,โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์)

ท่านใดอยากเห็นเพิ่มเติม ตามมาดูที่ลิงค์ได้เลยนะครับ
เกณฑ์อัตรากำลัง ของ ก.ค.ศ.

นี้อาจไม่ใช่บทสรุปของทุกปัญหา แต่คุณภาพการศึกษา ผู้ที่อยู่ในโลกของพันทิปมักจะบอกเสมอว่ ครู คุณภาพการทำงานของครู คือปัญหาสำคัญของระบบการศึกษา แต่ถ้า เจ้าของกระทู้ อยากชวนทุกท่าน ลองมองย้อนไปถึงแนว นโยบาย ที่เป็นอยู่ แล้วท่านะจะทราบว่า ความเหลื่อมล้ำของ โรงเรียนเล็ก และโรงเรียนใหญ่ โหดร้ายจริๆ

ผู้เขียนมีขุดประสงค์ที่ต้องการสื่อ แค่ว่า อยากให้รัฐบาล มองเห็นว่า หากแต่การยุบรวมทำไม่ได้แล้ว รร. ทีมี นร. เกินกว่า 50 คน และมีครบชั้นเรียน ศธ. เองควรมองว่า คุณภาพการศึกษา ผลประโยชน์ที่ นร.ควรจะได้ คือ ครูครบชั้นเรียน

ร่วมแสดงความคิดเห็น เล่าสู่กันฟฟังจากประสบการณ์ทุกท่านได้นะครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่