หน่วยงานด้านการขนส่งทางอากาศ เริ่มเดินหน้าประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับโลก เตรียมการกระจายวัคซีนป้องกัน COVID-19 ซึ่งคาดว่าต้องใช้เครื่องบินขนาดใหญ่มากถึง 8,000 ลำ
วันนี้ (10 ก.ย.2563) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ระบุว่า การขนส่งวัคซีนป้องกัน COVID-19 ไปทั่วโลก เป็นความท้าทายครั้งใหญ่ที่สุดในวงการขนส่ง และประเมินว่าจะต้องใช้เครื่องบินจัมโบ เจท เทียบเท่าโบอิง 747 มากถึง 8,000 ลำ
นอกจากนี้ เครื่องบินที่ใช้ขนส่งวัคซีนยังต้องรักษาอุณหภูมิให้อยู่ในช่วงระหว่าง 2-8 องศาเซลเซียส ขณะที่วัคซีนบางชนิดอาจต้องเก็บรักษาด้วยการแช่แข็งเท่านั้น ซึ่งจะทำให้มีจำนวนของเครื่องบินที่พร้อมใช้ขนส่งวัคซีนได้น้อยลงไปอีก
อีกทั้งการขนส่งวัคซีนยังต้องการสถานที่ปลายทางที่เป็นเครือข่ายในการจัดเก็บวัคซีนแบบรักษาอุณหภูมิได้ ซึ่งส่งผลให้การกระจายวัคซีนในทวีปแอฟริกาในขณะนี้ยังไม่สามารถทำได้ เนื่องจากขาดแคลนสถานที่จัดเก็บ และการเดินทางข้ามพรมแดนยังเป็นปัญหาซับซ้อน
แม้ว่าขณะนี้วัคซีน COVID-19 ยังคงอยู่ในระหว่างการพัฒนา แต่ล่าสุดทาง IATA ได้เริ่มประสานงานกับสายการบิน สนามบิน บริษัทยา และหน่วยงานด้านสาธารณสุขระดับโลก เพื่อเตรียมการขนส่งวัคซีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขนส่งวัคซีนไปบางประเทศที่ไม่สามารถผลิตวัคซีนได้เอง
THAIPBS
อาวล้าววว.. คืบหน้าอีกล้าววว!! IATA ประสานงาน สนบ. สกบ. บ.ยา เตรียมเครื่องบิน 8000ลำ ขนส่งวัคซีนทั่วโลก..!! !!
หน่วยงานด้านการขนส่งทางอากาศ เริ่มเดินหน้าประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับโลก เตรียมการกระจายวัคซีนป้องกัน COVID-19 ซึ่งคาดว่าต้องใช้เครื่องบินขนาดใหญ่มากถึง 8,000 ลำ
วันนี้ (10 ก.ย.2563) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ระบุว่า การขนส่งวัคซีนป้องกัน COVID-19 ไปทั่วโลก เป็นความท้าทายครั้งใหญ่ที่สุดในวงการขนส่ง และประเมินว่าจะต้องใช้เครื่องบินจัมโบ เจท เทียบเท่าโบอิง 747 มากถึง 8,000 ลำ
นอกจากนี้ เครื่องบินที่ใช้ขนส่งวัคซีนยังต้องรักษาอุณหภูมิให้อยู่ในช่วงระหว่าง 2-8 องศาเซลเซียส ขณะที่วัคซีนบางชนิดอาจต้องเก็บรักษาด้วยการแช่แข็งเท่านั้น ซึ่งจะทำให้มีจำนวนของเครื่องบินที่พร้อมใช้ขนส่งวัคซีนได้น้อยลงไปอีก
อีกทั้งการขนส่งวัคซีนยังต้องการสถานที่ปลายทางที่เป็นเครือข่ายในการจัดเก็บวัคซีนแบบรักษาอุณหภูมิได้ ซึ่งส่งผลให้การกระจายวัคซีนในทวีปแอฟริกาในขณะนี้ยังไม่สามารถทำได้ เนื่องจากขาดแคลนสถานที่จัดเก็บ และการเดินทางข้ามพรมแดนยังเป็นปัญหาซับซ้อน
แม้ว่าขณะนี้วัคซีน COVID-19 ยังคงอยู่ในระหว่างการพัฒนา แต่ล่าสุดทาง IATA ได้เริ่มประสานงานกับสายการบิน สนามบิน บริษัทยา และหน่วยงานด้านสาธารณสุขระดับโลก เพื่อเตรียมการขนส่งวัคซีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขนส่งวัคซีนไปบางประเทศที่ไม่สามารถผลิตวัคซีนได้เอง
THAIPBS