ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก (1929) ในแต่ละประเทศมีวิธีแก้ไขอย่างไรครับ?

เคยตั้งมาแล้วเมื่อ 30 สิงหาคม 2560 เวลา 16:41 น. https://ppantip.com/topic/36823091

ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ค.ศ. 1929
1. ความสำคัญของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ค.ศ.1929
ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ค.ศ. 1929 เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาแต่มีผลกระทบต่อนานาประเทศทั่วโลก และเป็นสาเหตุประการหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากชาติมหาอำนาจ เช่น เยอรมัน อิตาลี และญี่ปุ่น ใช้วิธีแก้ไขปัญหาโดยการขยาดดินแดนเพื่อใช้เป็นแหล่งทรัพยากร วัตถุดิบและฐานทางเศรษฐกิจของตน
2. สาเหตุของปัญหาวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ ค.ศ. 1929
ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ. 1929 มีสาเหตุ ดังนี้
     2.1 ปริมาณผลผลิตทางการเกษตรมีมากเกิดความต้องการทำให้ราคาตกต่ำ และมูลค่าการส่งออกก็ลดลงด้วย ในขณะเดียวกันเกษตรกรประสบปัญหาขาดแคลนเงินทุนและมีภาระหนี้สินมาก
     2.2 การขยายตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง ทำให้สินค้าอุตสาหกรรมมีราคาสูงแต่กำลังซื้อของผู้บริโภคกลับมีน้อยสินค้าจึงเหลือล้นตลาด และเป็นสาเหตุทำให้กิจการของธุรกิจภาคอุตสาหกรรมต้องล้มละลาย
     2.3 การชำระหนี้ค่าปฏิกรรมสงครามของประเทศผู้แพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยเฉพาะเยอรมนี ถูกบังคับให้ผ่อนชำระเป็นรายปี (ปีละ 100 ล้านปอนด์) เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ และทำให้ค่าของเงินมาร์กของเยอรมนีขาดเสถียรภาพและมีค่าลดต่ำลงจนเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจตามมา
     2.4 การเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในสหรัฐอเมริกา มีผลกระทบต่อประเทศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างมาก เช่น การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศลดลง สินเชื่อหรือเงินกู้ และเงินลงทุนของสหรัฐฯในประเทศต่างๆ ก็ลดลงด้วย เป็นผลให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในประเทศอื่นๆ ตามมา
3. ผลกระทบของวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ค.ศ. 1929 ที่มีต่อโลก
ภาวะวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ค.ศ. 1929 ที่เกิดในสหรัฐอเมริกา ได้ส่งผลกระทบต่อประเทศในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก สรุปเฉพาะที่สำคัญได้ ดังนี้
     3.1 ผลกระทบต่อประเทศต่าง ๆ ในยุโรป เนื่องจากสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดสินค้าขนาดใหญ่ของประเทศต่าง ๆ ในยุโรปลดลง และสหรัฐฯ ยังลดปริมาณเงินกู้และการลงทุนในยุโรปลงอีกด้วย ทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในประเทศต่าง ๆ ของยุโรปตามมา
     3.2 ผลกระทบต่อประเทศญี่ปุ่น คือ ปริมาณและมูลค่าการส่งออกสินค้าญึ่ปุ่นในตลาดโลก
ลดลง อัตราการว่างงานจึงขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น และต้องประสบปัญหาขาดดุลการค้าอย่างหนัก ญี่ปุ่นจึงแก้ปัญหาโดยการขยายดินแดนเข้ายึดครองแมนจูเรียของจีน ในปี ค.ศ.1931
     3.3 ผลกระทบต่อประเทศไทย ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของโลก ปี ค.ศ. 1929 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ประเทศไทยต้องประสบปัญหาการขาดดุลการค้า สินค้าออกของไทย เช่น ข้าว ไม้สัก และดีบุก มีราคาตกต่ำ ภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจดังกล่าวเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475
ที่มา : http://jakkrit-edu.blogspot.com/2009/08/1929.html
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
ส่วนใหญ่จะมุ่งแก้ปัญหาการว่างงาน  ซึ่งเป็นผลพวงของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ  มันทำให้ตัวเลขอาชญากรรมพุ่งสูงขึ้น  รัฐบาลต้องตั้งงบประมาณมาช่วยเหลือคนตกงาน  และส่งผลทางการเมืองต่อรัฐบาลในประเทศนั้นด้วย หากการรับมือไม่ดีพอ  บางชาติตัวเลขคนว่างงานแตะ 30%   ต้องแก้ไปพร้อมๆ กับการปฏิรูปด้านภาษี

แนวคิดเศรษฐศาสตร์ของเคนส์ถูกนำมาใช้  โดยใช้นโยบายรัฐแทรกแซงเศรษฐกิจ  เมื่อตลาดเสรีหรือภาคเอกชนเกิดปัญหา  รัฐจึงต้องผุดโครงการสาธารณะขนาดใหญ่ หลากหลายประเภท  โดยใช้คนเยอะๆ  เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ให้คนในประเทศ  เช่น การอัดฉีดงบประมาณเพื่อสร้างและพัฒนาอาวุธในเยอรมัน  งานสร้างทางหลวงออโตบานและกิจการสาธารณะของรัฐในเยอรมัน   โครงการนิวดีลในสหรัฐ   การสร้างเขื่อนฮูเวอร์ในสหรัฐ  โซเวียตเร่งขยายฐานอุตสาหกรรมในประเทศเป็นจำนวนมาก
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่