สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 9
ศก. มันมีขึ้นมีลง ครับ มันไม่ได้แย่ตลอดไป และ มันไม่ได้ดีตลอดไป เป็นเรื่องปกติ
ผมว่า เราไม่ควรเอาเรื่องยุคนี้ ตอนนี้ ไปเทียบกับเมื่อ 60-70 ปีก่อนครับ เอาแค่มูลค่าของเงิน หรือ มูลค่าของเศรษฐกิจ มันก็ต่างกันไกลมากแล้วล่ะครับ มันเทียบกันไม่ได้หรอก สมัยโน้น ก่อนที่เขาจะมีทุกวันนี้ เขาก็ลำบากกันมาก่อนครับ มาถึงทุกวันนี้ได้ ก็เพราะไม่มีใครคิดทำเหมือนเขาเมื่อหลายสิบปีก่อน อ่ะ อาจจะอ้างไม่มีทุน เขาก็เริ่มจากไม่มีทุนมหาศาลเช่นกัน มาถึงตอนนี้ ถามตัวเองสิครับว่า ทำไมถึงเข้าร้านเขามากกว่า ร้านขายของชำ ส่วนตัวผมผมบอกได้แค่ว่า ร้านขายของชำ แถวบ้าน ผมไม่รู้ว่า ของที่ขายนั่นน่ะ อยู่มาตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่ในร้านสะดวกซื้อ มันเห็นได้ชัดครับ รวมถึง ราคาถูกกว่าด้วย
เรื่องการทำงาน คุณมีแต่ต้องพัฒนาตัวเอง ไม่ใช่เดินตามเทตโนโลยี ไม่ว่าเทคโนโลยีจะใหม่ขนาดไหน ยังไงก็ต้องการมนุษย์ในการตัดสินใจบางอย่างอยู่ดี ต่อให้วันนึง เราจะใช้ AI กันหมดโลก เมื่อถึงเวลานั้น เราก็ต้องพัฒนาตัวเองไปเป็นผู้ลงทุนครับ มันมีทางไปของมันเสมอล่ะนะครับ
ส่วนเด็ก ๆ ในยุคถัดไป เขาจะลำบากหรือ สบาย มันก็เป็นเรื่องของพวกเขาแล้วล่ะครับ เขาอยากจะสบายตอนนี้แล้วไปลำบากทีหลัง หรือ ลำบากตอนนี้ไปสบายทีหลังก็เป็นทางเลือกของเขาเองครับ ผมไม่โทษ บรรพบุรุษ หรีอ คนที่อยู่มาก่อนหรอก
ผมว่า เราไม่ควรเอาเรื่องยุคนี้ ตอนนี้ ไปเทียบกับเมื่อ 60-70 ปีก่อนครับ เอาแค่มูลค่าของเงิน หรือ มูลค่าของเศรษฐกิจ มันก็ต่างกันไกลมากแล้วล่ะครับ มันเทียบกันไม่ได้หรอก สมัยโน้น ก่อนที่เขาจะมีทุกวันนี้ เขาก็ลำบากกันมาก่อนครับ มาถึงทุกวันนี้ได้ ก็เพราะไม่มีใครคิดทำเหมือนเขาเมื่อหลายสิบปีก่อน อ่ะ อาจจะอ้างไม่มีทุน เขาก็เริ่มจากไม่มีทุนมหาศาลเช่นกัน มาถึงตอนนี้ ถามตัวเองสิครับว่า ทำไมถึงเข้าร้านเขามากกว่า ร้านขายของชำ ส่วนตัวผมผมบอกได้แค่ว่า ร้านขายของชำ แถวบ้าน ผมไม่รู้ว่า ของที่ขายนั่นน่ะ อยู่มาตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่ในร้านสะดวกซื้อ มันเห็นได้ชัดครับ รวมถึง ราคาถูกกว่าด้วย
เรื่องการทำงาน คุณมีแต่ต้องพัฒนาตัวเอง ไม่ใช่เดินตามเทตโนโลยี ไม่ว่าเทคโนโลยีจะใหม่ขนาดไหน ยังไงก็ต้องการมนุษย์ในการตัดสินใจบางอย่างอยู่ดี ต่อให้วันนึง เราจะใช้ AI กันหมดโลก เมื่อถึงเวลานั้น เราก็ต้องพัฒนาตัวเองไปเป็นผู้ลงทุนครับ มันมีทางไปของมันเสมอล่ะนะครับ
ส่วนเด็ก ๆ ในยุคถัดไป เขาจะลำบากหรือ สบาย มันก็เป็นเรื่องของพวกเขาแล้วล่ะครับ เขาอยากจะสบายตอนนี้แล้วไปลำบากทีหลัง หรือ ลำบากตอนนี้ไปสบายทีหลังก็เป็นทางเลือกของเขาเองครับ ผมไม่โทษ บรรพบุรุษ หรีอ คนที่อยู่มาก่อนหรอก
ความคิดเห็นที่ 34
ต่อให้เปลี่ยนนายก เป็นรัฐบาล ยังไง แต่ถ้ายังไม่เปลี่ยน "สันดาน" ก็เละอยู่ดีครับ
เด็กรุ่นหลัง วัตถุนิยมเหลือเกิน เมื่อเรียนจบ ทำงานไม่ถึงปี ก็เริ่มสมัครบัตรเครดิต ใช้สินค้าแบรนด์เนม ตามวาทะไร้สาระอย่าง "ของมันต้องมี" ต้องซื้อโทรศัพท์เป็นรุ่นใหม่ล่าสุดทุกปี ทั้งที่ยังไม่จำเป็น
รับประทานอาหารร้านริมถนนไม่ได้ ต้องรับประทานอาหารร้านบุฟเฟต์ ร้านอาหารญี่ปุ่น เกาหลี หรือร้านหรูๆ มื้อละ 200-500 ประจำ โดยไม่คำนึงถึง "เงินเก็บ" พอบางคนจะเก็บเงิน ไม่ยอมไปรับประทานด้วย ก็จะโดนแบน โดนกล่าวหาว่า "มีปัญหาในการใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่น
ในขณะที่ คนรุ่นก่อนๆ รับประทานอาหารร้านข้างทาง เมื่อตีราคาก็มื้อละ 40-50 ในปัจจุบัน บางกลุ่มก็พกอาหารกลางวันมาจากบ้าน มารับประทานร่วมกัน พูดคุยกันอย่างมีความสุข
สมัยก่อน เลิกงานแล้วกลับบ้าน มีเวลาให้ครอบครัว แต่เดี๋ยวนี้เลิกงานแล้ว ต้องไปดื่มเหล้า สังสรรค์กับเพื่อนร่วมงาน หมดไปครั้งนึงไม่ต่ำกว่า 500 ใครไม่ไป ก็จะถูกแบน ถูกโจมตีว่า "เข้ากับคนอื่นไม่ได้" อ้างว่า "เป็นมารยาทในการเข้าสังคม"
ยกตัวอย่างเช่นในบริษัท A
นาย ก อายุ 30 - โสด เป็นพนักงานระดับ Officer ได้รับเงินเดือน เดือนละ 18,000 แต่พ่อแม่ของนาย ก ยังมีชีวิตอยู่และทำงานอยู่เช่นกัน ทำให้นาย ก ชอบใช้ชีวิตเสเพล รับประทานอาหารร้านสูงๆ และ เที่ยวกลางคืน ดื่มสุรา หลังเลิกงานเป็นประจำได้ เพราะถึงเงินของเขาหมด ก็มีพ่อแม่คอยช่วยเหลือ
นาย ข อายุ 32 - แต่งงานแล้ว มีลูก 1 คนและเป็นพนักงานระดับ Officerเหมือน นาย ก ได้รับเงินเดือน เดือนละ 20,000 แต่พ่อเสียชีวิตแล้ว แม่ไม่ทำงาน นั่นหมายความว่า นาย ข ต้องใช้เงินเดือนในการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในครอบครัว จึงไม่สามารถใช้ชีวิตแบบนาย ก ได้
หากนาย ก สนิทกับคนในบริษัท A หลายคน แล้วชวนนาย ข ไปรับประทานอาหารร้านราคาแพง หรือ ไปดื่มสุราหลังเลิกงานเป็นประจำ แน่นอนว่านาย ข ต้องปฏิเสธ เนื่องจากต้องเก็บเงินไว้ใช้จ่ายในครอบครัว นาย ก และพวกเพื่อนร่วมงานก็จะโจมตีนาย ข ว่า นาย ก เงินเดือนน้อยกว่า ยังใช้จ่ายได้ ถ้าห่วงครอบครัวแบบนี้ ควรไปทำงานฟรีแลนซ์ หรือ เปิดกิจการส่วนตัวดีกว่า หลังจากนั้น นาย ข ก็โดนแบน หรือคนในบริษัทไม่ค่อยสนใจ ช่วยเหลือ นาย ข เรื่องงาน และนาย ข ต้องเจอสภาพบรรยากาศการทำงานที่ไม่ดี หากนาย ก ยอมฝืนใจ เข้าร่วม ทำตามคนอื่น ก็อาจส่งผลต่อครอบครัวเขา
ผมเห็นน้องๆที่รู้จักบางคนตอนเด็กดูน่ารัก ไม่ดื่มเหล้า ไม่ดื่มเบียร์ ใช้ชีวิตสบายๆ เมื่อเรียนจบไม่ถึงปี ทำงาน มีโพสต์รูปไปดื่มกับเพื่อนร่วมงานตลอด พอผมถามเขาก็บอกว่า "เพื่อนร่วมงานชวนไป อ้างว่าต้องเข้าสังคม" พอปลายเดือนก็โพสต์บ่นว่าไม่มีเงิน เพราะเงินไปหมดของเรื่องพวกนี้
นอกจากนี้ ยุคนี้มีโซเชียลมีเดีย แต่ละคนก็แข่งกันโพสต์อวดของใหม่ที่ตัวเองซื้อมา บางคนซื้อมาแล้ว ก็เย้ยหยัน ดูถูกคนที่ไม่มี ทำให้บางคนเกิดอาการอิจฉาตาร้อน ต้องมีบ้าง ไปยืมเงินคนอื่น สมัครบัตรเครดิต เพื่อรูดเอามาซื้อของพวกนี้
แต่ละเดือน เงินเดือนออกที บัตรพวกนี้ดูดเงินเดือนไปมากกว่า 50% พอปลายเดือนก็โวยวาย บ่นไม่มีเงิน ไม่รู้จะพูดยังไงจริง
ดูจากที่ผมบอกมา เงินเดือน 15,000 ถึง 20,000 จะพอใช้ไหมครับ แต่ละเดือน ต้องจ่ายขนาดนี้
วิธีแก้ไข ก็ต้องเปลี่ยน "สันดาน" ลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง พยายามใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นเท่านั้น หัดทำตัวเป็น "เจ้าพ่อ/เจ้าแม่เงินสด" ซะบ้าง แล้วพวกเขาก็จะมีเงินเก็บเพิ่มขึ้นเอง ฉายา "เจ้าพ่อ/เจ้าแม่เงินผ่อน" ไม่ได้ดูดีเลย
ผมมีอดีตเพื่อนร่วมงานอายุเกือบ 30 เงินเดือน เดือนละ 15,000 อยู่กับแม่ 2 คน เพราะพ่อเสียแล้ว
เขาเคยบอกว่า เขาไม่มีบัตรเครดิต แถมให้เงินแม่เดือนละ 7,000 แต่เขาก็มีเงินเก็บหลายหมื่น สามารถใช้เงินสดซื้อเครื่องเกม Playstation 4 ซื้อแผ่นเกมบ้าง แต่ไม่บ่อย และ เลี้ยงแมว 10 กว่าตัว
เราเคยถามเขาว่าทำไมถึงใช้ชีวิตแบบนี้ เขาตอบว่า "ใช้ชีวิตแบบวัตถุนิยม ทันสมัย เขาไม่ได้อะไร แต่ถ้าใช้ชีวิตอย่างประหยัด แม่และแมวเขามีกิน เพราะฉะนั้น ทุกครั้งที่เงินออกจากกระเป๋า ต้องนึกถึงแม่และสัตว์เลี้ยงในบ้านก่อนเสมอ" ผมถึงกับตกใจ
ทุกวันนี้เขาก็ยังชิว ทำงาน ใช้ชีวิต ไปเที่ยวกับแฟนอย่างมีความสุข เห็นโพสต์เฟสบุ๊คว่าเริ่มเก็บเงินเตรียมซื้อ Playstation 5 แล้ว ผมถามเขาว่าจะซื้อเมื่อไหร่ เขาตอบง่ายๆว่า "ซื้อเมื่อพร้อม ซื้อเมื่อเกมที่อยากเล่นออก ไม่ใช่ซื้อตอนเครื่องออก แล้วจ่ายเงินสด ไม่ต้องรูด"
ยอมรับว่า อยากให้เด็กรุ่นใหม่คิดแบบเขาจริงๆ และสิ่งสำคัญอีกเรื่องคือ พวกรุ่นพี่ พวกเพื่อนร่วมงาน ต้องเข้าใจคนอื่น ไม่ใช่เอาตัวเองเป็นหลัก พยายามคำนึงถึงสภาพการเงินและความชอบของคนอื่นด้วย แล้วทุกคนจะผ่านสถานะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ไปได้แน่นอน
เด็กรุ่นหลัง วัตถุนิยมเหลือเกิน เมื่อเรียนจบ ทำงานไม่ถึงปี ก็เริ่มสมัครบัตรเครดิต ใช้สินค้าแบรนด์เนม ตามวาทะไร้สาระอย่าง "ของมันต้องมี" ต้องซื้อโทรศัพท์เป็นรุ่นใหม่ล่าสุดทุกปี ทั้งที่ยังไม่จำเป็น
รับประทานอาหารร้านริมถนนไม่ได้ ต้องรับประทานอาหารร้านบุฟเฟต์ ร้านอาหารญี่ปุ่น เกาหลี หรือร้านหรูๆ มื้อละ 200-500 ประจำ โดยไม่คำนึงถึง "เงินเก็บ" พอบางคนจะเก็บเงิน ไม่ยอมไปรับประทานด้วย ก็จะโดนแบน โดนกล่าวหาว่า "มีปัญหาในการใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่น
ในขณะที่ คนรุ่นก่อนๆ รับประทานอาหารร้านข้างทาง เมื่อตีราคาก็มื้อละ 40-50 ในปัจจุบัน บางกลุ่มก็พกอาหารกลางวันมาจากบ้าน มารับประทานร่วมกัน พูดคุยกันอย่างมีความสุข
สมัยก่อน เลิกงานแล้วกลับบ้าน มีเวลาให้ครอบครัว แต่เดี๋ยวนี้เลิกงานแล้ว ต้องไปดื่มเหล้า สังสรรค์กับเพื่อนร่วมงาน หมดไปครั้งนึงไม่ต่ำกว่า 500 ใครไม่ไป ก็จะถูกแบน ถูกโจมตีว่า "เข้ากับคนอื่นไม่ได้" อ้างว่า "เป็นมารยาทในการเข้าสังคม"
ยกตัวอย่างเช่นในบริษัท A
นาย ก อายุ 30 - โสด เป็นพนักงานระดับ Officer ได้รับเงินเดือน เดือนละ 18,000 แต่พ่อแม่ของนาย ก ยังมีชีวิตอยู่และทำงานอยู่เช่นกัน ทำให้นาย ก ชอบใช้ชีวิตเสเพล รับประทานอาหารร้านสูงๆ และ เที่ยวกลางคืน ดื่มสุรา หลังเลิกงานเป็นประจำได้ เพราะถึงเงินของเขาหมด ก็มีพ่อแม่คอยช่วยเหลือ
นาย ข อายุ 32 - แต่งงานแล้ว มีลูก 1 คนและเป็นพนักงานระดับ Officerเหมือน นาย ก ได้รับเงินเดือน เดือนละ 20,000 แต่พ่อเสียชีวิตแล้ว แม่ไม่ทำงาน นั่นหมายความว่า นาย ข ต้องใช้เงินเดือนในการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในครอบครัว จึงไม่สามารถใช้ชีวิตแบบนาย ก ได้
หากนาย ก สนิทกับคนในบริษัท A หลายคน แล้วชวนนาย ข ไปรับประทานอาหารร้านราคาแพง หรือ ไปดื่มสุราหลังเลิกงานเป็นประจำ แน่นอนว่านาย ข ต้องปฏิเสธ เนื่องจากต้องเก็บเงินไว้ใช้จ่ายในครอบครัว นาย ก และพวกเพื่อนร่วมงานก็จะโจมตีนาย ข ว่า นาย ก เงินเดือนน้อยกว่า ยังใช้จ่ายได้ ถ้าห่วงครอบครัวแบบนี้ ควรไปทำงานฟรีแลนซ์ หรือ เปิดกิจการส่วนตัวดีกว่า หลังจากนั้น นาย ข ก็โดนแบน หรือคนในบริษัทไม่ค่อยสนใจ ช่วยเหลือ นาย ข เรื่องงาน และนาย ข ต้องเจอสภาพบรรยากาศการทำงานที่ไม่ดี หากนาย ก ยอมฝืนใจ เข้าร่วม ทำตามคนอื่น ก็อาจส่งผลต่อครอบครัวเขา
ผมเห็นน้องๆที่รู้จักบางคนตอนเด็กดูน่ารัก ไม่ดื่มเหล้า ไม่ดื่มเบียร์ ใช้ชีวิตสบายๆ เมื่อเรียนจบไม่ถึงปี ทำงาน มีโพสต์รูปไปดื่มกับเพื่อนร่วมงานตลอด พอผมถามเขาก็บอกว่า "เพื่อนร่วมงานชวนไป อ้างว่าต้องเข้าสังคม" พอปลายเดือนก็โพสต์บ่นว่าไม่มีเงิน เพราะเงินไปหมดของเรื่องพวกนี้
นอกจากนี้ ยุคนี้มีโซเชียลมีเดีย แต่ละคนก็แข่งกันโพสต์อวดของใหม่ที่ตัวเองซื้อมา บางคนซื้อมาแล้ว ก็เย้ยหยัน ดูถูกคนที่ไม่มี ทำให้บางคนเกิดอาการอิจฉาตาร้อน ต้องมีบ้าง ไปยืมเงินคนอื่น สมัครบัตรเครดิต เพื่อรูดเอามาซื้อของพวกนี้
แต่ละเดือน เงินเดือนออกที บัตรพวกนี้ดูดเงินเดือนไปมากกว่า 50% พอปลายเดือนก็โวยวาย บ่นไม่มีเงิน ไม่รู้จะพูดยังไงจริง
ดูจากที่ผมบอกมา เงินเดือน 15,000 ถึง 20,000 จะพอใช้ไหมครับ แต่ละเดือน ต้องจ่ายขนาดนี้
วิธีแก้ไข ก็ต้องเปลี่ยน "สันดาน" ลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง พยายามใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นเท่านั้น หัดทำตัวเป็น "เจ้าพ่อ/เจ้าแม่เงินสด" ซะบ้าง แล้วพวกเขาก็จะมีเงินเก็บเพิ่มขึ้นเอง ฉายา "เจ้าพ่อ/เจ้าแม่เงินผ่อน" ไม่ได้ดูดีเลย
ผมมีอดีตเพื่อนร่วมงานอายุเกือบ 30 เงินเดือน เดือนละ 15,000 อยู่กับแม่ 2 คน เพราะพ่อเสียแล้ว
เขาเคยบอกว่า เขาไม่มีบัตรเครดิต แถมให้เงินแม่เดือนละ 7,000 แต่เขาก็มีเงินเก็บหลายหมื่น สามารถใช้เงินสดซื้อเครื่องเกม Playstation 4 ซื้อแผ่นเกมบ้าง แต่ไม่บ่อย และ เลี้ยงแมว 10 กว่าตัว
เราเคยถามเขาว่าทำไมถึงใช้ชีวิตแบบนี้ เขาตอบว่า "ใช้ชีวิตแบบวัตถุนิยม ทันสมัย เขาไม่ได้อะไร แต่ถ้าใช้ชีวิตอย่างประหยัด แม่และแมวเขามีกิน เพราะฉะนั้น ทุกครั้งที่เงินออกจากกระเป๋า ต้องนึกถึงแม่และสัตว์เลี้ยงในบ้านก่อนเสมอ" ผมถึงกับตกใจ
ทุกวันนี้เขาก็ยังชิว ทำงาน ใช้ชีวิต ไปเที่ยวกับแฟนอย่างมีความสุข เห็นโพสต์เฟสบุ๊คว่าเริ่มเก็บเงินเตรียมซื้อ Playstation 5 แล้ว ผมถามเขาว่าจะซื้อเมื่อไหร่ เขาตอบง่ายๆว่า "ซื้อเมื่อพร้อม ซื้อเมื่อเกมที่อยากเล่นออก ไม่ใช่ซื้อตอนเครื่องออก แล้วจ่ายเงินสด ไม่ต้องรูด"
ยอมรับว่า อยากให้เด็กรุ่นใหม่คิดแบบเขาจริงๆ และสิ่งสำคัญอีกเรื่องคือ พวกรุ่นพี่ พวกเพื่อนร่วมงาน ต้องเข้าใจคนอื่น ไม่ใช่เอาตัวเองเป็นหลัก พยายามคำนึงถึงสภาพการเงินและความชอบของคนอื่นด้วย แล้วทุกคนจะผ่านสถานะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ไปได้แน่นอน
ความคิดเห็นที่ 11
รุ่นตายาย อายุเท่าไหร่แล้วครับ ตอนนี้ ตายายทำอะไรอยู่ที่บ้านครับ ยังทำงานอยู่หรือเปล่า แล้วทำไมถึงคิดว่าหนักสุดครับ
เอาจริงๆ นะ ที่หนักสุดผมว่าปี 40 แต่ที่เราฟื้นได้ก็เพราะต่างประเทศ เริ่มส่งออก ท่องเที่ยว ก็ค่อยๆ ฟื้นมาจนแบบเคยชินกันไป
ว่าจะต้องทำเรื่องท่องเที่ยวส่งออก ลืมภาคเกษตร ภาคผลิตในประเทศ ท่องเทียวในประเทศ ดูเทรนมันไปต่างประเทศเยอะขึ้น
สุดท้ายพอเจอโควิค ก็จบกันไปหลายธุรกิจ ช่วงนี้ก็รอปรับตัวกันอีกรอบ ทุกอย่างมันมีวัฎจักรของมัน เห็นหลายคน
เริ่มกลับมาทางด้านภาคเกษตรกัน ภาคท่องเที่ยวในประเทศ คนใช้จ่ายน้อยลงพึ่งตัวเองมากขึ้น สร้างฐานให้กับครอบครัวก่อน
่ต่อจากนี้ไปเราคงเห็นเจ้าของที่ดินเริ่ม นำที่รกร้างว่างเปล่าปล่อยทิ้งเก็งกำไร มาทำการเกษตรมากขึ้น ผมว่าดีนะใช้พื้นที่ให้เป็นประโยขน์
ไม่ใช่รอขายที่เก็งกำไรสร้างคอนโด สร้างหมู่บ้าน รอให้นักลงทุนมาซื้อเก็งกำไรกัน แล้วพอขายไม่ออกก็เกิดวิกฤติกันอีก
กลับมาวิธีการอยู่รอดสำหรับคนปัจจุบันที่บางทีใช้เงินเปลืองโดยใช่เหตุแล้วบอกไม่พอใช้
1. กาแฟ แก้ว ละ 50 บาท
2. รถไฟฟ้า หรือขับรถเอง
3. ข้าวในแต่ละมื้อ
4. ค่าโทรศัพท์ อินเตอร์เนต
ที่ยกมาคือสมัยก่อนรายจ่ายพวกนี้แทบจะไม่มี เพราะบางคนทำงานใกล้บ้าน นั่งรถเมล์ กินข้าวที่บ้าน เช้า เย็น
ค่าใช้จ่ายปัจจุบันมันแอบแฝงโดยไม่รู้ตัว ไหนคนที่ชอบอยู่คอนโดมีค่าส่วนกลาง ชอบออกกำลังมีค่าฟิตเนส
เยอะไปหมด อย่าง จขกท ได้กลับไปทำงานแถวบ้านจะเห็นว่าค่าใช้จ่ายต่างๆ มันลดลงเยอะเลย ทั้งที่เงินเดือนน้อยลงก็อยู่ได้
เอาจริงๆ นะ ที่หนักสุดผมว่าปี 40 แต่ที่เราฟื้นได้ก็เพราะต่างประเทศ เริ่มส่งออก ท่องเที่ยว ก็ค่อยๆ ฟื้นมาจนแบบเคยชินกันไป
ว่าจะต้องทำเรื่องท่องเที่ยวส่งออก ลืมภาคเกษตร ภาคผลิตในประเทศ ท่องเทียวในประเทศ ดูเทรนมันไปต่างประเทศเยอะขึ้น
สุดท้ายพอเจอโควิค ก็จบกันไปหลายธุรกิจ ช่วงนี้ก็รอปรับตัวกันอีกรอบ ทุกอย่างมันมีวัฎจักรของมัน เห็นหลายคน
เริ่มกลับมาทางด้านภาคเกษตรกัน ภาคท่องเที่ยวในประเทศ คนใช้จ่ายน้อยลงพึ่งตัวเองมากขึ้น สร้างฐานให้กับครอบครัวก่อน
่ต่อจากนี้ไปเราคงเห็นเจ้าของที่ดินเริ่ม นำที่รกร้างว่างเปล่าปล่อยทิ้งเก็งกำไร มาทำการเกษตรมากขึ้น ผมว่าดีนะใช้พื้นที่ให้เป็นประโยขน์
ไม่ใช่รอขายที่เก็งกำไรสร้างคอนโด สร้างหมู่บ้าน รอให้นักลงทุนมาซื้อเก็งกำไรกัน แล้วพอขายไม่ออกก็เกิดวิกฤติกันอีก
กลับมาวิธีการอยู่รอดสำหรับคนปัจจุบันที่บางทีใช้เงินเปลืองโดยใช่เหตุแล้วบอกไม่พอใช้
1. กาแฟ แก้ว ละ 50 บาท
2. รถไฟฟ้า หรือขับรถเอง
3. ข้าวในแต่ละมื้อ
4. ค่าโทรศัพท์ อินเตอร์เนต
ที่ยกมาคือสมัยก่อนรายจ่ายพวกนี้แทบจะไม่มี เพราะบางคนทำงานใกล้บ้าน นั่งรถเมล์ กินข้าวที่บ้าน เช้า เย็น
ค่าใช้จ่ายปัจจุบันมันแอบแฝงโดยไม่รู้ตัว ไหนคนที่ชอบอยู่คอนโดมีค่าส่วนกลาง ชอบออกกำลังมีค่าฟิตเนส
เยอะไปหมด อย่าง จขกท ได้กลับไปทำงานแถวบ้านจะเห็นว่าค่าใช้จ่ายต่างๆ มันลดลงเยอะเลย ทั้งที่เงินเดือนน้อยลงก็อยู่ได้
แสดงความคิดเห็น
ในเมื่อเศรษฐกิจย่ำแย่ขนาดนี้ ต่อไปคนรุ่นหลังจะสร้างเนื้อสร้างตัวได้ยังไงครับ
แล้วแบบนี้เด็กรุ่นใหม่จะลืมตาอ้าปากกันได้ยังไง เพราะเหมือนกับว่ายิ่งนานไป ระบบสังคมการทำงานก็แย่ลง
อย่างงานที่เกี่ยวกับการผลิตก็จะใช้หุ่นยนต์หรือเครื่องจักรมากขึ้น เพราะมันไม่อู้งาน ไม่มีเงินเดือน แค่ลงทุนกับมันครั้งเดียว
แต่งานด้านอื่นๆ เช่น งานด้านเอกสารก็ใช้คนน้อยลง หรือคนนึงๆต้องทำงานหนักขึ้น หลายหน้าที่
ชนิดที่ว่า ใครอดไม่ได้ก็ออกไปสิ ขอขึ้นเงินเดือนเหรอ ถ้าไม่คุ้มที่จะจ่ายก็จะบีบให้ทนไม่ไหวกับงานและลาออกไปเอง
ไหนๆก็พูดละก็ขอพูดเลยละกัน
งานด้านเซลล์ขาย การตลาด อะไรต่างๆนานาๆ ถ้าคุณทำยอดไม่ดีเหมือนเคย คุณก็จะโดนบีบให้ออกอีก มันไม่มีความหมายอะไรกับผลงานของคุณที่เคยทำไว้ก่อนหน้า เพราะเขาไม่ได้สนใจด้วยซ้ำเพราะถือว่าเขาคิดว่าจ่ายเงินคุณแล้วคุณต้องทำให้เขาได้ จ่าย10 เขาต้องได้จากคุณ100หรือมากกว่า
ถ้าทำไม่ได้ คุณก็ไม่มีประโยชน์อะไรต่อองค์กรแล้ว และจะถูกสังคม ถูกบูลลี่จากบริษัททันที จนออกไปตามระเบียบ
ผมเห็นแบบนี้มาเยอะมาก กับคนรอบตัว ตอนนี้มีแต่คนโดนเลิกงาน หรือลาออกมา แล้วก็ยังหางานไม่ได้
ด้วยความที่ว่า ตัวเองมีประสบการณ์มาเยอะ อยู่ในระดับตำแหน่งที่สูง เกินพนักงานปฎิบัติการ
แต่ตอนนี้อะไรก็ไม่เหมือนเดิม ยอมลดเงินเดือนลง แต่ก็ถูกเมินเพราะว่ากลัวอยู่ไม่นาน จะจ้างเด็กจบใหม่ก็ไม่เอา เด็กไม่ทนงาน แปบๆก็ไป
ทีนี้ ไอคนที่ยังมีงานทำอยู่ตามบริษัท ตามออฟฟิศ จาก1หน้าที่ ก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 2,3,4,5,n++
แล้วก็วนลูปที่ตามข้อความท่อนที่ 2 ในกระทู้นี้ เห้ออ บางทีก็อดคิดไม่ได้ว่า ทำงานอะไรตอนนี้ก็ไม่มั่นคงแล้ว
ต่อให้เป็นราชการก็เถอะ ข้าราชการก็สอบยากเย็นมาก พนักงานราชการก็เข้ายากอีก จะบรรจุเป็นข้าราชการก็ยาก
ตอนนี้มีคนรอขึ้นบัญชีเพื่อบรรจุเกือบครึ่งล้านของประเทศ แสดงให้เห็นว่าคนส่วนใหญ่ อยากทำงานระบบราชการที่ไม่เสี่ยงโดนเลิกจ้าง
อยู่ได้ชิวๆ แม้เงินจะน้อย แต่ไม่โดนไล่ออกแน่นอน แถมสวัสดิการพนักงานราชการก็ไม่ได้น้อยกว่าราชการ เพียงแต่ไม่มีบำนาญไว้ตอนแก่
พูดถึงอาชีพอิสระกันบ้าง
เช่น ค้าขาย ร้านอาหาร ร้านของใช้ ร้านขายอุปกรณ์ก่อสร้าง ขายเสื้อผ้า ของใช้ในบ้าน ตอนนี้ก็เปิดกันเยอะมาก
เมืองไทยนี่เป็นประเทศที่เสรีในเรื่องธุรกิจจริงๆ เพราะหาบเร่ แผงลอยมีเยอะทุกหัวมุมเมือง ตลาดนัดเมืองไทยน่าจะเยอะที่สุดในโลกแล้วมั้ง
เพราะจะค้าขายอะไรก็ไม่ต้องมีเอกสาร ขออนุญาตจากรัฐ ไม่เหมือนเมืองนอกที่ต้องมีใบอนุญาต แม้จะเป็นร้านเล็กๆก็ตาม เมืองไทยไม่ต้อง
ตอนนี้ก็เปิดกันแบบว่าเยอะมาก ไปที่ไหนก็มี ร้านนั้นไม่อร่อย ไปกินร้านนี้ได้ ถ้าไม่อร่อยก็ ลองไปกินอีร้านนั้นดีกว่า อะไม่ถูกปากอีก เปลี่ยน
คือมันมีเยอะมาก มันก็ดีในส่วนของคนกิน แต่คนขายเยอะมาก ในมุมของคนค้าขาย ก็จะตายและกดดันมากขึ้น เพราะมีคู่แข่งเยอะ
ทีนี้ก็เกิด Oversupply ของเงินและคนซื้อละ มันถูกหารไปหมดเพราะร้านมี 50 ร้านคนในธุรกิจเดียวกัน ซอยยิบย่อยจนได้คนละนิดละหน่อย
ร้านไหนสายป่านยาวก็อยู่ได้ ร้านไหนแพ้ เงินไม่หนา แถมต้องจ่ายค่าเช่าที่ ค่าไฟค่าน้ำ กินใช้จ่ายส่วนตัวและคนข้างหลังอีก ตายเลยทีนี้
ตอนนี้ใครทำอาชีพค้าขายอิสระ คือน่ากลัวสุดแล้ว ต้องถีบตัวเองแบบสุดๆ เพื่อให้ได้เงินมาใช้จ่าย ความอายมันหมด เพราะความจนมันน่ากลัวกว่า
ยังไม่รวมถึงธุรกิจที่มีอำนาจซะเหลือเกินในตอนนี้ ในเรื่องของการผูกขาด กินรวบของธุรกินค้าขาย ที่เรายังต้องเข้าไปซื้อไปแวะทุกวัน
คงไม่ต้องบอกนะว่าธุรกิจอะไร เจ้านั้นคือใหญ่ที่สุด เข้ามาเบียด เข้ามาแย่งกลุ่มลูกค้า พ่อค้าแม่ค้ากันจนเครียด ตอนนี้เป็นไงละ
เยอะจนจะเท่าประชากรคนทั้งจังหวัด 1 จังหวัดของไทยแล้ว เดินไปที่ไหนก็เจอ แต่คิดว่ามันยังอยู่ได้อีกนาน เพราะมันมีข้อดี
คือเปิดตลอด 24 ชม อำนวยความสะดวกให้กับคนทำงานกลางคืน ทำให้ร้านค้าอิสระส่วนใหญ่เสียเปรียบ และเงินทุนไม่ได้หนาเหมือนเจ้านี้
มีขายครบ มียันถ่ายเอกสาร ฝากเงิน รับชำระเงินนุ่นนี่นั่น ต่อไปคงมีโรงพยาบาล มีโรงงานผลิตรถแน่ๆ
ถ้าถึงขนาดนั้น คนไทยไม่ต้องทำอะไรแล้ว เพราะเจ้า... กินรวบหมดแล้ว
จะให้ลูกเรียนหมอ ถ้าลูกไม่ชอบก็จบ แต่ถ้าเขาเข้าใจว่าต้องเรียนในสิ่งที่เป็นที่ต้องการของตลาดนะ จะได้อยู่รอดจากสังคมที่ห่วยแตกนี้
ถ้าเด็กมันเข้าใจ คนเป็นพ่อแม่ก็สบายใจ หายห่วงละ ว่าต่อไปลูกข้าจะอยู่รอดได้ แม้ไม่มีเราแล้ว เพราะเขาสามารถเลี้ยงตัวเองได้ แม้สังคมอื่นๆจะแย่
แต่ว่าอาชีพหมอตอนนี้ก็ค่อนข้างที่จะเสี่ยงตกงานเหมือนกัน คำว่าหมอมีหลายส่วน หมอศัลยกรรม หมออายุรกรรม
หรือถ้าจะเรียนหมอ ต้องเรียนให้รอดจนถึงปี 4 และ ปีที่ 4 5 6 ก็ต้องขึ้นวอร์ด กดดันสุดคือปีที่ 6 , ปีที่ 6 ยังไม่พอ
ต้องทำงานใช้ทุนคืนรัฐ ที่ไม่สามารถเลือกลงได้(หรือเปล่า) อีก 3 ปี ในถิ่นทุรกันดานอีก ไม่ง่ายเลยเนอะ กว่าจะสบายกันได้
ที่กล่าวมานี้ไม่ใช่อะไร คือบ่นไปเรื่อย วันนี้งานไม่ค่อยมี ว่างมาก (เป็นพนักงานออฟฟิศ)
ส่วนตัวผมทำงานใกล้บ้าน เงินเดือนหมื่นต้นๆ เมื่อเทียบกับกรุงเทพที่เคยได้หมื่นหก ตอนนี้ได้หมื่นสอง
แต่ถามว่าอันไหนดีที่สุดในความรู้สึกตัวเอง ขอตอบเลยว่าต่างจังหวัด
เพราะต้นทุนชีวิตถูกลง อากาศบริสุทธิ์ รถไม่ติด 9โมง ถนนก็ยังโล่งอยู่เลย
ขอบคุณโควิดที่ทำให้เราได้กลับมาทำงานที่บ้าน ได้อยู่ใกล้พ่อแม่ที่แก่ลงทุกวัน ให้กลับไปกรุงเทพอีกครั้งก็ไม่เอาแล้ว
ใครมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับกระทู้นี้ มาแชร์กันได้นะ
จาก มนุษย์เงินเดือนคนหนึ่ง